น่ารู้ แฟรนไชส์ชาไข่มุก แฟรนไชส์ชาไข่มุกโอชายะ แฟรนไชส์ชาไข่มุกมิสเตอร์เชค MUSLIMTHAIPOST

 

น่ารู้ แฟรนไชส์ชาไข่มุก แฟรนไชส์ชาไข่มุกโอชายะ แฟรนไชส์ชาไข่มุกมิสเตอร์เชค


2,612 ผู้ชม


น่ารู้ แฟรนไชส์ชาไข่มุก แฟรนไชส์ชาไข่มุกโอชายะ แฟรนไชส์ชาไข่มุกมิสเตอร์เชค

เทคนิคการวางสินค้าอย่างไรให้ขายออก


เป้าหมายโดยรวมของการจัดชั้นวางสินค้านั้นก็เพื่อทำให้ลูกค้ามาเลือก ซื้อในสิ่งที่เราอยากให้ซื้อและก็สามารถทำกำไรให้กับเรามากที่สุดนั่นเอง หลายต่อหลายห้างฯ ในปัจจุบันนี้มีการคิดค่านำเอาสินค้าของเจ้าของผลิตภัณฑ์เข้าไปขาย หรือเพียงแค่นำสินค้าไปวางที่ชั้นวางสินค้า ไม่ว่าจะมีการขายเกิดขึ้นหรือไม่ แต่ทางเจ้าของสินค้าก็จะต้องจ่ายค่านำสินค้าเข้ามาวางก่อนอยู่ดี ราคาก็อยู่ที่ประมาณ 50,000 บาท ต่อหนึ่งรายการ (หมายถึงต่อหนึ่งขนาดบรรจุภัณฑ์ )
จุดที่เด่นที่สุดของชั้นวางสินค้าก็คือ ระดับสายตาของลูกค้า เช่น ถ้าเป็นระดับสายตาที่ต้องการขายให้เด็กเล็กสามารถเลือกสินค้าเองได้ ก็น่าจะอยู่ที่ชั้นต่ำกว่าสายตาผู้ใหญ่ลงมาอีก จัดแบ่งพื้นที่ให้สินค้าวางโชว์อยู่ในชั้นวางสินค้าให้เหมาะสมกับยอดขายที่ คาดว่าจะได้รับโดยรวมด้วย สินค้าควรจะต้องมีให้เห็นเพื่อขายอยู่บนชั้นวางสินค้า เพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการขาย
กรณีที่สินค้าขาดหายไป จงอย่าเลื่อนเอาสินค้าตัวอื่นมาแทนที่เนื่องจากจะทำให้ลืมได้ว่าตรงบริเวณ นั้น สินค้าอะไรขาดไป และจะต้องรีบนำมาเติมให้เต็มพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้โดยเร็วที่สุดก่อนจะ เคลื่อนย้ายหรือสลับที่กันกับสินค้าตัวอื่น ๆ ควรจะต้องศึกษาหรือปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างฝ่ายจัดซื้อกับฝ่ายหน้าร้าน ก่อนจึงจะทำการย้ายจุดได้ ควรมีการปรับปรุงจุดที่วางสินค้าบนชั้นวางสินค้าใหม่ทุก ๆ 3 เดือน เพื่อคอยดูว่าผลการขายหรือกำไรต่อพื้นที่การขายของสินค้าแต่ละตัวนั้นเหมาะ สมอยู่หรือไม่
 
การเติมสินค้าบนชั้นวางสินค้า ให้นำสินค้าเก่าที่มีอยู่ยกยอดออกมาให้หมดก่อน แล้วจึงค่อยเติมสินค้าใหม่จากด้านหลังมา ทั้งนี้ จะช่วยในการบริหารสินค้าที่นำมาวางจำหน่าย ไม่ให้มีสินค้าเก่าเก็บเหลืออยู่ในชั้นวางสินค้านานเดินไป ควรติดป้ายชื่อ ขนาดบรรจุ และราคา สินค้าทุกชนิดไว้ที่ขอบของชั้นวางสินค้า เพื่อให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบและเช็คได้ตลอดเวลา
ชั้นวางสินค้าไม่ควรมีฝุ่นละอองจับ ไม่ว่าจะเป็นที่ตัวชั้นวางของหรือที่ตัวสินค้า ไม่ควรมีของใช้ส่วนตัวของพนักงานซุปเปอร์มาร์เก็ตซ่อนอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งของชั้นวางสินค้า รวมทั้งไม่มีไม้ปัดขนไก่ ปากกา ผ้าขี้ริ้ว ถังซักผ้า จาน ชาม ช้อน ส้อม หรือแม้แต่ของกิน เอกสารต่าง ๆ ที่มี   ราคาต้นทุนสินค้า ต้องไม่มีให้เห็นที่ชั้นวางสินค้า
เมื่อสินค้าเข้ามาใหม่ ควรรับนำขึ้นวางที่ชั้นวางสินค้าทันที จัดสินค้าให้แยกตามประเภทของสินค้า  และให้เป็นแนวดิ่งจากชั้นล่างขึ้นบน หรือจากบนลงล่าง สินค้ายี่ห้อที่เป็นที่นิยมให้จัดอยู่ในระดับสายตา ซึ่งจะทำให้ลูกค้าสามารถมองเห็นได้ก่อนและเลือกหยิบซื้อได้โดยเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาหานาน ส่วนสินค้าประเภทที่ไม่เห็น ไม่ซื้อ หรือลูกค้าไม่เคยมีความคิดจะซื้ออยู่ในเมนูการจับจ่ายซื่อของเพื่อใช้ใน ชีวิตประจำวันแล้ว จงอย่าพยายามจัดเอาสินค้าประเภทนี้ วางไว้กับสินค้าชนิดที่ขายดีหรือเป็นที่ต้องการของลูกค้า
 
กรณีที่สินค้านั้นๆ มีหลายขนาด ให้จัดสินค้าเป็นแนวดิ่ง ให้ขนาดเล็กอยู่บนขนาดใหญ่อยู่ล่าง เวลาจัดวางสินค้า พนักงานขายจะได้ไม่ต้องเหนื่อยมาก ในการหยิบยกสินค้าขนาดใหญ่ๆ ไปไว้ข้างบน และลูกค้าเวลามาเลือกหยิบจากชั้นวางสินค้าก็จะได้ไม่ต้องกลัวว่า สินค้าจะตกลงมาใส่หัว ถ้าขนาดใดขายดี ให้เพิ่มพื้นที่ในชั้นวางสินค้าหรือขยายเพิ่มชั้นวาง 2 ชั้นขึ้นไป
ถ้าสินค้าประเภทนั้นมีพียง 2 ยี่ห้อ และมีเพียงยี่ห้อละ 2 ขนาด ให้เอายี่ห้อที่ขายดีจัดวางชั้นบนและเอายี่ห้อรองวางชั้นล่าง ถ้าสินค้าประเภทนั้นมีเพียงยี่ห้อเดียว ให้ดูว่ามีสินค้าประเภทใกล้เคียงในหมวดหมู่เดียวกันหรือไม่ ถ้ามีให้นำมาขายรวมหมวดกันและจัดวางตามยี่ห้อเป็นแนวดิ่ง ถ้าสินค้ามีหลายขนาดมาก และแต่ละชั้นวางสินค้ามีเพียงไม่กี่ชั้น เราสามารถเพิ่มหรือเสริมชั้นวางสินค้าให้มีหลายชั้นได้
ถ้าเป็นสินค้าประเภทกำจัดยุงไฟฟ้า ควรวางแผ่นไว้ข้างๆ กันกับเครื่องยี่ห้อเดียวกัน ส่วนที่เป็นน้ำยาฉีดกันยุงทั้งที่เป็นแบบสเปรย์และแบบกระป๋องควรวางไว้ใน กลุ่มยี่ห้อเดียวกัน และเรียงตามขนาดตามแนวดิ่ง   ส่วนน้ำยาแบบที่เป็นกระป๋องเติม ให้วางไว้ที่ชั้นล่างสุด สินค้าประเภทผ้าอนามัย ควรแบ่งกลุ่มตามแนวดิ่ง และแยกประเภทตามยี่ห้อ   ยาสีฟัน ควรแบ่งการวางไว้ตามยี่ห้อ (ขนาดใหญ่หรือเล็กก็ควรให้อยู่ใกล้กันในหมวดยี่ห้อเดียวกัน)
แนวคิดที่จัดวางสินค้าในแนวดิ่งนี้ เนื่องเพราะหากว่าเราจัดวางโชว์สินค้าเป็นแนวนอน เวลาลูกค้าเดินเลือกสินค้าแล้ว จะผ่านเลยไปและจะไม่มีโอกาสเดินย้อนกลับมาเลือกซื้อประเภทอื่นที่วางขายอยู่ ที่ชั้นอื่นๆ อีก การเลือกดูตามขนาดของสินค้าก็เพียงแค่ก้มๆ เงยๆ นิดหน่อยก็สามารถเลือกได้สินค้าที่พอใจแล้ว
ดังนั้น โอกาสในการขายของก็เพิ่มขึ้น เนื่องจากทำให้ลูกค้าสามารถมองเห็นสินค้าได้ทั่วนั่นเอง
อ้างอิงจาก    NEC โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่
ชานมไข่มุกปลุกตลาด 7 พันล้าน เทรนด์‘ไต้หวัน’วนกลับซ้ำรอยอดีต
 
 
ตลาดชาสไตล์ไต้หวัน ถือเป็นเทรนด์ที่เคยเกิดขึ้นแล้วในเมืองไทย แต่ด้วยกระแสแรงของตลาดในตอนนั้น ทำให้มีผู้เล่นเข้ามาหลายราย รวมทั้งสินค้าคุณภาพต่ำและหลายเจ้าที่ไม่สามารถรักษามาตรฐานของรสชาติได้ ทำให้หลายรายจึงต้องตายไปจากตลาด

10 ปีของตลาดชานมไข่มุกเหลือเพียงรายที่แข็งแกร่งซึ่งมีจุดเด่นของการใช้ชาจาก ไต้หวันแท้อยู่ไม่กี่ราย โดยรายที่เป็นผู้นำตลาด อย่างเด่นชัดคือ “มิสเตอร์เชค” (Mr.Shake) และวันนี้ตลาดชาจากไต้หวัน หรือที่เรียกคุ้นปากคนไทยว่า “ชานมไข่มุก” กำลังกลับมาบูมอีกครั้ง จากรายเล็กๆ ที่เปิดขึ้นมาใหม่ และรายใหญ่ในวงการอาหารเครือซูกิชิ ที่ลงมาเล่นตลาดนี้อย่างจริงจัง


“วาวาชา” หว่าน 200 สาขาใน 3 ปี
นางสาวลลินทิพย์ จิรวราพันธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซูกิชิ อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด เจ้าของแบรนด์ “วาวาชา” เปิด เผยว่า เทรนด์ของอาหารและชานมไต้หวันเป็นที่น่าสนใจของตลาด บริษัทจึงได้ขยายธุรกิจร้านอาหาร มาสู่ร้านวาวาชา เป็นร้านชาสไตล์ไต้หวัน เพื่อจับกลุ่มเป้าหมายนักเรียน นักศึกษา และคนทำงานรุ่นใหม่ โดยเริ่มสาขาแรกที่สยามสแควร์ซอย 11 และขยายจนมี 9 สาขาในปีที่ผ่านมา ในปีนี้คาดว่าจะเพิ่มอีก 20 สาขา ในห้างสรรพ สินค้าชั้นนำ มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลและแหล่งชุมชน โดยใน 3 ปีนี้ มีเป้าหมายขยายสาขาให้ครบ 200 แห่งทั่วประเทศ

สำหรับตลาดเครื่องดื่มชาในประเทศไทย ทั้งแบบชงและบรรจุขวดมีมูลค่ากว่า 7.8 พันล้านบาท มีอัตราการเติบโต 15% โดยกลุ่มชาชงสดจากไต้หวันถือเป็นตลาดที่น่าสนใจ เนื่องจากมีคู่แข่งไม่มากนัก อีกทั้งกระแสด้านสุขภาพยังเข้ามากระตุ้นตลาดชาในรูปแบบนี้ โดยผู้บริโภคเริ่มมีความรู้เรื่องชาจากไต้หวันมากขึ้น และสามารถแยกความแตกต่างจากชาเขียวญี่ปุ่นได้ ปัจจุบันวาวาชามีจำหน่าย 9 หมวด รวมกว่า 40 รายการ ทั้งชาจากไต้หวัน ฮ่องกง และญี่ปุ่น ราคา 40-60 บาท
โดยในทุกเดือนจะมีโปรโมชั่นไม่ซ้ำกัน รวมทั้งโปรโมชั่น ซื้อ 1 แถม 1 สำหรับวันเปิดสาขาใหม่ นอกจากนั้นจะใช้งบประมาณทางการตลาด 10 ล้านบาท เพื่อสร้างแบรนด์ในปีนี้ โดยวางเป้าหมายยอดขายปีแรกที่ 30 ล้านบาทในปีแรก“แม้ว่าตลาดชานมไต้หวันจะมีคู่แข่งอยู่บ้าง แต่เนื่องจาก ‘วาวาชา’ เป็นแบรนด์น้องใหม่ในเครือซูกิชิ ซึ่งประสบความสำเร็จในธุรกิจร้านอาหารปิ้งย่างสไตล์เกาหลีและอาหารญี่ปุ่นมา ถึง 11 ปี ความเชี่ยวชาญในการทำตลาด และความชำนาญในการคัดเลือกวัตถุดิบ จะเป็นเส้นทางการเติบโตของวาวาชาได้เป็นอย่างดี”

เจ้าตลาดชี้กระแสอดีตซ้ำรอย
นางณชญาดา ชูชัยศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิสเตอร์ เช็ค จำกัด เปิดเผยว่า “ตลาดชานมไข่มุกกลับมาบูมอีกครั้งเหมือนเมื่อ 12 ปีที่แล้ว ซึ่งในตอนนั้นมีการแข่งขันสูงมาก ซึ่งมิสเตอร์เชค ถือเป็นแบรนด์แรกที่เข้ามาปลุกตลาดจนได้รับความนิยม ส่งผลต่อแบรนด์คู่แข่งที่เพิ่มมากขึ้น แต่สุดท้ายแล้วกระแสของชานมไข่มุกก็อยู่ได้เพียง 2-3 ปีแล้วหายไป เหลือเพียงแบรนด์ที่มีความแข็งแกร่งอยู่ในตลาดเพียงไม่กี่แบรนด์ ซึ่งมิสเตอร์เชคถือเป็นเจ้าตลาดที่อยู่มานานถึง 12 ปี การกลับมาบูมอีกครั้งของตลาดชานม ซึ่งมีรายใหม่เข้ามาทำตลาดอย่างจริงจังนั้น จะไม่เห็นภาพการแข่งขันที่รุนแรงเท่ากับช่วงแรก
ส่วนการที่เทรนด์นี้จะกลับมาอีกครั้ง คงเพราะมีผู้ประกอบการอยากทำธุรกิจของตัวเองมากขึ้น จึงหันมาจับตลาดชานม ซึ่งยังมีกลุ่มผู้ที่นิยมดื่มอยู่ในตลาด ซึ่งคาดว่าน่าจะเห็นภาพความคึกคักอีกประมาณ 2-3 ปี จากนั้นเจ้าที่ไม่แข็งแกร่งจริงก็จะหายไปเหมือนในอดีต ขณะที่รายหลักก็ยังคงทำตลาดต่อไปโดยไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากลูกค้ามีความภักดีต่อแบรนด์”
“กรณีคู่แข่งแบรนด์ใหม่ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจร้านอาหารมาก่อนเข้ามาทำ ตลาดชานมไข่มุก ตีตลาดกับเรานั้น เรามองว่าใครอยากทำธุรกิจอะไรก็ทำไป เพราะเราไม่แข่งกับเขา เราอยากอยู่แบบสมถะ และเรามองว่าลูกค้าที่ยังคงชอบแบรนด์ และติดใจในรสชาติของมิสเตอร์ เชคยังคงมีอยู่อีกมาก ซึ่งก็เปรียบได้กับเอ็มเค สุกี้ ซึ่งเป็นเจ้าแรกๆ ในการทำตลาดสุกี้ยังจริงจัง แม้จะมีแบรนด์ใหม่ๆ อาทิ ฮอตพอต เข้ามาแข่งขัน แต่เอ็มเคก็ยังอยู่ได้เพราะยังมีลูกค้าที่ชื่นชอบในความเป็นเอ็มเคอยู่ ดังนั้น ธุรกิจของมิสเตอร์เชคก็จะเป็นรูปแบบนั้นเช่นกัน”

สำหรับผลกระทบจากการเข้ามาของแบรนด์ใหม่ ส่งผลต่อยอดขายของมิสเตอร์เชคที่ลดลงประมาณ 10-20% เนื่องจากลูกค้าหันไปทำการทดลองแบรนด์ใหม่ แต่คาดว่าลูกค้าที่ชื่นชอบในรสชาติของมิสเตอร์เชค จะกลับมาเหมือน เดิมหลังจากผ่านช่วงทดลองไปแล้ว ซึ่งมิสเตอร์เชคก็ไม่ได้มีการจัดกลยุทธ์ใดๆเป็นพิเศษ แต่คงต้องจับตาดูว่า คู่แข่งรายใหม่จะมีกลยุทธ์อย่างไรต่อไป และ 4 เดือนหลังจากนี้จะมีผลกระทบอะไรเกิดขึ้นอีกบ้าง แต่จะไม่ใช้กลยุทธ์ซื้อ 1 แถม 1 แบบที่คู่แข่งรายใหม่ทำ เนื่องจากตลอด ระยะเวลาที่ผ่านมามิสเตอร์เชคไม่เคยทำโปรโมชั่นในลักษณะนั้นเลย


“โอชายะ” ย้ำกระแสนี้มีลูกค้าตัวจริง
ด้าน “โอชายะ” (Ochaya) เป็นอีกแบรนด์ที่ชูจุดเด่นของชาจากไต้หวันที่ชงสด ต้มสด โดยมีร้านแฟรนไชส์กระจายอยู่กว่า 60 สาขาทั่วกรุงเทพฯ เป็นอีกเจ้าที่กำลังมาแรง “คุณเพ็ญ” หนึ่งในเจ้าของแฟรนไชส์โอชายะ เปิดเผยว่า เหตุผลของการเลือกทำธุรกิจนี้เป็นเพราะเห็นว่าประเทศไทยเป็นเมืองร้อน มีอากาศร้อนอบอ้าวเกือบตลอดปี ดังนั้นธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวจึงน่าจะสามารถเติบโตได้ดีในไทย
แม้ธุรกิจประเภทนี้ซึ่งเคยเป็นที่นิยมเมื่อ 10-12 ปีก่อนและได้เสื่อมความนิยมไปครั้งหนึ่งแล้ว แต่อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องปกติสำหรับความนิยมของผู้บริโภค ในเรื่องหนึ่งๆ ที่จะมีขึ้นและลงเป็นวัฏจักร ด้านกลยุทธ์การตลาดนั้น จะมุ่งเป้าไปที่กลุ่มนักเรียน นักศึกษาและคนทำงาน จากนั้นจึงมองหาทำเลที่ตั้งร้านในบริเวณที่มีกลุ่มคน


ดังกล่าวอยู่ และเหตุผลที่เลือกแฟรนไชส์นี้ (Ochaya) เนื่องจากเห็นว่าเครื่องดื่มของแบรนด์นี้ มีความแตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ โดยเฉพาะกลิ่นชาที่หอมเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งหากมองในระยะยาวแล้ว หลังจากนี้ความนิยมของผู้บริโภคที่มีต่อธุรกิจชานมคงจะเริ่มลดลงอีกครั้ง แต่จะไม่ถึงกับหมดความนิยมโดยสิ้นเชิง เพราะผู้บริโภคส่วนหนึ่งยังคงมีความชอบที่จะดื่มเครื่องดื่มชนิดนี้อยู่
อ้างอิงจาก สยามธุรกิจ
https://www.thaifranchisecenter.com/starfranchise/show.php?etID=270

อัพเดทล่าสุด