นครศรีธรรมราช จังหวัดที่น่าเที่ยวอีกที่ของไทย MUSLIMTHAIPOST

 

นครศรีธรรมราช จังหวัดที่น่าเที่ยวอีกที่ของไทย


1,588 ผู้ชม


นครศรีธรรมราช  จังหวัดที่น่าเที่ยวอีกที่ของไทย

จังหวัดนครศรีธรรมราช (มักเรียกสั้น ๆ ว่า นคร) เป็นจังหวัดในประเทศไทย ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ (รองจากสุราษฎร์ธานี) ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 780 กิโลเมตร จังหวัดที่อยู่ติดกัน (จากทิศใต้ วนตามเข็มนาฬิกา) ได้แก่ สงขลา พัทลุง ตรัง กระบี่ และสุราษฎร์ธานี

ในอดีตมีชื่อเรียกดินแดนแถบนี้หลายชื่อ ที่ตะวันตกนิยมเรียกกันมาจนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ "ลิกอร์" สันนิษฐานว่าชาวโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นเป็นผู้เรียกก่อน โดยเพี้ยนมาจากคำว่า "นคร" ส่วนชื่อ "นครศรีธรรมราช" มาจากพระนามของกษัตริย์ผู้ครองนครในอดีต ทรงมีพระนามว่า "พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช" (ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช) มีความหมายว่า "นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม" หรือ "เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่"

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองนครศรีธรรมราชมีฐานะเป็นเมืองชั้นเอกคู่กับเมืองพิษณุโลก มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ระดับเจ้าพระยาเป็นเจ้าเมือง มีบรรดาศักดิ์ตามพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง ว่า เจ้าพระยาศรีธรรมราชชาติเดโชไชยมไหยสุริยาธิบดีอภัยพิรียบรากรมภาหุประวัติศาสตร์

เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน ปี พ.ศ. 2310 ตำแหน่งเจ้าพระยานครศรีธรรมราชว่างอยู่ หลวงสิทธนายเวรมหาดเล็ก (หนู) ซึ่งออกไปรับราชการตำแหน่งปลัดเมืองเป็นผู้รักษาราชการเมืองนครศรีธรรมราช ครั้นทราบว่ากรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ไม่มีเจ้านายปกครองประเทศ หลวงสิทธิจึงตั้งตัวเป็นเจ้าผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชเป็นอิสระอยู่ก๊กหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2312 พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกกองทัพไปปราบ จับตัวเจ้านครได้ และมีพระราชดำริว่าเจ้านครมิได้มีใจกบฏคิดร้ายต่อประเทศ แต่ตั้งตัวขึ้นเนื่องจากบ้านเมืองเป็นจลาจล จึงโปรดเกล้าฯ ให้มารับราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี และให้เจ้านราสุริยวงศ์หลานเธอออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาเจ้านราสุริยวงศ์ถึงแก่พิราลัย พระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระราชดำริว่า เจ้านครได้เข้ามารับราชการมีความจงรักภักดีและได้ถวายธิดาทำราชการมีราชบุตร (คือพระพงษ์นรินทรและพระอินทร์อภัย) เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านครออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช และสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้านครศรีธรรมราช เจ้าขันธสีมา เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 ขึ้น 3 ค่ำ จุลศักราช 1138(พ.ศ. 2319) ปีวอกอัฐศก

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) มีพระราชดำริว่า พระเจ้านครศรีธรรมราชมีความชราทุพพลภาพ ไม่สามารถปกครองบ้านเมืองได้ จึงโปรดให้ออกจากตำแหน่ง กลับเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ และโปรดให้เจ้าอุปราช (พัฒน์) บุตรเขยเจ้านคร ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อวันอังคาร เดือน 8 แรม 11 ค่ำ จุลศักราช 1146 (พ.ศ. 2327) ปีมะโรงศก แต่โปรดให้มียศเพียงเจ้าพระยาตามประเพณีแต่เดิมเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองนครศรีธรรมราชจึงเป็นเมืองที่เคยมีกษัตริย์ปกครอง และมีฐานะเป็นประเทศราช 8 ปี

มีเกร็ดย่อยคือ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) รับราชการจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) มีความชราภาพ จึงทรงยกขึ้นเป็น เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี ตำแหน่งกิตติมศักดิ์ และทรงตั้งพระบริรักษ์ภูเบศร์ (น้อย) บุตรเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราชคนใหม่ แต่มีเรื่องปรากฏหลักฐานในสมัยนั้นว่า เจ้าพระยานคร (น้อย) นี้ที่จริงเป็นราชบุตรลับของพระเจ้ากรุงธนบุรี เนื่องจากเมื่อครั้งเจ้านครทำราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี และถวายธิดาทำราชการฝ่ายในแก่พระเจ้ากรุงธนบุรี และมีน้องสาวมาอยู่ด้วยในวังคนหนึ่ง ความปรากฏตามพงศาวดารว่า เจ้าพระยาพิชัยราชา เจ้าเมืองสวรรคโลกให้ไปขอ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบก็ทรงพระพิโรธ ว่าเจ้าพระยาพิชัยราชาบังอาจจะเป็นคู่เขยของพระองค์ ให้เอาไปประหารเสีย ต่อมาวงศ์ญาติเจ้านครจึงนำธิดาคนนี้ถวายพระเจ้ากรุงธนบุรีเสีย ต่อมาเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เมื่อครั้งยังเป็นอุปราชเมืองนครอยู่ ภริยาซึ่งเป็นบุตรเจ้านครเสียชีวิต เจ้าพระยานคร (พัฒน์) ทำความชอบได้เข้าเฝ้าครั้งหนึ่ง พระเจ้ากรุงธนบุรีเห็นว่าภริยาเสียชีวิตก็สงสารจึงจะพระราชทานธิดาเจ้านครให้ใหม่ และให้นำตัวธิดาคนเล็กเจ้านครไปพระราชทาน แต่นางในกระซิบว่า ดูเหมือนว่านางจะขาดระดูอยู่ แต่พระเจ้ากรุงธนตรัสว่า "ได้ออกปากให้เขาแล้ว ก็พาไปเถอะ" เมื่อท้าวนางพาธิดาเจ้านครไปส่งนั้น เจ้าอุปราช (พัฒน์) ก็ทราบความลับนั้น มีความยำเกรงพระบารมีก็ต้องรับไว้เป็นท่านผู้หญิงกิตติมศักดิ์อยู่ตลอดอายุ และนางนั้นก็มีบุตรกับเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เพียงคนเดียว คือ เจ้าพระยานคร (น้อย) คนต่อมา คือ ปริก

[แก้] หน่วยการปกครอง

[แก้] การปกครองส่วนภูมิภาค

การปกครองแบ่งออกเป็น 23 อำเภอ 165 ตำบล 1,428 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
  2. อำเภอพรหมคีรี
  3. อำเภอลานสกา
  4. อำเภอฉวาง
  5. อำเภอพิปูน
  6. อำเภอเชียรใหญ่
  7. อำเภอชะอวด
  8. อำเภอท่าศาลา
  9. อำเภอทุ่งสง
  10. อำเภอนาบอน
  11. อำเภอทุ่งใหญ่
  12. อำเภอปากพนัง
  1. อำเภอร่อนพิบูลย์
  2. อำเภอสิชล
  3. อำเภอขนอม
  4. อำเภอหัวไทร
  5. อำเภอบางขัน
  6. อำเภอถ้ำพรรณรา
  7. อำเภอจุฬาภรณ์
  8. อำเภอพระพรหม
  9. อำเภอนบพิตำ
  10. อำเภอช้างกลาง
  11. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
 

[แก้] การปกครองส่วนท้องถิ่น

แบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลนคร 2 เทศบาลเมือง 30 เทศบาลตำบล และ 159 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้

  1. เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
  2. เทศบาลเมืองทุ่งสง
  3. เทศบาลเมืองปากพนัง
  4. เทศบาลตำบลขนอม
  5. เทศบาลตำบลจันดี
  6. เทศบาลตำบลฉวาง
  7. เทศบาลตำบลไม้เรียง
  8. เทศบาลตำบลชะอวด
  1. เทศบาลตำบลเชียรใหญ่
  2. เทศบาลตำบลท่าศาลา
  3. เทศบาลตำบลที่วัง
  4. เทศบาลตำบลท่ายาง
  5. เทศบาลตำบลนาบอน
  6. เทศบาลตำบลทอนหงส์
  7. เทศบาลตำบลพรหมโลก
  8. เทศบาลตำบลพิปูน
  1. เทศบาลตำบลท่าแพ
  2. เทศบาลตำบลบางจาก
  3. เทศบาลตำบลเขาชุมทอง
  4. เทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์
  5. เทศบาลตำบลหินตก
  6. เทศบาลตำบลลานสกา
  7. เทศบาลตำบลสิชล
  8. เทศบาลตำบลหัวไทร
  1. เทศบาลตำบลท้องเนียน
  2. เทศบาลตำบลปากนคร
  3. เทศบาลตำบลทางพูน
  4. เทศบาลตำบลเขาพระ
  5. เทศบาลตำบลเกาะเพชร
  6. เทศบาลตำบลพรหมคีรี
  7. เทศบาลตำบลไชยมนตรี
  8. เทศบาลตำบลบางพระ
  9. เทศบาลตำบลนาหมอบุญ

[แก้] ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช [2]

ลำดับรายนามระยะเวลาดำรงตำแหน่งลำดับรายนามระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1เจ้าพระยาสุธรรมมนตรีศรีธรรมราช (หนูพร้อม ณ นคร)พ.ศ. 2440-พ.ศ. 24472พระยาสุนทรธุรกิจ (หมี ณ ถลาง)พ.ศ. 2447-พ.ศ. 2449
3พระยาตรังภูษาภิบาล (ถนอม บุญยเกตุ)พ.ศ. 2449-พ.ศ. 24524พระยาสิริธรรมบริรักษ์ (เย็น สุวรรณปัทมา)พ.ศ. 2452-พ.ศ. 2455
5พระยาประชากิจกรจักร์ (ฟัด มหาเปารยะ)พ.ศ. 2455-พ.ศ. 24626พระยารักษฏานุประดิษฐ์ (สิน เทพหัสดิน ณ อยุธยา)พ.ศ. 2462-พ.ศ. 2474
7พระยาสุรพลนิพิธ (เป้า สุมนดิษฐ์)พ.ศ. 2474-พ.ศ. 24758พระยาบุรีสราธิการ (โจ้ กนิษฐารัตน์)พ.ศ. 2475-พ.ศ. 2476
9พระอรรถานิพนธ์ปรีชา (ประเสริฐ อรรถนิพนธ์ปรีชา)พ.ศ. 2476-พ.ศ. 247710พระยาสุราษฎร์ธานีศรีเกษตรนิคม (เต่า ศตะกุรมะ)พ.ศ. 2477-พ.ศ. 2481
11ร.อ. พระสาครบุรารักษ์ ร.น. (ปริก สุวรรณนนท์)พ.ศ. 2481-พ.ศ. 248412ร.อ.อ. หลวงวุฒิราษฎร์รักษา (ว.ศ.วุฒิราษฎร์รักษา)พ.ศ. 2484-พ.ศ. 2486
13ขุนภักดีดำรงฤทธิ์ (ภักดี ดำรงฤทธิ์)พ.ศ. 2486-พ.ศ. 248914ขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ (สมวงส์ วัฏฏสิงห์)พ.ศ. 2489-พ.ศ. 2489
15นายแม้น ออนจันทร์พ.ศ. 2489-พ.ศ. 249316ขุนอารีราช การัณย์ (ชิต สุมนดิษฐ์)พ.ศ. 2493-พ.ศ. 2494
17ขุนไมตรีประชารักษ์ (ไมตรี พิจิตรนรการ)พ.ศ. 2494-พ.ศ. 249518ขุนพิเศษนคร (ชุบ พิเศษนครกิจ)พ.ศ. 2495-พ.ศ. 2497
19ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุญยนิตย์)พ.ศ. 2497-พ.ศ. 250020นายมงคล สุภาพงษ์พ.ศ. 2500-พ.ศ. 2501
21นายจันทร์ สมบูรณ์กุลพ.ศ. 2501-พ.ศ. 250322นายสันต์ เอกมหาชัยพ.ศ. 2503-พ.ศ. 2512
23นายพันธ์ ลายตระกูลพ.ศ. 2512-พ.ศ. 251424นายคล้าย จิตพิทักษ์พ.ศ. 2515-พ.ศ. 2518
25นายเวียง สาครสินธุ์พ.ศ. 2518-พ.ศ. 251826นายศุภโยค พานิชวิทย์พ.ศ. 2518-พ.ศ. 2519
27นายเสน่ห์ วัฑฒนาธรพ.ศ. 2519-พ.ศ. 252128นายธานี โรจรนาลักษณ์พ.ศ. 2521-พ.ศ. 2525
29นายเอนก สิทธิประศาสน์พ.ศ. 2525-พ.ศ. 252930เรือตรีสุกรี รักษ์ศรีทองพ.ศ. 2529-พ.ศ. 2530
31นายนิพนธ์ บุญญภัทโรพ.ศ. 2530-พ.ศ. 253232พันโทกมล ประจวบเหมาะพ.ศ. 2532-พ.ศ. 2533
33ร้อยตรีณรงค์ แสงสุริยงค์พ.ศ. 2533-พ.ศ. 253434ร้อยตรีกิตติ ประทุมแก้วพ.ศ. 2534-พ.ศ. 2535
35นายวิสุทธิ์ สิงห์ขจรวรกุลพ.ศ. 2535 - พ.ศ. 253636นายสุชาญ พงษ์เหนือพ.ศ. 2536-พ.ศ. 2537
37นายบัญญัติ จันทน์เสนะพ.ศ. 2537-พ.ศ. 253838นายประกิต เทพชนะพ.ศ. 2538-พ.ศ. 2540
39นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์พ.ศ. 2540-พ.ศ. 254140นายสวัสดิ์ กฤตรัชตนันต์พ.ศ. 2541-พ.ศ. 2544
41นายสวัสดิ์ แกล้วทนงค์พ.ศ. 2544-พ.ศ. 254742นายวิชม ทองสงค์พ.ศ. 2547-พ.ศ. 2551
43นายภาณุ อุทัยรัตน์พ.ศ. 2551-พ.ศ. 255244นายธีระ มินทราศักดิ์พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน

[แก้] เศรษฐกิจ

[แก้] รายได้ประชากร

เศรษฐกิจโดยทั่วไปของจังหวัดขึ้นอยู่กับภาคเกษตร อาชีพหลัก คือ ทำสวนยางพารา ทำนา ทำไร่ การปลูกผลไม้ ทำสวนมะพร้าว การประมงและการเลี้ยงสัตว์ พัฒนาจากการสำรวจ พบว่า ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี เท่ากับ 59,869 บาท ซึ่งเป็นอันดับที่ 11 ของภาคใต้

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด: พระบรมธาตุมีรัศมีล้อมรอบด้วย 12 นักษัตรโดยในสมัยเจ้าจันทรภาณุทรงมีพระปรีชาสามารถขยายอาณาเขตได้ครอบคลุมเมืองบริวารทั้งหลาย เมืองบริวารทั้งหมดต้องส่งเครื่องราชบรรณาการแก่เจ้าผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช บรรดาเมืองบริวารทั้ง 12 เมืองได้แก่
  1. เมืองสายบุรี ใช้ตราหนู เมืองสายบุรีเป็นเมืองเก่าบนฝั่งแม่น้ำสายบุรี ประกอบด้วยชุมชนเกษตรกรรมบนพื้นราบริมทะเลหลายแห่ง จัดเป็นหัวเมืองที่ 1 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราหนู (ชวด) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอในจังหวัดปัตตานี
  2. เมืองปัตตานี ใช้ตราวัว เมืองตานีเคยเป็นเมืองท่าสำคัญในภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งรู้จักในหมู่พ่อค้าต่างชาติช่วงพุทธศตวรรษที่ 10-18 ในชื่อ "ลังกาสุกะ" จัดเป็นหัวเมืองที่ 2 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราวัว (ฉลู) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดปัตตานี
  3. เมืองกลันตัน ใช้ตราเสือ เมืองกลันตันเป็นชุมชนเก่าแก่ทางตะวันออกของคาบสมุทรมลายู แต่เดิมประชาชนนับถือศาสนาพุทธและฮินดู ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 จึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม จัดเป็นหัวเมืองที่ 3 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราเสือ (ขาล) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย
  4. เมืองปะหัง ใช้ตรากระต่าย เมืองปะหังเป็นชุมชนทางตอนล่างของแหลมมลายู ติดกับไทรบุรีหรือเกดะห์ จัดเป็นหัวเมืองที่ 4 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตรากระต่าย (เถาะ) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย
  5. เมืองไทรบุรี ใช้ตรางูใหญ่ เมืองไทรบุรีเป็นชุมชนเก่าทางฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและบึงตม เดิมประชาชนนับถือพุทธศาสนา ล่วงถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม จัดเป็นหัวเมืองที่ 5 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตรางูใหญ่ (มะโรง) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย ชื่อว่า "เกดะห์"
  6. เมืองพัทลุง ใช้ตรางูเล็ก เมืองพัทลุงเป็นชุมชนเก่าแก่แต่ครั้งพุทธศตวรรษที่ 11-13 ได้รับอิทธพลทางพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชอย่างต่อเนื่องทุกยุคสมัย จัดเป็นหัวเมืองที่ 6 ในทำเนียบสิบสองนักษัตร ถือตรางูเล็ก (มะเส็ง) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดพัทลุง
  7. เมืองตรัง ใช้ตราม้า เมืองตรังเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันตก ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่ควนธานี ต่อมาได้ย้ายไปที่กันตังและทับเที่ยงตามลำดับ จัดเป็นหัวเมืองที่ 7 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราม้า (มะเมีย) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดตรัง
  8. เมืองชุมพร ใช้ตราแพะ เมืองชุมพรเป็นชุมชนเกษตรและท่าเรือบนคาบสมุทรขนาดเล็ก มีประชากรไม่มากนักเนื่องจากดินฟ้าอากาศไม่อำนวยให้ทำมาหากิน จัดเป็นหัวเมืองที่ 8 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราแพะ (มะแม) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดชุมพร
  9. เมืองบันทายสมอ ใช้ตราลิง เมืองบันทายสมอสันนิษฐานว่าเป็นเมืองไชยา ซึ่งเป็นชุมชนใหญ่มาแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๐ เป็นอย่างน้อย มีร่องรอยความเจริญทางเศรษฐกิจและศาสนาพุทธนิกายหินยานและมหายาน รวมทั้งศาสนาฮินดูนิกายไวษณพและนิกายไศวะจำนวนมาก จัดเป็นหัวเมืองที่ 9 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราลิง (วอก) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  10. เมืองสะอุเลา ใช้ตราไก่ เมืองสะอุเลาสันนิษฐานว่าเป็นเมืองท่าทองอุแทหรือกาญจนดิษฐ์ ซึ่งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำท่าทอง และลุ่มคลองกะแดะ เคยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงชั้นเอกและเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญของนครศรีธรรมราช จัดเป็นหัวเมืองที่ 10 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราไก่ (ระกา) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคืออำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  11. เมืองตะกั่วป่า ใช้ตราสุนัข เมืองตะกั่วป่าเคยเป็นเมืองท่าสำคัญทางฝั่งทะเลตะวันตก เป็นแหล่งผลิตดีบุกและเครื่องเทศมาแต่โบราณ จัดเป็นหัวเมืองที่ 11 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราสุนัข (จอ) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคืออำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
  12. เมืองกระบุรี ใช้ตราหมู เมืองกระบุรีเป็นชุมชนเล็ก ๆ บนฝั่งแม่น้ำกระบุรี ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่า และภูเขาสลับซับซ้อน จัดเป็นหัวเมืองที่ 12 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราสุกร (กุน) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอในจังหวัดระนอง
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกราชพฤกษ์ (Cassis fistula)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: แซะ (Millettia atropurpurea)
  • คำขวัญประจำเมือง: เราชาวนครอยู่เมืองพระ มั่นในสัจจะศีลธรรม กอปรกรรมดี มีมานะพากเพียร ไม่เบียดเบียนทำอันตรายผู้ใด
  • คำขวัญประจำจังหวัด: นครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู
  • อักษรย่อจังหวัด : นศ

[แก้] ประชากร

อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช 266,668 นอกเขตเทศบาล 146,545 เทศบาลปากนคร 6,151 เทศบาลตำบลบางจาก 1,849 เทศบาลตำบลท่าแพ 4,101 เทศบาลนครนครศรีธรรมราช 108,022

[แก้] ศาสนา

ชาวนครศรีธรรมราชส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธประมาณ 92.08% รองลงมาได้แก่ ศาสนาอิสลาม 7.03% ศาสนาคริสต์ 0.89% นอกจากนั้นเป็นศาสนาอื่น ๆ (ข้อมูลประชากร 1,508,096 คน ณ ตุลาคม 2549)

[แก้] การคมนาคม

ในตัวเมืองนครศรีธรรมราช มีรถสองแถววิ่งบริการรอบเมือง และจากนครศรีธรรมราชไปสู่จังหวัดข้างเคียง สามารถเลือกใช้บริการได้ทั้งรถตู้ รถแท็กซี่ รถโดยสาร และรถไฟ

[แก้] รถยนต์

การเดินทางจากกรุงเทพมายังนครศรีธรรมราช ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 กรุงเทพฯ-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านสุราษฎร์ธานี-ทุ่งสง จนถึงนครศรีธรรมราช หรือถึงอำเภอพุนพิน สุราษฎร์ธานี แล้วใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 401 เลียบชายฝั่งทะเลไปจนถึงนครศรีธรรมราช รวมระยะทาง 780 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางยังอำเภออื่นๆ หรือจังหวัดใกล้เคียงได้ โดยมีระยะทางดังนี้

  • จากอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชไปยังอำเภออื่นๆ
    • อำเภอพรหมคีรี 21 กิโลเมตร
    • อำเภอลานสกา 21 กิโลเมตร
    • อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 22 กิโลเมตร
    • อำเภอท่าศาลา 28 กิโลเมตร
    • อำเภอร่อนพิบูลย์ 32 กิโลเมตร
    • อำเภอปากพนัง 36 กิโลเมตร
    • อำเภอจุฬาภรณ์ 50 กิโลเมตร
    • อำเภอช้างกลาง 50 กิโลเมตร
    • อำเภอเชียรใหญ่ 52 กิโลเมตร
    • อำเภอนบพิตำ 52 กิโลเมตร
    • อำเภอทุ่งสง 55 กิโลเมตร
    • อำเภอสิชล 66 กิโลเมตร
    • อำเภอหัวไทร 66 กิโลเมตร
    • อำเภอฉวาง 71 กิโลเมตร
    • อำเภอชะอวด 71 กิโลเมตร
    • อำเภอนาบอน 72 กิโลเมตร
    • อำเภอพระพรหม 15 กิโลเมตร
    • อำเภอพิปูน 93 กิโลเมตร
    • อำเภอบางขัน 94 กิโลเมตร
    • อำเภอขนอม 100 กิโลเมตร
    • อำเภอทุ่งใหญ่ 102 กิโลเมตร
    • อำเภอถ้ำพรรณรา 103 กิโลเมตร
  • จากนครศรีธรรมราชไปยังจังหวัดใกล้เคียง
    • กระบี่ 152 กิโลเมตร
    • ตรัง 123 กิโลเมตร
    • พัทลุง 115 กิโลเมตร
    • สงขลา 161 กิโลเมตร
    • สุราษฎร์ธานี 141 กิโลเมตร

[แก้] การบริการด้านคมนาคม

ดูเพิ่มที่ สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช

  • รถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพง มีขบวนรถเร็ว และรถด่วน ไปนครศรีธรรมราช รวมระยะทาง 832 กิโลเมตร รายละเอียดดูที่สถานีรถไฟนครศรีธรรมราช
  • รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารทั้งแบบธรรมดา และปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี อำเภอขนอม มีรถวี ไอ พี ปรับอากาศ ชั้น 1 ขนอม-กรุงเทพฯ และกรุงเทพฯ-ขนอม
  • เครื่องบิน สายการบิน นกแอร์และ ไทยแอร์เอเชีย มีบริการเครื่องบินเที่ยวบินไป-กลับนครศรีธรรมราชทุกวัน

[แก้] ธนาคาร

ธนาคารรวมสาขา(อำเภอเมือง)รวมสาขา (ทังจังหวัด)
  • ธนาคารกรุงเทพ
  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  • ธนาคารกสิกรไทย
  • ธนาคารเกียรตินาคิน
  • ธนาคารทหารไทย
  • ธนาคารไทยธนาคาร
  • ธนาคารไทยพาณิชย์
  • ธนาคารธนชาต
  • ธนาคารนครหลวงไทย
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
  • ธนาคารพัฒนวิสาหกิจ
  • ธนาคารยูโอบี
  • ธนาคารออมสิน
  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์
  • 5
  • 8
  • 2
  • 4
  • 1
  • 3
  • 1
  • 6
  • 2
  • 3
  • 2
  • 1
  • 1
  • 2
  • 1
  • 13
  • 18
  • 6
  • 8
  • 1
  • 5
  • 1
  • 15
  • 3
  • 5
  • 15
  • 2
  • 2
  • 14
  • 2
รวม42109

[แก้] สถาบันการศึกษา

[แก้] การอุดมศึกษา

[แก้] รัฐบาล

[แก้] เอกชน

[แก้] การอาชีวศึกษา

[แก้] โรงเรียน

โรงเรียนทุ่งใหญ่เทคนิคพณิชยการ

[แก้] ความเป็นที่สุด

  • ชายฝั่งทะเลยาวที่สุด 236 กิโลเมตร
  • แหลมทะเลยาวที่สุดในประเทศไทย คือ แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง เกิดจากการทับถมของทรายที่น้ำทะเลพัดพามา จนกลายเป็น สันดอนจะงอย ยื่นยาวเป็นแหลมออกไปจากชายฝั่งทะล มีความยาวประมาณ 16 กิโลเมตร ส่วนกว้างที่ของแหลมประมาณ 5 กิโลเมตร
  • มหาวิทยาลัยที่มีบริเวณกว้างใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช รวมพื้นที่มากกว่า 9,000 ไร่
  • จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดในภาคใต้
  • มียอดเขาสูงสุด คือ ยอดเขาหลวง เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขานครศรีธรรมราช ปัจจุบันอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาหลวง

อัพเดทล่าสุด