ข่าวทั่วไป ที่น่าสนใจ อุทธรณ์ยกฟ้องอดีตประธาน คตง.ใส่ชื่อ ?คุณหญิงเป็ด? เป็นผู้ว่าฯ สตง. MUSLIMTHAIPOST

 

ข่าวทั่วไป ที่น่าสนใจ อุทธรณ์ยกฟ้องอดีตประธาน คตง.ใส่ชื่อ ?คุณหญิงเป็ด? เป็นผู้ว่าฯ สตง.


630 ผู้ชม


ข่าวทั่วไป ที่น่าสนใจ
อุทธรณ์ยกฟ้องอดีตประธาน คตง.ใส่ชื่อ ?คุณหญิงเป็ด? เป็นผู้ว่าฯ สตง.

อังคาร ที่ 18 เดือน มีนาคม พ.ศ.2551
 
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ข่าวทั่วไป ที่น่าสนใจ อุทธรณ์ยกฟ้องอดีตประธาน คตง.ใส่ชื่อ ?คุณหญิงเป็ด? เป็นผู้ว่าฯ สตง.
นายปัญญา เดินทางไปรับฟังคพิพากษาด้วยสูทสีน้ำเงินเข้ม สวมแว่นสายตาสีชา

ข่าวทั่วไป ที่น่าสนใจ อุทธรณ์ยกฟ้องอดีตประธาน คตง.ใส่ชื่อ ?คุณหญิงเป็ด? เป็นผู้ว่าฯ สตง.

ข่าวทั่วไป ที่น่าสนใจ อุทธรณ์ยกฟ้องอดีตประธาน คตง.ใส่ชื่อ ?คุณหญิงเป็ด? เป็นผู้ว่าฯ สตง.
ข่าวทั่วไป ที่น่าสนใจ อุทธรณ์ยกฟ้องอดีตประธาน คตง.ใส่ชื่อ ?คุณหญิงเป็ด? เป็นผู้ว่าฯ สตง.
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ยกฟ้อง “ปัญญา ตันติยวรงค์” อดีต ประธาน คตง.ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ สอดไส้ชื่อคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา เสนอวุฒิสภา เลือกผู้ว่าฯ สตง. ศาลชี้แม้การเสนอชื่อมากกว่า 1 คนขัดหลักกฎหมาย แต่ฟังไม่ได้ว่ามีเจตนาพิเศษช่วยเหลือคุณหญิง จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
       
       วันนี้ (18 มี.ค.) เมื่อเวลา 09.30 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 913 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 และนายประธาน ดาบเพชร อดีตผู้ได้รับการเสนอชื่อต่อวุฒิสภาเพื่อรับคัดเลือกเป็นผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายปัญญา ตันติยวรงค์ อดีตประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) เป็นจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต เพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรแก่ตนเองหรือผู้อื่นได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 กรณีเมื่อวันที่ 3 ก.ค.44 จำเลยเสนอรายชื่อ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา และนายนนทพล นิ่มสมบูรณ์ ร่วมกับชื่อของนายประธาน ดาบเพชร เสนอประธานวุฒิพิจารณาเลือกเป็นผู้ว่าฯ สตง. ทั้งที่ในการประชุมของ คตง.ได้ลงมติด้วยวิธีคะแนนลับเลือกนายประธาน ดาบเพชร ด้วยคะแนนสูงสุด 5 คะแนนที่เกินเสียงกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการเพียงคนเดียว โดยที่คุณหญิงจารุวรรณ ได้รับคะแนนเพียง 3 คะแนน ขณะที่นายนนทพลไม่ได้รับคะแนน
       
       คดีนี้ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 พ.ค.49 ให้จำคุกจำเลยเป็นเวลา 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา เนื่องจากเห็นว่าการที่จำเลยเสนอรายชื่อบุคคลทั้งสามต่อประธานวุฒิสภาเพื่อคัดเลือกเป็นผู้ว่าฯ สตง.ทั้งที่กฎหมายกำหนดจะต้องส่งเพียงชื่อของบุคคลที่ได้รับคะแนนสูงสุดเกินกึ่งหนึ่งจากที่ประชุม คตง.ด้วยวิธีการลงคะแนนลับ ซึ่งคือนายประธานคนเดียวเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบตามมาตรา 157
       
       ต่อมาจำเลยยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ประชุมตรวจสำนวน พยานหลักฐานที่โจทก์-จำเลยนำสืบแล้ว เห็นว่า ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 มาตรา 15,30 และ ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ว่าด้วยหลักการและวิธีการสรรหาผู้สมควรได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ สตง.พ.ศ.2543 ข้อ 6 (5), 7 ให้ คตง.คัดเลือกบุคคลซึ่งไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม ด้วยวิธีลงคะแนนลับ โดยให้ คตง.เสนอรายชื่อผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่ร่วมประชุมทั้งหมดโดยผู้นั้นยินยอม เสนอให้ประธานวุฒิสภาพิจารณาทำความเห็นชอบ โดยหลังจาก คตง.ประชุมลงคะแนนลับเมื่อวันที่ 3 ก.ค.44 ซึ่งผลปรากฏว่า นายประธาน โจทก์ร่วมได้รับ 5 คะแนน คุณหญิงจารุวรรณ 3 คะแนน และนายนนทพล ไม่ได้รับคะแนน ต่อมาวันที่ 10 ก.ค.44 จำเลย มีหนังสือส่งถึง พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร ประธานวุฒิสภา (ขณะนั้น) เสนอรายชื่อพร้อมผลการลงคะแนนทั้งสามให้วุฒิสภาทราบ และเมื่อวันที่ 16 พ.ย.44 วุฒิสภาประชุม ได้มีมติเลือกคุณหญิงจารุวรรณ ด้วยคะแนนสูงสุด 136 คะแนน รองลงมาคือโจทก์ร่วม และนายนนทพล
       
       คดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามฟ้องหรือไม่ ศาลเห็นว่าตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน และ ระเบียบ คตง. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหา ฯ ให้ คตง. คัดเลือกบุคคลซึ่งไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม ด้วยวิธีลงคะแนนลับ โดยให้ คตง.เสนอรายชื่อผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่ร่วมประชุมทั้งหมด แต่จำเลยได้เสนอรายชื่อทั้งสามคนให้วุฒิสภา การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวของจำเลย จึงถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่การวินิจฉัยว่าการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลย ทำให้ คตง. และ โจทก์ร่วม ได้รับความเสียหายหรือไม่ ต้องฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนา หรือเจตนาพิเศษชักจูงใจทำให้ คตง.และโจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งตามคำเบิกความเลขาธิการ คตง. พยานจำเลยระบุว่า หลังจากที่จำเลยมีหนังสือส่งถึงประธานวุฒิสภาแล้ว เมื่อวันที่ 13 ก.ค.44 ให้พยานไปสอบถามเลขาธิการวุฒิสภาว่าจะรับหนังสือที่จำเลยส่งมาหรือไม่ หรือจะส่งคืนให้จำเลยออกหนังสือใหม่ โดยหลังจากตรวจสอบเลขาธิการวุฒิสภาจะให้เลขาธิการ คตง.ส่งหนังสือคืนให้จำเลย แต่ก่อนจะนำหนังสือกลับคืนก็ได้เจอกับเลขานุการประธานวุฒิสภาซึ่งแจ้งว่า หากนำหนังสือกลับคืนก็จะไม่ถูกต้อง เพราะต้องให้ประธานวุฒิสภาพิจารณากลั่นกรองเอง ดังนั้นวุฒิสภาจึงรับหนังสือไว้ ซึ่งต่อมาวุฒิสภา ลงมติด้วยคะแนนเสียงสูงสุด 91 ต่อ 70 ว่า หนังสือที่จำเลย เสนอรายชื่อทั้ง 3 คนพร้อมผลคะแนนเสนอวุฒิสภานั้นถูกต้องแล้ว โดยคำเบิกความของพยานนั้นสอดคล้องกับคำให้การที่พยานและจำเลย เคยให้การในชั้นอนุกรรมการ ป.ป.ช.ไต่สวนที่โจทก์ร่วมยื่นร้องเรียนจำเลยปฏิบัติหน้าที่มิชอบ จึงเห็นว่า หากจำเลยมีเจตนา หรือเจตนาพิเศษเพื่อจูงใจให้เกิดความเสียหายกับ คตง. และโจทก์ร่วมแล้ว คงไม่ต้องสั่งการให้ เลขาธิการ คตง.ไปสอบถามเกี่ยวกับหนังสือ
       
       ส่วนที่จำเลยเสนอรายชื่อ 3 คนให้ประธานวุฒิสภานั้น เป็นเพราะจำเลยเข้าใจว่าเมื่อต้องมีเสนอรายชื่อให้วุฒิสภาพิจารณาเห็นชอบที่จะเลือกบุคคลเป็นผู้ว่าฯ สตง.แล้วก็น่าจะถูกต้องที่สมควรจะเสนอรายชื่อทั้ง 3 คน ที่ไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมาย พร้อมผลคะแนน โดยไม่มีข้อความระบุชัดเจนว่าวุฒิสภาต้องเลือกใคร เสนอต่อวุฒิสภา และที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้เกิด คตง.และโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายนั้น เห็นว่าการกระทำของจำเลย ยังไม่เป็นการทำให้โจทก์ร่วมและ คตง.ต้องเสียหาย เพราะเมื่อมีการส่งรายชื่อแล้วยังไม่มีใครคาดหมายได้ว่าวุฒิสภาจะส่งหนังสือคืนจำเลยให้ทำใหม่ หรือจะเลือกบุคคลใดเป็นผู้ว่าฯ สตง. ซึ่งกฎหมายให้วุฒิสภาเป็นผู้ทำความเห็นชอบพิจารณาเลือกบุคคลที่ไมมีคุณสมบัติต้องห้าม โดยวุฒิสภาเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติจึงมีอำนาจเหนือกว่าจำเลยหลายเท่า ดังนั้นหากจะเกิดความเสียหายก็ต้องเกิดในชั้นวุฒิสภา และหากวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่โดยถูกต้อง การเลือกบุคคลเป็นผู้ว่า สตง.ก็จะไม่มีปัญหา
       
       คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยด้วยว่า การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยเป็นไปโดยทุจริตเพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรเพื่อตนเองหรือผู้อื่นหรือไม่ ซึ่งโจทก์นำสืบตามฟ้องว่า จำเลยมีเจตนาการเสนอชื่อบุคคลอื่นนอกเหนือจากโจทก์ร่วม เพื่อช่วยเหลือให้คุณหญิงจารุวรรณ ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ สตง. ศาลเห็นว่า เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนา หรือเจตนาพิเศษเพื่อจูงใจปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบให้เกิดความเสียหายแก่ คตง.และโจทก์ร่วมแล้ว กรณีจึงยังมีความเหตุแห่งความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยทำผิดหรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227
       
       ดังนั้น อุทธรณ์จำเลยจึงฟังขึ้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าจำเลยทำผิดนั้น ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วย จึงพิพากษากลับให้ยกฟ้องจำเลย
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โดยนายปัญญาซึ่งสวมชุดสูทสีน้ำเงินเข้ม สวมแว่นสายตาสีชา ระหว่างยืนฟังคำพิพากษานานชั่วโมงเศษได้เก็บอาการไม่แสดงออกทางสีหน้าใดทิ้งสิ้น แต่เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาว่าศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องแล้ว นายปัญญาเดินออกมาจากห้องพิจารณาคดีได้โทรศัพท์พูดคุยแสดงความยินดีกับบุคคลอื่น ขณะที่ผู้ติดตามจำนวนหนึ่งได้เดินเข้ามาแสดงความยินดีด้วย ทั้งนี้ นายปัญญาไม่ยอมให้สัมภาษณ์ใดๆ กับผู้สื่อข่าวเช่นเดียวกับนายประธาน ดาบเพชร โจทก์ร่วม ที่วันนี้เดินทางมาฟังคำพิพากษาด้วย

โดย  ผู้จัดการออนไลน์


อัพเดทล่าสุด