สคูบสเตอร์พลังงาน "ถีบ" ... กับ Statistic MUSLIMTHAIPOST

 

สคูบสเตอร์พลังงาน "ถีบ" ... กับ Statistic


870 ผู้ชม


เป็นเรือดำน้ำลำยาว 3.5 เมตร ขนาดที่นั่งเดียว รูปลักษณ์อันทันสมัย เคลื่อนที่ด้วยพลังใบพัด 2 ใบ ที่เชื่อมต่อกับคันเหยียบ 1 คู่ แล่นได้เร็วสูงสุด 8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง   

เรือดำน้ำพลังงาน"ถีบ" ที่นั่งเดี่ยว -ดำลึกถึง 6 เมตร Statistic
 สคูบสเตอร์พลังงาน "ถีบ" ... กับ Statistic

         ทีมวิศวกรฝรั่งเศสนำเรือดำน้ำสคูบ้าลำสีเหลืองที่ออกแบบมาโฉบเฉี่ยวเหมือนหลุดออกมาจากหนังสายลับเจมส์ บอนด์ ลงทดสอบในแม่น้ำเฟรนช์รีเวียร่า เรือดำน้ำลำนี้มีชื่อเล่นว่า "สคูบ สเตอร์" ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ แต่ใช้การปั่นคันเหยียบแบบจักรยานน้ำเพื่อหมุนใบพัดให้เรือแล่น
        สคูบสเตอร์เป็นเรือดำน้ำลำยาว 3.5 เมตร ขนาดที่นั่งเดียว ภายใต้รูปลักษณ์อันทันสมัย เคลื่อนที่ด้วยพลังใบพัด 2 ใบ ที่เชื่อมต่อกับคันเหยียบ 1 คู่ แล่นได้เร็วสูงสุด 8 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในกรณีที่ผู้ขับขี่แข็งแรงดี และดำลงไปได้ลึก 6 เมตร  นายสตีเฟน รูสสัน วัย 40 ปี หนึ่งในทีมผู้ประดิษฐ์ กล่าวว่า "ผมเคยปั่นคันเหยียบขึ้นฟ้า ปั่นลงน้ำ ครั้งนี้ได้ลงไปใต้น้ำด้วยเรือดำน้ำ เรือดำน้ำทดสอบการแล่นอยู่ใต้น้ำนานถึง 1 ชั่วโมง บริเวณนอกชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์ เรเนียน โดยควบคุมการขับขี่ด้วยการปั่นคันเหยียบ"
        อย่างไรก็ตาม เนื่องจากตัวเรือดำน้ำปิดสนิท อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ ผู้ขับขี่จึงต้องหายใจผ่านหน้ากากและถังออกซิเจน แม้จะยังไม่แน่ใจว่าจะประสบความสำเร็จในการทำยอดขายได้หรือไม่ แต่ทีมประดิษฐ์เชื่อว่าจะดึงดูดใจตลาดกลุ่มลูกค้าที่มีฐานะ พวกที่มีเรือยอชต์ส่วนตัว โดยจะมีการนำลงแข่งขันในการแข่งขันเรือดำน้ำนานาชาติ 2011 ที่สหรัฐ เพื่อโปรโมตในอนาคต
ที่มาของข้อมูล 
https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROMFpXTXdNVEkyTURnMU13PT0=&sectionid=TURNeU5nPT0=&day=TWpBeE1DMHdPQzB5Tmc9PQ==

สคูบสเตอร์พลังงาน "ถีบ" ... กับ Statistic

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง  การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ
1.1 ความหมายของสถิติ ข้อมูลและข่าวสาร
1.2 ขอบข่ายของสถิติ
1.3 ประเภทของข้อมูลสถิติ
1.4 แหล่งที่มาของข้อมูล (Source of Data) 
1.5 คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี 
1.6 การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ
1.7 แนวทางการเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
1.8 ขั้นตอนการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสำมะโน / สำรวจ
1.9 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
1.10 คุณสมบัติของผู้เก็บรวบรวมข้อมูล (พนักงานสนาม) 
1.11 การตรวจสอบคุณภาพข้อมูล
1.12 การคำนวณค่าสถิติ
แบบฝึกหัด สถิติพรรณาและการวิเคราะห์ข้อมูล
https://phep.ph.mahidol.ac.th/Academics/CAI_SPSS_PHEP626/SP_Final/ex7fs2.htm
ที่มาของข้อมูล https://service.nso.go.th/nso/knowledge/estat/esta1_1.html
ที่มาของข้อมูล https://service.nso.go.th/nso/knowledge/estat/esta1_2.html
ที่มาของข้อมูล https://service.nso.go.th/nso/knowledge/estat/esta1_3.html
ที่มาของข้อมูล https://service.nso.go.th/nso/knowledge/estat/esta1_4.html
ที่มาของข้อมูล https://service.nso.go.th/nso/knowledge/estat/esta1_5.html
ที่มาของข้อมูล https://service.nso.go.th/nso/knowledge/estat/esta1_6.html
ที่มาของข้อมูล https://service.nso.go.th/nso/knowledge/estat/esta1_7.html
ที่มาของข้อมูล https://service.nso.go.th/nso/knowledge/estat/esta1_8.html
ที่มาของข้อมูล https://service.nso.go.th/nso/knowledge/estat/esta1_9.html
ที่มาของข้อมูล https://service.nso.go.th/nso/knowledge/estat/esta1_10.html 
ที่มาของข้อมูล 
https://service.nso.go.th/nso/knowledge/estat/esta1_11.html
ที่มาของข้อมูล https://service.nso.go.th/nso/knowledge/estat/esta1_12.html

คำถามในห้องเรียน
1. นักเรียนคิดว่าการนำเรือดำน้ำ "สคูบ สเตอร์" ต้องทดลองและเก็บสถิติก่อนการลงทดสอบในแม่น้ำเฟรนช์รีเวียร่า หรือไม่เพราะเหตุใด
2. จากข้อมูล "ตัวเรือดำน้ำปิดสนิท อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ ผู้ขับขี่จึงต้องหายใจผ่านหน้ากากและถังออกซิเจน" นักเรียนคิดว่าโอกาสเกิดปัญหามีหรือไม่เพราะอะไร อภิปราย

ข้อเสนอแนะ
1. "สคูบ สเตอร์" ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ แต่ใช้การปั่นคันเหยียบแบบจักรยานน้ำเพื่อหมุนใบพัดให้เรือแล่น ถ้าผู้ปั่นหมดแรง หรือเป็นโรคปัจจุบันจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1  ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต 1.3 นำเสนอข้อมูลข่าวสาร  ความคิดรวบยอด  และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด
มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
สาระที่ 1  ทัศนศิลป์
มาตรฐาน ศ 1.1 สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ที่มาของภาพ https://www.khaosod.co.th/news-photo/khaosod/2010/08/tec01260853p1.jpg
ที่มาของภาพ https://www.nst.or.th/article/article493/article49317/stmplt1.jpg

 ที่มา ; https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3090

อัพเดทล่าสุด