เร่งสูตรควบรวมชั้น แก้ปมยุบ ร.ร.เล็ก MUSLIMTHAIPOST

 

เร่งสูตรควบรวมชั้น แก้ปมยุบ ร.ร.เล็ก


979 ผู้ชม


สพฐ.หนุนรถรับ-ส่ง อาคารเดิมศูนย์โอท็อป   

เร่งสูตรควบรวมชั้นแก้ปมยุบ ร.ร.เล็ก 
สพฐ.หนุนรถรับส่ง-ดันอาคารเดิมศูนย์โอท็อป

เร่งสูตรควบรวมชั้น แก้ปมยุบ ร.ร.เล็กนายรังสรรค์ มณีเล็ก ที่ปรึกษาด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า การยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับตำบล เพื่อต้องการแก้ไขโรงเรียนขนาดเล็กที่มีอยู่จำนวนมาก โรงเรียนเหล่านี้ขาดแคลนทรัพยากรในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ หากปล่อยให้อยู่ในสภาพเช่นนี้ นักเรียนจะกลายเป็นเด็กด้อยโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ จึงอยากให้ใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในตำบล ซึ่งจะทำให้คุณภาพนักเรียนสูงขึ้น โดยบางแห่งอาจใช้การหมุนเวียนครู นักเรียน ไปเรียนรวมกับโรงเรียนอื่น ซึ่งหลายแห่งทำได้ดี เช่น 
สพป.เลย เขต 1 (แก่งจันทร์โมเดล) 
สพป.เลย เขต 3 
สพป.ลพบุรี เขต 2 
สพป.นครราชสีมา เขต 3 
สพป.นครสวรรค์ เขต 1 
สพป.แพร่ เขต 1 
สพป.อุดรธานี เขต 2 
สพป.พิษณุโลก เขต 1

การไปเรียนโรงเรียนอื่น ศธ. ให้สพฐ. จัดรถตู้โดยสาร 15 ที่นั่ง ตำบลละ 1 คัน จำนวน 6,545 คัน โดยรถจะรับ-ส่งนักเรียนในช่วงเช้าและเย็น กลางวันจะให้องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาลนำไปใช้บริการชุมชน อาคารเรียนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) เข้ามาใช้เป็นศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบล หรือศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าโอท็อป โดย สพฐ.จะตั้งงบประมาณซื้อรถยนต์และค่าบำรุงรักษา ส่วนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จะตั้งงบฯ เป็นค่าจ้างคนขับรถและค่าน้ำมัน

ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdNVEEzTURFMU5nPT0=&sectionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBeE15MHdNUzB3Tnc9PQ==
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 
กราฟเวลากับระยะทางความสัมพันธ์ระหว่่างกราฟความเร็วเวลากับระยะทางสำหรับการเคลื่อนที่ในแนวตรงวัตถุเคลื่อนที่ในแนวตรง ทิศทางการเคลื่อนที่จะมีเพียงสองทิศทาง คือ ทฺศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ และทิศทางสวนทางกับการเคลื่อนที่ ในการเคลื่อนที่ที่ไม่กลับทิศทาง และการเคลื่อนที่กลับทิศทาง ระยะทางและขนาดการกระจัดทั้งสองกรณีจะมีค่าเท่ากันหรือไม่อย่างไร
เพื่่อให้เข้าใจการเคลื่อนที่ดีขึ้น เราจะศึกษากราฟความเร็วกับเวลา เนื่องจากพื้นที่ใต้กราฟที่เกิดจากผลคูณของความเร็วกับเวลา คือ การกระจัด
1. การเคลื่อนที่ที่ไม่กลับทิศทางในกรณีที่วัตถุเคลื่อนที่แนวตรงในทิศทางเดียวกันตลอด เช่น รถยนต์เคลื่อนที่ในแนวตรงไปทางขวาด้วยความเร็วคงตัว 4 เมตรต่อวินาที เป็นเวลา 10 วินาที สามารถหาการกระจัดของรถยนต์ได้จากพื้นที่ใต้กราฟความเร็วกับเวลา ซึ่งคือผลคูณของความเร็วกับช่วงเวลาของการเคลื่อนที่
=  (4 m/s)(10 s)
=  40 m
ขนาดการกระจัดของรถยนต์คันนี้เท่ากับ 40 เมตร และระยะทางเท่ากับ 40 เมตร
เร่งสูตรควบรวมชั้น แก้ปมยุบ ร.ร.เล็ก2. การเคลื่อนที่ที่มีทิศทาง
ในกรณีที่วัตถุเคลื่อนที่แนวตรงและมีการกลับทิศทาง เช่นรถบรรทุกคันหนึ่งเคลื่อนที่ในแนวตรงไปทางขวาด้วยคววามเร็วคงตัว 2 เมตรต่อวินาที เป็นเวลา 30 วินาทีจากนั้นแล่นกับมาทางซ้ายด้ายความเร็วคงที่ 2 เมตรต่อวินาที เป็นเวลา 30 วินาที เขียนกราฟความเร็วกับเวลาได้ 
หาขนาดการกระจัดในช่วงเวลา 0 – 60 วินาทีได้ดังนี้
=  ผลรวม  ของแต่ละช่อง
=  (2 m/s)(30 s) + (-2 m/s)(30 s)
=  60 m – 60 m
=  0 m

ขนาดของการกระจัดของรถบรรทุกคันนี้เท่ากับ 0 เมตร
หาระยะทางการเคลื่อนที่ช่างเวลา  0 – 60 วินาที
= ผลรวม  ของแต่ละช่อง
= (2 m/s)(30 s)+(2 m/s)(30 s)
= 60 m + 60m
= 120 m
ระยะทางของรถบรรทุกคันนี้เท่ากับ 120 เมตร
นั้นคือ ในการเคลื่อนที่ที่มีการกลับทิศทาง ขนาดการกระจัดและระยะทางมีค่าไม่เท่ากัน
ที่มาของข้อมูล https://student.kru-ff.com/40102/?page_id=109
ระยะทาง คือ ความยาวตามเส้นทางที่อนุภาคนั้นเคลื่อนที่ผ่านเป็นปริมาณสเกลาร์ มีแต่ขนาดอย่างเดียว  
การกระจัด คือความยาวเส้นตรงที่เชื่อมโยงระหว่างจุดตั้งต้นและจุดสุดท้ายของการเคลื่อนที่ เป็นปริมาณเวคเตอร์ คือมีทั้งขนาดและทิศทางโดยทิศของการกระจัด คือทิศจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสุดท้าย 
สรุป ระยะทางจะเท่ากับการกระจัดเมื่ออนุภาคเดินทางเป็นเส้นตรงและไม่วกกลับ 
ความเร็ว(Velocity) คืออัตราการเปลี่ยนแปลงการกระจัด เป็นปริมาณเวคเตอร์ 
คำว่าอัตราคือต้องเปรียบเทียบกับเวลาครับ ฉะนั้นอัตราการเปลี่ยนแปลงการกระจัดก็คือการกระจัดที่เปลี่ยนไปในหนึ่งหน่วยเวลา
แบ่งได้ออกเป็น
1. ความเร็วขณะใดๆ คือความเร็วที่เกิดขึ้น ณ เวลาหนึ่งของการเคลื่อนที่หรือถ้าพูดในอีกความหมายหนึ่งคืออัตราการเปลี่ยนแปลงการกระจัดในช่วงเวลาที่สั้นมากๆ (เข้าใกล้ 0) 
2. ความเร็วเฉลี่ย คืออัตราการเปลี่ยนแปลงการกระจัดกับเวลาเมื่อการเปลี่ยนแปลงเวลานั้นอยู่ในช่วงยาว

อัตราเร็ว(speed) คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงระยะทาง เป็นปริมาณสเกลาร์  แบ่งออก เป็น
1. อัตราเร็วขณะใดๆ คือ อัตราส่วนของระยะทางกับเวลา เมื่อการเปลี่ยนแปลงนั้นอยู่ในช่วงสั้นๆ (เวลาเข้าใกล้) อัตราเร็วขณะใดๆมีขนาดเท่ากับขนาดของความเร็วขณะนั้นๆ(ไม่คิดเครื่องหมายนะครับ เพราะเป็นสเกล่าร์นั่นเอง) ก็คือค่าความชันของกราฟระยะทางกับเวลาที่จุดนั้น
2. อัตราเร็วเฉลี่ย คือ อัตราส่วนของระยะทางกับเวลา เมื่อการเปลี่ยนแปลงนั้นอยู่ในช่วงยาว
สิ่งที่ต้องควรสังเกต คือ
1. อัตราเร็วขณะใดๆก็คือขนาดความเร็วขณะนั้นๆเสมอ  
2. อัตราเร็วเฉลี่ยจะมีค่าเท่ากับความเร็วเฉลี่ยก็ต่อเมื่ออนุภาคเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงเท่านั้นไม่มีถอยหลังกลับ
ที่มาของข้อมูล https://www.vcharkarn.com/vcafe/169903
เร่งสูตรควบรวมชั้น แก้ปมยุบ ร.ร.เล็กระยะทาง (distance)
      คือ ความยาวตามเส้นทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปได้ทั้งหมด เป็นปริมาณสเกลาร์ คือ มีแต่ขนาดอย่างเดียว มีหน่วยเป็นเมตร โดยทั่วไปเราใช้สัญลักษณ์ S
การกระจัด (displacement)
     คือ เส้นตรงที่เชื่อมโยงระหว่างจุดเริ่มต้น และจุดสุดท้ายของการเคลื่อนที่เป็นปริมาณเวกเตอร์ คือ ต้องคำนึงถึงทิศทางด้วย มีหน่วยเป็นเมตร โดยทั่วไป

เขียนแบบเว็กเตอร์เป็น S
อัตราเร็ว คือ ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา จัดเป็นเปริมาณสเกลลาร์ หน่วยในระบบเอสไอ มีหน่วยเป็น เมตร/วินาที
ความเร็ว คือ ขนาดของการกระจัดที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา จัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยเดียวกับอัตราเร็วคือ เมตร/วินาที
ความเร่ง  คือ ความเร็วที่เปลี่ยนไปในหนึ่งหน่วยเวลาเป็นปริมาณเวกเตอร์หรืออัตราการเปลี่ยนความเร็ว มีหน่วยเป็น ความยาว/เวลา²
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
https://www.school.net.th/library/snet3/jee/distance/DISTANCE.HTM
https://www.snr.ac.th/elearning/kosit/sec02p01.html
https://physicsworld.nanacity.com/physicsworld/lesson/movement0.htm
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%87

คำถามในห้องเรียน

นักเรียนคิดว่าการยุบรวมโรงเรียนเล็กแล้วแก้ปัญหาโดยการจัดรถรับส่ง จากโรงเรียนเล็กถึงโรงเรียนใหญ่ ระยะทางและค่าใช้จ่ายในระยะยาวสัมพันธ์กันอย่างไร

ข้อเสนอแนะ
การที่จะยุบรวมชั้นเรียน ร.ร.เล็ก นั่นต้องพิจารณาหลายๆ ด้าน มองภาพรวมทั้งข้อดีและข้อจำกัด

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นฯ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน  พ 2.1  เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว  เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต
สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต
มาตรฐาน พ 5.1 ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้ยาสารเสพติด และความรุนแรง

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด
มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
ที่มาของภาพ https://www.thaibizchina.com/upload/thaibizchina/BIC-KUNMING/2011.02/hunanglu.jpg
ที่มาของภาพ https://road.drr.go.th/gtc/fig%20for%20web/road%20for%20life/16.jpg
ที่มาของภาพ https://www.vcharkarn.com/uploads/179/179706.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4838

อัพเดทล่าสุด