https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
Broadbanding : ตัวอย่างที่ 1 การนำประยุกต์ใช้ MUSLIMTHAIPOST

 

Broadbanding : ตัวอย่างที่ 1 การนำประยุกต์ใช้


615 ผู้ชม


Broadbanding : ตัวอย่างที่ 1 การนำประยุกต์ใช้




ตัวอย่างที่ 1

 

ขั้นตอนโดยสังเขป

        · กรรมการพิจารณาอนุมัติหลักการ

        · แผนกบุคคลจัดพนักงานเข้าระบบใหม่

        · ชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้บริหาร/ปรับระบบ

        · ชี้แจงกับพนักงานทั้งหมด

        · เริ่มใช้ระบบ

การออกแบบระบบ

 

หลักเกณฑ์ในการจำแนกระดับ

 

แต่ละระดับพิจารณา ลักษณะสำคัญจากเกณฑ์ดังต่อไปนี้

        1.)  การทำงานกับลูกค้า (ภายนอกและภายใน)

        2.)  ความเป็นผู้นำและผลกระทบ

        3.)  ความเชี่ยวชาญและไหวพริบ

        4.)  รูปแบบและความถี่ของการวัดผลการปฏิบัติงาน

การปรับระบบเก่าเข้าระบบใหม่

 

ในการประเมินและปรับพนักงานแต่ละรายจากโครงสร้างเงินเดือนเดิมเข้าสู่ระบบใหม่

  • พิจารณาตามหลักเกณฑ์ของระดับต่างๆ ที่วางไว้

  • มีการทบทวนการปรับเข้าระบบใหม่เป็นรายๆ ที่มีการร้องขอ หรือมีความคลุมเครือ

            ระดับ 5      ระดับบริหาร

 

                ระดับสูงสุดขององค์กร ผู้บริหารหน่วยงาน โครงการ ฝ่ายงาน ทั้งที่เป็นศูนย์กำไร และสายงานบริการ

            ระดับ 4      ระดับอาวุโส

 

                ผู้ที่เป็นฟันเฟืองหลักในสายงานใดสายงานหนึ่ง ซึ่งขึ้นต่อ “ระดับบริหาร” ระดับ 5 เป็นผู้นำในโครงการ

                ฝ่ายงาน ทั้งด้านบริหาร บริการ และเทคนิค

            ระดับ 3      ระดับจัดการและผู้เชี่ยวชาญ

 

                ผู้จัดการโครงการ ฝ่ายงาน ศูนย์ หรือผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ที่องค์กรต้องการ

            ระดับ 2       ระดับวิชาชีพหลัก

 

                ช่างเทคนิค ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน วิชาชีสาขาต่างๆ รวมทั้งงานธุรการทั่วไปที่ต้องคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์

                ให้คำปรึกษา ลดต้นทุน จัดการทรัพยากร (คน, เงิน ,อุปกรณ์)  และแก้ปัญหาเฉพาหน้า

            ระดับ 1       ระดับวิชาชีพแนวหน้า

 

                ผู้ทำงานหรือให้บริการงานประจำ ทำงานตรงกับลูกค้าทั้งภายในและภายนอก

บทบาทของแต่ละระดับ

1. การทำงานกับลูกค้า (ภายนอกและภายใน)

            ระดับ 5     ระดับบริหาร

 

                รับผิดชอบในการตัดสินใจว่าจะให้บริการลูกค้าหรือไม่ และอย่างไร

                ระดับ 4     ระดับอาวุโส

 

                รับผิดชอบในการจัดสรรทรัพยากรในการให้บริการลูกค้า เพื่อประโยชน์สูงสุดของทั้งลูกค้าและองค์กรเพื่อให้

                ไปไปตามทิศทางที่กำหนดโดยระดับ 5

                ระดับ 3    ระดับจัดการและผู้เชี่ยวชาญ

 

                จัดการให้ลูกค้าได้รับบริการตามความต้องการของลูกค้าที่มิใช่งานประจำ ต้องใช้ความชำนาญและต้องตัดสิน

                ใจ เพื่อให้การบริการบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

                ระดับ 2     ระดับวิชาชีพหลัก

 

                แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เสนอแนะวิธีการหรือทางออกในการให้บริการลูกค้า มีทางเลือกตามกรอบที่กำหนด

                เพื่อให้การบริการลูกค้าเป็นไปตามนโยบายขององค์กร ต้องปฏิบัติงานทั้งที่เป็นงานประจำและงานอื่นตาม

                ความต้องการของลูกค้า

                ระดับ 1      ระดับวิชาชีพแนวหน้า

 

                ให้บริการตามความต้องการของลูกค้า งานส่วนใหญ่จะเป็นงานประจำ ความสำเร็จของงานอยู่ที่การเลือกรูป

                แบบ และวิธีการที่มีอยู่แล้วให้บริการตามความต้องการของลูกค้า

2. ความเป็นผู้นำและผลกระทบ

                ระดับ 5      ระดับบริหาร

 

                เป็นผู้กำหนดกลยุทธ์และนโยบาย วางแผนกำหนดแนวทางปฏิบัติ วิสัยทัศน์

                ระดับ 4      ระดับอาวุโส

 

                เสนอแนะกลยุทธ์และนโยบายให้กับระดับบริหาร เป็นตัวกลางที่สำคัญในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์และแผนงาน

                ขององค์กรสู่พนักงาน เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง ผลักดันให้องค์กรก้าวหน้า

                ระดับ 3      ระดับจัดการและผู้เชี่ยวชาญ

 

                สามารถโน้มน้าวกลุ่มคนที่มีความแตกต่าง หลากหลายให้เห็นพ้องต้องกันและเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ต้องการ

                เพื่อให้ได้ผลงานตามเป้าหมาย ที่กำหนด เริ่มตั้งแต่รับมอบหมายงาน การตัดสินใจ การกระจายอำนาจ ส่วน

                ใหญ่ก็จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของผู้ครองตำแหน่ง

                ระดับ 2      ระดับวิชาชีพหลัก

 

                ช่วยแนะนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ผลกระทบมันขึ้นอยู่กับ ความละเอียดรอบคอบ คุณภาพของผลงาน ความ

                น่าเชื่อถือ และความสามารถในการโน้มน้าวใจของผู้อยู่ในตำแหน่ง หากเป็นหัวหน้างานก็ขึ้นอยู่กับความ

                สามารถในการชี้นำพนักงานจากสายอาชีพต่างๆ

                ระดับ 1       ระดับวิชาชีพแนวหน้า

 

                ผลการปฏิบัติงานมีขีดจำกัดค่อนข้างแน่นอน ตามความรับผิดชอบ และขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมของพนักงาน

                 หรืออาจจะได้ ควบคุม ดูแล ประสานงาน หรือทำงานร่วมกับพนักงานที่ทำสัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลา

                พนักงานของลูกค้า หรือผู้รับเหมาช่วง ทำงานตามนโยบาย และตัดสินใจในระดับหนึ่งกับงานประจำ

3. ความชำนาญและไหวพริบ

                ระดับ 5       ระดับบริหาร

 

                มีความรู้ความชำนาญในธุรกิจกว้างขวาง โดยได้มาจากประสบการณ์ในทางลึก และเคยประสบความสำเร็จใน

                การนำองค์กรมาแล้ว

                ระดับ 4       ระดับอาวุโส

 

                มีความรู้ความชำนาญในทางลึกในสายงานใดสายงานหนึ่ง หรือเทคนิคใดเทคนิคหนึ่ง  ประกอบกับทักษะใน

                การนำเสนอและการบริหารทั่วๆไป

            ระดับ 3      ระดับจัดการและผู้เชี่ยวชาญ

 

                มีความเชี่ยวชาญในการบริหารคนหรือโครงการ มีความสามารถในการทำงานหลากหลายหน้าที่หรือเทคนิค

                หรือมีความรู้ลึกซึ้งในเทคนิคเฉพาะด้าน ได้เคยแสดงความสามารถ  มีผลงานเป็นที่ยอมรับในอดีต

                ระดับ 2      ระดับวิชาชีพหลัก

 

                มีความคล่องตัวในการทำงานด้านเทคนิคหรืองานเฉพาะด้าน คุณค่าของการมีส่วนร่วม อาจวัดจากความรู้ใน

                งานทั้งด้านกว้างหรือด้านลึก

                ระดับ 1      ระดับวิชาชีพแนวหน้า

 

                มีความรู้พื้นฐานทางธุรกิจ เทคนิค หรือวิชาชีพ ตามความต้องการขององค์กร ผู้อยู่ในระดับนี้อาจพัฒนาสั่งสม

                ความชำนาญลงลึกในเนื้องานเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง ตามระยะเวลาทำงาน

4. รูปแบบและความถี่ของการวัดผลการปฏิบัติงาน

                ระดับ 5       ระดับบริหาร

 

                    รูปแบบ    รายงานผลการปฏิบัติงานและผลลัพธ์ด้านการเงินของฝ่ายงาน หรือของศูนย์

                    ความถี่     ค่อนข้างยาว เช่น รายเดือน รายไตรมาส ครึ่งปี หนึ่งปี หรืออาจจะเกิน 1 ปีก็ได้

                ระดับ 4      ระดับอาวุโส

 

                    รูปแบบ    รายงานผสมผสานระหว่างกลยุทธ์และวิธีการ อาจรายงานบางส่วนของผลงานรวมของฝ่าย หรือ

                                     ในนามของหน่วยงานที่สังกัด

                     ความถี่    ระยะปานกลาง เช่น รายเดือน รายไตรมาส ครึ่งปี หรือ  1 ปี

                ระดับ 3      ระดับจัดการและผู้เชี่ยวชาญ

 

                    รูปแบบ    รายงานผลไม่ว่าจะเป็นด้าน การเงิน การให้บริการของหน่วยย่อย ว่าได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

                    ความถี่     ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของงานนั้น ส่วนใหญ่มักจะเป็นรายงานประจำเดือน

                ระดับ 2      ระดับวิชาชีพหลัก

 

                    รูปแบบ    มักจะต้องการงานตามเป้าหมายที่ตั้งกันไว้ล่วงหน้าแล้วโดยผู้บังคับบัญชาโดยตรง

                    ความถี่     รายงานเป็นสัปดาห์ หรือรายเดือน แต่บางครั้งอาจต้องรายงานความก้าวหน้าของ

                                    โครงการระยะยาว

                ระดับ 1     ระดับวิชาชีพแนวหน้า

 

                    รูปแบบ    ผลงานมักมีเป้าหมาเชิงปริมาณ และคุณภาพในการวัด

                    ความถี่     รายวันหรือรายสัปดาห์ แต่สำหรับผู้ร่วมโครงการระยะยาว อาจจะส่งรายงานนานกว่านี้ได้


บริหารค่าตอบแทนแบบสร้างสรรค์ด้วยระบบ Broadbanding

Boradbanding : An Innovative in Compensation Management

เขียนโดย :  ธัญญา  ผลอนันต์

อัพเดทล่าสุด