https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
จะซื้อกันแดดตัวไหนดี ต้องมารู้จัก SPF ก่อนนะ! MUSLIMTHAIPOST

 

จะซื้อกันแดดตัวไหนดี ต้องมารู้จัก SPF ก่อนนะ!


1,164 ผู้ชม


จะซื้อกันแดดตัวไหนดี ต้องมารู้จัก SPF ก่อนนะ!

วันนี้มีเรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับ SPF หรือ ความสามารถของสารกันแดดในการปกป้องรังสี UVB ในอีกมุมมองนึง อยากเอามาเล่าสู่กันฟังค่ะ

จะซื้อกันแดดตัวไหนดี ต้องมารู้จัก SPF ก่อนนะ!
เรื่องปวดหัวที่ 1: SPF เท่าไหร่ดี
เริ่มต้นที่สิ่งที่หลายๆ คน คงรู้กันดีอยู่แล้วว่า SPF 15 ก็หมายความว่า ครีมกันแดดนั้นๆ สามารถปกป้องรังสี UVB (ไม่เกี่ยวกับ UVA) ได้ 15 เท่า คือ อย่างเช่น ถ้าผิวเราทนรังสี UVB ได้ 20 นาที โดยไม่ไหม้ ... ถ้าเราทาครีมกันแดดที่มี SPF 15 มากพอ ก็จะช่วยให้ผิวเราทนแดดได้ 15x20 = 300 นาที หรือ 300/60 = 5 ชั่วโมง คูณกันเองได้ไม่ยาก ... นั่นคือการมองในมุมมองที่ว่า ครีมกันแดดนั้นสามารถปกป้องผิวได้นานแค่ไหน
ถ้าถามครีมกันแดดที่ SPF ต่างกัน สามารถกรอง หรือป้องกัน UVB ได้ดีเท่ากันหรือเปล่า ... เราใช้วิธีคูณแบบการคำนวณชั่วโมงไม่ได้ ... เนื่องจาก SPF 30 ไม่ได้กรองรังสีดีกว่า SPF 15 เป็น 2 เท่า (แต่ว่ากันได้นานเป็น 2 เท่า) ... วิธีคำนวณว่าประสิทธิภาพในการกรองรังสีได้มากน้อยแค่ไหน ก็ไม่ยากค่ะ ... SPF เท่าไหร่ ก็คำนวณค่ารังสีที่ครีมกันแดดปล่อยให้ผ่านเข้ามาได้โดย 1/SPF*100% ... เช่นว่า SPF 15 ก็ 1/15*100 = 6.67% คือ ครีมกันแดดตัวนี้ปล่อยให้รังสี UVB เข้ามาโดน (ทำลาย) ผิวเรา 6.67% หรือก็คือ SPF 15 สามารถกรองรังสีได้ 100% - 6.67% = 93.3% นั่นเองค่ะ


ลองดูที่ SPF 15 กับ SPF 30 ... จะเห็นได้ว่า SPF 30 กันแดดได้เป็นเวลานานกว่า SPF 15 ถึง 2 เท่าตัว แต่ไม่ได้หมายความว่า SPF 30 กันได้ดีกว่า SPF 15 เป็น 2 เท่า ...ความจริงแล้ว SPF 30 กันแดดได้ดีกว่า (หรือกรองรังสี UVB ได้ดีกว่า SPF 15 เพียง 3.3% เท่านั้น ... SPF 60 กรองรังสี UVB ได้ดีกว่า SPF 30 เพียง 1.67% เท่านั้น ... แม้ว่า SPF 1000 ก็ไม่สามารถกรอง UVB ได้ทั้งหมด
ลองดูจากกราฟข้างล่างนี้นะคะ SPF ต่ำกว่า 15 ประสิทธิภาพในการกรอง UVB ค่อนข้างจะต่ำ แต่เมื่อ SPF สูงกว่า 15 ประสิทธิภาพในการกรองรังสี UVB จะไม่เพิ่มขึ้นมากนัก


เรื่องปวดหัวที่ 2: กันแดดเท่าไหร่ดี
อีกอีกเรื่องก็คือ ... หลายคนใช้กันแดดกันเพียงแค่น้อยนิด เนื่องจากทาแล้วทำให้หน้ามันบ้างล่ะ หน้าวอกบ้างล่ะ ... สาเหตุนี้จึงทำให้หลายๆ คนใช้กันแดดกันน้อยกว่าที่ควรจะเป็น และทำให้ผิวไม่ได้รับการปกป้องตามที่ควรจะเป็น ... มีข้อแนะนำว่า ควรทาครีมกันแดดโดยที่มีตัวยาประมาร 2mg/cm2 คือผิวหน้า 1 ตารางเซนติเมตรเนี่ย ต้องทายากันแดดราวๆ 2mg หรือ คร่าวๆ ก็คือ ใช้ประมาณ ครึ่ง (1/2) ช้อนชา ทาทั้งหน้าและคอ (1/4 ช้อนชา ทาให้ทั่วหน้า) ... หากเป็นกันแดดประเภทแป้ง ใช้ SPF 50 ทาหน้า อาจจะเหลือเพียงแค่ SPF 18 หรือ SPF 7 เลยด้วยซ้ำ
การทากันแดดให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด (ซึ่งเราเชื่อว่าหลายๆ คน คงไม่มีใครทำกันแน่ๆ) คือ การทาซ้ำทุกๆ 2 สองชั่วโมง ... โดยเฉพาะผู้หญิง คงไม่มีใครมานั่งแต่งหนากันบ่อยๆ เป็นแน่แท้ ... อีกอย่างนึงคือ ควรทากันแดดทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ก่อนที่จะทาอย่างอื่นทับ (เช่น แต่งหน้า) ก็จะช่วยให้ประสิทธิภาพครีมกันแดด ใกล้เคียงกับฉลากขวดมากที่สุด
เรื่องปวดหัวที่ 3: กันแดดตัวไหนดี
แค่ SPF ก็ปวดหัวจะแย่แล้ว ยังมีเรื่องปวดหัวอีก คือ ใช้สารกันแดดตัวไหนดี กันแดดตัวไหน กันอะไรได้บ้าง คงหาดูกันจากในอินเตอร์เน็ทไม่ยาก ตัวที่กันครบก็เห็นจะมี Zinc Oxide, Tinosorb S, และ Tinosorb M


สารกันแดดสองตัวหลังเป็นกันแดดใหม่ (ที่ USA ยังไม่อนุญาตให้ใช้ แต่ว่าหาซื้อกันได้ทางแถบ Europe อีกซัก 5 ปี หรือ 10 ปี คงจะมีขายใน USA)
Tinosorb S หรือ Bis-Ethylhexyloxyphenol Methoxyphenyltriazine
Tinosorb M หรือ Methylene Bis Benzotriazolyl Tetramethylbutylphenol
ยี่ห้อที่มีสารสองตัวนี้เท่าที่เราเห็นๆ ก็คือ Avene, Bioderma, Loreal และ sunscreen ทางฝั่งยุโรปอีกหลายตัว ทางเอเชียก็เริ่มมีใช้กันให้เห็นแล้ว ... แต่เราก็ยังไม่เคยใช้ซักที จริงๆ เคยใช้ Avene sunscreen ตัวนึง แต่จำไม่ได้แล้วแฮะว่ามีสารกันแดดสองตัวนี้รึเปล่า จำได้แต่ว่า มันแผลบเลย
ส่วนกันแดดทางแถบเอเชีย ... หลายๆ คนคงใช้ Titanium Dioxide หรือไม่ก็ Zinc Oxide กันแดด ... จะให้ดี ควรเลือกตัวที่เคลือบด้วย (ที่มักเรียกกันว่า coated filter) ... หากข้างขวดไม่ได้เขียนไว้ ลองอ่านส่วนผสมดู หาก มีส่วนผสมตัว Trimethoxycaprylylsilane หรือ Triethoxycaprylylsilane ช่วยน่าจะแสดงว่ากันแดดตัวนี้เป็น coated filter ค่ะ
เรื่องปวดหัวที่ 4: Vitamin D ล่ะ
เท่านี้ยังปวดหัวไม่พอ ... vitamin D หลายคนคงรู้กันดีว่า ร่างกายเราได้มาจากการสังเคราะห์กับแสดงแดดทีมีรังสี UVB รวมอยู่ด้วย ... นั่นก็หมายความว่า หากเราใช้ SPF สูงๆ ทาทั้งตัว ... นั่นเป็นการลดการสังเคราะห์ vitamin D อีกแน่ะ ... ปริมาณ vitamin D ในร่างกายต่ำ ก็อาจจะส่งผลให้เกิดโรคร้ายมากมาย ... หมอจึงแนะนำให้กิน vitamin D supplement ... แต่ก็มีผลการวิจัยออกมาอีกว่า การกิน vitmain D supplement ก็จะส่งผลให้เกิดโรคร้ายได้เช่นกันค่ะ
อ่านแล้วคงจะปวดหัวกัน ไม่มากก็น้อยนะคะ นี่ยังไม่รวม UVA นะเนี่ย


อัพเดทล่าสุด