หลักฟ้องอาญา ข้อสอบทนายความ MUSLIMTHAIPOST

 

หลักฟ้องอาญา ข้อสอบทนายความ


1,026 ผู้ชม


หลักฟ้องอาญา


การทำคำฟ้อง และคำขอท้ายฟ้อง ควรจะมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
คดีอาญา 
            ส่วนที่ 1 บรรยายสถานะของโจทก์ สถานะจำเลย (เช่นเดียวกับคดีแพ่งหากเป็นนิติบุคคล หรือมีการกระแทนหรือมีการมอบอำนาจ ถ้าไม่มีข้อ 1 ก็ไม่ต้องมี เริ่มต้นคำฟ้องที่ ข้อ 2 ได้เลย)
           ส่วนที่ 2 บรรยายวัน เวลาที่เกิดข้อพิพาท ระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าเกิดข้อพิพาท เมื่อไร ที่ไหน อย่างไร โดยต้องมีข้อความขึ้นต้นว่า
เมื่อวันที่ ………… เวลา………จำเลยได้บังอาจกระทำความผิดต่อกฎหมาย อันเป็นความผิดในทางอาญา กล่าวคือ…. (ระบุให้ครบตาม ป. วิอาญา มาตรา 158(5) คือ การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดข้อเท็จจริง และรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี) 
          ส่วนที่ 3 บรรยายถึงการกระทำของจำเลยว่าเป็นความผิดข้อหาอะไร ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไร 
          ส่วนที่ 4 บรรยายว่า เหตุเกิดที่แขวง/ตำบล………..เขต/อำเภอ………..จังหวัด………
          ส่วนที่ 5 บรรยายว่า โจทก์ได้ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจ…………………  เขต/อำเภอ……………จังหวัด…………เมื่อวันที่………… รายละเอียดปรากฏ ตาม รายงานบันทึกประจำวัน ข้อ ……….เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข………… (หรือ โจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวน เพราะประสงค์จะดำเนินคดีเอง) 
         ส่วนที่ 6 บรรยายถึงการขอนับโทษต่อ (ถ้าหากมี) 
 
                                                                                             ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด 
                                         ***** ไม่มีการลงชื่อโจทก์ และผู้เรียง/พิมพ์ เนืองจากมีคำขอท้ายฟ้อง *****
คำขอท้ายคำฟ้องอาญา ตาแบบพิมพ์ศาล จะมีส่วนให้เติมข้อความ 5 ส่วน ดังนี้คือ 
           ส่วนที่ 1 (ย่อหน้าที่ 1) ให้ระบุชื่อของกฎหมาย แลเลขมาตราที่จะขอให้ศาลลงโทษจำเลยตาม ป. วิ. อาญา ม.158(6) เท่านั้น เช่น ประมวลกำหมายอาญา มาตรา334 หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการให้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 เป็นต้น
           ส่วนที่ 2 (ย่อหน้าที่ 2) มีข้อความว่า ขอศาลได้ออกหมาย ให้เติมคำว่า นัด และทำเครื่องหมายตกเติมต่อจากคำว่า จำเลย โดยเติมข้อความว่า ไต่สวนมูลฟ้อง ไว้ก่อนคำว่า พิจารณาพิพากษา…… (เนื่องจากคดีอาญา ถ้าผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องเอง ศาลต้องนัดทำการไต่สวนมูลฟ้อง เป็นนัดแรก ก่อนที่จะประทับรับฟ้อง ต่างกันกรณีที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดี ศาลจะประทับตรารับฟ้องไว้เลย และนัดให้จำเลยให้การต่อสู้คดีและสืบพยานโจทก์เป็นนัดแรก เนื่องจากได้ผ่านการสอบสวนของพนักงารสอบสวนมาแล้ว ) 
        ส่วนที่ 3 เป็นรายละเอียด ข้อ 1, 2 , 3 , 4 นั้น ถ้าเป้นคดีที่ฟ้องขอให้ลงโทษทางอาญาเพียงอย่างเดียวโดยทั่วๆไป ในส่วนนี้ไม่ต้องระบุอะไร 
 
       ส่วนที่ 4 ให้เติมจำนวนสำนวนคำฟ้อง (ทำเช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ในคดีแพ่ง) 
       ส่วนที่ 5 ให้ลงลายมือชื่อโจทก์ คดีอาญา ต้องเป็นตัวโจทก์ หรือผู้มอบอำนาจโจทก์เท่านั้นเป็นผู้ลงลายมือชื่อในคำขอท้ายฟ้องนี้ ทนายความโจทก์ลงลายมือชื่อแทนตัวโจทก์ไม่ได้

อัพเดทล่าสุด