ภาษาไทยน่ารู้ : การใช้สระ ใ- ไ- อัย ไ-ย ให้ถูกต้อง ตัวอย่างการเขียน MUSLIMTHAIPOST

 

ภาษาไทยน่ารู้ : การใช้สระ ใ- ไ- อัย ไ-ย ให้ถูกต้อง ตัวอย่างการเขียน


2,009 ผู้ชม

คำในภาษาไทยที่ออกเสียงอัยอยู่เป็นจำนวนมาก  จึงต้องรู้หลักและมีการระมัดระวังในการใช้เพื่อสื่อความหมายของคำให้ชัดเจน และถูกต้อง


การใช้สระ ใ- ไ- อัย ไ-ย

การใช้สระ ใ-  ไ-  อัย ไ-ย
          คำในภาษาไทยที่ออกเสียงอัยอยู่เป็นจำนวนมาก  จึงต้องรู้หลักและมีการระมัดระวังในการใช้เพื่อสื่อความหมายของคำให้ชัดเจน และถูกต้อง  หลักในการใช้  ใ-  ไ-  อัย ไ-ย  มีดังนี้

          1.  การใช้  ใ-  คำไทยที่ใช้ไม้ม้วนมี 20 คำ  คือ  ใหญ่  ใหม่  ให้  สะใภ้  ใช้  ใฝ่  ใจ  ใส่  หลงใหล  ใคร  ใคร่  ใบ  ใส  ใน  ใด  ใช่  ใต้  ใบ้  ใย  ใกล้
                                                  ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่                             ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
                                        ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ                                          มิหลงใหลใครขอดู
                                        จะใคร่ลงเรือใบ                                          ดูน้ำใสและปลาปู
                                        สิ่งใดอยู่ในตู้                                               มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
                                        บ้าใบ้ถือใยบัว                                            หูตามัวมาใกล้เคียง
                                        เล่าท่องอย่าละเลี่ยง                                    ยี่สิบม้วนจำจงดี

          2.  การใช้  ไ-  คำที่ใช้  ไ-  มีอยู่มากในภาษาไทยมีหลักในการสังเกตดังนี้
                    1.  ใช้กับคำไทยแท้  เช่น  ไจ  ไหม  ไซ  ไส  ไว  ไป
                    2.  ใช้กับคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต  เช่น  ไศล  ไวษณพ  ไพสพ

          3.  การใช้  อัย  คำที่ใช้  อัย  เป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต  คำเดิมมีเสียง  ย  ตามเสียง  อะ  เช่น
                    ชัย          มาจาก          อธิปเตยฺย          แปลว่า          เป็นใหญ่
                    เวไนย      มาจาก          เวเนยฺย             แปลว่า          สอนได้


ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
บุญลักษณ์  เอี่ยมสำอางค์  เกื้อกมล  พฤกษประมูล และโสภิต  พิทักษ์. ภาษาไทย  หลักการใช้ภาษาและการใช้ภาษา ม.4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

อัพเดทล่าสุด