ประวัติกระบี่กระบองและอุปกรณ์ ประวัติกระบี่กระบอง กติกา มารยาท ประวัติกระบี่กระบองเริ่ม-ปัจจุบัน MUSLIMTHAIPOST

 

ประวัติกระบี่กระบองและอุปกรณ์ ประวัติกระบี่กระบอง กติกา มารยาท ประวัติกระบี่กระบองเริ่ม-ปัจจุบัน


16,175 ผู้ชม


ประวัติกระบี่กระบองและอุปกรณ์    ประวัติกระบี่กระบอง กติกา มารยาท ประวัติกระบี่กระบองเริ่ม-ปัจจุบัน

เครื่องกระบี่กระบอง 
         เครื่องกระบี่กระบอง มีอยู่ 2 ชนิด คือ เครื่องไม้รำ กับเครื่องไม้ตี โดยทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นอาวุธจำลอง ส่วนมากทำมาจากหวาย มีความเหนียวและเบามือ  เครื่องไม้รำนั้นลงรักปิดทองประดับกระจกอย่างสวยงาม ส่วนเครื่องไม้ตีไม่ได้ตกแต่งอะไร
         - กระบี่ เครื่องไม้รำทำด้วยหวายหรือเอ็นสัตว์ถักเป็นปลอก สวมแกนโลหะที่ยาวตลอดลงไปถึงด้ามด้วย ตอนปลายเป็นหวายหรือเอ็นถึกคล้ายหางกระเบน  มักจะลงรักให้แข็ง บางทีทาสีแดงตลอด ด้ามมีโกร่งกันมือ  ส่วนเครื่องไม้ตีนั้นทำอย่างเดียวกันแต่ไม่ตกแต่งอะไร
         - กระบองหรือพลอง เครื่องไม้รำทำด้วยหวายหรือไม้จริงลงรักปิดทอง เขียนลายรดน้ำหรือทาสีแดงตลอด ไม่มีโลหะประกอบอยู่ด้วยเลย บางทีก็ประดับกระจกอย่างกระบองของเจ้าเงาะในละครรำ ส่วนเครื่องไม้ตีทำด้วยไม้รากไทรหรือหวายขนาดใหญ่ ลงรักดำหรือทาสีแดงตลอด ตอนปลายทั้งสองข้างใช้เชือกขนาดเล็กพันไว้
         - ดาบ  เช่นเดียวกับกระบี่ แต่ไม่มีโกร่งกันมือ เครื่องไม้รำทำสวยงามมากดูคล้ายมีฝักอยู่ด้วย ส่วนเครื่องไม้ตีทำด้วยหวายเพื่อให้สามารถตีได้ไม่หัก การใช้ดาบนั้น มีทั้งดาบเดี่ยว ดาบคู่ ดาบกับดั้ง ดาบกับเขน ดาบกับโล่ แล้วแต่จะกำหนด
         - ง้าว  เครื่องไม้รำประดิษฐ์ตกแต่งสวยงามมาก ทำด้วยไม้จริง มีลักษณะใกล้เคียงกับง้าวของจริงมาก ส่วนเครื่องไม้ตีทำด้วยหวาย ไม่มีการตกแต่งอย่างใด
         - ดั้ง เป็นเครื่องป้องกันอาวุธชนิดหนึ่ง นิยมเล่นคู่กับดาบ ซึ่งใช้สำหรับป้องกันอาวุธของศัตรูเป็นรูปสี่เหลี่ยมยาว ๆ โค้ง ๆ คล้ายกาบกล้วย กว้างประมาณ 15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 100 เซนติเมตร ทำด้วยหนังหรือหวายหรือไม้ปะปนกัน
         - โล่ เป็นเครื่องป้องกันอาวุธเช่นเดียวกับดั้งหรือเขนนิยมนำมาเล่นคู่กับดาบ แตกต่างกันที่รูปร่างเท่านั้น คือ เป็นรูปวงกลม นูนตรงกลางทำด้วยหนังดิบ หวายสาน หรือโลหะ
         - ไม้ศอกหรือไม่สั้น นับว่าเป็นเครื่องกระบี่กระบองชนิดหนึ่ง มีรูปร่างลักษณะคล้ายกระดูกท่อนแขน เป็นท้อนไม้รูปสี่เหลี่ยมยาวประมาณ 45 เซนติเมตร กว้างและสูงประมาณ 7 เซนติเมตร

--------------

              กระบอง หมายถึง พวกยักษ์ที่พกกระบองเป็นอาวุธ ยักษ์มีรูปร่างใหญ่โต เคลื่อนไหวช้า เพราะฉะนั้นการจัดระเบียบเรียกแยกประเภท อาวุธที่ใช้แสดงต่อสู้ป้องกันตัวน่าจะมาจากการแยกฝ่ายยักษ์และลิง โดย ถือว่าลิงรูปร่างเล็กและผู้พากย์โขนมักเรียกขนานนามว่า ขุนกระบี่ ซึ่งหมายถึง หนุมานหัวหน้าลิง ซึ่งมีตรีหรือสามง่ามสั้นพกเป็นอาวุธประจำกาย และพลลิงตัวอื่น ๆ พกอาวุธสั้น เช่น พระขรรค์ เป็นต้น 

        ฉะนั้นคำว่า "กระบี่" จึงถูกนำมาเป็นคำเรียกแยกให้รู้ว่าอาวุธสั้นทั้ง หลายจะรวมเรียกว่า กระบี่ ซึ่งมี ดาบ โล่ ดั้ง เขน ไม้ศอกสั้น มีดสั้น พระขรรค์ เคียว ขวาน ตรี สามง่ามสั้น และ สีโหล่ 

         “กระบอง" มาจาก ยักษ์ ที่ถือกระบองเป็นอาวุธยักษ์รูปร่างใหญ่โตและ การเคลื่อนไหวไม่ไวเท่าลิง อาวุธนี้จึงถูกจัดเรียกว่า กระบอง ไม่ว่าสั้นหรือยาวเป็นหัวหน้า ให้ความหมายรวมเป็นของยาวทั้งมวล ถ้าพูดตามความ จริงแล้วการเคลื่อนไหวการต่อสู้จะทำได้ดีซึ่งส่วนมากจะเป็นวงนอก ส่วนของสั้นจะทำได้ทั้งวงนอกและวงใน 

        ฉะนั้นคำว่า “กระบอง“ จึงถูกแยกเรียกเป็นที่รวมของอาวุธยาวที่ใช้แสดงทั้งหมด เช่น พลอง กระบอง ง้าวทุกชนิด โตมร ทวน หอก เป็นต้น 

        การเรียกกระบี่กระบองยังมีหลักฐานให้เห็นชัดในเรื่องอาวุธที่นิยมใช้แสดงและเล่นกัน คือ คู่ของไม้ศอกสั้นกับพลอง นั่นคือความหมายที่ถูกจัดให้เห็นว่า อาวุธสั้นคือลิง ผู้แสดงจะแสดงถึงหลักวิชาความคล่องแคล่วว่องไว ส่วนพลองหรือกระบองคือตัวแทนของยักษ์เป็นประเภทอาวุธยาว 


              เครื่องกระบี่กระบอง มีอยู่ ๒ ชนิด

        คือ เครื่องไม้รำ กับเครื่องไม้ตี ทั้ง ๒ ชนิดนี้เป็นอาวุธจำลอง ส่วนมากทำมาจากหวาย มีความเหนียวและเบามือ เครื่องไม้รำนั้นลงรักปิดทองประดับกระจกอย่างสวยงาม ส่วนเครื่องไม้ตีไม่ได้ตกแต่งอะไร 

         กระบี่ เครื่องไม้รำทำด้วยหวายหรือเอ็นสัตว์ถักเป็นปลอก สวมแกนโลหะที่ยาวตลอดลงไปถึงด้ามด้วย ตอนปลายเป็นหวายหรือเอ็นถึกคล้ายหางกระเบน มักจะลงรักให้แข็ง บางทีทาสีแดงตลอด ด้ามมีโกร่งกันมือ ส่วนเครื่องไม้ตีนั้นทำอย่างเดียวกันแต่ไม่ตกแต่งอะไร 

         กระบองหรือพลอง เครื่องไม้รำทำด้วยหวายหรือไม้จริงลงรักปิดทอง เขียนลายรดน้ำหรือทาสีแดงตลอด ไม่มีโลหะประกอบอยู่ด้วยเลย บางทีก็ประดับกระจกอย่างกระบองของเจ้าเงาะในละครรำ เครื่องไม้ตีทำด้วยไม้รากไทรหรือหวายขนาดใหญ่ ลงรักดำหรือทาสีแดงตลอด ตอนปลายทั้งสองข้างใช้เชือกขนาดเล็กพันไว้ 

         ดาบ เช่นเดียวกับกระบี่ แต่ไม่มีโกร่งกันมือ เครื่องไม้รำทำสวยงามมากดูคล้ายมีฝักอยู่ด้วย ส่วนเครื่องไม้ตีทำด้วยหวายเพื่อให้สามารถตีได้ไม่หัก การใช้ดาบนั้น มีทั้งดาบเดี่ยว ดาบคู่ ดาบกับดั้ง ดาบกับเขนดาบกับโล่แล้วแต่จะกำหนด 

         ง้าว เครื่องไม้รำประดิษฐ์ตกแต่งสวยงามมาก ทำด้วยไม้จริง มีลักษณะใกล้เคียงกับง้าวของจริงมาก ส่วนเครื่องไม้ตีทำด้วยหวาย ไม่มีการตกแต่งอย่างใด

ประวัติความเป็นมาของการเล่นกระบี่กระบอง  ประวัติกระบี่กระบองเริ่ม-ปัจจุบัน
              การเล่นกระบี่กระบองเป็นพื้นฐานเบื้องต้นส่วนหนึ่งของศิลปะการต่อสู้ของไทย ที่เรียกว่า กระบี่กระบอง การเล่นกระบี่กระบองเป็นกีฬาที่บรรพบุรุษไทยนำเอาศิลปการต่อสู้ป้องกันตัว ด้วยอาวุธที่ใช้สู้รบกันในสมัยโบราณ มาฝึกซ้อมและเล่นในยามสงบ โดยนำหวายมาทำเป็นกระบี่ ดาบ ง้าว ฯลฯ เอาหนังมาทำโล่ เขน ดั้ง ฯลฯ แล้วจัดมาตีต่อสู้กันเล่นหรือแข่งขันกันเป็นคู่ๆ ดุจสู้กันในสนามรบเป็นการฝึกหัดรุกและรับไปในตัว
            การ เล่นกระบี่กระบองเริ่มในสมัยใด ใครเป็นผู้คิดขึ้นไม่สามารถหาหลักฐานได้ เนื่องจากได้มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน แต่เนื่องด้วยไทยเราเป็นชาตินักรบมาแต่โบราณ กระบี่กระบองซึ่งเป็นกีฬาของนักรบจึงน่าจะได้มีการเล่นกันมาเป็นเวลาช้านาน ควบคู่กับชนชาติไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์มีหลักฐานที่พออ้างอิงได้คือ วรรณคดี ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 2 ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา กล่าวถึงอิเหนาชำนาญในการกระบี่ ในรัชกาลที่ 3 สุนทรภู่แต่งเรื่องพระอภัยมณี กล่าวถึงศรีสุวรรณเล่าเรื่องกระบี่กระบองกับอาจารย์ทิศาปาโมกข์
              ใน รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดปรานกระบี่กระบองมาก ทรงโปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ทรงหัดกระบี่กระบองจนครบวงจร และโปรดให้เล่นกระบี่กระบองเป็นการสมโภชที่หน้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดา ราม เนื่องในการทรงผนวชเป็นสามเณรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อใน พ.ศ. 2409
            ในรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้มีการเล่นกระบี่กระบอง และชกมวยไทยหน้าพระที่นั่งในงานสมโภชอยู่เนืองๆ กระบี่กระบองมีกันดาษดื่นและมากคณะ
           ในรัชกาลที่ 6 ความครึกครื้นในการเล่นกระบี่กระบองลดน้อยลง เพราะไม่ทรงโปรดเท่ารัชกาลที่ 5
           ใน รัชกาลที่ 7 กระบี่กระบองค่อยๆ หมดไปจนเกือบหาดูไม่ได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงประเทศให้ทันกับความเจริญก้าวหน้าของโลกอุตสาหกรรม ทำให้ประชาชนทั่วไปมุ่งในเรื่องเศรษฐกิจ สังคมมากขึ้น
            ต่อมา อาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้เป็นผู้นำวิชากระบี่กระบองบรรจุไว้ในหลักสูตรประโยค ผู้สอนพลศึกษา ในปีพ.ศ.2479 และเป็นผู้ที่สมควรได้รับการยกย่องในฐานะผู้อนุรักษ์ฟื้นฟูและถ่ายทอด ศิลปการต่อสู้ประเภทนี้ ในปี พ.ศ.2518 ได้มีการจัดให้วิชากระบี่กระบองเป็นวิชาบังคับในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและใน ปี พ.ศ.2521 เป็นวิชาบังคับในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จึงยังคงมีการเรียนการสอนอยู่ทุกวันนี้

-----------


การแต่งกายกีฬากระบี่กระบอง
         เครื่องแต่งกายนั้นขึ้นอยู่กับความนิยม สมัยโบราณแต่งกายอย่างทหาร หรือนุ่งโจงกระเบนแบบหยักรั้ง คาดผ้าประเจียด ตะกรุด หรือนุ่งกางเกงขาสั้น แต่ที่สำคัญคือ นักกระบี่กระบองจะต้องสวมมงคลที่ทำด้วยด้ายดิบพันเป็นเกลียว มีขนาดใหญ่เท่าเชือกมนิลา ใช้ผ้าเย็บหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ปล่อยปลายทั้งสองยื่นออก
        การคิดคะแนน แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้คือ
1. ประเภทเครื่องแต่งกาย (4 คะแนน)
         - แต่งแบบนักรบไทโบราณสมัยต่าง ๆ
         - แต่งแบบชาวบ้าน ทั้งโบราณและปัจจุบัน เช่น นุ่งกางเกงส่วนนุ่งผ้าโจงกระเบนด้วยผ้าพื้นหรือผ้าลาย ใส่เสื้อคอกลม แขนสั้น หรือแขนทรงกระบอก คาดผ้าตะเบงมาน ใส่ชุดม่อฮ่อม หรือกางเกงยาว เสื้อคอกลมแขนสั้น ผ้าขาวม้าคาดเอว
         - แต่งแบบกีฬานิยม เช่น นุ่งกางเกงขาสั้น หรือขายาว ใส่เสื้อทีมหรือเสื้อธรรมดาแขนสั้นหรือยาว มีผ้าคาดเอวหรือไม่มีก็ได้ รองเท้าผ้าใบ และใส่ถุงเท้า
         การแต่งกายทั้ง 3 ข้อ ข้างต้นต้องแต่งให้เหมือนกันทั้งคู่ นอกจากเรื่องสีแล้ว ต้องดูเรื่องความสะอาด เรียบร้อย รวมทั้งต้องสวมมงคล ทุกครั้งที่ออกแสดง
2. ประเภทรำ (10 คะแนน)
         - การถวายบังคม
         - การรำพรหมนั่ง หรือ พรหมยืน
         - ลีลาการรำ กำหนดให้ผู้เข้าแข่งขัน รำเพียงเที่ยวเดียว ไม่ต่ำกว่า 2 ท่า และมีลีลาการรำที่เข้ากับจังหวะดนตรีและสวมบทบาทของการรำ เช่น ท่านาง ท่าลิง ซึ่งมีท่ารำอื่น ๆ อีก 12 ท่า คือ ท่าลอยชาย ท่าทัดหูหรือควงทัดหู ท่าเหน็บข้าง ท่าตั้งศอก ท่าจ้วงหน้าจ้างหลัง ท่าควงป้องหน้า ท่ายักษ์ ท่าสอยดาว ท่าควงแตะ ท่าแหวกม่าน ท่าลดล่อ และท่าเชิงเทียน
3. ประเภท การเดินแปลง (6 คะแนน)
         เมื่อรำจบแล้วนั่งลง ก่อนออกเดินแปลง ผู้เข้าแข่งขันไม่ต้องถวายบังคม เพียงแต่แต่ไหว้น้อมรำลึกถึงครู อาจารย์ครั้งเดียว แล้วเริ่มรำพรหม หรือจะไม่รำก็ได้แล้วออกเดินแปลงเพียงเที่ยวเดียว
4. ประเภท การต่อสู้ (20 คะแนน)
         การต่อสู้ของแต่ละคู่ จะต้องมีเหตุผลสมจริง และถูกต้องตามหลักวิชาการต่อสู้ป้องกันตัว และไม่เป็นการอนาจาร

อัพเดทล่าสุด