เทคโนโลยีอวกาศ (Technology) MUSLIMTHAIPOST

 

เทคโนโลยีอวกาศ (Technology)


1,039 ผู้ชม


เทคโนโลยีอวกาศ (Technology)

เทคโนโลยีอวกาศ (Technology)

                     เทคโนโลยีอวกาศ คือการสำรวจสิ่งต่างๆที่อยู่นอกโลกของเราและสำรวจโลกของเราเองด้วย ปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศได้มีการพัฒนาไปเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับสมัยก่อน ทำให้ได้ความรู้ใหม่ๆมากขึ้น โดยองค์การที่มีส่วนมากในการพัฒนาทางด้านนี้คือองค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกา ได้มีการจัดทำโครงการขึ้นมากมาย ทั้งเพื่อการสำรวจดาวที่ต้องการศึกษาโดยเฉพาะและที่ทำขึ้นเพื่อศึกษาสิ่งต่างๆในจักรวาล การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศนั้นมีทั้งด้านการสื่อสาร ทำให้การสื่อสารในปัจจุบันทำได้อย่างรวดเร็ว  การสำรวจทรัพยากรโลก ทำให้ทราบว่าปัจจุบันนี้โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง   และการพยากรณ์อากาศก็จะทำให้สามารถเตรียมพร้อมที่จะรับกับสถานการณ์ต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปได้

เทคโนโลยีอวกาศ : ระบบการขนส่งอวกาศ 
     ระบบการขนส่งอวกาศเป็นโครงการที่ถูกออกแบบให้สามารถนำชิ้นส่วนบางส่วนที่ใช้ ไปแล้วกลับมาใช้ใหม่อีกเพื่อเป็นการประหยัดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ จรวดเชื้อเพลิงแข็ง ถังเชื้อเพลิงภายนอก (สำรองไฮโดรเจนเหลวและออกซิเจนเหลว) และยานอวกาศ


     ระบบขนส่งอวกาศมีน้ำหนักรวมเมื่อขึ้นจากฐานปล่อยประมาณ 2,041,200 กิโลกรัม โดยจรวดเชื้อเพลิงแข็งจะถูกขับเคลื่อนจากฐานปล่อยให้นำพาทั้งระบบขึ้นสู่อวกาศด้วยความเร็วที่มากกว่าค่าความเร็วหลุดพ้น เมื่อถึงระดับหนึ่งจรวดเชื้อเพลิงแข็งทั้งสองข้างจะแยกตัวออกมาจากระบบ จากนั้นถังเชื้อเพลิงภายนอกจะแยกตัวออกจากยานอวกาศ โดยตัวยานอวกาศจะเข้าสู่ วงโคจรเพื่อปฏิบัติภารกิจต่อไป ดังรูป


     การปฏิบัติภารกิจสำหรับระบบขนส่งอวกาศมีหลากหลายหน้าที่ ตั้งแต่การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (ในสภาวะไร้น้ำหนัก) การส่งดาวเทียม การประกอบกล้องโทรทรรศน์อวกาศ การส่งมนุษย์ไปบนสถานีอวกาศ ฯลฯ ยานอวกาศจึงถูกออกแบบสำหรับบรรทุกคนได้ประมาณ 7-10 คน ปฏิบัติภารกิจได้นานตั้งแต่ไม่กี่ชั่วโมงหรืออาจใช้เวลาถึง 1 เดือน สำหรับโครงการขนส่งอวกาศขององค์การนาซามีอยู่ด้วยกัน 6 โครงการ คือ
     1. โครงการเอนเตอร์ไพรส์
     2. โครงการโคลัมเบีย
     3. โครงการดิสคัฟเวอรี
     4. โครงการแอตแลนติส
     5. โครงการแชลแลนเจอร์
     6. โครงการเอนเดฟเวอร์
     ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันว่าโครงการแชลแลนเจอร์และโครงการโคลัมเบียประสบความ สูญเสียครั้งร้ายแรง เมื่อยานทั้งสองเกิดระเบิดขึ้นขณะอยู่บนท้องฟ้า โดยระบบขนส่งอวกาศแชลแลนเจอร์ระเบิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2529 ระหว่างเดินทางขึ้นสู่อวกาศไม่เพียงกี่นาทีด้วยสาเหตจากการรั่วไหลของก๊าซ เชื้อเพลิงอุณหภูมิสูงจากรอยต่อของจรวดเชื้อเพลิงแข็งด้านขวาของตัวยาน ทำให้ก๊าซอุณหภูมิสูงดังกล่าวลามไปถึงถังเชื้อเพลิงภายนอกที่บรรจุไฮโดรเจน เหลว จึงเกิดการเผาไหม้อย่างรุนแรงและเกิดระเบิดขึ้น คร่าชีวิตนักบินอวกาศ 7 คน ส่วนระบบขนส่งอวกาศโคลัมเบียเกิดระเบิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 (17 ปี หลังการระเบิดของยานแชลแลนเจอร์) โดยวิศวกรนาซาเชื่อว่าอาจเพราะตัวยานมีการใช้งานยาวนานจนอาจทำให้แผ่นกัน ความร้อนที่หุ้มยานชำรุด ทำให้เกิดระเบิดขึ้นหลังจากนักบินกำลังพยายามร่อนลงสู่พื้นโลก แต่ทั้งสองเหตุการณ์ในสหรัฐอเมริกายังไม่ร้ายแรงเท่าเหตุการณ์ระเบิดของจรวด ของสหภาพโซเวียตขณะยังอยู่ที่ฐาน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2503 โดยมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวถึง 165 คน โศกนาฏกรรมเหล่านี้ที่เกิดขึ้นแม้จะทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและ ทรัพย์สิน แต่มนุษย์ก็ยังไม่เลิกล้ มโครงการอวกาศ ยังมีความพยายามคิดและสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อความปลอดภัยและลดค่าใช้จ่ายให้มากขึ้น ด้วยเป้าหมายหลักของโครงการขนส่งอวกาศในอนาคตคือการสร้างสถานีอวกาศถาวรและ การทดลองทางวิทยาศาสตร์อื่นๆ


ถาม เรียนวิทยาการจัดการการเงินจบมาตลาดงานเยอะไหมครับแล้วสอบเข้ายากไหม 
ตอบ เราว่าเดี๋ยวนี้มีคนจบด้านบริหาร วิทยาการจัดการ เยอะมากเกินความต้องการของตลาดแรงงานนะ ถ้าดูดีๆจะเห็นว่าส่วนใหญ่วิทยาลัย/มหาวิทยาลัยของเอกชนเวลาเปิดใหม่ๆก็จะมีคณะบริหารธุรกิจเป็นคณะแรก และคณะทางด้นนี้ก็มีคนเรียนเยอะซะด้วย เราก็คิดว่าจะเรียนคณะนี้เหมือนกันคิดว่าจะเรียนการตลาดน่ะ แต่เราคิดว่าถ้าเราเรียนแบบตั้งใจ จบออกมาแล้วรู้จริง ทำได้ เราก็คิดว่าคงหางานได้ไม่ยากหรอก

ถาม อยากรู้มหาลัยที่เปิด หลักสูตรต่อเนื่องบ้างคะ  เพราะว่าตอนนี้ เรียนปวช.คอมพิวเตอร์กราฟิก อยู่ ไปแน่จัยระหว่าง ต่อ ปวส หรือ มหาลัยเลยคะ  เอาสาขาที่เกี่ยวเนื่องกันนะคะช่วยตอบด้วยนะคะ 
ตอบ  ตอนนี้น่าจะใกล้จบ ปวช.3 รึเปล่า ถ้าจะเข้ามหาลัย ต้องสมัคร โอเน็ตมาก่อนหน้านี้แ้ล้ว และเอเน็ต เมื่อต้นเดือน มกราคม ที่ผ่านมา แต่ถ้าไม่สมัครทั้งสองอย่างแนะนำให้เรียน ปวส.ไปก่อนก็ได้ แล้วจบ ปวส.2 มาต่อมหาวิทยาลัยก็ได้ครับ โดยทั้งรัฐและเอกชน ที่เปิด บริหารธุรกิจ , วิทยาการคอมฯ วิดวะคอมฯ หรืออื่น ๆ ก็จะมีเปิดรับ นักศึกษาต่อเนื่องเยอะมากครับ 
แถมของเอกชนอีกหลายแห่ง เอกสาขาที่เกี่ยวข้องก็ดูตรงคุณสมบัติการรับเข้าของแต่ละคณะที่เราถนัดนะครับ ขอให้โชคดี

ถาม ตอนนี้เรียนอยู่ม .5 ถ้าจบม.6แล้วอยากจะเรียนต่อวิศวกรรมโยธาแต่ทางบ้านไม่ให้เรียน เพราะว่าเป็นผู้หญิง ช่วยออกความคิดเห็นหน่อยค่ะ 
ตอบ  อาจจะเป็นเพราะ การทำงาน หรือเรียนด้วยการออกสนามบ่อย ๆ หรือเปล่า ที่ทางบ้าน ไม่เห็นด้วย แต่ที่แน่นอน วิดวะโยธา เรียนแบบผู้ชายคือ หนักเอาการ แต่ถ้าชอบ ก็ลองดูครับ 
วิศวกรรมโยธา (civil engineering) เป็นศาสตร์ของสาขาหนึ่งในทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ครอบคลุมการก่อสร้างตึก ตึกระฟ้า อาคาร สะพาน ถนน และระบบขนส่งอื่น ๆ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น เขื่อน คลอง ตลอดจนการทำรังวัดในงานสำรวจและแผนที่ รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ และการบริหารจัดการการก่อสร้าง งานในทางด้านวิศวกรรมจะเน้ นทางด้านการใช้วัสดุและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า วิศวกรโยธา หรือเรียกกันว่า นายช่าง ในการทำงานในประเทศไทย ผู้ที่ประกอบวิชาชีพจะขึ้นทะเบียนกับสภาวิศวกรเพื่อรับ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (กว.) โดยจะมีการสอบจัดขึ้นปีละครั้ง

สาขาของวิดวะ โยธา

วิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering) 
ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและคำนวณ สิ่งก่อสร้าง การศึกษาในสาขานี้จะเน้นในทางด้านงานคำนวณน้ำหนักของสิ่งก่อสร้าง และแรงต้านทานของวัสดุ งานที่เกี่ยวข้องได้แก่ การก่อสร้างอาคาร เขื่อนหรือสะพาน 
วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ (Construction Engineering and Management) 
ศึกษาเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารเป็นหลัก โดยเน้นศึกษาทางด้านระบบการสร้างอาคาร การวางแผนงาน การประเมินราคาค่าก่อสร้าง นอกจากนี้ ในบางสถาบันจะมีการสอนเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ และระบบสุขาภิบาลภายในอาคาร 
วิศวกรรมขนส่ง (Transportation Engineering) 
ศึกษาแยกเป็น 2 สาขาหลักคือระบบและวัสดุ โดยงานทางด้านระบบจะเน้นทางด้านการวางผัง การจราจร และการจัดการทางด้านงานจราจร โดยทำการศึกษาถึงประโยชน์และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบถนน สำหรับงานทางด้านวัสดุจะเน้นในการศึกษาวัสดุในการทำถนน ได้แก่ คอนกรีตและยางมะตอย เป็นหลัก โดยศึกษาถึงกรรมวิธีในการสร้างถนนและปรับปรุงถนน 
วิศวกรรมเทคนิคธรณี (Geotechnical engineering) 
ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์และวิศวกรรมของดิน เพื่อการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธา 
วิศวกรรมธรณี (Geological engineering) 
ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์ วิศวกรรมของหิน และธรณีวิทยาประยุกต์ เพื่อการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธาและเหมืองแร่ 
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering) 
ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการระบบสิ่งแวดล้อมในน้ำและในอากาศ การปรับปรุงคุณภาพของของเสีย 
วิศวกรรมแหล่งน้ำ (Water Resource engineering) 
ศึกษาเกี่ยวกับงานทางด้านแหล่งน้ำ ปริมาณน้ำฝน และระบบการระบายน้ำ รวมทั้งการก่อสร้างคู คลอง และแม่น้ำ 
วิศวกรรมสำรวจ (Survey Engineering) 
ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำรังวัดและงานทางด้านสำรวจ สำหรับใช้ในทางด้านแผนที่ รวมถึงการศึกษาทางด้าน จีพีเอส (GPS) และ ภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics หรือ Geographic information system;GIS) 
 

อัพเดทล่าสุด