https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การแจ้งเกิดบุตร มีขั้นตอนยังไง ใครแจ้งได้บ้าง เรื่องต้องรู้ของพ่อแม่มือใหม่ MUSLIMTHAIPOST

 

การแจ้งเกิดบุตร มีขั้นตอนยังไง ใครแจ้งได้บ้าง เรื่องต้องรู้ของพ่อแม่มือใหม่


1,483 ผู้ชม

การแจ้งเกิดบุตร คุณแม่ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพครรภ์ รวมถึงการดูแลสุขภาพหลังคลอดและการดูแลเจ้าตัวน้อยกันไปแล้วนะคะ  จากหลากหลายบทความของเพจทีมคนท้อง...


การแจ้งเกิดบุตร มีขั้นตอนยังไง ใครแจ้งได้บ้าง เรื่องต้องรู้ของพ่อแม่มือใหม่

การแจ้งเกิดบุตร คุณแม่ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพครรภ์ รวมถึงการดูแลสุขภาพหลังคลอดและการดูแลเจ้าตัวน้อยกันไปแล้วนะคะ  จากหลากหลายบทความของเพจทีมคนท้อง
ซึ่งหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน  อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญที่เป็นกระบวนการทางกฎหมายที่แม่ท้องทุกคนควรทราบและศึกษาไว้เพราะได้ใช้แน่ ๆ ค่ะ  นั่นคือ  การแจ้งเกิด
การแจ้งเกิดบุตร เรื่องนี้ต้องรู้ 
การเกิด ในทางกฎหมาย คือ  เป็นจุดเริ่มต้นของสภาพบุคคล และเป็นจุดเริ่มต้นที่กฎหมายเข้ามามีบทบาท เมื่อมีเด็กเกิดในครอบครัว กฎหมายได้กำหนดหน้าที่ที่จะต้องแจ้งการเกิดดังต่อไปนี้

1.กรณีเด็กเกิดในบ้าน

ในกรณีนี้  หมายถึง  คุณแม่คลอดลูกในบ้านของตนเอง การแจ้งเกิดมีวิธีการ ดังนี้


ผู้ที่มีหน้าที่แจ้งเกิด

คือ “เจ้าบ้าน” หรือตามกฎหมายก็คือ  หัวหน้าครอบครัว หรือผู้ที่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าบ้านกรณีเช่าบ้าน หากคุณแม่อยู่ในฐานะผู้เช่าหรือผู้อยู่ในฐานะอื่นๆ อย่างเช่น กรณีที่เจ้าของบ้านยกบ้านให้อยู่ฟรีๆ ผู้ที่ได้รับการยกให้อยู่ก็เป็นเจ้าบ้านได้เหมือนกันนอกจากเจ้าบ้านแล้ว พ่อหรือแม่ของเด็กเป็นผู้มีหน้าที่แจ้งเช่นเดียวกันระยะเวลาในการแจ้งเกิด
ระยะเวลาการแจ้งเกิด  

ต้องแจ้งเกิดต่อนายทะเบียนที่เด็กเกิดภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เกิด
ตัวอย่าง
เด็กเกิดวันที่ 13 เมษายน 2559  จะต้องแจ้งภายใน 15 วัน  คืออย่างช้าภายในวันที่ 28 เมษายน 2559  เป็นต้น
2.เด็กเกิดนอกบ้าน

เด็กเกิดนอกบ้าน หมายถึง  เด็กที่เกิดที่ใด ๆ ก็ตามที่ไม่ใช่บ้านของตนเอง เช่น  เกิดที่บ้านญาติ กรณีที่เด็กเกิดนอกบ้าน  มีวิธีการปฏิบัติในการแจ้งเกิด ดังนี้
การแจ้งเกิด

ผู้ที่มีหน้าที่แจ้งการเกิด คือ พ่อหรือแม่ของเด็ก โดยต้องแจ้งแก่นายทะเบียนท้องที่ที่คนเกิดนอกบ้าน หรือท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้นับแต่วันที่เกิด
ระยะเวลาในการแจ้งเกิด 

พ่อหรือแม่จะต้องแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เกิด แต่หากไม่สามารถแจ้งแก่นายทะเบียนในท้องที่ที่เด็กเกิดได้ ภายใน 15 วัน หรืออย่างช้าที่สุดภายใน 30 วัน
3.เด็กเกิดที่โรงพยาบาล

กรณีเด็กทารกเกิดที่โรงพยาบาล มีหลักการปฏิบัติในการแจ้งเกิด ดังนี้
การแจ้งเกิด

โรงพยาบาลจะออกใบรับรองการเกิดให้บิดาหรือมารดา ซึ่งถือเป็นบริการของโรงพยาบาล เพื่อนำไปแจ้งการเกิดที่สำนักงานทะเบียนท้องถิ่นที่โรงพยาบาลนั้นตั้งอยู่
ระยะเวลาในการแจ้งเกิด 

จะต้องแจ้งเกิดต่อนายทะเบียนท้องที่ที่เด็กเกิดภายใน 15 วัน นับตั้งแต่เด็กเกิด
4.เด็กเกิดใหม่ซึ่งถูกทิ้งไว้

ปัจจุบันนี้มีข่าวการทอดทิ้งเด็กทารกเกิดใหม่มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง  หากพบเห็นเด็กทารกแรกเกิดถูกทอดทิ้ง  มีหลักการแจ้งเกิด ดังนี้
การแจ้งเกิด

สิ่งสำคัญต้องรีบแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจหรืเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่กรมประชาสงเคราะห์ในท้องที่ที่พบเด็กทารกแรกเกิดถูกทอดทิ้ง  เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการแจ้งเกิดต่อนายทะเบียน
ระยะเวลาในการแจ้งเกิด

จะต้องแจ้งเกิดต่อนายทะเบียนท้องที่โดยเร็วเมื่อพบเด็กเกิดใหม่ซึ่งถูกทิ้งไว้
หลักฐานการเกิด

1.เมื่อดำเนินการแจ้งเกิดแล้ว  นายทะเบียนจะออกใบแจ้งเกิดหรือสูติบัตรไว้เป็นหลักฐาน
2.สูติบัตรจะแสดงสัญชาติ  วัน เดือน ปีเกิด ชื่อบิดา มารดา และควรแจ้งชื่อเด็กด้วย
3.หากมีความประสงค์จะเปลี่ยนชื่อสามารถแจ้งเปลี่ยนชื่อได้ภายใน 6 เดือน
4.หากไม่แจ้งเกิดตามกำหนดหรือฝ่าฝืนไม่ทำตามหน้าที่  มีความผิด มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
สถานที่แจ้งเกิดต่อนายทะเบียนท้องที่

– แจ้งเกิดในเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียน ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานเขตเทศบาลนั้น
– แจ้งเกิดนอกเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล(ที่ว่าการอำเภอหรือที่สำนักทะเบียนผู้ว่าราชการจังหวัด เช่น เขตกรมทหาร เป็นต้น
– แจ้งเกิดในเขตกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น ตั้งอยู่ที่สำนักงานเขต
– แจ้งเกิดในต่างประเทศ ถ้าต้องการให้บุตรมีสัญชาติไทยต้องไปแจ้งต่อสถานกงสุลไทยหรือสถานทูตไทย ณ ประเทศนั้นๆ เนื่องจากสถานกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยเป็นสำนักทะเบียนในต่างประเทศ
หลักฐานที่ต้องนำไปแจ้ง
 

1.กรณีเกิดในบ้าน

– บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านและของบิดามารดา
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2.กรณีเกิดนอกบ้าน

– บัตรประจำตัวประชาชนของมารดาเด็ก
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– บัตรประจำตัวผู้ที่ได้รับมอบหมาย(กรณีมารดาของเด็กไม่ได้ไปแจ้งเกิดด้วยตนเอง)
3.กรณีเกิดที่โรงพยาบาล

– บัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดาเด็กและผู้แจ้ง(กรณีบิดามารดาไม่สามารถไปแจ้งได้ด้วยตนเอง)
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะนำเด็กเข้า
– หนังสือรับรองการเกิดของผู้รักษาพยาบาลโดยอาชีพ
– อายุ สัญชาติ
ทั้งหมดนี้เป็นขั้นตอนการแจ้งเกิดที่คุณพ่อคุณแม่ต้องศึกษาไว้นะคะ  เพราะได้ใช้แน่นอนค่ะ 

ที่มา            www.konthong.com 

อัพเดทล่าสุด