https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ MUSLIMTHAIPOST

 

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์


843 ผู้ชม


องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

ระบบคอมพิวเตอร์ 
           ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ร่วมกัน ทำงานประสานกันเพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์เดียวกัน ดังนั้นคอมพิวเตอร์ต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบดังนี้คือ
          1. ฮารด์แวร์ (Hardware) หมายถึงส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ที่ต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถสัมผัสและมองเห็นประกอบด้วย
               1.1 อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า คืออุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อ ป้อนข้อมูล คำสั่ง และคำถามข้อสนเทศ ได้แก่ แป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องอ่านจานข้อมูล เป็นต้น
              1.2 หน่วยประมวลผลกลาง คือส่วนที่เป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ รับข้อมูลและคำสั่งจากอุปกรณ์รับข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก แล้วนำไปคำนวณหรือเปรียบเทียบคำสั่งที่ หน่วยคำนวณและตรรกะ จากนั้นส่งผลลัพธ์ ไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลักอีกครั้ง ก่อนจะนำออกแสดงทางอุปกรณ์ส่งข้อมูลออก 
               1.3 อุปกรณ์ส่งข้อมูลออก คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผล 
               1.4 อุปกรณ์เก็บข้อมูล คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและคำสั่งไว้เป็นการถาวร แต่ต่างจาก
หน่วยความจำหลักที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดไปแม้ว่าจะมีไฟฟ้าหล่อเลี้ยงหรือไม่ 
        2. ซอฟต์แวร์ หมายถึง ชุดคำสั่ง ที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่าง ๆ ได้ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ โดยทั่วไปเรียกว่า โปแกรม สามารถแบ่งได้ 2 อย่างคือ 
              2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ ได้แก่ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ แบ่งได้ 2 ชนิดคือ
                     ก. ซอฟต์แวร์จัดระบบงาน ทำหน้าที่ควบคุม ตรวจสอบ และบังคับบัญชาให้ระบบฮาร์แวร์ของคอมพิวเตอร์ทำงานต่าง ๆ ได้ เช่น dos windows เป็นต้น
                    ข. ซอฟต์แวร์แปลภาษา คือซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่แแปลภาษาระดับสูงที่มนุษย์เขียนขึ้นมาและเข้าใจได้แต่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจเพื่อจะได้ทำงานตามขั้นตอนที่ต้องการได้ มีลักษณะที่ทำงานแตกต่างกัน 2 ชนิดคือ
                        - อินเตอร์พรีเตอร์ คือ แปลภาษาที่ทำการแปลภาษาโปรแกรม ทีละคำ เมื่อแปลเสร็จจะทำตามคำสั่งนั้นทันที แล้วจึงแปลคำสั่งต่อไป
                         - คอมไเลอร์ แปลภาษาที่ทำการแปลภาษาโปรแกรมที่มีอยู่ทั้งหมดนั้นก่อน แล้วจึงค่อยทำงานตามคำสั่ง
               2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือซอฟท์หรือโปรแกรมที่ไดรับการพัฒนาหรือขียนขึ้นเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรมระบบเงินเดือน 
ยังมีซอฟต์แวร์อีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า โปรแกรมสำเร็จรูป เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์นำไปประยุกต์ใช้งานของตน เช่น word exel เป็นต้น
          3. บุคลากร หมายถึง บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ แบ่งได้ 2 ประเภทคือ
               1. ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ หมายถึงบุคคลที่ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ตนต้องการ
               2. นักคอมพิวเตอร์ หมายถึงกลุ่มที่ทำหน้าที่โดยตรงกับการออกแบบระบบและพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
                    2.1 ผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ หมายถึงบุคคลที่ทำหน้าที่ที่เป็นหัวหน้ารับผิดชอบงานของศูนย์คอมพิวเตอร์ทั้งหมด
                    2.2 นักวิเคราะห์ระบบ หมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่รวบรวมาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระบบงานและความต้องการของผู้ใช้ เพื่อนำมาวิเคราะห์และออกแบบระบบใหม่
                    2.3 โปรแกรมเมอร์ หมายถึงบุคคลที่ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมประยุกต์ ตามรายละเอียดที่นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบไว้
                    2.4 โปรแกรมเมอร์ระบบ หมายถึงบุคคลที่มีหน้าที่ให้บริการด้านซอฟต์แวร์ระบบ จึงต้องมีบุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี เพราะต้องให้คำปรึกษาต่าง ๆ 
                   2.5 พนักงานเตรียมข้อมูล หมายถึงบุคคลที่ทำหน้าที่เตรียมข้อมูลให้อยู่ในสือาข้อมูลที่สามารถจะนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ได้
                   2.6 พนักงานควบคุมเครีองคอมพิวเตอร์ หมายถึงบุคคที่มีหน้าที่รับผิดชอบการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไป

           แหล่งที่มา : www.ds.ru.ac.th

อัพเดทล่าสุด