ข่าวทั่วไป ที่น่าสนใจ ข้อมูล Large Hadron Collider MUSLIMTHAIPOST

 

ข่าวทั่วไป ที่น่าสนใจ ข้อมูล Large Hadron Collider


571 ผู้ชม


ข่าวทั่วไป ที่น่าสนใจ
ข้อมูล Large Hadron Collider

พุธ ที่ 10 เดือน กันยายน พ.ศ.2551
 

เกาะกระแสหน่อยแล้วกันหลังจากที่ "เซิร์น" หรือ องค์กรวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรปได้เดินเครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ (LHC) ไปแล้วในวันนี้
แล้วเพื่อนๆ สงสัยไหมว่าเขาทำไปทำไมกัน? แต่ก่อนอื่นเรามาศึกษากันก่อนดีกว่าว่าเจ้าเครื่องที่ว่าเนี่ยมันทำงานยังไง
ก่อนที่จะตื่นตูมกลัวตายไปตามๆ กัน อ่านสักหน่อยก็ยังดี
จะได้จำใส่ใจไว้ด้วยว่าในช่วงชีวิตหนึ่งของเราได้มีส่วนร่วมในการทดลองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
ข่าวทั่วไป ที่น่าสนใจ ข้อมูล Large Hadron Collider
ภาพจำลองแสดงภาคตัดขวางของห้องปฏิบัติการสำหรับเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี
ข่าวทั่วไป ที่น่าสนใจ ข้อมูล Large Hadron Collider
แผนที่แสดงตำแหน่งของท่อสำหรับเร่งอนุภาคของเซิร์น P1 คือตำแหน่งของสถานีตรวจวัดอนุภาคแอตลาส
เครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่มีลักษณะเป็นท่อขดเป็นวงยาว 27 กิโลเมตร อยู่ลึกลงไปใต้ดิน 100 เมตร ขดอยู่รอบชายแดนฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์
โดยเครื่องเร่งอนุภาคจะทำการเร่งลำอนุภาคของโปรตอน 2 ลำให้เคลื่อนที่ในทิศทางตรงกันข้ามไปตามท่อที่วางขนานกันซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ภายใต้ภาวะสุญญากาศ แล้วชนกันที่ความเร็วเข้าใกล้ความเร็วแสง 99.9999% ที่พลังงานสูงระดับ TeV หรือระดับล้านล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (1012 eV) ที่บริเวณสถานีตรวจวัดสัญญาณกำเนิดจักรวาล 4 จุดด้วยกันคือ
1. สถานีตรวจวัดอลิซ (ALICE) หน้าที่ของเครื่องตรวจวัดที่สถานีนี้คือการตรวจวัดสถานะพลาสมาควาร์ก-กลูออน (quark-gluon plasma)
ซึ่งเชื่อว่าเป็นสถานะที่เกิดขึ้นหลังบิกแบง ขณะที่เอกภพยังร้อนสุดขีด โดยการชนกันของอนุภาคที่จะเกิดขึ้นในเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซีนั้นจะทำให้ เกิดอุณหภูมิสูง 100,000 เท่าของใจกลางดวงอาทิตย์ นักฟิสิกส์หวังว่าภายในสภาวะนี้โปรตอนและนิวตรอนจะ "ละลาย" และปลดปล่อยควาร์กออกจากพันธะ
ทีมวิจัยในส่วนของอลิซวางแผนที่จะศึกษาสถานะพลาสมาควาร์ก-กลูออนเมื่อขยายตัวและเย็นลง รวมถึงสังเกตว่าสถานะพิเศษนี้ค่อยๆ กลายเป็นอนุภาคซึ่งประกอบขึ้นเป็นสสารในเอกภพอย่างทุกวันนี้ได้อย่างไร
2. สถานีตรวจวัดอนุภาคแอตลาส (ATLAS) เป็น 1 ใน 2 เครื่องตรวจวัดอเนกประสงค์ภายในเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี มีหน้าที่อย่างกว้างๆ คือ
ตรวจหาอนุภาคฮิกก์ส มิติพิเศษ (extra dimension) และอนุภาคที่อาจก่อตัวขึ้นเป็นสสารมืด (dark matter) โดยจะวัดสัญญาณของอนุภาคที่คาดว่าถูกสร้างขึ้นหลังการชนกันของอนุภาค
ทั้งแนวการเคลื่อนที่ พลังงาน รวมไปถึงการจำแนกชนิดอนุภาคนั้นๆ
แอตลาสเป็นระบบแม่เหล็กรูปโดนัทขนาดใหญ่ที่มีความยาวถึง 46 เมตร นับเป็นเครื่องมือชิ้นใหญ่ที่สุดของเซิร์น
และมีขดลวดแม่เหล็กตัวนำยิ่งยวดขดเป็นทรงกระบอกยาว 25 เมตร รอบๆ ท่อลำอนุภาคที่ผ่านใจกลางของเครื่องตรวจวัดอนุภาคนี้
เมื่อเดินเครื่องจะเกิดสนามแม่เหล็กในศูนย์กลางของทรงกระบอก ที่สถานีนี้มีนักวิทยาศาสตร์ทำงานกว่า 1,700 คน
3. สถานีตรวจวัดอนุภาคซีเอ็มเอส (CMS) เป็นเครื่องตรวจวัดอนุภาคที่มีเป้าหมายเดียวกับแอตลาส แต่มีความแตกต่างในรูปแบบการทำงานและระบบแม่เหล็กในการตรวจวัดอนุภาคซีเอ็มเอส
สร้างขึ้นด้วยขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่เกิดจากสายเคเบิลตัว นำยิ่งยวดที่ขดเป็นทรงกระบอก ซึ่งสร้างให้เกิดสนามแม่เหล็กได้มากกว่าโลก 100,000 เท่า ซึ่งทำให้เครื่องตรวจวัดหนักถึง 12,500 ตัน
แทนที่จะสร้างเครื่องมือชิ้นนี้ภายในอุโมงค์ใต้ดินเหมือนเครื่องมือ อื่นๆ แต่เครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซีกลับสร้างขึ้นจากบนพื้นดินแล้วแยกเป็นชิ้นส่วน 15 ชิ้นเพื่อนำลงไปประกอบในชั้นใต้ดิน
และที่สถานีนี้ก็มีนักวิทยาศาสตร์ทำงานจำนวนมากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสถานีแอ ตลาสถึง 2,000 คนจากกว่า 150 สถาบันใน 37 ประเทศ
4. สถานีตรวจวัดอนุภาคแอลเอชซีบี (LHCb) ซึ่งจะทำการทดลองเพื่อสร้างความเข้าใจว่าทำไมเราจึงอาศัยอยู่ในเอกภพที่เต็ม ไปด้วยสสาร แต่กลับไม่มีปฏิสสาร โดยมีหน้าที่พิเศษในการศึกษาอนุภาคที่เรียกว่า
"บิวตี ควาร์ก" (beauty quark) เพื่อสังเกตความแตกต่างเพียงเล็กน้อยระหว่างสสารและปฏิสสาร และแทนที่จะติดตั้งเซนเซอร์รอบจุดที่อนุภาคชนกันก็ใช้ชุดเซนเซอร์ย่อยเรียง ซ้อนกันเป็นความยาว 20 เมตร
เมื่อแอลเอชซีเร่งให้อนุภาคชนกันแล้วจะเกิดควาร์กชนิดต่างๆ มากมายและสลายตัวไปอยู่ในรูปอื่นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเซนเซอร์เครื่องตรวจวัดแอลเอชซีบีจึงถูกออกแบบให้อยู่ในเส้นทางของลำอนุภาคที่จะเคลื่อนที่เป็นวงไปตามเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี
ข่าวทั่วไป ที่น่าสนใจ ข้อมูล Large Hadron Collider
ภาพเครื่องตรวจวัดซีเอ็มเอส
ข่าวทั่วไป ที่น่าสนใจ ข้อมูล Large Hadron Collider
เจ้าหน้าที่เซิร์นกำลังตรวจสอบแม่เหล็กตัวนำยิ่งยวดของเครื่องซีเอ็มเอส
ข่าวทั่วไป ที่น่าสนใจ ข้อมูล Large Hadron Collider
ช่างเทคนิคติดตั้งท่อแก๊สสำหรับเครื่องตรวจวัดอนุภาคอลิซ
ข่าวทั่วไป ที่น่าสนใจ ข้อมูล Large Hadron Collider
แม่เหล็กตัวนำยิ่งยวดถูกลำเลียงสู่อุโมงค์ใต้ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติเร่งอนุภาคของเซิร์น
ข่าวทั่วไป ที่น่าสนใจ ข้อมูล Large Hadron Collider
ภาพของเจ้าหน้าที่ขณะกำลังติดตั้งเครื่องซีเอ็มเอส
ที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ทำการทดลองในครั้งนี้ก็เพื่อศึกษาหาต้นกำเนิดแห่งมวลในจักรวาล โดยมีคำถามพื้นฐานของมนุษย์ที่ว่าเอกภพหรือจักรวาลประกอบขึ้นจากอะไร?
หากเกิดตามทฤษฎี "บิกแบง" (Big Bang) การระเบิดครั้งใหญ่ที่ก่อเกิดจักรวาลเมื่อ 1.37 หมื่นล้านปีก็ก่อนควรจะมีสสาร (matter) และปฏิสสาร (antimatter) ในปริมาณเท่าๆ กัน
ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วสสารและปฏิสสารที่มีมวลเท่ากันแต่มีประจุตรงข้ามกันนั้นจะหักล้างกันเองแล้วเปลี่ยนมวลกลายไปเป็นพลังงานและไม่น่าจะมีกาแลกซี ดวงดาว โลกหรือสิ่งมีชีวิตอยู่เลย
หากทฤษฎีนี้เป็นจริงทำไมสสารและปฏิสสารไม่หักล้างกันอย่างไปสมบูรณ์ตั้งแต่เกิดระเบิดครั้งนั้น?
เป็นไปได้หรือไม่ที่มีเอกภพซึ่งประกอบขึ้นด้วยปฏิสสารมากมายอยู่ที่ใดสักแห่ง?
เกิดอะไรขึ้นกับปฏิสสารหลังบิกแบง?
ข่าวทั่วไป ที่น่าสนใจ ข้อมูล Large Hadron Collider
ภาพจำลองทางคอมพิวเตอร์แสดงร่องรอยการเกิดฮิกก์ส ซึ่งหากการทดลองจริงพบฮิกก์สก็จะได้รับสัญญาณคล้ายกันนี้
นอกจากนี้ยังมีคำถามที่ว่าเกิดสสารที่ประกอบขึ้นเป็น ตัวเราได้อย่างไร?
ย้อนกลับไปในอดีตเราเชื่อว่าอะตอมคือหน่วยย่อยที่สุดของสสาร แต่ต่อมาเราก็พบว่ายังมีโปรตอน นิวตรอน อิเล็กตรอนที่เล็กกว่า และมี "ควาร์ก" (Quark) เป็นสิ่งที่เล็กลงไปอีก
แต่ยังไม่ใช่สิ่งที่เล็กที่สุดและยังไม่สามารถตอบได้ว่ามวลก่อเกิดขึ้นในจักรวาลอันว่างเปล่าได้อย่างไร...
และนักฟิสิกส์ยังรอคอยหลักฐานที่เกิดจากอนุภาคชนกันเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีอีกหลายทฤษฎี เช่น
- ทฤษฎีสมมาตรยิ่งยวด (supersymmetry theory) ที่อธิบายว่าอนุภาคมูลฐานมีคู่ "ซูเปอร์พาร์ทเนอร์" (superpartner) หรือคู่ยิ่งยวดที่คาดว่ามีมวลมากกว่า เช่น อิเล็กตรอน (electron) มีคู่คือ ซีเล็กตรอน (selectron) ควาร์ก (quark) มีคู่คือ สควาร์ก (squark) เป็นต้น เชื่อว่าคู่ยิ่งยวดเหล่านี้มีอยู่ในช่วงสั้นๆ หลังเกิดบิกแบง โดยเกิดขึ้นและสลายตัวอย่างรวดเร็วเนื่องจากมวลที่มากทำให้ไม่เสถียร ซึ่งวิธีที่จะสร้างคู่ยิ่งยวดขึ้นมาต้องสร้างเงื่อนไขให้คล้ายหลังเกิดบิ กแบงในช่วงเวลาสั้นๆ ที่เต็มไปด้วยพลังงานมหาศาล
- ทฤษฎีซูเปอร์สตริง (Superstring theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่พยายามอธิบายอนุภาคและแรงพื้นฐานในธรรมชาติด้วยทฤษฎีเดียว โดยจำลองให้อนุภาคและแรงพื้นฐานเหล่านั้นคือการสั่นของเส้นเชือกสมมาตรเล็กๆ (tiny supersymmetry string) โดยมีแบบจำลองอย่างในทฤษฎีนี้ที่ผลการทดลองของเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี
- แบบจำลองที่สมมติว่าเอกภพมีมิติมากกว่า 4 มิติ (Large extra-dimensions theories) โดยเราสามารถรับรู้ได้ถึงมิติของความกว้าง ความยาว ความสูงและเวลา แต่มีทฤษฎีที่เสนอว่าเอกภพมีมิติที่มากกว่านี้และคาดว่าการทดลองของ เซิร์นจะเผยให้เห็นมิติพิเศษ (extra-dimension) เพิ่มเติมมากกว่า 4 มิติที่เรารับรู้ได้
แต่ไม่ว่าการทดลองครั้งนี้จะได้ผลสรุปอย่างไร ที่แน่ ๆ คงจะเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหญ่ที่ของมนุษย์ชาติ ที่ท้าทายกับธรรมชาติครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด
เพราะถ้าการทดลองครั้งนี้ทำสำเร็จก็จะเป็นการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ แต่ถ้าล้มเหลวก็น่าเสียดายงบประมาณมาก ๆ เซิร์นคงเสียหน้าแย่เลย...

ที่มา https://www.mythland.org/html/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2440#32100

เครดิต : โดย 9nat


อัพเดทล่าสุด