จ้างแรงงาน จ้างทำของ : เกี่ยวกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (บรรพ 3) ว่าด้วยการจ้างแรงงาน จ้างทำของ MUSLIMTHAIPOST

 

จ้างแรงงาน จ้างทำของ : เกี่ยวกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (บรรพ 3) ว่าด้วยการจ้างแรงงาน จ้างทำของ


5,752 ผู้ชม

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (บรรพ 3) ว่าด้วยการจ้างแรงงาน  จ้างทำของ


ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (บรรพ 3) ว่าด้วยการจ้างแรงงาน  จ้างทำของ

 จ้างแรงงาน จ้างทำของ : เกี่ยวกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (บรรพ 3) ว่าด้วยการจ้างแรงงาน  จ้างทำของ

หลักการ

สัญญาจ้างแรงงานและจ้างทำของเป็นสัญญาสองฝ่าย  เป็นการจ้างให้ผู้อื่นทำงาน โดยประสงค์ค่าตอบแทน แต่มีข้อแตกต่างที่สำคัญคือ สัญญาจ้างแรงงานไม่ได้มุ่งความสำเร็จของงาน แต่สัญญาจ้างทำของมุ่งที่ผลสำเร็จของงาน

สัญญาจ้างแรงงาน

สัญญาจ้างแรงงาน คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า "ลูกจ้าง" ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า "นายจ้าง" และนายจ้างตกลงให้สินจ้างตลอดระยะเวลาที่ทำงาน การจ้างแรงงาน รวมถึงการจ้างบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและความชำนาญ จ้างครูสอนหนังสือ จ้างหมอประจำคลินิก สัญญาจ้างแรงงานตามกฎหมายฉบับนี้ เป็นลักษณะการจ้างทั่วๆไป ไม่มีกำหนดเวลาการทำงานที่แน่นอน ไม่ใช่การจ้างงานในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นการจ้างที่จำนวนคนงานไม่มาก เช่นจ้างขนของ จ้างทำงานบ้าน จ้างบรรจุหีบห่อ เป็นต้น

ลักษณะของสัญญาจ้างแรงงาน

  • 1. เป็นนิติกรรม 2 ฝ่าย คือ มีการตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
  • 2. เป็นสัญญาต่างตอบแทน กล่าวคือ เมื่อลูกจ้างทำงานให้นายจ้างตามข้อตกลงนายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง
  • 3. สัญญาจ้างแรงงานไม่มีแบบ คือ ข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือก็ได้
  • 4. สาระสำคัญอยู่ที่คู่สัญญา คือ เงื่อนไข ข้อตกลงเกี่ยวกับการจ้าง ค่าจ้างหรือค่าตอบแทน ขึ้นอยู่กับนายจ้างลูกจ้างจะตกลงกัน
  • 5. สถานที่ เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ วัตถุดิบ นายจ้างมีหน้าที่ต้องจัดหาให้ลูกจ้าง

สิทธิของนายจ้าง ลูกจ้าง

  • 1. มีสิทธิมอบงานหรือไม่มอบงานให้แก่ลูกจ้าง
  • 2. นายจ้างจะโอนสิทธิของตนให้บุคคลอื่นก็ได้ เมื่อลูกจ้างยินยอม
  • 3. นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้ เมื่อพบภายหลังว่า ลูกจ้างไม่มีฝีมือพิเศษตามที่ตกลงกันไว้
  • 4. นายจ้างมีสิทธิจ่ายค่าจ้างเมื่องานเสร็จ หากมิได้ตกลงกำหนดจ่ายค่าจ้างไว้
  • 5. นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อถึงหรือก่อนถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่ง
  • 6. นายจ้างมีสิทธิไล่ลูกจ้างออกจากงาน โดยไม่ต้องบอกล่าวล่วงหน้า หากลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งนายจ้าง ละทิ้งหน้าที่ กระทำความผิดอย่างร้ายแรง
  • 7. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงาน
  • 8. ลูกจ้างมีสิทธิให้บุคคลอื่นทำงานแทนได้ เมื่อนายจ้างยินยอม
  • 9. ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้าง โดยบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้าง หากไม่มีข้อตกลงกำหนดระยะเวลาการจ้างงาน
  • 10. เมื่อนายจ้างเสียชีวิต ลูกจ้างบอกเลิกสัญญาได้
  • 11. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าเดินทางกลับ เมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลง กรณีลูกจ้างอยู่ต่างถิ่น
  • 12. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับใบสำคัญแสดงการทำงาน เมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุด

หน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้าง

  • 1. นายจ้างมีหน้าที่จ่ายสินจ้าง การจ่ายค่าจ้างจะจ่ายเมื่อใดก็ได้ตามที่ตกลงกัน หรือจ่ายตามจารีตประเพณีก็ได้
  • 2. นายจ้างมีหน้าที่ออกใบสำคัญแสดงการทำงานให้กับลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง
  • 3. นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง
  • 4. ลูกจ้างต้องทำงานด้วยตนเอง ยกเว้นนายจ้างยินยอม
  • 5. ลูกจ้างมีหน้าที่ตกลงทำงานให้นายจ้างตามเวลาที่ตกลงกันไว้ หากไม่ทำตามที่ตกลงกัน นายจ้างมีสิทธิไม่จ่ายค่าจ้างหรือเลิกจ้างได้
  • 6. ลูกจ้างต้องทำงานตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง

ความระงับแห่งสัญญาจ้างแรงาน

  • 1. เมื่อครบกำหนดเวลาในสัญญา
  • 2. เมื่องานที่จ้างสำเร็จ
  • 3. เมื่อลูกจ้างนายจ้างตาย
  • 4. เมื่อเลิกสัญญาตามกฎหมาย เช่น นายจ้างลูกจ้างทำผิดหน้าที่ต่ออีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อลูกจ้างขาดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือขาดคุณสมบัติที่ได้รับรองไว้หรือไร้ฝีมือ เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาล่วงหน้า หรือเมื่อการทำงานตกเป็นพ้นวิสัย เมื่อนายจ้างไล่ลูกจ้างออกจากงาน เป็นต้น

สัญญาจ้างทำของ

สัญญาจ้างทำของ  คือ  สัญญาซึ่งผู้รับจ้างตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่า จ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้าง เพื่อผลสำเร็จแห่งการทำงานนั้น 

ลักษณะของสัญญาจ้างทำของ

  • 1. การจ้างทำของเป็นเป็นนิติกรรม 2 ฝ่าย คือ มีการตกลงระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง
  • 2. ผู้ว่าจ้างต้องจ่ายสินจ้าง เมื่อผู้รับจ้างทำงานให้ผู้ว่าจ้างสำเร็จ
  • 3. ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิในการควบคุม หรือสั่งการผู้รับจ้าง
  • 4. บรรดาสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ โดยส่วนใหญ่เป็นของผู้รับจ้าง

สัญญาจ้างแรงงาน , สัญญาจ้างทำของ , ข้อแตกต่างสัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างทำของ , สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างทำของ , สัญญาจ้างแรงงานและสัญญาจ้างทําของแตกต่างกันอย่างไร , ข้อแตกต่างระหว่างสัญญาจ้างแรงงานกับสัญญาจ้างทำของ , สัญญาจ้างแรงงานแตกต่างจากสัญญาจ้างทำของ

ที่มา www.statelessperson.com

อัพเดทล่าสุด