นายจ้างจะออกคำสั่งในเรื่องการทำงานล่วงเวลา MUSLIMTHAIPOST

 

นายจ้างจะออกคำสั่งในเรื่องการทำงานล่วงเวลา


568 ผู้ชม


นายจ้างจะออกคำสั่งในเรื่องการทำงานล่วงเวลา




สัญญาจ้างแรงงานนอกจากจะบังคับใช้ตามบรรพ 3 ลักษณะที่ 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ยงต้องบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะให้สอดคล้องกันด้วยในเรื่องการทำงานล่วงเวลาได้มีการบัญญัติไว้โดยเฉพาะในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ฉะนั้น นายจ้างจะมีคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้หรือไม่เพียงใด ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายฉบับนี้ คู่กรณีจะทำสัญญาให้แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหาได้ไม่ โดยกฎหมายฉบับนี้วางหลักเกณฑ์ว่า นายจ้างไม่มีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน นอกจากจะเข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน เว้นแต่ได้รับความยินยอมเป็นคราวๆไป หมายความว่า เมื่อนายจ้างประสงค์ให้มีการทำงานล่วงเวลาในช่วงระยะเวลาใด นายจ้างจะต้องทำความตกลงกับลูกจ้างโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้มีสาระสำคัญครบถ้วนถึงกำหนดช่วงระยะการเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการทำงานล่วงเวลาไว้ก่อนล่วงเวลา หลังจากนั้นหากนายจ้างจะออกคำสั่งในเรื่องการทำงานล่วงเวลาอีกก็ต้องให้ สอดคล้องกับข้อตกลง ดังกล่าว ถ้าคำสั่งนั้นไม่สอดคล้องกับข้อตกลงต้องถือว่าเป็นคำสั่งให้ทำงานล่วงเวลาที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวลูกจ้างไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามก็ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงเรื่องกำหนดช่วงระยะเวลาการเริ่มต้น และการสิ้นสุดของการทำงานล่วงเวลาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างไว้ คำสั่งของนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาตามประกาศของนายจ้าง จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.  2541 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ลูกจ้างจะลงชื่อให้ความยินยอมว่าจะปฏิบัติตามประกาศของนายจ้าง ก็ไม่ผูกพันลูกจ้างให้ต้องทำงานล่วงเวลา การที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานล่วงเวลาทุกวันตามคำสั่งของนายจ้างในประกาศดังกล่าว ยังไม่ถือว่าลูกจ้างขัดคำสั่งเรื่องการทำงานล่วงเวลา

คำพิพากษาฎีกาที่4121/2543

อัพเดทล่าสุด