สิว, รักษาสิว, ฝังเข็มรักษาสิว, แพทย์แผนจีน MUSLIMTHAIPOST

 

สิว, รักษาสิว, ฝังเข็มรักษาสิว, แพทย์แผนจีน


996 ผู้ชม


ฝังเข็มปรับสมดุลรักษาสิว ทางเลือกศาสตร์การแพทย์แผนจีน


สิว, รักษาสิว, ฝังเข็มรักษาสิว, แพทย์แผนจีน

สิวเกิดกับคนทุกเพศวัย แต่จะพบว่าผู้เป็นสิวมักอยู่ในช่วงวัยรุ่น อายุตั้งแต่ 13-25 ปี

คณาเวชคลินิกการแพทย์แผนไทย ให้ข้อมูลว่า สิว มี 2 ชนิด คือ ชนิดที่ 1 สิวไม่อักเสบ และชนิดที่ 2 สิวอักเสบ เมื่อเกิดสิวชนิดนี้ผิวหน้าของเราจะมีอาการอักเสบ เจ็บ บวม และแดง โดยความรุนแรงอาจเป็นได้ตั้งแต่ตุ่มนูนแดง สิวหัวหนอง สิวอักเสบที่มีตุ่มนูนใหญ่ หรือมีลักษณะของถุงหนองขนาดใหญ่

สิวอักเสบนี้รักษาให้หายได้ แต่หากรักษาสิวไม่ถูกวิธี และไม่ต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดการดื้อยา รักษายาก กลับมาเป็นซ้ำ เกิดแผลเป็น

การรักษาสิวด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความสนใจในปัจจุบัน

ด้วยการฝังเข็มที่เริ่มมีตั้งแต่สมัยก่อนคริสต์ศักราช ในยุค "ชุนชิว" (770 ปีก่อนค.ศ.-453 ปีก่อนค.ศ.) ซึ่งการฝังเข็มไม่เพียงแต่จะกระตุ้นการไหลเวียนของลมปราณและเลือด ขจัดเลือดลมที่ติดขัด ยังช่วยปรับการทำงานของอวัยวะภายใน ปรับความสมดุลของหยินและหยาง กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยปรับการทำงานของสารคัดหลั่ง ซึ่งมีผลต่อการรักษาโรค

ปัจจุบัน มีการศึกษาพบว่าการฝังเข็มทำให้เกิดการหลั่งสาร "แอนเดพฟาลีนและเอน ดอร์ฟิน" ที่ช่วยระงับปวด และสาร "ออโตคอย" ที่ช่วยลดการอักเสบได้ และได้นำการฝังเข็มมารักษาสิวด้วย

ตามหลักแพทย์แผนจีนสิวเกิดจากปอดเกิดไฟ โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นที่มีรูปแบบพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ชอบนอนดึก ทาน อาหารฟาสต์ฟู้ด การสะสมความเครียดในร่างกาย ก่อให้เกิดการสะสมไฟที่ปอด แต่ในบางคนอาจจะเกิดไฟที่หัวใจ ตับ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังฝังเข็มเพื่อช่วยในการ กระตุ้นระบบขับถ่าย ขับพิษออกทางอุจจาระ เมื่อเกิดการสะสมของไฟที่มากเกินปกติจะทำให้กลายเป็นพิษและขับออกมาในรูปแบบ ของสิวบนใบหน้า

การบำบัดสิวบนใบหน้า ตามหลักการแพทย์แผนจีนจะใช้การฝังเข็มควบคู่กับการครอบแก้ว ขั้นตอนแรกในการบำบัดสิว คือ ผู้เป็นสิวต้องได้รับการตรวจแมะ การจับชีพจรแบบจีน เพื่อตรวจประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะภายใน หรือสืบเสาะตำแหน่งที่เกิดไฟอุดตัน ก่อนฝังเข็มกระตุ้น 12 เส้นลมปราณ และใช้การครอบแก้วดูดเลือดพิษออกจากร่างกาย

การฝังเข็มยัง มีประโยชน์ช่วยบำบัดโรคภูมิแพ้ ไข้หวัด ปวดกระเพาะ โรคกระเพาะ ท้องผูก ท้องเสีย ลดน้ำหนัก เคล็ดขัดยอก ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ ปวดคอ ปวดหลัง ปวดเข่า ปวดข้อศอก รูมาตอยด์ หน้าเบี้ยว หน้ากระตุก นอนไม่หลับ อัมพฤกษ์ เป็นต้น


อัพเดทล่าสุด