มลพิษทางน้ำ ความหมาย MUSLIMTHAIPOST

 

มลพิษทางน้ำ ความหมาย


903 ผู้ชม


มลพิษทางน้ำ


พระราชบัญยัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
ให้คำจำกัดความดังนี้คือ
มลพิษ หมายความว่าของเสีย วัตถุอันตราย และมวลสารอื่นๆ รวมทั้งกากตะกอน
หรือสิ่งตกค้างเหล่านั้น ที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม
ตามธรรมชาติ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือภาวะที่เป็นอันตราย
ต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และให้หมายควารวถึงรังสี ความร้อน แสง เสียง คลื่น 
ความสั่นสะเทือน หรือเหตุรำคาญอื่นๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งน้ำกำเนิดมลพิษ 
ของเสีย หมายความว่า ขยะมูลฝอยสิ่งปฎิกูล น้ำเสีย อกาศเสีย มวลสาร 
หรือวัตถุอันตรายอื่นใด ซึ่งถูกปล่อยทิ้งหรือมีที่มาจากแหล่งกำเนิดมลพิษ
รวมทั้งกากตะกอนหรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้น ที่อยู่ในสภาพของแข็ง 
ของเหลว หรือก๊าซ
น้ำเสีย หมายความว่าของเสียที่อยู่ในสภาพเป็นของเหลวรวมทั้งวลสารที่อยู่ปะปน
หรือปนเปื้อนอยู่ในของเหลวนั้น
จำแนกประเภทของมลพิษทางน้ำ
  มลพิษทางน้ำสามาถจำแนกออกได้ดังนี้
 1. น้ำเน่า ได้แก่ น้ำที่มีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำต่ำ มีสีดำคล้ำและอาจส่งกลิ่นเหม็น น้ำประเภทนี้เป็นน้ำอันตรายต่อการบริโภค การประมง และทำให้น้ำสูญเสียคุณค่าทางการพักผ่อนของมนุษย์
    2. น้ำเป็นพิษ ได้แก่ น้ำที่มีสารพิษเจือปนอยู่ในระดับที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์และสัตว์น้ำ เช่น สารประกอบของปรอท ตะกั่ว สารหนู แคดเมี่ยม ฯลฯ
    3. น้ำที่มีเชื้อโรค ได้แก่ น้ำที่มีเชื้อบักเตเรี ไวรัส ฯลฯ เช่นเชื้ออหิวาตกโรค เชื้อบิดเชื้อไขไทฟอยด์เจือปนอยู่เป็นต้น
    4. น้ำขุ่นข้น ได้แก่ น้ำที่มีตะกอนดินและทรายเจือปนอยู่เป็นจำนวนมากจนเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ และอุปสรรคต่อการใช้ประโยชน์ของมนุษย์
    5. น้ำร้อน ได้แก่ น้ำที่ได้รับการ ถ่ายเทความร้อนจากน้ำทิ้ง จนมีอุณหภูมิที่สูงกว่าที่ควรจะเป็นไปตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่เกิดจากการระบายน้ำหล่อเย็นจากโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่แหล่งน้ำ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต และการแพร่พันธุ์ของสัตว์น้ำ ตลอดจนสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
    6. น้ำที่มีกัมมันตระภาพรังสี ได้แก่น้ำที่มีสารกัมมันตภาพรังสีเจือปนในระดับที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
    7. น้ำกร่อย ได้แก่ น้ำจืดที่เสื่อมคุณภาพเนื่องจากการละลายของเกลือในดินหรือน้ำทะเลไหลหรือซึมเข้าเจือปน
    8. น้ำที่มีคราบน้ำมัน ได้แก่ น้ำมันหรือไขมันเจือปนอยู่มาก 



โดย ผศ.(พิเศษ)ประสพชัย นามลาพุทธา

อัพเดทล่าสุด