โรคเริมที่อวัยเพศหญิง วิธีรักษาโรคเริมให้หายขาด รักษาโรคเริมที่ปาก MUSLIMTHAIPOST

 

โรคเริมที่อวัยเพศหญิง วิธีรักษาโรคเริมให้หายขาด รักษาโรคเริมที่ปาก


1,491 ผู้ชม


โรคเริมที่อวัยเพศหญิง วิธีรักษาโรคเริมให้หายขาด รักษาโรคเริมที่ปาก

โรคเริมที่อวัยเพศหญิง วิธีรักษาโรคเริมให้หายขาด รักษาโรคเริมที่ปาก โรคเริมคืออะไร ? โรคเริมที่อวัยเพศหญิง วิธีรักษาโรคเริมให้หายขาด รักษาโรคเริมที่ปาก

โรคเริมที่อวัยเพศหญิง วิธีรักษาโรคเริมให้หายขาด รักษาโรคเริมที่ปาก

          โรคเริม เป็นโรคผิวหนังและเยื่อบุ (บริเวณปากและอวัยวะเพศ) ที่พบบ่อยชนิดหนึ่งเกิดจาก เชื้อไวรัส ที่มีชื่อว่า เฮอร์ปีซิมเพลกซ์ (Herpes simplex virus) ซึ่งมี 2 ชนิด คือ เฮอร์ปีซิมเพลกซ์ 1 และ เฮอร์ปีซิมเพลกซ์ 2 ส่วน เฮอร์ปีซิมเพลกซ์ 2 เกิดโรคเฉพาะที่อวัยวะเพศ ปัจจุบันพบว่าไวรัสทั้ง 2 ชนิดก่อโรคได้กับผิวหนังทั้ง 2 แห่ง

โรคเริมที่อวัยเพศหญิง วิธีรักษาโรคเริมให้หายขาด รักษาโรคเริมที่ปาก


     เชื้อ herpes virus [HSV]เป็นสาเหตุที่สำคับของการติดเชื้อเริมที่ผิวหนัง ริมฝีปาก และ อวัยวะเพศ และอาจจะติดเชื้อที่ส่วนอื่นของร่างกายและอาจจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ลักษณะ ผื่นของโรค herpes จะเหมือนกันไม่ว่าเกิดที่ไหน จะเป็นตุ่มน้ำเล็กๆบนผิวหนังที่อักเสบสีแดง      


โรคเริมที่อวัยเพศหญิง วิธีรักษาโรคเริมให้หายขาด รักษาโรคเริมที่ปาก


     การติดเชื้อจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีสภาพการณ์ดังนี้ มีเชื้อไวรัสในน้ำเหลืองจากแผล น้ำลาย น้ำเหลือง หรือน้ำอสุจิ (Semen) แล้วเชื้อไวรัสต้องเข้าสู่ผิวหนังที่มีรอยถลอกหรือรอยแผล และอาจจะเข้าสู่เยื่อเมือก เช่น บริเวณปากและอวัยวะเพศ

      เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายแล้วจะมีกระบวนการติดเชื้อ ดังนี้
           เฮอร์ปีส์ไวรัสจะแทรกซึมเข้าไปในเซลล์ผิวหนังที่อยู่ชั้นล่างๆ ของผิวหนังโดยที่บางครั้งก็ไม่มีอาการ แต่บางรายไวรัสจะแบ่งตัวและทำงายเซลล์ผิวหนังจึงมีการอักเสบทำให้มีตุ่มน้ำใสเกิดขึ้นเป็นกลุ่ม อยู่บนปื้นแดง เมื่อตุ่มน้ำแห้งหรือแตกไปจะเกิดเป็นสะเก็ด แล้วหายโดยไม่มีแผลเป็น
           ภายหลังการแบ่งตัวครั้งแรกแล้ว ไวรัสจะเข้าไปตามเส้นประสาทที่เลี้ยงผิวหนังบริเวณที่เกิดโรคแล้ว เข้าไป แฝงตัวอยู่ ที่ปมประสาท โดยไม่มีการแบ่งตัว ทำให้ไวรัสและเซลล์อยู่ด้วยกันได้เป็นปกติ
           เราไม่ทราบแน่ชัดว่ามีช่วงใดบ้างที่ไวรัสจะมีการแบ่งตัวและแพร่กระจายออกมาจากเซลล์ ที่แฝงตัวอยู่ ในช่วงนี้ เองที่จะพบไวรัสในของเหลวของร่างกาย ทำให้เกิดการติดเชื้อแก่ผู้สัมผัสได้ บ่อยครั้งที่การแบ่งตัวของ ไวรัสเกิดขึ้นโดยไม่มีอาการ


โรคเริมที่อวัยเพศหญิง วิธีรักษาโรคเริมให้หายขาด รักษาโรคเริมที่ปาก


 อาการของโรคเริมเป็นอย่างไร 

          อาการของโรคเริมขึ้นอยู่กับว่าเป็นโรคในครั้งแรกระยะแฝง (ไม่มีอาการ) หรือระยะเป็นซ้ำ

 อาการทั่วไปของการเป็นโรคครั้งแรก

          ผื่นผิวหนังและอาการปวด ภายหลังจากได้รับเชื้อ 2-12 วัน จะมีอาการดังนี้
           มีรอยบวมแดงบริเวณที่ติดเชื้อ ซึ่งจะกลายเป็นตุ่มน้ำใสเป็นกลุ่มอย่างรวดเร็ว ตุ่มน้ำใสจะแห้ง ไปภายใน 7-10 วัน และหายโดยไม่มีแผลเป็น ตุ่มน้ำในบริเวณที่ชื้นแฉะจะเป็นอยู่นานกว่า อาจจะมี อาการคันร่วมด้วยได้
           เมื่อสะเก็ดหลุดแล้วจะไม่ติดต่อ
           เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายแล้ว อาจจะแพร่กระจายไปยังเยื่อเมือกที่อยู่ไกลออกไปได้โดยผ่าน ทางเซลล์ประสาท
           ในการติดเชื้อเฮอร์ปีส์ครั้งแรกอาจจะมีอาการอยู่นาน 2-3 สัปดาห์ แต่อาการปวดจะเป็นนาน 1-6 สัปดาห์

 อาการอื่น ๆ ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการเตือนก่อน จะมีผื่นขึ้นได้ ดังนี้

           มีไข้ (อาจจะถึง 38.9 องศาเซลเซียส) ปวดศรีษะ ครั่นเนื้อ ครั้นตัว คล้ายจะเป็นหวัดมีอาการ อยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ นอกจากนี้ ต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้รอยโรคอักเสบและโตขึ้น
           ระยะแฝงและแพร่เชื้อ
           ระยะแฝง ภายหลังจากการเป็นครั้งแรก โรคจะเข้าสู่ระยะแฝง ซึ่งเป็นระยะที่ไม่มีอาการ และ ไม่ติดต่อ

           ระยะแพร่เชื้อโดยไม่มีอาการ ในบางเวลาที่แม้ไม่มีอาการแต่จะมีการแบ่งตัวของไวรัส และแพร่ กระจายไปในของเหลว ของร่างกาย ทำให้ผู้อื่นติดเชื้อได้ประมาณ 1 ใน 3 หรือครึ่งหนึ่ง ของผู้ ที่มีเชื้อแพร่กระจายเกิดขึ้นโดยไม่มีอาการ
           ระยะเป็นซ้ำ
 อาการในระยะเป็นซ้ำ โรคเริมมักจะมีอาการเป็นซ้ำ โดยมีอาการดังนี้

           อาการเตือน ก่อนผื่นของโรคเริมจะเกิดขึ้น มักจะมีอาการเตือนนำมาก่อน อาจจะมี อาการ คัน ปวด หรือเสียว ๆ ในบริเวณที่จะเป็นโรค โดยเป็นอยู่ 2 ชั่วโมง ถึง 2 วัน ร่วมกับมีอาการปวด ศรีษะ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้รอยโรคไต
           ผื่นขึ้น ในระยะเป็นซ้ำจะเหมือนในระยะแรก เพียงแต่มีอาการน้อยกว่าและหายเร็วกว่า บางครั้งจะเป็นเพียงรอยอักเสบหรือถลอกเล็กน้อย
           ปัจจัยที่กระตุ้น ยังไม่ทราบแน่ว่าอะไรเป็นสาเหตุให้มีการเกิดซ้ำของโรคเริม แต่มีปัจจัย หลายอย่างที่ทำให้เกิด ได้แก่ แสงแดด ลม ไข้ ความกังวลและความเครียด การมีประจำเดือน การบาดเจ็บ และภูมิต้านทานของร่างกายต่ำลง โรคเริมที่ปากอาจจะเกิดขึ้นภายใน 3 วัน หลังการถอนฟัน หรือ รักษารากฟัน และเกิดขึ้นได้ในการทำเลเซอร์ลอกผิว
           ช่วงเวลาในการเกิดโรคซ้ำ ในการเกิดโรคซ้ำอาจจะมีระยะห่างเป็นวัน สัปดาห์ หรือเป็นปี โดยทั่วไปในช่วงแรกภายหลังการติดเชื้อครั้งแรกจะเกิดโรคซ้ำได้ถี่กว่า ต่อเมื่อร่างกายสร้างภูมิคุ้ม กันได้มากขึ้นจะเป็นห่างขึ้นและรุนแรงน้อยลง
           บริเวณที่พบโรคเริมที่ผิวหนังได้บ่อย คือ ปาก และอวัยวะเพศ ในที่นี้จะกล่าว ละเอียด เฉพาะโรคเริมที่ปาก
      โรคเริมที่ปาก 
           มักจะเป็นที่ริมฝีปาก ในการติดเชื้อครั้งแรกอาจจะเป็นเยื่อเมือในปากด้วย โรคเริมที่หน้า บริเวณแก้มและจมูกพบได้น้อย

      โรคเริมที่ปากครั้งแรก 
           อาจจะมีอาการปวดมาก โดยเฉพาะถ้าเป็นในเด็กตุ่มน้ำใสจะเกิดที่ริมฝีปาก แต่อาจจะ ขึ้นที่ลิ้นได้ เมื่อตุ่มน้ำใสแตกจะเป็นแผลเจ็บที่มีเยื่อสีเหลืองคุมอยู่ ก่อนแผลจะหายภายใน 7-14 วัน อาจมีน้ำลายมากขึ้นและมีกลิ่นปาก อาการอื่น ๆ ที่พบได้น้อย คือ มีไข้หนาวสั่นปวดกล้ามเนื้อ กลืน ลำบากและหูได้ยินเสียงลดลง ในเด็กแผลโรคเริมมักจะเป็นในปาก ในผู้ใหญ่มักจะเป็น ในลำคอส่วนบน
      โรคเริมที่ปากระยะเป็นซ้ำ 
           ส่วนใหญ่ผู้ใหญ่มักจะเป็นปีละ 2-3 ครั้ง โรคเริมชนิดเป็นซ้ำมักจะมีอาการน้อยกว่า และหาย เร็วกว่า แผลเริมในระยะที่เป็นซ้ำมักจะเป็นที่ขอบริมฝีปากด้านนอก
      การติดต่อของโรคเริมที่ปาก 
           พบเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ในน้ำลายและนำเหลืองของผู้ป่วยที่ยังมีแผลอยู่ มีความชุกมากในเด็ก ระยะก่อนวัยเรียน ติดต่อได้ง่ายโดยการสัมผัส โดยเฉพาะการจูบกัน นอกจากนี้ อาจจะติดกันได้จาก การใช้แปรงสีฟันหรือใช้ภาชนะในการดื่มหรือกินด้วยกัน
      ใครบ้างมีโอกาสติดโรค 
           ทุกคนมีโอกาสติดโรคเริมที่ปากได้ มากกว่าร้อยละ 85 ของประชากรโลกติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเริมที่ปาก
           การติดเชื้อครั้งแรกเกิดขึ้นในวัยเด็กเป็นส่วนใหญ่อุบัติการณ์สูงสุดในวัยเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 3 ขวบ เด็กในชุมชนแออัดและสุขอนามัยไม่ดีมีโอกาสติดเชื้อมากกว่า 


โรคเริมที่อวัยเพศหญิง วิธีรักษาโรคเริมให้หายขาด รักษาโรคเริมที่ปาก


      การรักษา 
           ในกรณีที่เป็นครั้งแรก มีอาการรุนแรง การให้ยากินอะไซโคลเวียร์ (Acyclivir) ภายใน 48 ชั่วโมงแรกจะทำให้อาการของโรคหายเร็วขึ้น ดังนั้น ในกรณีที่เป็นครั้งแรก และไม่ได้รับยาอะไซ โคลเวียร์ ใน 2 วันแรกอาจจะให้การรักษาโดยประคบด้วยนำเกลือวันละ 4-5 ครั้งและทายาครีมพญา ยอ (เสลดพังพอนตัวเมีย)
           ในกรณีที่เป็นโรคเริมระยะเป็นซ้ำ การให้ยากินอะไซโคลเวียร์ไม่ได้ช่วยให้โรคหายเร็วขึ้น และไม่ได้ลดโอกาสในการเป็นซ้ำ ผู้ป่วยส่วนมากจะมีอาการไม่มากหากมีอาการปวด การประคบด้วย น้ำเกลือ หรือน้ำเย็นวันละ 4-5 ครั้ง จะลดอาการลงได้ ภายหลังประคบแผลหากได้ทาด้วยครีม พญายอจะทำให้โรคหายได้เร็วขึ้น
           การใช้ยาอะไซโคลเวียร์ชนิดทาไม่ได้ผลดีกว่าครีมพญายอ
      สิ่งสำคัญประการหนึ่ง คือการรักษาสุขอนามัยที่ดี ผู้ที่เป็นโรคเริมต้องระวังอย่าจับบริเวณที่ เป็นแผล และต้องล้างมือบ่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปติดผิวหนังส่วนอื่น ๆ โดยเฉพาะที่ตา และเพื่อป้องกันไม่ให้ไปติดผู้อื่น
      ยาสมุนไพรรักษาโรคเริมชนิดใหม่
           แป๊ะตำลึงหรือจักรนารายณ์ (Gynura procumbens) มีสรรพคุณที่ระบุในตำรายาไทย เป็นยาใช้ภายนอก บรรเทาอาการอักเสบ ปวดบวม ผื่นคัน แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย พืชในสกุลเดียว กับแป๊ะปึง คือ ว่านมหากาฬ (G.psudochina var. hispida) มีสรรพคุณบรรเทาอาการอักเสบ เนื่องจากเริม และงูสวัสสารสกัดเอทานอลจากส่วนเหนือดินของแป๊ะตำปึงสามารถบรรเทาอาการคัน อักเสบและสมานแผล
           จากการศึกษาด้านพฤษเคมีและคุณสมบัติทางชีวภาพพบว่า สารสกัดเอทานอลมีคุณสมบัต ิต้านไวรัสเฮอร์ปีส์ และสารสำคัญที่แสดงฤทธิ์ต่านไวรัสเฮอร์ปีส์ คือสารผสมของกรดคาฟีออยควินิก (3, 5- และ4, 5-di -0-caffeoyl quinic acids)
           จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ดังกล่าว ร่วมกับการศึกษาในสัตว์ทดลองไม่พบว่าแป๊ะตำปึง มีพิษ แป๊ะตำปึงจึงเป็นสมุนไพรที่มีศักยภาพเป็นยาทาภายนอก บรรเทาอาการอักเสบ ระคายเคือง ที่ผิวหนัง อันเนื่องมาจากการแพ้แมลง สัตว์ กัดต่อย และโรคเริม
      แป๊ะตำปึง (Gynura procumbens)
           โครงการรักษาโรคเริมที่ปากด้วยสมุนไพรแป๊ะตำปึง การพัฒนาสมุนไพรเพื่อใช้รักษาโรค ใน แนวทางวิทยาศาสตร์ คือพัฒนาให้เป็นยาทาสำเร็จรูป เพื่อสะดวกในการใช้เป็นแนวทางหนึ่งที่จะประ หยัดเงินตราในการซื้อยาจากต่างประเทศ เป็นการส่งเสริมอาชีพของเกษตรกรไทย และพัฒนา อุตสาหกรรม การผลิตยา สมุนไพรไทย
           ขณะนี้ที่หน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กำลังทดลองใช้ยานี้ใน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเริมที่ปากในระยะเป็นซ้ำ อายุมากกว่า 18 ปี และมีอาการ กำเริบภายในไม่เกิน 48 ชั่วโมง      

 


แหล่งที่มา : thaigoodview.com

อัพเดทล่าสุด