แง่คิดและประสบการณ์การขับเคลื่อนงานวิจัยด้านเด็กและเยาวชน MUSLIMTHAIPOST

 

แง่คิดและประสบการณ์การขับเคลื่อนงานวิจัยด้านเด็กและเยาวชน


1,034 ผู้ชม


แง่คิดและประสบการณ์การขับเคลื่อนงานวิจัยด้านเด็กและเยาวชน
แง่คิดและประสบการณ์การขับเคลื่อนงานวิจัยด้านเด็กและเยาวชน  สมพงษ์  จิตระดับ สุอังคะวาทิน  
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
หัวหน้าทีม Child Watch ระดับภาค พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 6 จังหวัด

โครงการวิจัย Child Watch  ดำเนินการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ  ค่อนข้างมีกรอบของการวิจัยที่แน่นอน  พื้นฐานโดยทั่วไปส่วนใหญ่จะเก็บข้อมูลซ้ำทุกปี เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง  ชัดเจนและน่าเชื่อถือนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 – 2551  เพิ่มเติมด้วยกรณีศึกษาร่วมสมัยที่น่าสนใจ  เป็นปัญหาด้านเด็กและเยาวชนเชิงวิเคราะห์  เจาะลึก และมีคุณภาพ
 

 

แง่คิดและประสบการณ์การขับเคลื่อนงานวิจัยด้านเด็กและเยาวชน  ในระยะหลังมีการขับเคลื่อนงานวิจัยให้แปลงไปสู่นโยบาย  กฎหมายที่เกี่ยวข้อง  โครงการ  กิจกรรมต่างๆ  และแผนการดำเนินงานในหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งเป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลของสื่อมวลชนประเภทต่างๆ  สำหรับการขับเคลื่อนไปสู่แนวนโยบายและการวางแผนในระดับพื้นที่  ท้องถิ่น  สภาเด็กและเยาวชน  มีการดำเนินการกันอย่างรวดเร็วและมีผลในทางปฏิบัติมากมาย  ดังนี้
1.  ในระดับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  กระทรวงมหาดไทย ได้นำข้อมูลตัวบ่งชี้มาตรฐาน  เครื่องมือการวิจัยของ  Child Watch  ไปจัดทำ  “มาตรฐานการพัฒนาเด็กและเยาวชน”  ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  7,853  แห่ง  ไม่ว่าจะเป็น อบต.  เทศบาล  อบจ.  พัทยา  กรุงเทพมหานคร  และอื่นๆ  เพื่อเป็นแนวทางของการวางแผนนโยบายให้แก่ผู้บริหารท้องถิ่นในเชิงวิสัยทัศน์  นโยบาย  แผนดำเนินการ  งบประมาณ  ตัวบ่งชี้ด้านสุขอนามัย ด้านการศึกษา  และด้านสังคม       ในปัจจุบันกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ใช้มาตรฐานการพัฒนาเด็กและเยาวชนเป็นตัวกระตุ้นและส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ความผาสุกของประชาชน  ในด้านสุขอนามัย การศึกษา สังคม  สิ่งแวดล้อม  คุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชน  และครอบครัวมากขึ้นกว่าแต่ก่อนที่เน้นนโยบายสร้างความเติบโตของเมือง  สาธารณูปโภค  ถนน  ไฟฟ้า  การจ้างงาน  ฯลฯ  
การขับเคลื่อนงานวิจัยด้านเด็กและเยาวชนจึงต้องรู้จักการประสานงานกับหน่วยงานสำคัญที่เกี่ยวข้อง  การบูรณาการแผนนโยบายร่วมกัน  การผลิตสื่อประสมที่น่าสนใจและมีประโยชน์  ระบบข้อมูล  สรุปผลการวิจัยต้องสั้น  ตรงประเด็น  และส่งสารถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องได้  การประชุมร่วมกับฝ่ายต่างๆ ในลักษณะพหุภาคี  แลกเปลี่ยนประสบการณ์  นำข้อเด่นของแต่ละฝ่ายมาใช้ร่วมกัน  จัดสรรงบประมาณเบื้องต้นให้เพียงพอต่อการเริ่มต้น  สร้างทีมงานขึ้นมาให้สามารถเริ่มดำเนินการได้  มองหาทฤษฎีและนวัตกรรมเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยการหลุดจากกรอบความคิดเดิมๆ  ให้ความสำคัญของระบบข้อมูล  สรุปผลการวิจัย
 

 

แง่คิดและประสบการณ์การขับเคลื่อนงานวิจัยด้านเด็กและเยาวชน  การประชุมสัมมนามีผลต่อเนื่องต่อโครงการกิจกรรมต่างๆ  หลังเสร็จสิ้นการประชุม  มีการติดตามผลและให้ความช่วยเหลือตลอดเวลา  ยิ่งไปกว่านั้นต้องสร้างวัฒนธรรมการยอมรับความเหมือนและความแตกต่างของหน่วยงานราชการ  องค์กรเอกชน  สถาบันทางวิชาการ  สภาประชาชน  องค์กรนานาชาติ  สภาเด็กและเยาวชน  และอื่นๆ  เพื่อนำจุดแข็ง  จุดเด่น  ข้อดีมาประสานเสริมเป็นพลังขับเคลื่อนไปด้วยกันในที่สุด
2.  การขับเคลื่อนระบบข้อมูลงานวิจัยด้านเด็กและเยาวชนโดยสภาเด็กและเยาวชนที่กำลังเกิดขึ้นทุกระดับ    สภาเด็กและเยาวชนจะมีการคัดเลือกตัวแทนขึ้นมาตั้งแต่ระดับตำบล  หมู่บ้าน  อำเภอ  จังหวัด  และระดับประเทศ  โดยมีภารกิจสำคัญคือ    การกำหนดวาระแห่งชาติ  แผนแม่บท  การประชุมพบปะกับผู้นำประเทศ  การส่งเสริมโครงการ  กิจกรรมต่างๆ  การติดตามตรวจสอบ  รายงานผลประจำปี  เป็นต้น  การขับเคลื่อนงานวิจัยด้วยสภาเด็กและเยาวชน  องค์กรระดับล่าง  ชมรมด้านต่างๆ  เครือข่ายที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีแนวคิดสำคัญคือ  “ให้โอกาสและเสรีภาพแก่เด็กและเยาวชนในการแสดงออกและมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่”  เด็กนำผู้ใหญ่หนุน  ด้วยกระบวนการดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1  การระบุปัญหา  นโยบายสาธารณะในปัจจุบัน  ดังเช่นนำข้อมูลของงานวิจัยมาใช้ในการลดพื้นที่เสี่ยงให้ลดน้อยลง  ในบริเวณ 500  เมตรรอบโรงเรียน ไม่ควรมีร้านเหล้า  ผับ  คาราโอเกะ  ร้านเกมส์ตั้งอยู่  ควรมีการจัดแบ่งโซนนิ่ง  (zoning)  พื้นที่เหล่านี้  โดยเฉพาะในชุมชนของตน
 

 

แง่คิดและประสบการณ์การขับเคลื่อนงานวิจัยด้านเด็กและเยาวชน  ขั้นตอนที่ 2  การเลือกปัญหา  เพื่อศึกษาในชั้นเรียน  ด้วยการสำรวจว่าเพื่อนคนใด จำนวนเท่าใดที่ติดเหล้า  บุหรี่  ติดเกมส์  แล้วเกิดปัญหานี้เนื่องจากสาเหตุอะไร  ปัจจัยสนับสนุนส่งเสริมในชุมชนมาจากที่ใดบ้าง  มีกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงถึงใคร  การทำแผนที่ชุมชน  (social  mapping)  การออกสำรวจ  (walk rally)  เพื่อดูพื้นที่ดีหรือพื้นที่เสี่ยงอยู่ตรงไหน  มีสัดส่วนมากน้อยเพียงใด  เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 3  การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่จะศึกษาในชั้นเรียน  ชุมชนของตนเอง  การหาข้อมูลอาจมาจากแหล่งต่างๆ  การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ  (oral  history)  ห้องสมุด  หนังสือพิมพ์รายวัน  กลุ่มบุคคล  อินเทอร์เน็ต  การสัมภาษณ์ สอบถามจากหน่วยงาน  สถาบันการศึกษา  ผู้ถูกผลกระทบ  องค์กรเอกชน  และอื่นๆ     ในขั้นตอนนี้ต้องมีการระดมทุกฝ่ายให้ช่วยกันหาข้อมูลให้ได้มากที่สุด  ช่วยกันตรวจสอบ  คัดเลือกและสรุปเป็นข้อมูลเข้มข้นที่น่าสนใจต่อไป
ขั้นตอนที่ 4  การพัฒนาเป็นแฟ้มผลงานของกลุ่มเด็กและเยาวชน  ในรูปของสื่อประสม  แผนผัง  ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น  การระบุปัญหา  ผลกระทบ  การนำเสนอทางเลือกและทางออกที่เป็นไปได้  การจัดเตรียมนิทรรศการ  กลุ่มบุคคลที่มีความสามารถในการนำเสนอและการประชาสัมพันธ์ให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ
ขั้นตอนที่ 5  การนำเสนอผลงานต่อชุมชน  บุคคลสำคัญ (key informants)  ผู้บริหารที่มีส่วนสำคัญในการผลักดัน  ตัดสินใจและการสั่งการในโครงการกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง  การนำเสนอต้องมีการเตรียมการอย่างดี  รูปแบบ  กราฟฟิก ภาษาที่ใช้  เนื้อหาสาระ  บทสรุปที่เป็นไปได้  เน้นความแตกต่างที่สร้างสรรค์ของระบบข้อมูลเป็นสำคัญ
 

 

แง่คิดและประสบการณ์การขับเคลื่อนงานวิจัยด้านเด็กและเยาวชน  ขั้นตอนที่ 6  ผลสะท้อนจากประสบการณ์การเรียนรู้  การลงมือปฏิบัติ  (action plan)  การตั้งโจทย์คำถามเข้าสู่กระบวนการและมีบทสรุป (solution)  ที่เห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  ขั้นตอนการประสานงาน  การใช้ระบบข้อมูลในการทำแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การทำงานกลุ่มด้วยกัน  สุดท้ายเด็กและเยาวชนจะเกิดจิตสำนึกด้วยตนเอง  มีการพัฒนาจิตอาสาและจิตสาธารณะไปในเวลาเดียวกัน
การขับเคลื่อนงานวิจัยมิใช่เป็นเพียงงานวิชาการที่นำเสนอในฟอรัม (forum)  ตามที่ต่างๆ  คุณประโยชน์จะมีไม่มากนัก  ผลงานจะแคบ  เมื่อเวลาผ่านไป  บทสรุปงานวิจัยที่เกิดขึ้นจะค่อยๆ  ล้าสมัยลงตามลำดับ  
การขับเคลื่อนงานวิจัยด้านเด็กและเยาวชนใน  2  ตัวอย่างที่นำเสนอในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  จึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญเท่าเทียมกับระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยหาคำตอบทีเดียว  เพียงแต่ต้องมีวิสัยทัศน์ในการทำงาน  “เพื่อเด็กและเยาวชน”  จริงๆ   ใจกว้าง  มีบุคลิกประชาธิปไตย  เปิดโอกาส  เปิดพื้นที่  เปิดกิจกรรม  ไม่แย่งผลงานเด็ก  ไม่เป็นเจ้าของนโยบายแทนหน่วยงานอื่น  และไม่กำกับสภาเด็กและเยาวชนจนเกินไป  แต่เป็นการทำงานขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลังของความสำเร็จอย่างยั่งยืนเสียมากกว่า
 

 

แง่คิดและประสบการณ์การขับเคลื่อนงานวิจัยด้านเด็กและเยาวชน  ครูต้นแบบ
อาจารย์ พนัส ทองมณี  
ผอ. โรงเรียนบ้านเบตงสุภาพนุรณ์  จ.ยะลา

“จะมีสักกี่ครั้งที่คนทำผิดจะได้รับการให้อภัย หรือแก้ตัวด้วยการให้โอกาส และจะมีเด็กสักกี่คนที่การให้โอกาสหมายถึงการผ่านพ้นจุดวิกฤตของชีวิต”  
 

 

แง่คิดและประสบการณ์การขับเคลื่อนงานวิจัยด้านเด็กและเยาวชน  หน้าตาแขนขาที่เต็มไปด้วยรอยแผลเป็นภาพฉายชีวิตที่ชัดเจนว่าเขาผ่านชีวิตกันมาอย่างไร ขโมยของ ติดยา หรือก่อเหตุวิวาทจนขึ้นโรงพักก็ผ่านมาหมด สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงผลของความเสื่อมสลายของสังคม ครอบครัว หรือแม้กระทั่งคนที่เป็นพ่อเป็นแม่เองบีบคั้น โดยที่เด็กเป็นได้แค่เพียงแต่ ...จำเลย
ผมรู้จักเด็กกลุ่มนี้ที่โรงเรียนบ้านเบตงสุภาพนุสรณ์ จ.ยะลา จากครูพนัส ทองมณี ครูเล่าว่า “นักเรียนกลุ่มนี้เขาเรียนไม่ดี อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ แถมยังเกเรอันธพาลเป็นที่เอือมระอาของเพื่อนและครูในโรงเรียนจนไม่มีใครอยากยุ่งอยากสอน ตัวเด็กเองก็หายจากโรงเรียนไปเลย รู้อีกทีก็มีเรื่องกับแก๊งอื่นแล้ว” ครูพนัสเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น “วันหนึ่งครูเลยลองเอากล้องถ่ายรูปให้พวกเค้าช่วยถ่ายงานโรงเรียน เอาลงคอมพิวเตอร์ ช่วยงานหลายอย่าง ผมคาดไม่ถึง...เด็กเค้าเก่งเรียนรู้เร็วมาก ทำได้ดีกว่าผมเสียอีก ครูในโรงเรียนก็ชื่นชม แปลกครับพฤติกรรมเค้าเปลี่ยน เปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัดไม่เกเรอีกเลย”
ในช่วงเวลาที่เด็กกำลังไขว่คว้าหาบางสิ่งบางอย่างในหนทางที่มืดมิด สิ่งที่อยู่ในมือนั้นหมายถึงเข็มทิศชีวิต ใครจะรู้ว่าหากในมือของเด็กไม่มีกล้องถ่ายรูปที่ครูหยิบยื่นให้ แต่เป็นสิ่งที่ชั่วร้าย เราคงไม่ต้องสงสัยว่าจุดหมายจะมุ่งสู่ที่ใด สิ่งที่ครูมอบให้ไม่ได้เป็นเพียงกล้องถ่ายรูป แต่นั่นคือหัวใจ ที่เต็มไปด้วยการให้โอกาส ความรัก ความไว้วางใจเพื่อที่คนคนหนึ่งจะได้มีเส้นทางที่หันกลับ เป็นหางเสือที่นำพาชีวิตผ่านพ้นมรสุม และพร้อมที่จะเป็นคนคนหนึ่งในโรงเรียน สังคม ต่อหน้าผู้คนอย่างเต็มภาคภูมิ  
 

 

 แนะนำหนังสือ
 

 
แง่คิดและประสบการณ์การขับเคลื่อนงานวิจัยด้านเด็กและเยาวชน • หนังสือชุดทักษะชีวิต
แง่คิดและประสบการณ์การขับเคลื่อนงานวิจัยด้านเด็กและเยาวชน   :  แนวคิดและแนวทางการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ในมิติต่างๆ
เป็นหนังสือชุดหนึ่งของสถาบันรามจิตติที่มุ่งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมแนวคิดและแนวทางการเสริมสร้างการเรียนรู้ทักษะชีวิตในด้านต่างๆ  โดยมีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  (สสส.) เป็นผู้สนับสนุนการจัดพิมพ์เผยแพร่ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สนับสนุนการขับเคลื่อนความรู้สู่การนำไปใช้ในเครือข่ายโรงเรียนต่างๆ  
เนื้อหาแต่ละเล่มจะจุดประกาย ขายความคิด และสถานการณ์ปัญหาแต่ละด้าน เช่น เรื่องเพศ เหล้า ยาเสพติด และการบริโภคต่างๆ ที่เป็นปัญหามากมายในปัจจุบัน รวมทั้งแนวคิด แนวทางการสอนแต่ละเรื่อง เช่น “รู้สารทันสื่อ” ที่ส่งเสริมเรียนรู้เรื่องการรับสื่ออย่างมีคุณค่า  เรื่อง “เหล้ายาศึกษา วิชาห่างเมา” ที่ให้แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องการหลีกเลี่ยงเหล้าบุหรี่และสิ่งเสพติด เรื่อง “รักใสหรือรักเซ็กซ์ เด็กคิดเองได้” เน้นเรียนรู้เรื่องเพศและความสัมพันธ์ระหว่างเพศ เรื่อง “ฉลาดกิน ฉลาดใช้ ฉลาดช็อป” เน้นเรียนรู้เรื่องการบริโภค “สันติวัฒนธรรม สันติในตน” ให้ความสำคัญกับเรียนรู้เรื่องสันติภาพ  “เสริมพลังครอบครัว สร้างรั้วให้หัวใจเด็ก”  เป็นการเรียนรู้เรื่องการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้มแข็งในครอบครัว “ธรรมะโดนใจจรรยาวัยโจ๋” ที่เน้นการเรียนรู้เรื่องคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน
เนื้อหาในหนังสือชุดนี้พัฒนามาจากการประมวลประสบการณ์ปัญหาต่างๆ เช่น เด็กวัยรุ่นกินเหล้าเพิ่มขึ้น เด็กหญิงท้องในวัยเรียนมากขึ้น ฯลฯ  ปัญหาเหล่านี้กำลังขยายตัวในวงกว้างมากขึ้น หนังสือชุดนี้จึงเป็นสื่อหนึ่งที่จะชี้ชวนให้เด็ก ผู้ปกครอง ครู เห็นว่าปัญหาเหล่านี้สำคัญ การเน้นการสอนวิชาการเพื่อมุ่งเข้ามหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เด็กยุคใหม่จะต้องเรียนรู้ทักษะชีวิตควบคู่ไปด้วย
นอกจากนี้ยังมีเอกสารอีกเล่มที่ชื่อ “หนึ่งจุดหมาย หลายเส้นทาง” เนื้อหาจะมีหลากหลายของแผนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสุขภาวะผู้เรียน และหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊กวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาเด็กกลุ่มเสี่ยง ภายใต้ชื่อเรื่อง “เมื่อความทุกข์ไล่ล่าเด็ก” เพื่อเร่งเร้าให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงปัญหาและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่เด็กจำนวนมากกำลังเผชิญอยู่  
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดหนังสือชุดดังกล่าวได้ที่ https://www.childwatchthai.com/
lifeUn1skillUn1book.htm    
 

 

แง่คิดและประสบการณ์การขับเคลื่อนงานวิจัยด้านเด็กและเยาวชน   • เด็กไทยบนทางสามแพร่ง
หนังสือ "เด็กไทยบนทางสามแพร่ง" เล่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานวิจัยโครงการการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด (Child Watch) โดยเป็นผลงานการสังเคราะห์กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนทั้งในด้านบวกและลบที่น่าสนใจ และมีนัยยะความสำคัญในแต่ละพื้นที่ 53 จังหวัด รวม 157 กรณีศึกษา ทั้งนี้เพื่อทำความเข้าใจต่อปัญหาเด็กและเยาวชนอย่างลึกซึ้ง อันจะนำมาซึ่งการแก้ปัญหา และการกำหนดแนวทางการป้องกันอย่างเป็นรูปธรรม
รับส่วนลดพิเศษ 20%  เมื่อซื้อที่ สกว. หรือสั่งซื้อได้ที่https://www.trf.or.th/book/  
ฟรีค่าจัดถึง 15 มกราคม 2552 นี้เท่านั้น    
สอบถามรายละเอียด โทร. 0-2278-8200  ต่อ 8322  (คุณศรีสุดา)  
เปิดบริการทุกวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 8.00-17.00 น.
   

 แหล่งที่มา :  ประชาคมวิจัย ฉบับที่ 81

อัพเดทล่าสุด