ยารักษาโรคคางทูม ด้วยการฉีด วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม MUSLIMTHAIPOST

 

ยารักษาโรคคางทูม ด้วยการฉีด วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม


971 ผู้ชม


โรคคางทูม (Mumps) : โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
            โรคคางทูม (Mumps) เป็นการติดเชื้อและมีการอักเสบของต่อมน้ำลาย (Parotid gland) ที่อยู่บริเวณกกหูทำให้ที่บริเวณคางบวม จึงได้ชื่อว่าคางทูม พบในเด็กเป็นส่วนใหญ่
 สาเหตุ
            เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Paramyxovirus
 ระบาดวิทยา
            ติดต่อกันได้โดยตรงทางการหายใจ (Droplet spread) และสัมผัสกับน้ำลายของผู้ป่วย เช่น การกินน้ำและอาหารโดยใช้ภาชนะร่วมกัน เป็นกับเด็กได้ทุกอายุ ถ้าเป็นในผู้ใหญ่จะมีอาการรุนแรง และมีโรคแทรกซ้อนได้บ่อยกว่าในเด็ก หลังจากมีวัคซีนป้องกันในประเทศที่พัฒนาแล้วอุบัติการณ์ของโรคนี้ได้ลดลงมาก ระยะที่ติดต่อกันได้ง่าย คือจาก 1-2 วัน (หรือถึง 7 วัน) ก่อนมีอาการบวมของต่อมน้ำลาย ไปจนถึง 5-9 วันหลังจากมีอาการบวมของต่อมน้ำลาย
            ระยะฟักตัวของโรคคือ 16-18 วัน แต่อาจสั้นเพียง 12 วัน และนานถึง 25 วันหลังสัมผัสโรค
 อาการ
            ประมาณร้อยละ 30 ของผู้ที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการ ในผู้มีอาการจะเริ่มมีอาการไข้ต่ำ เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมา 1-2 วัน จะมีอาการปวดหู เจ็บบริเวณขากรรไกร จากนั้นต่อมน้ำลายหน้าหูจะโตขึ้นจนคลำได้ โดยค่อยๆ โตขึ้นจนถึงบริเวณหน้าหูและขากรรไกร บางรายโตขึ้นจนถึงระดับตา ประมาณ 1 สัปดาห์ จะค่อยๆ ลดขนาดลง
โรคแทรกซ้อน
            1) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง
            2) โรคแทรกซ้อนที่นับว่ารุนแรงคือ สมองอักเสบ พบได้ประมาณ 1 ใน 6,000 ราย ซึ่งอาจทำให้ถึงเสียชีวิตได้
            3) ถ้าเป็นในเด็กชายวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่อาจมีการอักเสบของอัณฑะ ซึ่งในบางรายอาจทำให้เป็นหมันได้
            4) โรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจพบได้น้อยมาก คือ ข้ออักเสบ ตับอ่อนอักเสบ และหูหนวก
การวินิจฉัยโรค
            จากการแยกเชื้อไวรัสจาก throat washing จากปัสสาวะและน้ำไขสันหลัง และหรือตรวจหาระดับ antibody โดยวิธี Hemagglutination Inhibition (HAI) หรือ Neutralization test (NT)
 การรักษา
            ตามอาการ ให้ยาแก้ปวดเป็นครั้งคราว
 การแยกผู้ป่วย
            แยกเกี่ยวกับระบบการหายใจ โดยแยกผู้ป่วยจนถึง 9 วัน หลังเริ่มมีอาการบวมของต่อมน้ำลาย
การป้องกัน
            หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย วิธีที่ดีที่สุดคือ ให้วัคซีนป้องกันด้วยการให้วัคซีนป้องกันคางทูม ซึ่งมาในรูปแบบของวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน (MMR) ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขให้วัคซีนรวมป้องกันหัด คางทูม และหัดเยอรมัน 1 ครั้ง ในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ที่มา  blog.eduzones.com

อัพเดทล่าสุด