สาเหตุโรคแอลดี โรคแอลดีในเด็ก สมาธิสั้น และโรคแอลดี เหมือนกันอย่างไร MUSLIMTHAIPOST

 

สาเหตุโรคแอลดี โรคแอลดีในเด็ก สมาธิสั้น และโรคแอลดี เหมือนกันอย่างไร


729 ผู้ชม


สาเหตุโรคแอลดี โรคแอลดีในเด็ก สมาธิสั้น และโรคแอลดี เหมือนกันอย่างไร

 

 


ไขความลับโรคของไอสไตน์
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยถูกมองว่า เป็นเด็กปัญญาทึบ เพราะมีปัญหาด้านการเรียนรู้ไม่ว่าเป็นพัฒนาการอ่าน การเขียนช้ากว่าเพื่อนๆ แต่สุดท้ายเขากลายเป็น “อัจฉริยะ” ผู้คิดค้นระเบิดปรมาณู เจ้าของทฤษฎีแห่งความสัมพันธ์และได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1921

ความบกพร่องในการเรียนรู้ ไม่ใช่โรคที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่มันเกิดขึ้นมานานแล้ว เพียงแต่ผู้คนเพิ่งรับรู้ ว่าลูกต้นเองเข้าข่ายโรคแอล.ดี.

คำจำกัดความ ความบกพร่องด้านการเรียนรู้ หรือเรียกย่อๆ ว่า “แอล.ดี.” (L.D. - Learning disabilities) เป็นที่รู้จักกันมานานกว่า 20 ปีแล้ว เริ่มจาก ชิคาโก มลรัฐอิลินอยส์ เป็นครั้งแรก แต่คำจำกัดความ และการแบ่งกลุ่ม ยังคงมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆ

จนกระทั่ง 5-6 ปีมานี้เมืองไทยเริ่มตื่นตัวกับความบกพร่องในการเรียนรู้ด้านการอ่านเขียนและการคำนวณกันมากขึ้น
ดร.เพ็ญนี หล่อวัฒนพงษา ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา โรงพยาบาลมนารมย์ เล่าว่าเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา มีการทดสอบไอคิวเด็กๆ ทั่วโลกแล้ว พบว่า เด็กกลุ่มหนึ่งที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด แต่เรียนไม่ได้ มีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยใช้แบบทดสอบ ไอคิว เทสต์

ปรากฏว่า เด็กที่มีไอคิวดี แต่ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ช้ากว่าเด็กปกติทั่วไป 2 ชั้นเรียน ซึ่งมีนัยทางสถิตที่สำคัญ
"แต่ว่าการทดสอบไอคิวเพียงอย่างเดียวไม่สามารถระบุได้ว่าเด็กเป็นแอล.ดี.เพราะโรคนี้มีหลายด้าน"
ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา อธิบายถึงสาเหตุความบกพร่องว่า ปกติมนุษย์ต้องรับสิ่งเร้ารอบตัวเข้ามาจึงอาจมีปัญหาตั้งแต่การรับรู้ แต่ไม่ได้เกิดจากความบกพร่องทางอวัยวะในการมองเห็น หรือได้ยิน คนปกติทั่วไปสามารถรับสิ่งเร้าได้ประมาณ 7 อย่าง บางคนเก่งรับได้ 7 บวก 2 แต่บางคนเป็น 7 ลบ 2 ซึ่งคนปกติสามารถเลือกที่จะใส่ใจ หรือไม่ใส่ใจตัวไหน

แต่สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสมอง จะรับข้อมูลได้ไม่ครบ เหมือนสื่อวิทยุ บางครั้งมันจะขาดหายเป็นช่วงๆ และเมื่อรับเข้ามาแล้วต้อง “บูรณาการ” สิ่งที่ได้ยิน สิ่งที่เห็น สิ่งที่สัมผัส
นอกจากนี้บางรายความบกพร่อง เกิดก่อนเด็กคลอดเสียด้วยซ้ำ ยกตัวอย่างเช่น ช่วงเวลาที่แม่ตั้งท้อง เซลล์สมอง เซลล์ประสาทขยายตัว มันอาจจะเชื่อมโยงผิดคู่แทนที่จะเชื่อมโยงกับตัวนี้กลับไปเชื่อมโยงกับตัวอื่น หรืออาจจะเชื่อมผิดที่ เหมือนการต่อสายไฟแทนที่ต่อเชื่อมเข้ากันกับตัวทรานฟอร์มเมอร์จุดนี้ กับไปเชื่อมตรงโน่นแทนก็ทำให้เกิดความบกพร่อง หรือระหว่างคลอดมีการใช้คีม หรือเครื่องสุญญากาศดูดเด็กออกมาเกิดความบาดเจ็บทางสมอง
รวมถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ส่วนใหญ่มักเกิดความบกพร่องด้านการอ่าน การเขียน เช่น เขียนหนังสือกลับหัวกลับหางเห็น 6 เป็น 9 ซึ่งจากการวิจัยพบว่า กรณีแฝด ถ้าคนหนึ่งเป็นแอล.ดี.อีกคนมีโอกาสเป็นสูงมาก แต่ถ้าแฝดไข่คนละใบอาจจะไม่เป็น
เด็กแอล.ดี. ส่วนใหญ่จะไม่เข้าใจนัยของสังคม เพราะแปลความไม่ได้ ดังนั้น ครูจะต้องเข้าใจไม่ใช่แค่วิธีการสอน แต่ต้องเริ่มตั้งแต่การวางแผนการสอน สำหรับเด็กเหล่านี้พิเศษเฉพาะตัว (Individual Education Program : IEP) ทั้งนี้ เพราะการเรียนรู้เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน ฉะนั้นการวางแผนบำบัดมันจะต้องรายละเอียดอื่นๆ มาประกอบด้วยไม่ใช่แค่ลักษณะแอล.ดี. แต่ต้องดูการเรียนรู้ของเด็กด้วย
"ข้อดีของเด็ก แต่ละคนไม่เหมือนกัน ความเก่งของเขาทางสมอง บางคนเก่งทางด้านความจำ แต่ถ้าสร้างความคิดใหม่ๆ สร้างไม่เป็น เราต้องดูด้วยว่า โรงเรียนที่เขาเรียน ครูมีทรัพยากร อะไรที่ช่วยเด็กได้บ้าง ไม่ใช่วางโปรแกรมไว้หรูหรา แต่ปฏิบัติทำไม่ได้"
ดร.เพ็ญนี ยอมรับว่า บำบัดให้กับเด็กในลักษณะของการช่วยพัฒนาเด็กสามารถแก้ปัญหาหรือรับมือกับปัญหาที่มันไม่มีสูตรสำเร็จ ในการรักษาเด็กแอล.ดี. เพราะมันไม่เหมือนสูตรทำอาหาร เนื่องจากปัญหาแอล.ดี .มีลักษณะเฉพาะตัวของเด็กคนนั้น และขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของครอบครัว โรงเรียน ที่นำมาประกอบการเกิดขึ้น ทำให้เรียนได้ ทำงานได้และใช้ชีวิตได้ตามปกติ
"เราต้องรู้ว่าเด็กคนนี้เป็นแอล.ดี.ที่มีความบกพร่องด้านไหน และเขามีจุดเด่นตรงไหนของสมองให้ดึงเอาออกมาใช้ เพราะเด็กแอล.ดี.ส่วนใหญ่จะมีไอคิวปกติหรือฉลาดกว่าปกติอยู่แล้ว ซึ่งตรงนี้จะมาช่วยให้การรับรู้หรือการเรียนรู้ของเขาดีขึ้น ทดแทนกับด้านที่เขาบกพร่อง"
ยกตัวอย่าง เด็กอายุ 13 ปีคนหนึ่งมีความผิดปกติการเขียนหนังสือไม่เป็นตัว แต่เขาเป็นนักบาส จึงสงสัยว่าเขามีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อเล็ก หมายถึงกล้ามเนื้อนิ้วที่มีผลต่อการเขียนหนังสือเว้นช่องไม่ถูก เวลาทำเลขตั้งเลขไม่ถูก ผลจากการทดสอบ พบว่า เขาเป็นแอล.ดี. ประเภทหนึ่งเพราะการทำงานของกล้ามเนื้อเท่ากับเด็กอายุ 5-6 ขวบ ถ้าปล่อยเด็กคนนี้ไปเรื่อยๆ โดยไม่ช่วยเหลือ เวลาเข้ามหาวิทยาลัยเขาจดเลคเชอร์ไม่ทันแน่
"วิธีการแก้ไขปัญหา คือ ช่วยให้กล้ามเนื้อเขาเมื่อยล้าน้อยลง เช่น ไม่ให้เขาเขียนกระดาษ A4 แต่จะให้ใช้กระดาษที่มีเส้น ใช้ปากกาลื่นๆ เป็นเทคนิคเล็กๆ ที่มีผลต่อการวางแผนบำบัด แต่ ไม่ได้หมายความว่า จะหายขาด"
ในกรณีที่พ่อแม่ไม่แน่ใจว่าลูกเป็นแอล.ดี. หรือไม่ นั้นผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา แนะนำว่า ก่อนอื่นต้องถามข้อมูล รายละเอียดจากพ่อแม่ก่อน ว่า ลูกมีปัญหาเรื่องไหน และเป็นมานานเท่าไรแล้ว และพ่อแม่ได้ช่วยอย่างไรบ้าง ถ้าเป็นไปได้อยากได้ข้อมูล การเรียนของลูก

ถ้าเป็นเด็กเล็กจะดูข้อมูลพัฒนาการของเด็กด้วย ต่อมาต้องดู เทสต์สติปัญญาว่าเขามีมากน้อยแค่ไหน โดยเลือกตัววัดให้เหมาะกับวัยของเด็ก ส่วนใหญ่ใช้ข้อสอบมาตรฐานที่เรียกว่า “เวคสเลอร์” (Wechsler) ซึ่งเป็นแบบทดสอบความสามารถทางสติปัญญาในเด็ก
"พ่อแม่ควรสังเกตลูกตั้งแต่เล็กแต่อย่าเพิ่งไปฟันธงว่า เป็นแอล.ดี. อย่างเรื่องการอ่านหนังสือหัวกลับกันดิฉันจะไม่ฟันธงก่อน 8 ขวบ แต่จะบอกว่า มีความเสี่ยง ที่จะเป็นอย่างนั้น หรืออาจจะมีพัฒนาการล่าช้า"
ในฐานะผู้เชี่ยวชาญ แนะนำว่า สิ่งแรกที่พ่อแม่ ต้องทำคือ ต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูก เพราะว่าถ้าเราสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกแล้วเราจะรู้จักลูกตนเองดี แล้วจะสังเกตว่าเขาเรียนอย่างไร เขาคิดอย่างไรกับตัวเอง เพราะเด็กแอล.ดี.ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าตนเองโง่ เรียนไม่เก่งเหมือนเพื่อน และสอง ต้องดูพัฒนาการของเด็กเล็กในหลายๆ ด้าน เปรียบเทียบกับเด็กคนอื่นเป็นอย่างไร

วิธีสังเกต คือ ลูกใช้เวลาทำการบ้านนานกว่าปกติ ถือว่าผิดปกติ แต่ไม่นับพวกที่ไม่ทำเลย ซึ่งถ้าไม่ทำเลยก็ต้องถามตัวเองว่า เราได้สร้างนิสัยในการทำการบ้านหรือเปล่า เราได้สร้างสถานที่ทำการบ้าน เราจำกัดเวลาในการทำการบ้านให้กับเขาไหม

ถ้าเราไม่ให้สถานที่เขา ปล่อยเวลาให้เขาทำ ..หรือว่าเราสอนเขาทำการบ้านวันนี้เขาพูดกับเราเขาจำได้หมด แต่พอวันรุ่งขึ้นมาถามเรื่องเดียวกันเขาจำไม่ได้แล้วก็เป็นสัญญาณที่ชัดเจนเลยว่า เขามีอะไรที่ผิดปกติแน่

ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้สามารถแก้ไขได้ด้วยเข้าใจความรักและความ

 

แหล่งที่มา : oknation.net

อัพเดทล่าสุด