ประวัติศาสตร์มาเลเซีย - melaka จุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์มาเลเซีย MUSLIMTHAIPOST

 

ประวัติศาสตร์มาเลเซีย - melaka จุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์มาเลเซีย


763 ผู้ชม


ศตวรรษเริ่มแรก

ประมาณ 40,000 ปีก่อนคริสตกาล  ที่อยู่อาศัยในยุคแรกคือ ถ้ำนียะห์ในซาราวัก ซากเครื่องใช้ยุคหินที่โกตา ตัมปันในเประ อาจจะมีอายุมากกว่านั้น
ประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสตกาล  ชาวมาเลย์ยุคแรกเริ่มเดินทางจากยูนนาน ประเทศจีน มาทางใต้
ประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล เริ่มยุควัฒนธรรมทองแดงและเหล็กในมาเลเซีย
ประมาณ 200 ปีก่อนคริสตกาล เริ่มค้าขายกับอินเดียและจีน
100 ปีก่อนคริสตกาล-ค.ศ.200 การเติบโตของอาณาจักรการค้าในคอคอดกระ
ค.ศ.500-1000 พัฒนาอาณาจักรการค้าของชาวพุทธและฮินดู ที่หุบเขาบูจังในเกดะห์ เประตอนเหนือ และซันตูบงในซาราวัก
ค.ศ.1303  ศิลาจารึกในตรังกานูแสดงหลักฐานศาสนาอิสลามในคาบสมุทรมลายู
กำเนิดของมะละกา

ประมาณปี 1400  การก่อตั้งมะละกาโดยปาราเมิสวารา
1409  นายพลเรือ เซ็ง โฮ ชาวจีนเดินทางมายังมะละกา
1411  ปาราเมิสวาราเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลาม และเข้าเฝ้าจักรพรรดิราชวงศ์หมิงของจีน
1446  มะละกาขยายอาณาเขตใต้การปกครองของมูซัฟฟาร์ ซะห์
ประมาณปี 1456-98  ตุน เประ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายใต้สุลต่านสี่องค์ และมะละกาเป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
1511  มะละกาตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส
1512  สุลต่านที่หมดจากอำนาจของมะละกาตั้งเมืองหลวงใหม่ในรีเยา ซึ่งต่อมากลายเป็นสุลต่านแห่งยะโฮร์
1528  สุลต่าน มูซัฟฟาร์ ซะห์ ตั้งอาณาจักรเประ
1641  ชาวดัตช์ชิงมะละกาจากโปรตุเกส และเริ่มการปกครอง
1699  การลอบปลงพระชนม์สุลต่านมะห์มุดของยะโอร์
1699-1819  อาณาจักรของยะโฮร์ ส่วนใหญ่ที่รีเยาอยู่ภายใต้การปกครองสายเบินดาฮารา
1699-1784  ยุคสมัยของมีนังกาบู-บูกีส ต่อสู้เพื่อปกครองช่องแคบมะละกา
1726  แต่งตั้งสุลต่านองค์แรกของอาณาจักรตรังกานู
1784  การสวรรคตของราจา ฮาจีที่มะละกา ดัตช์สยบอำนาจบูกิส
1786  อังกฤษยึดครองปีนัง
1812  การสวรรคตของสุลต่านมะห์มุด ซะห์ ผู้ปกครองอาณาจักรยะโฮร์-รีเยา องค์สุดท้าย
อาณานิคมมลายา

1819  อังกฤษยึดครองสิงคโปร์
1824  สนธิสัญญาแองโกล-ดัตช์ แบ่งมาเลย์ให้เป็นอาณานิคมหลายส่วน ดัตช์ยกมะละกาให้อังกฤษและรักษาไว้
1826  สิงคโปร์ มะละกา ปีนัง และเมืองเวสเลย์ เป็นนิคมช่องแคบภายใต้การปกครองของอังกฤษ
1831-32  กบฏมะละกามาเลย์ต่อต้านอังกฤษในสงครามนานิง
1840  ความต้องการดีบุกเพิ่มขึ้น ทำให้เจ้าของเหมืองแร่ดีบุกชาวจีนทะลักเข้ามาสู่ชายฝั่งด้านตะวันตก
1841  เจมส์ บรูค ได้รับการสถาปนาเป็นราชาของซาราวัก
1846  อังกฤษยึดเกาะลาบวน
1858-68  สงครามกลางเมืองที่ปะหัง
1867-74  สงครามกลางเมืองที่สลังงอร์
1874  สนธิสัญญาปังโกร์เริ่มให้อังกฤษเข้าแทรกแซงและปกครองเประ สลังงอร์ และเนกรีเซมบีลัน
1875-76  สงครามเประต่อต้านอังกฤษ หลังจากการประกาศใช้ภาษี และการสังหารผู้ปกครองอังกฤษ
1881  ตั้งบริติช นอร์ท บอร์เนียว ชาร์เตอร์ด คอมปานี เป็นศูนย์กลางที่บอร์เนียวเหนือ ปัจจุบันคือซาบาห์
1891-95  เกิดการจราจลที่ปะหัง
1895-1905  มัต ซัลเละห์ก่อการกบฏ การประกาศใช้ภาษีแบบใหม่ทำให้เกิดความไม่พอใจโดยทั่วไป มัต ซัลเละห์รวบรวมผู้สนับสนุนในการต่อต้านบริษัทนอร์ท บอร์เนียว
1896  ตั้งสหพันธ์รัฐมาเลย์ (FMS)
1909  สนธิสัญญาบางกอก ยกสี่รัฐมาเลย์ให้อังกฤษปกครอง
1914  อังกฤษปกครองยะโฮร์
1914-18  สงครามโลกครั้งที่ 1
1920-41  อังกฤษยอมรับนโยบายการกระจายอำนาจในสหพันธรัฐมาเลย์; เริ่มมีสัญญานของลัทธิชาตินิยมมาเลย์ต่อต้านการปกครองของอังกฤษ
มลายา เมอร์เดก้า มาเลเซีย

1941-45  ญี่ปุ่นเข้าพิชิตและยึดครอง
1945  อังกฤษกลับมายึดครองมาเลเซียอีก
1946  การวางอผนให้มีสหภาพมลายู แต่ถูกคัดค้าน; การก่อตั้งองค์การแห่งชาติชาวมาเลย์ (UMNO); ซาราวักและบริติช นอร์ท บอร์เนียว ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
1948  ล้มเลิกสหภาพมลายู; ตั้งสหพันธรัฐมลายา
1948-60  คอมมิวนิสต์ก่อการจราจล-ภาวะฉุกเฉิน
1952  มีการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในกัวลาลัมเปอร์; UMNO และ พรรคสมาคมชาวจีนมลายู (MCA) ร่วมมือกัน
1953  การรวมกลุ่มพันธมิตร ประกอบด้วย UMNO MCA และ พรรคสมาคมชาวอินเดียมลายู (MIC)
1955  การเลือกตั้งครั้งแรกในคาบสมุทรมลายู กลุ่มพันธมิตรได้รับชัยชนะท่วมท้น
1956  ตุนกู อับดุล ระห์มัน นำคณะเมอร์เดาไปลอนดอนเพื่อเจรจาขอเป็นเอกราช
1957  มลายาได้รับอิสรภาพ เชิญธงอังกฤษลงเป้นครั้งสุดท้าย
1960  ภาวะฉุกเฉินสิ้นสุดลง

อัพเดทล่าสุด