https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
อารยธรรมญี่ปุ่น อารยธรรมญี่ปุ่นก่อนประวัติศาสตร์ อารยธรรมญี่ปุ่นยุคโบราณ MUSLIMTHAIPOST

 

อารยธรรมญี่ปุ่น อารยธรรมญี่ปุ่นก่อนประวัติศาสตร์ อารยธรรมญี่ปุ่นยุคโบราณ


3,461 ผู้ชม


อารยธรรมญี่ปุ่น อารยธรรมญี่ปุ่นก่อนประวัติศาสตร์ อารยธรรมญี่ปุ่นยุคโบราณ

 


>>ยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคโบราณ (8,000 ปีก่อนคริสตกาล – ศตวรรษที่ 11)

ในยุคนี้เริ่มต้นจากการรวมตัวของชนเผ่าเล็กๆ จนกลายมาเป็นจักรวรรดิ และได้รับอิทธิพลการปกครองมาจากประเทศจีนโดยใช้ระบบที่เรียกว่า “ ริทสึเรียว  คือ การใช้กฎหมายและหลักจริยธรรมตามแบบราชวงศ์สุยกับราชวงศ์ถัง” เป็นหลักในการปกครอง   แต่ภายหลังเกิดความขัดแย้งขึ้นมาจนลุกลามออกไป หัวเมืองที่อยู่ห่างไกลแยกตัวจากรัฐบาลกลาง และก่อตั้งเป็นกลุ่มทหารกลุ่มต่างๆเพื่อปกครองเมืองของตนเองแทน

ยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคโบราณ แบ่งออกเป็น  5 สมัย คือ

-          สมัยโจมน          

-          สมัยยะโยะอิ       

-          สมัยสุสานโบราณ 

-          สมัยนะระ          

-          สมัยเฮอัน           

 

 

สมัยโจมน   (縄文時代じょうもんじだい)

กล่าวคือประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะและมีผู้อาศัยมาตั้งแต่สมัยยุคหินเก่า  ชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่ายุคนี้เป็นต้นกำเนิดของภาษาญี่ปุ่น สมัยโจมงเรียกตามรูปแบบเครื่องปั้นดินเผาโจมงที่มีลวดลายคล้ายกับเชือก

ในสมัยนี้ชาวญี่ปุ่นจะขุดหลุมเพื่อทำเป็นที่อยู่อาศัย และมักจะอยู่รวมกันหลายๆ คน  และยังมีการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินด้วยความประณีต มีการพัฒนาวิธีการล่าสัตว์โดยใช้คันธนูและลูกธนู ตลอดจนมีการผลิตภาชนะเครื่องปั้นดินเผาใส่อาหารและเก็บรักษาอาหาร

 

สมัยยะโยะอิ   (弥生時代やよいじだい)

ในช่วงต้นของยุคยะโยอิมีการพัฒนาถึงความรู้ทางด้านการเกษตร เช่นการปลูกข้าว การทำเครื่องใช้โลหะ และยังได้รับวัฒนธรรมของประเทศเกาหลีและประเทศจีนเข้ามาด้วยคือ พิธีการเคารพบูชาภูติผีปีศาจ ชาวญี่ปุ่นในยุคนี้จะนิยมใช้เครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยเหล็กในการเพาะปลูก เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และใช้ดาบที่ทำด้วยทองแดงและกระจกในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา การจัดแบ่งงานทำให้ช่องว่างระหว่างผู้ปกครองดินแดนและผู้อยู่ใต้การปกครองกว้างขึ้น ในช่วงนี้รัฐเล็กๆ จำนวนมากจึงได้ก่อตัวขึ้นทั่วประเทศจึงทำให้เกิด ความแตกต่าง ระหว่างความรวยความจน การแบ่งชนชั้น การปรับกลุ่มชาวนาให้เป็นกลุ่มนักปกครอง

 

สมัยสุสานโบราณ  (古墳時代こふんじだい)

สาเหตุที่เรียนชื่อยุคนี้ว่า ยุคสุสานโบราณเพราะว่า ตั้งชื่อตามสุสานที่นิยมสร้างขึ้นกัน มีลักษณะเป็นรูปกุญแจขนาดใหญ่

ในยุคนี้ ความรู้ และวิทยาการต่าง ๆ จากประเทศจีน และประเศเกาหลีได้หลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก  การต่าง ๆ เข้ามา เช่น การผลิตเครื่องโลหะ เครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า การถลุงเหล็ก และวิศวกรรมโยธา รวมทั้งมีการเริ่มใช้อักษรคันจิซึ่งเป็นตัวอักษรของจีนด้วย และเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 6 ลัทธิขงจื้อ กับศาสนาพุทธก็ได้แพร่หลายเข้ามาในญี่ปุ่นเช่นกัน

 

 

 

 

 

สมัยนะระ  (奈良時代ならじだい)

ประเทศญี่ปุ่นได้เข้าสู่ยุคนี้เมื่อ ญี่ปุ่นมีเมืองหลวงเมืองแรกเกิดขึ้นอย่างถาวร คือเมือง เฮโจเกียว ซึ่งได้สร้างแบบเมือง

ฉางอาน ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศจีนในขณะนั้น

ในสมัยนี้ศาสนาพุทธได้รับการทำนุบำรุงอย่างดี ทำให้วัฒนธรรมหรือศิลปะทางพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมากทางด้านวัฒนธรรมในสมัยนั้น การแต่งตัว สถาปัตยกรรม ฯลฯ ยังปรากฏให้เห็นวัฒนธรรมที่ยังคงแบบจีนอยู่ อาจจะมีความแตกต่างกันนิดหน่อยในรายระเอียดย่อยๆ เช่นบันทึกที่เขียนเป็นตัวอักษรจีนแต่อ่านเป็นภาษาญี่ปุ่น  “โคะจิกิ”

 

 

สมัยเฮอัน  (平安時代へいあんじだい)

ในสมัยนี้มีการย้ายเมืองหลวงใหม่มาอยู่ที่เมือง เฮอันเกียว ซึ่งคือเมืองเกียวโตในปัจจุบัน และยังมีการปกครองแบบจีน คือ ริทสึเรียว กลับมาใช้กับประเทศญี่ปุ่นอีกครั้ง แต่ไม่สำเร็จ และเป็นยุคที่วัฒนธรรมแบบจีนเสื่อมลงตามไปด้วยและอารยธรรมญี่ปุ่นเริ่มที่จะมีลักษณะและรูปแบบเป็นของตนเอง   คือได้มีการพัฒนาของตัวอักษรญี่ปุ่นในสมัยเฮอัน ความซับซ้อนของการเขียนของจีนทำให้นักเขียนและพระคิดค้นรูปพยางค์ขึ้นสองระบบโดยยึดรูปแบบอย่างของจีน ภายในกลางสมัยเฮอัน ได้มีการปรับปรุงพยัญชนะที่เรียกกันว่า ฮิระงะนะ และคะตะคะนะ และนำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง

 

 

แหล่งที่มา : nihongo.igetweb.com

อัพเดทล่าสุด