โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก อาหารเสริมโรคโลหิตจาง วิธีดูแลโรคโลหิตจาง MUSLIMTHAIPOST

 

โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก อาหารเสริมโรคโลหิตจาง วิธีดูแลโรคโลหิตจาง


637 ผู้ชม


โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก อาหารเสริมโรคโลหิตจาง วิธีดูแลโรคโลหิตจาง

 

โรคโลหิตจางจากการขาดเหล็ก  
 
โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก อาหารเสริมโรคโลหิตจาง วิธีดูแลโรคโลหิตจาง โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก อาหารเสริมโรคโลหิตจาง วิธีดูแลโรคโลหิตจาง โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก อาหารเสริมโรคโลหิตจาง วิธีดูแลโรคโลหิตจาง
โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก อาหารเสริมโรคโลหิตจาง วิธีดูแลโรคโลหิตจาง
โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก อาหารเสริมโรคโลหิตจาง วิธีดูแลโรคโลหิตจาง โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก อาหารเสริมโรคโลหิตจาง วิธีดูแลโรคโลหิตจาง โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก อาหารเสริมโรคโลหิตจาง วิธีดูแลโรคโลหิตจาง
 
โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก อาหารเสริมโรคโลหิตจาง วิธีดูแลโรคโลหิตจางสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 9  
 
โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก อาหารเสริมโรคโลหิตจาง วิธีดูแลโรคโลหิตจาง
โรคโลหิตจางจากการขาดเหล็ก โดย นายแพทย์วิชัย ตันไพจิตร 

          โลหิตจางหรือซีด  เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับเฮโมโกลบินในเลือดต่ำกว่าปกติ สาเหตุอาจเกิดจากการขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเฮโมโกลบิน หรือไม่เกี่ยวกับด้านโภชนาการเลยก็ได้ โลหิตจางพบได้ในทุกอายุและทั้งสองเพศ  การศึกษาในประเทศไทยพบว่าเด็กซีดมีร้อยละ  ๑๑-๔๑ ผู้ชายซีดร้อยละ ๑๕-๔๐ หญิงไม่ตั้งครรภ์ซีดมีร้อยละ ๓๕-๔๐ หญิงตั้งครรภ์ซีด
มีร้อยละ ๒๑-๓๙
          สารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเฮโมโกลบิน ได้แก่ เหล็ก วิตามินโฟเลต บี๑๒ บี๖ อี ซี กรดอะมิโน และทองแดง การขาดสารอาหารนี้อาจขาดตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้  อย่างไรก็ตาม  ปัญหาที่สำคัญในประเทศไทยเกิดจากการขาดเหล็ก

          ผลร้ายจากการขาดเหล็ก

          เหล็กเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเฮโมโกลบินไมโอโกลบิน (myoglobin) และเอนไซม์หลายชนิด เฮโมโกลบินเป็นตัวนำออกซิเจนจากปอดไปยังอวัยวะต่างๆ และเก็บเอาของเสีย คือ คาร์บอนไดออกไซด์มาคืนให้ปอดกำจัดออกไป  ไมโอโกลบินทำหน้าที่เช่นเดียวกับเฮโมโกลบิน แต่จำกัดความรับผิดชอบอยู่ในกล้ามเนื้อเท่านั้น ส่วนเอนไซม์หลายชนิดที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบ ก็ทำหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจของเซลล์ ดังนั้น เมื่อเกิดการขาดเหล็กจึงมีผลร้ายต่อร่างกายดังนี้
          ๑. ประสิทธิภาพของการทำงานด้อยลง  จากการศึกษาพบว่าผู้ที่ซีดจากการขาดเหล็กมีประสิทธิภาพการทำงานสู้คนปกติไม่ได้ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อการทำมาหากินของครอบครัวและย่อมส่งผลไม่ดีต่อเศรษฐกิจของประเทศชาติ
          ๒. ผลเสียต่อการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการซีดอย่างรุนแรง จะมีผลกระทบกระเทือนต่อตัวแม่เองและลูกที่อยู่ในครรภ์ด้วย   แม่ที่ซีดจะทนต่อการตกเลือดในระหว่างคลอดได้น้อย มีโอกาสเป็นโรคติดเชื้อในระหว่างหลังคลอด และเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
          ๓. ความต้านทานต่อโรคชนิดติดเชื้อน้อยลง  การขาดเหล็กมีผลกระทบกระเทือนต่อกลไกของร่างกายที่ทำหน้าที่ต้านทานเชื้อโรค  ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
          ๔. ผลร้ายอื่นๆ การขาดเหล็กทำให้หน้าที่หลายอย่างของร่างกายเลวลง เช่น การหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้น้อย การเจริญเติบโตทั้งร่างกายและจิตใจของเด็กด้อยลง เป็นต้น

        อาการของผู้ที่ขาดเหล็ก

          ผู้ที่ขาดเหล็กและซีดแล้ว อาจมีอาการและอาการแสดงต่อไปนี้ กินสิ่งที่ไม่เคยกินเป็นประจำในจำนวนที่ผิดสังเกต กลืนอาหารลำบาก ลิ้นมีลักษณะเลี่ยนและซีด เล็บเปราะมีลักษณะเป็นรูปซ้อน  เส้นผมร่วงหลุดง่าย ถ้าซีดมากหัวใจจะโตและเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ในผู้หญิงอาจมีเลือดประจำเดือนมากกว่า ปกติ

        สาเหตุที่คนไทยขาดเหล็ก

          การที่คนไทยประสบปัญหาโลหิตจางจากการขาดเหล็กนั้น  เกิดจากสาเหตุใหญ่ ๓ ประการ คือ
          ๑. ได้เหล็กจากอาหารไม่เพียงพอ คนไทยในชนบทกินข้าวและพืชผักเป็นส่วนใหญ่ ได้เนื้อสัตว์น้อยปริมาณของเหล็กจากอาหารและสภาพที่เหล็กดูดซึมในลำไส้จึงอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
          ๒. การเสียเลือดอย่างเรื้อรัง การเป็นโรคพยาธิปากขอ หรือแผลที่กระเพาะอาหาร ทำให้มีการสูญเสียเหล็กออกจากร่างกาย
          ๓. ร่างกายต้องการเหล็กมากขึ้น เด็กที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต หญิงที่มีประจำเดือน หญิงตั้งครรภ์และให้นมลูก  ล้วนต้องการเหล็กมากขึ้น จึงเป็นบุคคลที่เสี่ยงต่อการขาดเหล็ก

        การป้องกันการขาดเหล็ก

          เรื่องการขาดเหล็กมิใช่พบเฉพาะในประเทศไทยแต่เป็นปัญหาทุพโภชนาการที่พบได้ในทุกประเทศ   การส่งเสริมให้ประชาชนกินอาหารที่มีเหล็กมากขึ้นทำได้ยากเพราะอาหารที่ให้เหล็กมีไม่มาก  องค์การอนามัยโลกจึงได้กำหนดแนวทางการแก้ไขการขาดเหล็กไว้ ๒ วิธี คือ
          ๑. การเสริมเหล็ก (iron supplementation) หมายถึง การให้เหล็กในรูปของเม็ดยาหรือสารละลายแก่ประชาชน   เพื่อทำให้ภาวะโภชนาการของเหล็กดีขึ้น ในท้องถิ่นใด ถ้าปัญหาการขาดเหล็กสูง การที่จะแก้ไขปัญหาการขาดเหล็กให้รวดเร็วทันการต้องใช้วิธีการเสริมเหล็ก
          ๒. การเติมเหล็กในอาหาร (iron fortification) เป็นวิธีการเติมเหล็กลงในอาหาร  เพื่อเพิ่มปริมาณเหล็กที่กินในชีวิตประจำวันแก่ประชาชนที่ได้เหล็กจากอาหารไม่พอ  วิธีนี้เป็นวิธีการเลียนแบบธรรมชาติในการนำเหล็กเข้าสู่ร่างกาย โดยไม่มีความรู้สึกว่ากินยาแบบการเสริมเหล็ก การเติมเหล็กในอาหารนี้อยู่ในขั้นการวิจัยทดลองอยู่  โดยมุ่งหวังว่าเป็นวิธีควบคุมปัญหาโรคโลหิตจางจากการขาดเหล็กได้ดีในระยะยาว 

แหล่งที่มา : guru.sanook.com

อัพเดทล่าสุด