succession planning ตัวอย่าง สำหรับการปฏิบัติงาน MUSLIMTHAIPOST

 

succession planning ตัวอย่าง สำหรับการปฏิบัติงาน


1,146 ผู้ชม


succession planning ตัวอย่าง สำหรับการปฏิบัติงาน




                ชั้น 3 อาคารสำนักงานใหญ่ SCG เป็นชั้นผู้บริหารปีกขวาเป็นที่อยู่ของคณะจัดการส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ที่ดำรงความขลังและยังไม่ได้ตกแต่งภายในใหม่ ขณะที่ปีกซ้ายตกแต่งใหม่ ดูทันสมัยมากขึ้น ที่สำคัญมีห้องทำงานของที่ปรึกษาเรียงราย มีห้องรับแขก ฯลฯ ซึ่งก็คือ อดีตคณะจัดการเก่าอย่างน้อย 2 รุ่น รวมกัน 8 คน ที่ปรึกษาชุดนี้จะเข้าร่วมประชุมคณะจัดการด้วย
วงในวิเคราะห์กันว่า นี่คือปรากฏการณ์ที่บ่งบอกว่า Succession Plan ของ SCG มิได้มีเพียง 3 ปี (2546-2549) เท่านั้น
ต้องยอมรับกันทั้งสังคมธุรกิจไทยเลยทีเดียวก็ว่าได้ว่านี่อาจจะเป็นครั้งแรกที่องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ของไทยมีแผนการสืบทอดตำแหน่งผู้นำอย่างเป็นระบบที่สุด อวิรุทธ์ วงศ์พุทธพิทักษ์ อดีตผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ เคยบอกว่า "เป็นSuccession Plan ที่ไม่ใช่ contingency plan"
"ต้นเดือนสิงหาคม 2545 คุณชุมพลบอกอย่างเป็นทางการว่า บอร์ดจะเลือกผมขึ้นมา แต่หลายปีข้างหน้าก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับเราทำตัวยังไง" กานต์ ตระกูลฮุน เปิดเผยความลับของจุดเริ่มต้นของแผนการนี้ให้ฟัง
ว่าไปแล้ว เวลาที่เหลือประมาณ 3 ปีครึ่ง กว่าจะดำรงตำแหน่งผู้จัดการใหญ่เป็นทางการ เป็นช่วงเวลายาวนานมากทีเดียว มองอีกนัยหนึ่ง ก็คือมีแผนงานที่วางไว้อย่างเป็นระบบที่สุด แน่ละย่อมเป็นช่วงเวลาที่เครียดสำหรับว่าที่ผู้จัดการใหญ่คนใหม่ไม่น้อย "ถามว่าผมเครียดไหม ผมเครียดเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ตอนนี้ไม่เครียดเลย เพราะเครียดมาก่อนนานแล้ว" เขายอมรับ
พอต้นปี 2546 กานต์ ตระกูลฮุน ก็มาดูแลกิจการสำนักงานกลาง ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของแผนการเป็นช่วงฝึกงานอย่างเต็มรูปแบบ จากนั้นมามีงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับแผนการคณะจัดการรุ่นก่อนเกษียณตัวเองก่อนกำหนดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน (รายละเอียดเรื่องนี้ เคยเขียนไว้ในนิตยสารผู้จัดการแล้ว เมื่อต้นปี 2547)
จากนั้นมา "แนวความคิดใหม่" ของ SCG ดูจะอุบัติขึ้นเป็นระยะสั้น สะท้อนการทำงานอย่างหนัก ที่ย่อมได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากรุ่นก่อน ดูได้จากกิจกรรมสร้างสรรค์ที่จับต้องได้ผ่านสาธารณชนมากที่สุดในยุคหนึ่งก็ว่าได้ (ดูลำดับเหตุการณ์)
แต่ข้างหลังภาพการเปลี่ยนแปลงสู่ภายใน ก็มีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นที่ชั้นสอง อาคารสำนักงานใหญ่ด้วยเช่นกัน ดังที่กล่าวข้างต้น
แม้บางคนจะแย้งว่าที่ปรึกษามิได้เพิ่งมี หากมีมาระยะหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะหลังจากคณะจัดการเข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด ตั้งแต่ปี 2542 (ทวี บุตรสุนทร และประมนต์ สุธีวงศ์) และต่อเนื่องมา แต่พิจารณาสาระแล้ว ดูจะแตกต่างจากโครงสร้างปัจจุบันมากทีเดียว ยุคนั้นที่ปรึกษาเป็นสมาชิกคณะจัดการที่ถือว่ามีอาวุโสต่ำกว่าผู้จัดการใหญ่ (ชุมพล ณ ลำเลียง) ทั้งหมด ซึ่งตรงกันข้ามกับยุคนี้ ที่ปรึกษายุคกานต์ ตระกูลฮุน ล้วนแต่มีอาวุโสมากกว่าเขาทั้งสิ้น
"เป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีของเครือฯ ที่ทีมผู้บริหาร ใหม่หมด แต่คุณชุมพลก็ไม่ได้ไปไหน พี่ๆ ทั้งหลายก็เป็นที่ปรึกษา ข้อดีก็คือว่าเราจะ smooth transition มากๆ" กานต์อรรถาธิบาย เรื่องนี้อย่างจริงจังและตรงไปตรงมา
เขามองที่ปรึกษา "รุ่นพี่ๆ" จะมาเติมจุดอ่อนอย่างหนึ่งของเขา (และอาจจะเป็นทีมจัดการชุดใหม่ด้วย) ที่เขายอมรับในเรื่องของเครือข่ายภายนอก ในฐานะมีประสบการณ์ในคณะจัดการน้อยกว่ารุ่นก่อนมาก ในขณะที่พวกเขาจะต้องดูแลธุรกิจอย่างเข้มข้นในฐานะทีมใหม่ "พี่ๆ กรุณาช่วยเป็นที่ปรึกษา เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะ Network กับทางราชการกับ business partner แม้เราถูกวางตัวล่วงหน้า แต่เทียบกับพี่ๆ 20 ปี สู้ไม่ได้"
กานต์ ตระกูลฮุน จะเน้นเสมอว่าชุมพล ณ ลำเลียง ไม่ได้ไปไหน ไม่เพียงแต่เป็นกรรมการบริษัทเท่านั้น เขายังเป็นที่ปรึกษาคณะจัดการด้วย ซึ่งนับเป็นโครงสร้างพิเศษสำหรับชุมพล ที่สะท้อนอิทธิพลทางความคิด ของผู้จัดการใหญ่คนก่อนยังมีอยู่ "หลายอย่างเราก็เช็กแนวคิดจากที่ปรึกษา โดยเฉพาะเรื่องบุคคล จริงๆ แล้ว ระบบเราดีมากๆ ถ้าจะเปลี่ยนอะไรบางอย่างต้องคิดดีๆ แล้วจะเปลี่ยนอะไรบางอย่าง ต้องเป็น long term policy ต้องรอบคอบมากๆ"

ที่มาจาก : นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2549

อัพเดทล่าสุด