พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตราที่ 126-138 หมวด 13 กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง MUSLIMTHAIPOST

 

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตราที่ 126-138 หมวด 13 กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง


780 ผู้ชม


พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตราที่ 126-138
 
:: หมวด 13 กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
 มาตรา 126 ให้มีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงานมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสงเคราะห์ลูกจ้างใน กรณีที่ลูกจ้างออกจากงาน หรือตาย หรือในกรณีอื่นตามที่กำหนด โดยคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
 มาตรา 127 กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างประกอบด้วย
 (1) เงินสะสมและเงินสมทบ
 (2) เงินที่ตกเป็นของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตาม มาตรา 133 และ มาตรา 136
 (3) เงินเพิ่มตาม มาตรา 131
 (4) เงินค่าปรับที่ได้รับจากการลงโทษผู้กระทำความผิด ตามพระราชบัญญัตินี้
 (5) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
 (6) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
 (7) เงินรายได้อื่น
 (8) เงินดอกผลของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
 ให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจัดให้มีบัญชีประกอบด้วย
 (1) บัญชีเงินของสมาชิกซึ่งแสดงรายการเงินสะสม เงิน สมทบ และดอกผลของเงินดังกล่าวของบรรดาสมาชิกแต่ละคน
 (2) บัญชีเงินกองกลางซึ่งแสดงรายการเงินอื่นนอกจาก (1)
 มาตรา 128 การส่งเงินค่าปรับตาม มาตรา 127 (4) เข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างและกำหนดเวลาส่งเงินดังกล่าว ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ ลูกจ้างกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
 มาตรา 129 เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตาม พระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าเงินและทรัพย์สินของกองทุนสงเคราะห์ ลูกจ้างตาม มาตรา 127 เป็นกรรมสิทธิ์ของกรมสวัสดิการและ คุ้มครองแรงงานโดยไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้ แผ่นดิน
 ให้มีคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ กับผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละห้าคน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ และอธิบดีกรม สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นกรรมการและเลขานุการ
 คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
 (1) กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการบริหารและการจ่ายเงิน กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
 (2) พิจารณาให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีในการตรา พระราชกฤษฎีกาการออกกฎกระทรวงประกาศหรือระเบียบ เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
 (3) วางระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน และการ เก็บรักษาเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างโดยความเห็นชอบของ รัฐมนตรี
 (4) วางระเบียบเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์ของกอง ทุนสงเคราะห์ลูกจ้างโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
 (5) จัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างไม่เกินร้อยละสิบ ของดอกผลของกองทุนต่อปีเพื่อเป็นค่าใช้ในการบริหารของกอ ทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
 (6) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมาย อื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ ลูกจ้าง หรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
 ให้นำ มาตรา 78 วรรคสอง มาตรา 80 มาตรา 81 มาตรา 82 วรรคหนึ่ง มาตรา 83 และ มาตรา 84 มาใช้บังคับกับคณะ กรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างโดยอนุโลม
 มาตรา 130 ให้ลูกจ้างสำหรับกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ สิบคนขึ้นไปเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
 ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่กิจการที่นายจ้างได้จัด ให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรอง เลี้ยงชีพหรือจัดให้มีการสงเคราะห์แก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้าง ออกจากงานหรือตายตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดใน กฎกระทรวง
 ความในวรรคหนึ่งจะใช้บังคับแก่ลูกจ้างสำหรับกิจการที่มี ลูกจ้างน้อยกว่าสิบคนเมื่อใดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างอาจออกระเบียบ เพื่อกำหนดให้ลูกจ้างสำหรับกิจการที่มิได้อยู่ภายใต้บังคับตาม พระราชบัญญัตินี้สมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ได้ เมื่อลูกจ้างประสงค์จะเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง โดยความยินยอมของนายจ้าง และให้นายจ้างมีหน้าที่ตาม พระราชบัญญัตินี้เสมือนเป็นกิจการที่อยู่ภายใต้บังคับ พระราชบัญญัตินี้
 ให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ตามวรรคหนึ่งยื่นแบบรายการแสดงรายชื่อลูกจ้างและรายละเอียด อื่น ๆ เมื่อนายจ้างยื่นแบบรายการดังกล่าว ให้กรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงานออกหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนให้ แก่นายจ้าง
 ในกรณีที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อความในแบบรายการแสดง รายชื่อลูกจ้างที่ได้ยื่นไว้เปลี่ยนแปลงไปให้นายจ้างแจ้งเป็น หนังสือต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเพื่อขอเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขเพิ่มเติมแบบรายการดังกล่าว
 การยื่นขอเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมแบบรายการ แสดงรายชื่อลูกจ้าง และการออกหนังสือสำคัญแสดงการขึ้น ทะเบียนให้แก่นายจ้าง ให้เป็นไปตามแบบ หลักเกณฑ์ และ วิธีการที่คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างกำหนด
 ให้ถือว่าผู้ซึ่งยื่นแบบรายการ หรือแจ้งขอเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขเพิ่มเติมแบบรายการตามกฎหมายว่าด้วยกา ประกันสังคม ได้ปฏิบัติตามความในวรรคห้า วรรคหก และ วรรคเจ็ดของ มาตรา นี้แล้ว
 มาตรา 131 นับแต่วันที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกกองทุน สงเคราะห์ลูกจ้าง ทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างจ่าย เงินสะสม โดยให้นายจ้างหักจากค่าจ้างและนายจ้างจ่าย เงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างทั้งนี้ ตามอัตราที่ กำหนดในกฎกระทรวงแต่ต้องไม่เกินร้อยละห้าของค่าจ้าง
 ถ้านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างตามกำหนดเวลาที่ต้องจ่าย ให้นายจ้างมีหน้าที่นำส่งเงินสะสมและเงินสมทบโดยถือ เสมือนว่ามีการจ่ายค่าจ้างแล้ว
 ในกรณีที่นายจ้างไม่ส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบหรือส่ง ไม่ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคสี่ ให้นายจ้าง จ่ายเงินเพิ่มให้แก่กองทุนสงเคราะห์ลูงจ้างในอัตราร้อยละห้า ต่อเดือนของจำนวนเงินสะสมหรือเงินสมทบที่ยังมิได้นำส่ง หรือที่ยังขาดอยู่นับแต่วันที่ต้องนำส่งเงินดังกล่าว สำหรับ เศษของเดือนถ้าถึงสิบห้าวันหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งเดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง ทั้งนี้ ห้ามมิให้นายจ้างอ้างเหตุที่ ไม่ได้หักค่าจ้าง หรือหักไปแล้วแต่ไม่ครบจำนวนเพื่อให้พ้น ความรับผิดที่ต้องนำส่งเงินดังกล่าว
 การนำส่งเงินสะสม เงินสมทบ และเงินเพิ่มเข้ากองทุน สงเคราะห์ลูกจ้าง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างกำหนด
 มาตรา 132 ในกรณีที่นายจ้างไม่นำส่งเงินสะสมหรือ เงินสมทบหรือนำส่งไม่ครบตามกำหนดเวลา ให้พนักงานตรวจ แรงงานมีคำเตือนเป็นหนังสือให้นายจ้างนำเงินที่ค้างจ่ายมา ชำระภายในกำหนดไม่น้อยกว่าสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับ หนังสือนั้น
 ในการมีคำเตือนตามวรรคหนึ่ง ถ้าไม่อาจทราบจำนวน ค่าจ้างได้แน่ชัด ให้พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจประเมิน เงินสะสมและเงินสมทบที่นายจ้างจะต้องนำส่งได้ตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ ลูกจ้างกำหนด
 มาตรา 133 ในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงาน ให้กรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงานจ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในส่วนที่ เป็นเงินสะสม เงินสมทบ และดอกผลจากเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้าง
 ในกรณีที่ลูกจ้างตาย ถ้าลูกจ้างมิได้กำหนดบุคคลผู้จะพึงได้ รับเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างไว้โดยทำเป็นหนังสือตามแบบ ที่อธิบดีกำหนดมอบไว้แก่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือ ได้กำหนดไว้แต่บุคคลผู้นั้นตายก่อน ให้จ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์ ลูกจ้างตามวรรคหนึ่งให้แก่บุตร สามี ภรรยา บิดา มารดา ที่มี ชีวิตอยู่คนละส่วนเท่า ๆ กัน
 ถ้าผู้ตายไม่มีบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนสงเคราะห์ ลูกจ้างตามวรรคสอง ให้เงินดังกล่าวตกเป็นของกองทุนสงเคราะห์ ลูกจ้าง
 มาตรา 134 การจ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างใน กรณีอื่นนอกจากกรณีตาม มาตรา 133 ให้คณะกรรมการกองทุน สงเคราะห์ลูกจ้างกำหนดระเบียบการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงิน ที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย โดยพิจารณาจากจำนวนเงินกอง ทุนสงเคราะห์ลูกจ้างส่วนที่มิใช่เงินที่จะต้องนำไปจ่ายตาม มาตรา 133
 มาตรา 135 ในกรณีที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้จ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่ว ให้แก่ลูกจ้างตาม มาตรา 134 แล้ว ให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างมี สิทธิเรียกให้ผู้ซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ ลูกจ้างชดใช้เงินที่กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างได้จ่ายไปพร้อม ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี
 สิทธิเรียกร้องของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างให้มีอายุความ สิบปีนับแต่วันที่กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจ่ายไปตามวรรคหนึ่ง
 มาตรา 136 ให้พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจออกคำสั่ง เป็นหนังสือให้ยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ซึ่ง มีหน้าที่ตามกฎหมายที่ไม่นำส่งเงินสะสม เงินสมทบ หรือ เงินเพิ่ม หรือ นำส่งไม่ครบจำนวน หรือเงินที่ต้องจ่ายตาม มาตรา 135
 การมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งจะ กระทำได้ต่อเมื่อได้ส่งคำเตือนเป็นหนังสือให้ผู้ซึ่งมีหน้าที่ ตามกฎหมายนำเงินสะสม เงินสมทบ หรือเงินเพิ่มที่ค้างจ่าย หรือเงินที่ต้องจ่ายตาม มาตรา 135 มาจ่ายภายในเวลา ที่กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้นั้นได้รับ คำเตือนนั้นและไม่จ่ายภายในเวลาที่กำหนด
 ลักเกณฑ์และวิธีการยึด อายัด และขายทอดตลาด ทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรี กำหนด ทั้งนี้ ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้หักไว้เป็นค่า ใช้จ่ายในการยึด อายัด และขายทอดตลาด และจ่ายเงินสะสม
 เงินสมทบ หรือเงินเพิ่มที่ค้างจ่าย หรือเงินที่ผู้ซึ่งมีหน้าที่ตาม กฎหมายต้องจ่ายตาม มาตรา 135 ถ้ามีเงินเหลือให้คืนแก่ผู้นั้น โดยเร็ว โดยให้พนักงานตรวจแรงงานมีหนังสือแจ้งให้ทราบเพื่อ ขอรับเงินที่เหลือคืน โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ถ้าไม่มาขอรับคืนภายในห้าปีให้ตกเป็นของกองทุนสงเคราะห์ ลูกจ้าง
 มาตรา 137 สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนสงเคราะห์ ลูกจ้างไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
 มาตรา 138 ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปี ปฏิทิน ให้คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเสนองบดุล และรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในปี ที่ล่วงมาแล้วต่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อตรวจสอบ รับรองก่อนเสนอต่อรัฐมนตรี
 งบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินดังกล่าว ให้รัฐมนตรีเสนอ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและจัดให้มีการประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา

อัพเดทล่าสุด