Accountability จากข้อเขียนของ Dr. Henry Holmes MUSLIMTHAIPOST

 

Accountability จากข้อเขียนของ Dr. Henry Holmes


724 ผู้ชม


Accountability จากข้อเขียนของ Dr. Henry Holmes




    Dr. Henry Holmes ซึ่งเป็นชาวต่างชาติที่มีประสบการณ์อย่างช่ำชองในเรื่องของ  Cross Cultural Management ในประเทศไทย  ได้พูดถึงเรื่อง  Accountability  ในคู่มือวิชา  Cross Cultural Management  ของเขาไว้อย่างน่าสนใจ  ผมเองได้มีโอกาสร่วมสอนให้กับบริษัท  Cross Cultural Management  หลายครั้ง  จึงของนำบทความที่เขาเขียนไว้ในเรื่องนี้มาให้ท่านอ่านประกอบดังนี้

          คำอื่นที่มีความหมายใกล้เคียง         ความรับผิดชอบ ความพร้อมรับผิด การยึดถือได้ เชื่อมั่นได้ คำมั่นสัญญา และการไม่ปัดความผิดให้พ้นจากตน

 

          ACCOUNTABILITY เป็นกลุ่มพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกให้เห็นว่า ได้ยอมรับหน้าที่หนึ่งๆ และนำไปปฏิบัติด้วยความพร้อมที่จะรับทั้งผิดและชอบ

 

          บุคคลที่ได้รับมอบหมายงานหนึ่งๆจะถูกกำหนดให้มีความรับผิดชอบเป็นกรณีๆไป โดยมีการกำหนดขอบข่ายหน้าที่อย่างชัดเจน และ เมื่อบุคคลนั้นรับปากยินยอมตามที่ตกลง ในวัฒนธรรมตะวันตกจะหมายความว่า เป็นการให้คำมั่นสัญญาออกไป หลังจากนั้นเมื่อถึงคราวปฏิบัติ ผลงานจะออกมาดีหรือไม่ อย่างไร จะอยู่ในขอบข่ายความรับผิดชอบของบุคคลนั้นๆทั้งหมด ชาวอังกฤษเรียกความรับผิดชอบนี้ว่า “Stewardship” ซึ่งหมายถึงความรับผิดชอบการปฏิบัติงานตลอดจนผลลัพธ์ของงานที่บุคคลนั้นได้รับมอบหมาย และได้มอบหมายให้ผู้อื่นกระทำด้วย

 

          Accountability ครอบคลุมถึงการสื่อความ (Communication) บุคคลนั้นๆจะต้องรู้จักความรับผิดชอบและสำนึกเสมอว่าจะต้องรายงาน หรือบอกกล่าวสิ่งที่เกิดขึ้นให้ผู้บังคับบัญชาทราบตั้งแต่เนิ่นๆ รายงานนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นเฉพาะเรื่องที่ดีเสมอไป อะไรที่เป็นปัญหาหรือข้อผิดพลาดก็ต้องรายงานให้ทราบด้วย   Accountability ต้องการผลสะท้อนของสิ่งที่เกิดขึ้น (feedback) เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการทำงาน

 

          Accountability ใช่ว่าจะมีความสำคัญในเชิงธุรกิจแต่อย่างเดียว ในสังคมตะวันตกใช้หลักปฏิบัตินี้ในพฤติกรรมทางสังคมด้วย

 

          ชาวตะวันตกทั่วไปมีความรู้สึกเห็นพ้องต้องกันว่า เมื่อคนเราให้คำมั่นสัญญาว่าจะทำอะไรแล้วไม่รักษาคำพูด ต่อไปคำพูดของบุคคลนั้นจะไม่มีน้ำหนัก และไม่มีคุณค่า เมื่อเป็นเช่นนั้นเขาจะได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจน้อยลง พร้อมทั้งจะได้รับมอบหมายภาระรับผิดชอบทั้งในด้านการงานและทางสังคมน้อยลงด้วย

 

          หลายประเทศในเอเชีย พฤติกรรมของความรับผิดชอบมักจะรับปฏิบัติกันเป็นกลุ่มบุคคล ซึ่งแตกต่างกับแนวความคิดของตะวันตกที่ว่า Accountability เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล เมื่อบุคคลใดรับว่าจะทำงานอะไรแล้ว เขาจะต้องดูแลงานของตนโดยตลอดจนกระทั่งเสร็จสิ้น รวมไปทั้งการคอยควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาของตนด้วย

 

          ในการทำงานร่วมกัน หรือ เข้าสังคมร่วมกับผู้อื่น ถ้าสมาชิกในสังคมนั้นๆมีพฤติกรรมความรับผิดชอบ (Accountability) เหมือนกัน จะช่วยให้สังคมนั้นๆไม่ต้องเผชิญกับความความไม่แน่นอน และความหัวเสียที่อาจเกิดขึ้น

 

คุณลักษณะของ Accountability

ตัวอย่างทักษะ

รู้จักขอบเขตความรับผิดชอบของท่าน

·       พูดคุย ปรึกษาหัวหน้าถึงขอบข่ายงานอย่างเฉพาะเจาะจง โดยให้ระบุอย่างชัดเจนว่ามีความคาดหวังจะให้ทำอะไร

·       ตรวจดูว่างานที่สั่งมีความชัดเจน และครบถ้วน

วางแผนเพื่อปฏิบัติงาน

·       สร้างแผนปฏิบัติงานให้แน่ชัดและน่าวางใจ

·       ชี้แจงแผนการทำงานให้นายและลูกน้องทราบ

ให้คำมั่นและมีพันธะผูกพันเพื่อดำเนินงานให้สำเร็จ

·       อย่าตอบรับจนกว่าจะแน่ใจว่าสามารถทำงานนั้นๆให้สำเร็จได้

·       ตั้งใจแน่วแน่เพื่อให้บรรลุความสำเร็จ

ถ้าท่านเป็นผู้บังคับบัญชา ท่านต้องออกคำสั่งที่ชัดเจนให้แก่ลูกน้อง

·       ตรวจสอบดูว่าคำสั่งที่ให้ชัดเจนหรือไม่

แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบว่าเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงอาจเกิดขึ้น ซึ่งอาจทำให้งานไม่สำเร็จตามที่มุ่งหวัง ไม่ว่าจะเป็นในแง่ปริมาณ คุณภาพ เวลา หรือ กำลังคน

·       เข้าไปหาผู้บังคับบัญชาโดยตรงทันที

·       หลีกเลี่ยงการบอกกล่าวกะทันหัน

·       หากมีข้อสงสัยว่าอาจจะมีสิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้น ต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบความเคลื่อนไหว

พร้อมที่จะรับทั้งผิด(เช่น คำติเตียน)และชอบ จากผลงานที่ลูกน้องกระทำ

·       อย่าโยนกลอง หรือ โทษลูกน้อง (อย่าโยนความผิดให้ลูกน้องรับแต่เพียงฝ่ายเดียว)

เมื่อมีปัญหาต้องรายงานหัวหน้าทันที พร้อมทั้งเตรียมทางเลือกหรือวิธีแก้ไขสำรองไว้ด้วย (ให้ระลึกเสมอว่าหัวหน้าก็ต้องบอกนายที่อยู่ตำแหน่งสูงขึ้นไปตามลำดับด้วย

เช่นกัน)

·       ควรเตรียมคำตอบ เช่น

“ผมยังตอบไม่ได้ในตอนนี้ แต่ผมจะหาข้อมูลและ 

            ให้คำตอบภายในบ่าย 3 โมงนี้”

รักษากำหนดเวลาที่ได้วางไว้ (ถ้าทำงานเสร็จก่อนเวลาได้ยิ่งดี)

 

คิดล่วงหน้าและวางแผนการรับผิดชอบในระยะยาว (บุคคลจำเป็นต้องมี Accountability ต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย)

·       มีแผนสำรองกันเหตุฉุกเฉินเสมอเผื่อไว้เมื่อเกิดการผิดพลาด

ต้องรักษาคำมั่นสัญญาและรักษาคำพูดในการเข้าสังคมกับผู้อื่น

·       ตอบรับหรือปฏิเสธการเชื้อเชิญโดยทันที

·       ไปตามนัดตรงเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ ไม่ว่าจะไปรับประทานอาหารเย็น ไปตีกอล์ฟ เล่นเทนนิส หรือ ไปซื้อของ

·       ถ้าในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ต้องพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อแจ้งให้ผู้อื่นทราบล่วงหน้า

เป็นผู้ที่มี Accountability ต่อการประชุม

·       เตรียมข้อมูลให้พร้อมก่อนเข้าประชุมทุกครั้ง

·       เข้าประชุมตรงเวลา (แสดงให้เห็นว่ามี  Accountability ต่อผู้ร่วมประชุมท่านอื่น)

·       นำเสนองานส่วนที่ท่านเตรียมมาในที่ประชุม

·       เมื่อประชุมเสร็จ ต้องให้คำมั่นว่าจะรับผิดชอบงานในส่วนที่ได้เสนอต่อที่ประชุม

ที่มา : เมล์จากสมาชิก

อัพเดทล่าสุด