คนทำงานควรรู้ : พฤติการณ์ที่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง MUSLIMTHAIPOST

 

คนทำงานควรรู้ : พฤติการณ์ที่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง


542 ผู้ชม


คนทำงานควรรู้ : พฤติการณ์ที่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง




พฤติการณ์ที่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง

 

 

ตามบทบัญญัติ มาตรา 118 วรรคสอง  ได้กล่าวถึงพฤติการณ์ที่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไว้ 2 กรณี คือ

1. การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นไปเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเพราะเหตุอื่นใด

 

กรณีนี้หมายถึง ไม่ว่านายจ้างจะกระทำการใดๆ ก็ตามต่อลูกจ้างที่เป็นการแสดงว่านายจ้างมีเจตนาไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างนั้น เช่น ไม่ยอมให้ลูกจ้างเข้าทำงานในสถานประกอบกิจการโดยสั่งยามหน้าประตูไว้ไม่ให้เข้าทำงานหรือไม่ให้ลูกจ้างประทับบัตรลงเวลาทำงาน และไม่จ่ายค่าจ้างให้ด้วย  เป็นต้น

(ถ้าเป็นกรณีที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงาน แต่นายจ้างยังคงจ่ายค่าจ้างตามปกติไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างแต่อย่างใด)

 ส่วนสาเหตุที่นายจ้างจะไม่ให้ลูกจ้างทำงานนั้นจะเกิดขึ้นด้วยเหตุใดก็ตาม เช่น ไม่ว่าจะเป็นด้วยนายจ้างขาดทุนจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ในเวลาภาวะเศรษฐกิจซบเซาหรือเพราะเหตุลูกจ้างประพฤติชั่วจนนายจ้างไม่สามารถที่จะให้ทำงานต่อไปได้ หรือเพราะเหตุที่สัญญาจ้างสิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

2. กรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้

กรณีนี้หมายถึง นายจ้างมิได้มีเจตนาแท้จริงที่จะไม่จ้างลูกจ้างดังเช่นกรณีแรก แต่เป็นกรณีที่นายจ้างไม่มีงานให้ลูกจ้างทำหรือไม่อาจประกอบกิจการต่อไปได้ เช่น โรงงานถูกไฟไหม้หมด ไม่สามารถที่จะระดมทุนดำเนินกิจการต่อไปได้ หรือนายจ้างถูกสั่งปิดกิจการโดยไม่มีกำหนด เป็นต้น กรณีนี้แม้นายจ้างจะไม่ได้บอกเลิกจ้างลูกจ้าง ก็ต้องถือเป็นการเลิกจ้างด้วย


อัพเดทล่าสุด