เห็ดป่าที่กินได้ MUSLIMTHAIPOST

 

เห็ดป่าที่กินได้


1,001 ผู้ชม


เห็ดป่าขึ้นตามธรรมชาติมีทั้งเห็ดที่กินได้และเห็ดมีพิษ   

เห็ดป่าที่กินได้

      เห็ดจัดเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง  เมื่อเปรียบเทียบกับพืชผัก  เห็ดจัดเป็นอาหารที่มีปริมาณแคลอรี่  ไขมัน  คาร์โบไฮเดรท และแคลเซียมต่ำ  จึงไม่มีโทษแก่ร่างกาย  และที่สำคัญเห็ดหลายชนิดยังมีสรรพคุณทางยาที่มีประโยชน์ช่วยในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย  ดังที่ได้เสนอไปแล้ว

      เห็ดป่า  คือ เห็ดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  มักเกิดขึ้นในฤดูฝนที่มีความชื้นพอเหมาะมีอินทรีย์วัตถุมาก เช่น ใบไม้แห้ง ท่อนไม้ผุ ในป่าโปร่งที่มีแสงรำไร หรือป่าทึก

      หากจะแบ่งเห็ดป่าตามลักษณะการบริโภคออกเป็น 2 พวกคือ เห็ดป่าที่กินได้  และเห็ดป่าที่กินไม่ได้ หรือที่เราเรียกว่าเห็ดพิษ(เห็ดเมา)  ชาวบ้านมักจะเก็บเห็ดป่าที่ตนเองรู้จักหรือเคยบริโภคมารับประทานหรือจำหน่าย  ดังนั้นเห็ดป่าจะจำหน่ายในช่วงฤดูที่มีฝนตกชุกเท่านั้น

      ในที่นี้จะแนะนำภาพเห็ดป่าที่กินได้มาพอสังเขป

เห็ดป่าที่กินได้

เห็ดโคน

เห็ดป่าที่กินได้

เห็ดน้ำผึ้ง

เห็ดป่าที่กินได้

เห็ดหน้าแล

เห็ดป่าที่กินได้

เห็ดหาด

เห็ดป่าที่กินได้

เห็ดหน้ามอม

 เห็ดป่าที่กินได้

เห็ดโอ้งนก

เห็ดป่าที่กินได้

เห็ดถ่าน

เห็ดป่าที่กินได้

เห็ดมันปู

เห็ดป่าที่กินได้

เห็ดไคเขียว

เห็ดป่าที่กินได้

เห็ดระโงกเหลือง

เห็ดป่าที่กินได้

เห็ดระโงกขาว

      สรุป  นักเรียนคงจะเห็นภาพเห็ดป่าแล้วนะครับ  หากจะบริโภคเห็ดป่าต้องแน่ใจว่าไม่มีพิษนะครับ  แต่ทางที่ดีควรบริโภคเห็ดที่เพาะขายในท้องตลาดจะปลอดภัยกว่าเยอะครับ  สนใจเพาะเห็ดเศรษฐกิจทุกชนิด  อาจารย์สุภพงษ์  วงศ์สมิตกุล  โรงเรียนปากช่อง ยินดีให้คำแนะนำฟรีครับ โทร 081-9772482 หรือไปเยี่ยมชมที่ฟาร์มเห็ดในโรงเรียนก็ยินดีต้อนรับครับ

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในชั้นเรียน
1.  นักเรียนมีวิธีสังเกตอย่างไรว่าเห็ดชนิดใดกินได้กับกินไม่ได้
2.  หากนักเรียนจะบริโภคเห็ดป่า ควรจะปฏิบัติอย่างไรจึงจะปลอดภัยจากเห็ดมีพิษ

กิจกรรมเสนอแนะ
1.  หลังจากฝนตกนักเรียนลองเดินไปในป่าแล้วศึกษาเห็ดที่ขึ้นในธรรมชาติ
2.  นักเรียนลองสอบถามชาวบ้านที่มีประสบการณ์ในการเก็บเห็ดป่าเพื่อนำมารับประทาน

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น
1.  กลุ่มสาระสุขศึกษาพลศึกษาเรื่องการปฏิบัติตนหลังจากรับประทานเห็ดที่มีพิษ
2.  กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารพิษในดอกเห็ด

แหล่งอ้างอิง  ดร.ธวัชชัย  ทีฆชุณหเถียร  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2018

อัพเดทล่าสุด