อาการเกี่ยวกับโรคทางเดินอาหาร อักเสบ เฉียบพลัน (acute gastroenteritis) ที่ต้องรู้ MUSLIMTHAIPOST

 

อาการเกี่ยวกับโรคทางเดินอาหาร อักเสบ เฉียบพลัน (acute gastroenteritis) ที่ต้องรู้


16,528 ผู้ชม


โรคทางเดินอาหารอักเสบ เฉียบพลัน (acute gastroenteritis)
อาการเกี่ยวกับโรคทางเดินอาหาร อักเสบ เฉียบพลัน (acute gastroenteritis)  ที่ต้องรู้
          โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (acute diarrhea) หรือโรคทางเดินอาหารอักเสบเฉียบพลัน (acute gastroenteritis) ที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสมีความสำคัญและรุนแรงในประเทศด้อยพัฒนาและกำลัง พัฒนา โดยเฉพาะในทวีปเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา จากการสำรวจในแต่ละปีพบว่า มีผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงถึง 3-5 พันล้านคน และเสียชีวิตถึง 5-10 ล้านคน องค์การอนามัยโลกได้ทำการเฝ้าระวังโรคในชุมชนของประเทศกำลังพัฒนา พบอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เฉลี่ยคนละ 2-3 ครั้งต่อปี และอัตราตายจากโรคนี้พบสูงสุดในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อย คือ ไวรัสโรตา (rotavirus)
          พยาธิกำเนิด โรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรตา มีระยะฟักตัวสั้นประมาณ 1-3 วัน การติดต่อผ่านทางอุจจาระโดยการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อไวรัสโรตา (fecal-oral route) อาจติดต่อได้โดยการสัมผัสกันโดยตรง (direct contact) กับคนหรือสัตว์ที่เป็นโรค ถ้าเด็กติดเชื้อไวรัสโรตาและใกล้ชิดกับผู้ใหญ่เชื้ออาจติดต่อทำให้ผู้ใหญ่มี การติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการ ซึ่งมักจะเป็นสาเหตุให้มีการแพร่กระจายเชื้อในครอบครัวเดียวกัน
          อาการของโรค ไวรัสโรตาก่อโรคอุจจาระร่วงในเด็กทารกและเด็กเล็ก ถ้าเด็กโตหรือผู้ใหญ่มีการติดเชื้อชนิดนี้อาจจะไม่แสดงอาการ หรือมีอาการน้อยกว่าที่พบในเด็กเล็ก
          หลังระยะฟักตัว 1-3 วัน จะมีอาการอาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ มีไข้ต่ำๆประมาณ 38 องศาเซลเซียส บางครั้งอาจเกิดอาการร่วมกับอาการทางระบบทางเดินหายใจส่วนบน มีน้ำมูกไหล ไอ คอแดง ทอลซิลอักเสบ อาการพบนานตั้งแต่ 2-3 วันจนถึง 7-10 วัน บางรายอาจมีอาการรุนแรง มีการขาดน้ำ ช็อก อาจทำให้เสียชีวิตได้ บางรายเกดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ และมีอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต ปกติโรคนี้จะหายเองได้ ระยะเวลาของโรคประมาณ 2-14 วัน ระยะเฉลี่ย 4 วัน
          การ ติดเชื้อไวรัสโรตาอาจไม่รุนแรงหรือไม่แสดงอาการในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน แต่จะอันตรายรุนแรงในเด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และรุนแรงในผู้ใหญ่ที่มีภาวะกดภูมิคุ้มกัน
          การรักษา เช่นเดียวกับการรักษาโรคอุจจาระร่วงอื่นๆที่มีการสูญเสียน้ำโดยการให้ของ เหลวจำพวกน้ำตาลเกลือแร่และอิเล็กโตรไลต์ต่างๆ
          การป้องกันและการควบคุม การรักษาอนามัยส่วนบุคคล เช่น การทำความสะอาดมือ การรักษาความสะอาดในการประกอบอาหาร น้ำดื่ม น้ำใช้ การดูแลห้องสุขาให้สะอาดถูกสุขลักษณะ
          การป้องกันที่ได้ผลดีคือการให้ active immunization ซึ่งก็คือการให้วัคซีนนั่นเอง
ที่มา  www.thaipr.net

อัพเดทล่าสุด