โรคโลหิตจางเกิดจากอะไร ยารักษาโรคโลหิตจาง อาหารที่ป้องกันโรคโลหิตจาง MUSLIMTHAIPOST

 

โรคโลหิตจางเกิดจากอะไร ยารักษาโรคโลหิตจาง อาหารที่ป้องกันโรคโลหิตจาง


772 ผู้ชม


โรคโลหิตจางเกิดจากอะไร ยารักษาโรคโลหิตจาง อาหารที่ป้องกันโรคโลหิตจาง

 

โรคเอ็มดีเอส (MDS) คืออะไร

                โรคนี้เกิดจากความผิดปกติของไขกระดูกที่พบในคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป โดยผู้ป่วยโรค MDS จะมีความผิดปกติของไขกระดูก (แหล่งผลิตเม็ดเลือดของร่างกาย) ทำให้ไขกระดูกไม่สามารถทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดได้เพียงพอ จนเกิดภาวะโลหิตจาง ติดเชื้อง่าย มีจ้ำเลือดผิดปกติ.

เอ็มดีเอส (MDS)ภัยเงียบที่ต้องรู้!!

                โรคเอ็มดีเอส (MDS) หรือ ที่เรียกว่า ไมอีโลดิสพลาสติก ซินโดรม (Myelodysplastic Syndrome)พบได้ในทุกเพศ และทุกเชื้อชาติ แต่จะพบได้บ่อยในเพศชาย และคนผิวขาว (Caucasians)และยังพบได้บ่อยในคนที่อายุมากกว่า 60ปี ทั้งนี้โรคดังกล่าวเป็นโรคที่วินิจฉัยค่อนข้างยาก ผู้ป่วยโรคเอ็มดีเอสจะมีความผิดปกติของไขกระดูก ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเม็ดเลือด ทำให้สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือดได้ไม่เพียงพอ จนทำให้เกิดภาวะซีด อ่อนเพลีย ติดเชื้อง่าย และมีเลือดออกง่าย
               โรคเอ็มดีเอสแบ่งออกได้เป็น 8 ชนิดย่อย ตามระบบการจัดโดยองค์การอนามัยโลก ซึ่งใช้เป็นมาตรฐานทั่วโลกในปัจจุบัน การที่แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยแตกต่างกันนั้น เป็นตัวชี้วัดที่ดีในการบ่งถึงการดำเนินของโรคไปเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน และ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอ็มดีเอสได้ดีมากยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญประการแรกคือ การเข้าใจถึงหน้าที่ของไขกระดูก ซึ่งมีลักษณะคล้ายฟองน้ำสีแดง อยู่บริเวณแกนกลางของกระดูก เซลล์เม็ดเลือดส่วนใหญ่ของร่างกายมีต้นกำเนิดมาจากไขกระดูก โดยเริ่มต้นจากเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) ซึ่งเป็นเซลล์ตั้งต้น ของเซลล์เม็ดเลือด โดยเซลล์ต้นกำเนิดเหล่านี้จะแบ่งตัวไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดหลัก 3 ชนิด คือ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือด
       
        ทั้งนี้ในแต่ละปี จะมีผู้ป่วยรายใหม่ ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเอ็มดีเอสประมาณ87,000 ราย จากทั่วโลก อาทิ ในสหรัฐอเมริกาจะพบผู้ป่วยรายใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเอ็มดีเอส ประมาณ 10,000 - 20,000 ราย ต่อปี ส่วนในประเทศไทยนั้น พบผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 10% ของผู้ป่วยโรคทางโลหิตวิทยา ส่วนใหญ่เกิดอาการผิดปกติของเซลล์ไขกระดูก และชนิดของความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ผู้ป่วยเอ็มดีเอสบางรายสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 15 ปี แต่ผู้ป่วยบางรายอาจป่วยโดยมีอาการรุนแรง รวดเร็ว และมีชีวิตอยู่ได้เพียง 6 เดือนหลังจากวันที่ได้รับการวินิจฉัยโรค
       
             สำหรับโรคเอ็มดีเอสไม่ใช่โรคติดต่อ และไม่ส่งต่อไปยังบุคคลในครอบครัว แต่จำนวน 30% ของผู้ป่วยที่เป็นโรคเอ็มดีเอสจะพัฒนาเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (acute leukemia) ได้
              ลักษณะอาการที่แสดงของโรค เอ็มดีเอสผู้ป่วยส่วนหนึ่งอาจไม่แสดงอาการเมื่อแพทย์วินิจฉัยในครั้งแรก เพียงแค่ผลการตรวจโรคพบว่ามีความผิดปกติ ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรง อ่อนเพลีย ใจสั่น ปวดศีรษะ หงุดหงิด ผิวหนังซีด มีจ้ำเลือดง่าย เลือดออกมาก เป็นไข้ หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นผลมาจากจำนวนเม็ดเลือดที่ลดน้อยลง ซึ่งแนวทางรักษาโรคเอ็มดีเอส หากเป็นระยะแรก ๆ จะรักษาด้วยวิธีการให้เลือด แต่การให้เลือดแต่ละครั้งจะมีผลต่อสภาวะเหล็กในร่างกาย ทำให้มีการสะสมของธาตุเหล็กใน ตับ หัวใจ และอวัยวะอื่น ๆ จึงจำเป็นต้องใช้ยาขับเหล็กควบคู่ไปกับการให้เลือด เพื่อกำจัดเหล็กที่มีปริมาณมากเกินไปออกจากร่างกาย
               ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะลุกลามจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่จริงจังมากขึ้น อาจต้องใช้ยาเคมีบำบัดหรือการปลูกถ่ายไขกระดูกร่วมด้วย ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการดูแลคนไข้เอ็มดีเอส คือ การให้กำลังใจผู้ป่วยเอ็มดีเอส ซึ่งเป็นการช่วยป้องกัน และรักษาปัญหาทางร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ อันเนื่องมาจากภาวะของโรคนี้ได้

แหล่งที่มา : thaimds.org , เอ็มดีเอส (MDS)ภัยเงียบที่ต้องรู้!! โดย ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์

อัพเดทล่าสุด