ปัญหาเชิงนโยบายในการผลิตไบโอดีเซลของภาคเอกชน MUSLIMTHAIPOST

 

ปัญหาเชิงนโยบายในการผลิตไบโอดีเซลของภาคเอกชน


619 ผู้ชม


ปัญหาเชิงนโยบายในการผลิตไบโอดีเซลของภาคเอกชน
ปัญหาเชิงนโยบายในการผลิตไบโอดีเซลของภาคเอกชน  สุรเธียร จักรธรานนท์
ประธานกรรมการ
บริษัท อี-เอสเทอร์ จำกัด

เมื่อน้ำมันดิบได้ไต่ราคาเพิ่มขึ้นจากบาร์เรลละ 30 เหรียญในปี 2547 ไปถึงจุดสูงสุดบาร์เรลละ 145 เหรียญในเดือนกรกฎาคม 2551 ทำให้กระแสพลังงานทางเลือกร้อนแรงอย่างยิ่ง แต่ในช่วงที่ราคาน้ำมันดิบเริ่มผันผวน ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง จนราคาเริ่มต่ำกว่าบาร์เรลละ 90 เหรียญ ความผันผวนในครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนของนโยบายพลังงานทางเลือกโดยตรง และเป็นการทดสอบว่า รัฐมีความจริงใจในการดำเนินนโยบายพลังงานทางเลือกหรือไม่ ?
 

 
ปัญหาเชิงนโยบายในการผลิตไบโอดีเซลของภาคเอกชน ความผันผวนและเบี่ยงเบนของนโยบายพลังงานทางเลือก
ปัญหาเชิงนโยบายในการผลิตไบโอดีเซลของภาคเอกชน  ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันดีเซลของไทยมีมากถึงวันละ 48.5 ล้านลิตร และเกี่ยวข้องกับภาคขนส่งโดยตรง และกระทบต่อภาคสาธารณะมากที่สุด รัฐมนตรีพลังงานของรัฐบาลชุดที่แล้ว กลับละเลยความสำคัญของไบโอดีเซล พยายามประกาศวาระแห่งชาติ ด้วยการส่งเสริมการใช้ E85 โดยที่ความต้องการใช้น้ำมันเบนซินทั้งประเทศมีเพียงวันละ 19 ล้านลิตร และผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงเป็นชนชั้นกลางที่ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล กรณีนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนของความเบี่ยงเบนในนโยบายพลังงานทางเลือก
อีกกรณีหนึ่งคือ เมื่อราคาขายปลีกดีเซลหมุนเร็วในประเทศ ขึ้นถึงลิตรละ 40 บาท ภาคขนส่งเดือดร้อนไปทั่ว ต่างพากันหันไปติดตั้งระบบก๊าซ NGV แทน ทั้งๆ ที่ NGV ยังคงไม่พร้อมทั้งในด้านขนส่งและจัดจำหน่าย รวมทั้งปัญหาค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษา และระยะยาวจะเป็นการแย่งแหล่งพลังงานสำหรับการผลิตไฟฟ้า และส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนค่าไฟฟ้า กรณีนี้เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความเบี่ยงเบนในเชิงนโยบาย
การลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเป็นระยะเวลา 6 เดือนของรัฐบาลชุดที่แล้ว ทำให้แต้มต่อระหว่างน้ำมันดีเซลจากฟอสซิล และไบโอดีเซลจากชีวภาพ ซึ่งมีมูลค่าราว 2.7 บาทต่อลิตร ขาดหายไปในทันที พลังงานทางเลือกไม่อาจเบียดแทรกเข้าไปทดแทนพลังงานจากฟอสซิลได้เลย หากไม่มีแต้มต่อสำหรับการส่งเสริมในช่วงแรก และที่สำคัญที่สุดคือ ไม่ว่าจะรู้หรือไม่ก็ตาม มาตรการนี้เป็นการฆ่าทำลายพลังงานทางเลือกโดยตรง
 

 
ปัญหาเชิงนโยบายในการผลิตไบโอดีเซลของภาคเอกชน แรงบีบคั้น 3 ด้านของผู้ผลิตพลังงานทางเลือก
 ผู้ผลิตไบโอดีเซลชนิด B100 ในปัจจุบันรวม 10 ราย มีกำลังผลิตรวมกัน 2.9 ล้านลิตรต่อวัน ลำพังบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่อย่าง ปตท. และบางจาก (ไม่รวมรายอื่นๆที่กำลังซุ่มวิจัยเพื่อทำการผลิต) มีกำลังผลิตไบโอดีเซลรวมกันวันละประมาณ 0.75 ล้านลิตร และขยายเป็น 1 ล้านลิตรในปีหน้า ในขณะที่ความต้องการน้ำมันไบโอดีเซลในปัจจุบันมีอยู่เพียง 1.3 ล้านลิตรต่อวัน ซึ่งหมายความว่า ผู้ผลิตไบโอดีเซลรายอื่นๆ ผลิตเพียง 25% ของกำลังผลิตที่แท้จริง
ผู้ผลิตน้ำมันไบโอดีเซลที่ไม่ใช่บริษัทน้ำมัน กำลังเผชิญกับแรงบีบคั้นถึง 3 ด้าน ด้านหนึ่งจากยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตน้ำมัน ซึ่งเป็นผู้รับซื้อรายใหญ่ เพื่อนำไปผสมกับน้ำมันดีเซลที่มีความต้องการวันละ 48.5 ล้านลิตร และถูกบังคับผสมไบโอดีเซลไว้เพียง 2% พวกเขาคุมช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดประมาณ 18,000 แห่ง โดยมีอยู่เพียง 1,600 แห่งเท่านั้นที่ขายไบโอดีเซล ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ผลิตพลังงานทางเลือกรายใหญ่ ที่ร่วมแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่นๆ ทำให้สามารถสร้างระบบผูกขาด กำหนดราคา หรือกดราคาให้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่รัฐกำหนด หรือกำหนดมาตรฐานใหม่ๆให้สูงขึ้น เพื่อเป็นการกีดกันผู้ผลิตรายอื่นๆ
 

 

 แรงบีบคั้นจากยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตน้ำมันในธุรกิจพลังงานทางเลือก จะยังคงอยู่ต่อไปอีกยาวนานตราบเท่าที่พวกเขาสามารถคุมช่องทางการจัดจำหน่าย หรือจนกว่าผู้ผลิตพลังงานทางเลือกรายอื่นๆสามารถมีช่องทางการจัดจำหน่ายของตนเองที่ไม่ต้องพึ่งพาบริษัทน้ำมัน หรือรัฐจัดตั้งองค์กรกลางรับซื้อพลังงานทางเลือกแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตน้ำมัน แทนที่จะปล่อยให้บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่เป็นผู้ผูกขาดการรับซื้อแต่ฝ่ายเดียว
แรงบีบคั้นอีกทางหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันได้ผ่อนคลายลงไปบ้างแล้ว คือ แรงบีบคั้นจากผู้ผลิตวัตถุดิบ การเติบโตของพลังงานทางเลือกในช่วงแรก โดยเฉพาะภาวะตื่นตระหนก ได้ก่อให้เกิดกระแสการขาดแคลนวัตถุดิบ กระทั่งกระแสตื่นตระหนกกลัวว่า จะกระทบต่อราคาอาหาร ต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น ได้ทำให้ผู้ผลิตรายเล็กและรายกลางไม่สามารถยืนหยัดอยู่ต่อไป ต้องเลิกกิจการไปเป็นจำนวนมาก
ทางออกของแรงบีบคั้นนี้ นอกจากผู้ผลิตจะต้องมีแหล่งวัตถุดิบของตนเองแล้ว หรือเป็นพันธมิตรกับแหล่งวัตถุดิบในรูปของ contract farming หรือรับจ้างผลิต นโยบายการกระจายโรงงานออกไปตามภูมิภาคต่างๆ โดยแต่ละแห่งมีกำลังผลิตแห่งละ 20,000 ถึง 50,000 ลิตรต่อวัน อาจช่วยในการลดแรงบีบคั้นในเรื่องวัตถุดิบ ขณะเดียวกันก็แก้ปัญหาช่องทางการจัดจำหน่ายไปในตัว
 

 

ปัญหาเชิงนโยบายในการผลิตไบโอดีเซลของภาคเอกชน  แรงบีบคั้นสุดท้าย อาจจะอยู่ในรูปที่มองไม่เห็น หรือเจ็บปวดเกินกว่าที่จะยอมรับ หากยอมรับว่าน้ำมันกำลังจะหมดจากโลกนี้ไป และพลังงานจากชีวภาพทั้งหลายไม่ใช่คำตอบสุดท้าย สำหรับการทดแทนน้ำมันอย่างแท้จริง
สิ่งที่พอมองเห็นในขณะนี้ พลังงานไฮโดรเจนจากน้ำ ซึ่งมีอยู่มากมาย มีศักยภาพที่จะเข้าแทนที่น้ำมันได้แทบทั้งหมด สิ่งเดียวที่ต้องทำ คือรอคอยเวลาสำหรับการพัฒนาความสมบูรณ์ของเทคโนโลยี
ไบโอดีเซล หรือพลังงานจากชีวภาพอื่นๆ เป็นพลังงานที่อยู่บนเส้นทางเปลี่ยนผ่าน ในช่วงที่น้ำมันมีราคาสูงขึ้นและกำลังจะหมดไป และมีวงจรชีวิตอยู่จนกระทั่งถึงวันที่พลังงานใหม่จากไฮโดรเจน หรือจากแหล่งอื่นๆ จะเข้าแทนที่น้ำมันได้แทบทั้งหมด วงจรชีวิตไม่ได้ยืนยาวนานอย่างที่คิด
ในอีกแง่มุมหนึ่ง พลังงานจากชีวภาพ เป็นเพียงเครื่องมือที่ถูกหยิบยืมมาสำหรับการยืดอายุขัยของยุคน้ำมันให้ยืนยาวที่สุด โดยอาจจะจบสิ้นไปพร้อมๆกับยุคน้ำมัน เส้นทางนี้อาจเป็นสิ่งที่บริษัทยักษ์ใหญ่น้ำมันทั้งหลายได้คาดการณ์ไว้แล้ว
 

 
ปัญหาเชิงนโยบายในการผลิตไบโอดีเซลของภาคเอกชน การเพิ่มมาตรฐานเป็น B5 และ B10
ปัญหาเชิงนโยบายในการผลิตไบโอดีเซลของภาคเอกชน  การเพิ่มสัดส่วนของพลังงานทางเลือก โดยการบังคับให้ผสมน้ำมันไบโอดีเซลในสัดส่วนที่สูงขึ้นเป็น B5 และ B10 ซึ่งทำให้ความต้องการน้ำมันไบโอดีเซลเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 2.4 ล้านลิตร และ 4.8 ล้านลิตรตามลำดับ ช่วยทำให้ตลาดพลังงานทางเลือกเติบโตขึ้น
อย่างไรก็ตามแรงผลักดันมาตรฐานดังกล่าว ในที่สุดแล้วขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตน้ำมันโดยตรง หากพวกเขาพร้อมและมองว่าได้ประโยชน์มากกว่าเดิม อานิสงค์อาจไปไม่ถึงผู้ผลิตพลังงานทางเลือก หรือผู้บริโภค โดยเฉพาะภาคขนส่ง
ความเป็นไปได้ของการประนีประนอมระหว่างผู้ผลิตน้ำมันและพลังงานทางเลือก โดยแต่ละฝ่ายได้ประโยชน์ คือ การผลิตไบโอดีเซลทดแทนการนำเข้าดีเซลสำเร็จรูปจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนราว 2 ล้านลิตรต่อวัน หรือเทียบเท่ากับ B4 เท่านั้น ดังนั้นการประกาศใช้มาตรฐาน B10 ยังเป็นเรื่องที่ต้องต่อสู้กันอีกยาว
 

 


 

   

 แหล่งที่มา :  ประชาคมวิจัย ฉบับพิเศษที่ 12

อัพเดทล่าสุด