ล้วงลึกบทบาทงานบุคคลHR Value Propostion MUSLIMTHAIPOST

 

ล้วงลึกบทบาทงานบุคคลHR Value Propostion


811 ผู้ชม


ล้วงลึกบทบาทงานบุคคลHR Value Propostion




      *ยกระดับ HR สร้างคุณค่าให้กับตนเองและองค์กร
       
       *2 ผู้เชี่ยวชาญช่วยเขี่ยผงที่เข้าตา ลบภาพเป็นแค่คนหลังฉาก สรรสร้างงานคุณภาพ
       
       *"ทรู วิชั่นส์" ขยายความรู้สายงานธุรกิจครบทุกทิศทาง พร้อมก้าวสู่สากล
       
       *"กลุ่มบริษัทสามารถ" เริ่มได้จากงานถนัด ผสานหลักบริหารรับรองนั่งกลางใจซีอีโอ
       
        ตลอดระยะที่ผ่านมางานบริหารงานบุคคลหรือ HR เป็นที่จับตามองจากหลายฝ่าย รวมถึงบทบาทในองค์กรเอง ที่ต่างคาดหวังกับงาน HR จะเป็นกำลังหนุนสำคัญต่อการพัฒนาองค์กร และยิ่งปัจจุบันการขยับขยายตัวขององค์กรจะมีให้เห็นไม่ว่าการขยายงานไปยังต่างประเทศและการรับมือกับการแข่งขันภายในจากการขยายการลงทุนของต่างชาติเข้ามาในไทย
       
        ประเด็นดังกล่าวได้ผูกเชื่อมโยงไปด้วยกันกับคุณค่าของงาน HR (HR Value Propostion) และตัว HR เองที่จะต้องมีการปรับเพิ่มบทบาทก้าวสู่แถวหน้าขององค์กรที่ชัดเจนขึ้นด้วยบทบาทของงานที่รับผิดชอบที่เริ่มจากคน
       
       
จุดประกายวิชาชีพ
       สร้างคุณค่าคน HR

       
       ภัทรพงษ์ พรรณศิริ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและธุรการกลาง บริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ผู้คร่ำหวอดในวงการ HR และทำงานกับเครือซีพีมานานกว่า 25 ปี ที่มีมุมมองต่อการสร้างคุณค่า HR ไว้ว่า ปัจจุบัน HR เป็นที่คาดหวังของผู้บริหาร เนื่องจากโอกาสทางธุรกิจและวิกฤติในประเทศทำให้หลายบริษัทขยายการลงทุนออกไปยังต่างประเทศมากขึ้น ฉะนั้น HR จึงเป็นความคาดหวังของผู้บริหารเพื่อเป็นกำลังหนุนสำคัญกับวิชชั่นที่ตั้งเป้าไว้
       
        ซึ่ง HR จึงต้องมีการเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และ HR เป็นหนึ่งในทีมงานที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในองค์กรและการเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส ฉะนั้นนอกจาการจะสร้างคุณค่าให้เกิดแก่งาน HR เองแล้ว ขณะเดียวกัน HR ยังต้องมองไกลเตรียมรับมือกับการขยายตัวขององค์กรโดยเฉพาะงานในต่างประเทศ
       
        สมชาย เลิศวิเศษธีรกุล รองประธานบริหารด้าน บิสิเนส ดีเวลลอปเมนต์ สามารถคอร์ปอชั่น ผู้เริ่มงานจาก HR ได้พัฒนาความสามารถขึ้นนั่งตำแหน่งดังกล่าว กล่าวว่า HR ต้องมีความหลากหลายมากขึ้นโดยเฉพาะในส่วนของงาน ที่ผ่านมาคุณค่าขององค์กรมักจะพูดถึงผลประกอบการซึ่งเป็นผลงานของหน่วยสร้างเงินหรือโฟฟิตเซ็นเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายการเงิน ฝ่ายการตลาด แต่ไม่มีคนพูดถึงงาน HR จนดูเหมือนเป็นชนชั้น 2 ทั้งนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่าคุณค่าขององค์กรไม่ได้ขึ้นกับผลประกอบการอย่างเดียว แต่เรื่องภาพลักษณ์องค์กรที่ออกสู่สังคมมีผลอย่างมากในปัจจุบัน
       
        ยกตัวอย่าง เช่น บริษัท A ได้แข่งขันกับบริษัท B ซึ่งบริษัท A นั้นได้ขายสินค้าตัดราคาส่งผลกระทบต่อคุณภาพสินค้า และบริการที่ไม่ตรงต่อเวลา ขณะที่บริษัท B ขยายราคาตามท้องตลาดเน้นสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าด้วยการส่งสินค้าตรงตามเวลา สินค้าถูกต้องตามที่สั่ง เพราะการทำธุรกิจความเสี่ยงคือเรื่องของเวลา ถ้าไม่ได้สินค้าตามเวลาความเสียหายมีมากกว่าสิ่งที่ประหยัด
       
        แล้วมีคำถามต่อว่า แล้ว HR จะสร้างคุณค่าให้กับองค์กรได้อย่างไร? หากดูที่หลักการบริหาร 4 M Man Money Material Management พบว่างานของ HR เป็นในหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อผลประกอบการบริษัทให้ประสบความสำเร็จ คือ Management
       
        สมชาย ยกตัวอย่าง เดิมบริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริหารงานระบบครอบครัวทำให้การขับเคลื่อนบริษัทไม่คล่องตัว ต้องการเปลี่ยนสู่ระบบบริหารอย่างมืออาชีพ จากยอดขาย 5,000-6,000 ล้านบาท ปรับเป้าเป็น 35,000 ล้านบาท HR เข้ามามีบทบาทด้วยการเสนอปรับโครงสร้างการกระจายอำนาจใหม่ทั้งหมด ไม่ใช่แค่การมานั่งแก้ไขหรือเขียนกฎระเบียบ สิ่งนี้ถือเป็นการสร้างคุณค่าที่เกิดขึ้นได้
       
       
ขยายบทบาทสู่ผู้เกี่ยวข้อง
       รู้เขา รู้เรา รู้รอบทิศธุรกิจ

       
        สำหรับในมุมมองของ ภัทรพงษ์ การที่จะสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นได้นั้นต้องมอง 2 มิติ มิติแรก คืองาน HR และเป้าหมายที่จะไป เริ่มจากมิติแรกคืองาน HR นั้นถ้าบทบาทคือการหาคนให้องค์กร จูงใจให้ทำงานมีประสิทธิภาพ รักษาพนักงานให้อยู่กับบริษัทและดูแลจนกระทั่งพนักงานลาออก ซึ่งงานเหล่านี้ควรมอบหมายให้ระดับรองลงมาดูแล
       
        "ให้ศึกษาว่าสเตคโฮลเดอร์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องนั้นในองค์กรต้องการอะไรจากเรา และเราต้องการเสนออะไรให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วย ถ้าจากภายในองค์กรต้องมองที่การจูงใจพนักงานทำงานให้เต็มที่ กำหนดผลตอบแทน ความก้าวหน้า ความมั่นคง จ่ายงานท้าทาย สร้างงานโปรเจกต์มากขึ้น ส่วนรูทีนใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย"
       
        ส่วนลูกค้าหรือแผนกต่างๆ ในองค์กร HR ต้องอ่านโจทย์ให้ออก วิเคราะห์ความพอใจของลูกค้า และดูว่า HR จะเป็นตัวกลางลดปัญหาระหว่างฝ่ายได้หรือไม่ หากปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลต่อลูกค้าของบริษัทต้องทำให้ลูกค้าลดการร้องเรียน
       
        หรือทำให้ HR เป็นส่วนหนึ่งสร้างโครงการเป็นประโยชน์ต่อสังคม ควรเริ่มนึกขยายผลต่อไปให้มากขึ้น เพราะจะเป็นผลผลักดันให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้โดยมี HR ไปเกี่ยวข้องกับธุรกิจบริษัท
       
        ขณะเดียวกันอย่าละทิ้งเป้าหมายคือการโกอินเตอร์ซึ่งเป็นธงของหลายๆ คน ที่ HR ต้องเตรียมตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นซึ่งอาจต้องไปดูแลพนักงานต่างชาติที่บริษัทขยายการลงทุนไป ต้องศึกษา HR ต่างประเทศทำงานอย่างไร เพราะโลกเปลี่ยนทุกวัน HR ต้องเปลี่ยนตามโลก เทคนิคงานจัดการงานบุคคลเปลี่ยนเพื่อการก้าวสู่แถวหน้าในสายอาชีพ อย่าคิดเพียงว่าเรื่อง คน กับ เงิน ขึ้นกับเบอร์ 1 หรือผู้บริหารของบริษัท ทำให้งานส่วนนี้มีแต้มต่ออยู่แล้ว
       
        ซึ่งแนวทางของการจะก้าวสู่อินเตอร์นั้นต้องสร้างบทบาทให้เกิดขึ้น จากการเข้าไปสัมพันธ์กับทุกภาคส่วนของบริษัทเป็นการขยายขอบเขตบทบาทและหน้าที่ เพื่อสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้น เช่นกับฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ แสดงศักยภาพให้เห็นซึ่งมาจากการพัฒนาทีมงาน HR ด้วย
       
        มิติที่ 2 มองผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องรอบตัว ที่อยู่ภายนอกองค์กร HR จะสร้างประโยชน์ต่อเขาได้อย่างไรบ้าง เช่น การจัดกิจกรรม โปรเจ็คที่ไปเซอร์วิสได้ เพราะงาน HR ถูกมองว่าเป็นงานจับต้องไม่ได้ มีการเปรียบเทียบว่า HR ก้เหมือนกับลิงตีฉาบที่ไม่มีบทบาทในเชิงธุรกิจ ฉะนั้นต้อง คิดชาเลนท์เองด้วยความสามารถ
       
        เช่น สิ่งที่ HR ทรูวิชั่นทำ ในการประชุมร่วมกับตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ โดยได้เสนอคอนเซ็ปต์ที่ HR จะไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งตัวแทนจำหน่ายมีรายได้จากการหาสมาชิก และการขายสินค้าในร้าน ซึ่งทั้ง 2 ส่วนงานนี้จะมีฝ่ายขายให้คำแนะนำ อยู่แล้ว อาจเกิดคำถามว่าแล้ว HR จะเข้าไปแทรกตรงไหน
       
        สิ่งที่ HR ทำได้คือ การเริ่มจากงานที่ถนัดคืองานบุคคล ซึ่งพบว่าตัวแทนจำหน่ายตามต่างจังหวัดไม่มีระบบการบริหารจัดการคนที่ดี คนเก่งๆ ไม่สามารถรักษาไว้ได้ หรือหาพนักงานใหม่สักคนก็ยากมาก จึงได้เสนอว่า หากตัวแทนจำหน่ายรายได้สามารถสร้างยอดขายต่อเดือนได้ตามที่ฝ่ายขายกำหนด HR จะมีระบบบริหารจัดการคนให้ด้วยการทำเป็นแบบฟอร์มสำเร็จรูปทั้งการคัดสรรคน หารรักษาคน การพัฒนาคน เทคนิคการสัมภาษณ์ ฯลฯ ซึ่งเป็นงานของ HR ทั้งหมด จากโปรเจ๊กดังกล่าวได้รับการตอบรับดี สามารถกระตุ้นยอดขายให้กับบริษัทได้
       
        ฉะนั้นไม่ว่าจะมีเวทีอะไรที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรายได้ให้กับบริษัท HR จะเป็นฝ่ายที่ถูกเชิญให้เข้าร่วมเพื่อแสดงความคิดเห็นต่างๆ ด้วยเสมอ
       
        "บางครั้งเหมือนผงเข้าตาที่ยังไม่มองออกว่าจะมีบทบาทอะไรที่จะสามารถสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นได้ ฉะนั้นอย่าคิดอะไรที่ยาก เพราะถ้ายากแล้วจะไม่กล้าทำ ควรเริ่มจากการคิดง่ายๆ แล้วค่อยๆคิดในสิ่งที่ยากขึ้นเมื่อเกิดความมั่นใจ จึงจะเป็นการบียอน HR ที่เริ่มจากสิ่งที่เรารู้ ขยายไปสู่สิ่งที่ยากและเรียนรู้เพิ่มขึ้นได้"
       
        ขณะเดียวกัน นอกจากการสร้างคุณค่าที่เกิดขึ้นแล้ว HR ต้องมองไปไกลมองถึงอนาคต ที่จะเห็นว่าขณะนี้ ทรู วิชั่นส์ ได้ขยายงานไปต่างประเทศที่ไปแล้วคือจีน และจะไปเวียดนามต่อไป ฉะนั้น HR ต้องเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทุกด้าน หากมองที่ระบบการประเมินธุรกิจ HR จะเกี่ยวข้องเฉพาะเรื่องคนหรือ learning and gold อย่างเดียวไม่ได้มองมองตรงมองให้ครบไม่ว่าจะเป็นเรื่องไฟแนนซ์ ลูกค้า ที่จะต้องไปด้วยกัน
       
        และสิ่งสำคัญต้องสร้างผลงานที่ที่วัดเป็นเชิงปริมาณเพื่อให้ได้รับความเชื่อถือคือสามารถสร้างเงินให้กับองค์กรขณะเดียวกันต้องประหยัดเงินให้ได้ด้วย
       
       
ยึดสิ่งถนัดจากงานบุคคล
       ประยุกต์ข้าหลักบริหารธุรกิจ

       
        ขณะที่ สมชาย กล่าวว่า สิ่งที่จะสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นได้นั้น อาจเริ่มจากงานหลักของ HR คือ ทฤษฎี 3 R – Recruit Ramaintion Retire ซึ่งไม่แตกต่างจากการบริหารงานเดิม เพียงแค่หากลยุทธ์ที่แตกต่างจากเดิม ทั้งนี้ 3 R ต้องตอบสนองผู้บริหาร พนักงานในองค์กร
       
        เช่นการรีคูส หากต้องมีการรับพนักงาน ควรศึกษาความต้องการหรือสอบถามหัวหน้างานในแผนกนั้นๆ ประกอบการพิจารณาคัดเลือกคน รีเมนชั่นหรือการธำรงรักษาพนักงานหากต้องมีการรักษาคนเก่งในองค์กรไว้อย่ายึดติดกับสิ่งที่เรียนในตำรา เช่น อายุงาน ประสบการณ์ แต่พิจารณาให้กว้างที่คนแล้วบุคคลคนนี้มีคุณค่ากับองค์กรมากนอกแค่ไหนเมื่อเทียบกับพนักงานระดับเดียวกัน
       
        ส่วนการรีไทน์หรือลาออกของพนักงาน ถ้าเป็นพนักงานที่มีความสำคัญในส่วนงานนั้นๆ ต้องหารือกับเจ้านานของพนักงานคนนั้นโดยตรง HR มีการนำเสนอเพื่อรักษาพนักงานให้อยู่นานที่สุด เช่น เสนอให้ลาออกโดยไม่รับเงินเดือน ในระยะหนึ่งเพื่อมีเวลาตัดสินใจใหม่ หาก HR รู้สึกว่าพนักงานคนดังกล่าวสามารถสร้างผลงานที่เกิดแก่บริษัทได้เป็นอย่างดี
       
        นอกจากนี้ สมชาย ได้แนะให้นำหลักแนวทางบริหารหรือ poscorb เพื่อเป็นบรรทัดฐานวัดตนเองเพื่อสร้างคุณค่าในกระบวนการบริหารงานและเป็นแนวทางสำหรับปฏิบัติการทำงานด้วย p- planning เข้าไปมีส่วนร่วมสร้างองค์กรตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ o- organization ออกแบบองค์กร จัดทัพจัดศึก s- staff การนำคนไปลงยังตำแหน่งต่างๆ
       
        co-corporation งานด้านแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งเป็นงานโดยตรงของ HR และสามารถทำได้ดีที่สุดที่จะหาใครมาแทนที่ได้ยาก r-reporting การทำรายงานธุรกิจ ซึ่งให้เห็นถึงการเริ่มธุรกิจ การเติบโตที่ได้จากยอดขาย และมองทะลุถึงแนวโน้มหากธุรกิจจะย่ำแย่ลงต้องเสริมงาน HR เข้าไปอย่างทันท่วงทีซึ่งเกี่ยวข้องกับคนหรือเป็นการเสริมทัพ และส่วนสุดท้าย b-budget ซึ่งพนักงานถือเป็นทั้งต้นทุนและรายจ่ายซึ่งมองถึงการจ้างงานตามสถานการณ์ที่เหมาะสม
       
        ในฐานะที่ สมชาย ขยับจากงาน HR สู่ระดับผู้บริหารในปัจจุบัน ให้มุมมองว่า สิ่งที่ผู้บริหารต้องการได้จาก HR อีกส่วนหนึ่งคือ การวัดผลสำเร็จขององค์กรในเชิง HR คือการทำงานแล้วลูกน้องไม่ลาออกคือดี แต่อีกมุมหนึ่ง ถ้ามีเทิร์นโอเวอร์เล็กน้อยจะดี เหมือนบริจาคเลือดคือร่างกายเกิดการกระตุ้นสร้างเลือดใหม่ขึ้นมาคือสร้างนิวไอเดีย เพื่อครีเอตงานใหม่ๆ ให้เกิดแก่องค์กร
       
        ไอเดียจาก HR มืออาชีพสิ่งที่ว่ายากก็ง่ายลงในพริบตา เพราะคุณสามารถเริ่มได้จากงานที่ถนัดพัฒนาต่อยอดสู่งานที่ยากขึ้นเท่านี้เส้นทางในสายอาชีพก็จะเด่นชัดขึ้นได้ไม่ยาก
โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์

อัพเดทล่าสุด