คำถาม วัดความเร็ว การตัดสินใจ เหตุผลการตัดสินใจ retire MUSLIMTHAIPOST

 

คำถาม วัดความเร็ว การตัดสินใจ เหตุผลการตัดสินใจ retire


1,925 ผู้ชม


แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง ทักษะการตัดสินใจ
แบบทดสอบก่อนเรียน                                              
เรื่อง ทักษะการตัดสินใจ
คำสั่ง  จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. การตัดสินใจในวัยเด็กและวัยรุ่นแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
    ก. แตกต่าง เพราะคนละวัยกัน
    ข. แตกต่าง เพราะเรื่องที่ตัดสินใจจะมากและยุ่งยากขึ้น
    ค. ไม่แตกต่าง เพราะเป็นการตัดสินใจที่มีขั้นตอนเหมือนกัน
    ง. ไม่แตกต่าง เพราะการตัดสินใจเป็นพื้นฐานที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด
2. สิ่งแรกที่จะช่วยให้การตัดสินใจดีคืออะไร
    ก. ข้อมูลต่าง ๆ
    ข. การคิดถึงผลได้ผลเสีย
    ค. การสร้างทางเลือกหลาย ๆ ทาง
    ง. การไปปรึกษาผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า
3. แนวทางการประเมินตนเองก่อนตัดสินใจที่จะมีเพศสัมพันธ์ข้อใดสำคัญที่สุด
    ก. จะมีผลกระทบต่อการเรียนหรือไม่
    ข. คนทั่วไปเป็นปกติเช่นนี้หรือไม่
    ค. จะมีผลกระทบต่อครอบครัวหรือไม่
    ง. พร้อมที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ต่อผลกระทบที่จะตามมาหรือไม่
4. การตัดสินใจของมนุษย์มีลักษณะเป็นเช่นไร
    ก. เป็นหลักการ
    ข. เป็นหลักเกณฑ์
    ค. เป็นข้อเท็จจริง
    ง. เป็นกระบวนการ
5. สิ่งที่จำเป็นต้องรู้เป็นลำดับแรกในการตัดสินใจคืออะไร
    ก. จะตัดสินใจทำไม
    ข. จะตัดสินใจอย่างไร
    ค. จะตัดสินใจเรื่องอะไร
    ง. การตัดสินใจครั้งนี้เกี่ยวข้องกับใครบ้าง
 6. ในการพิจารณาทางเลือกนั้น ควรพิจารณาเรื่องใดเป็นสำคัญ
    ก. ข้อมูลต่าง ๆ
    ข. ผลดี ผลเสีย
    ค. มีทางเลือกกี่ทาง
    ง. พิจารณาตามความต้องการ
7. สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงให้มากที่สุดในการตัดสินใจคืออะไร
     ก. ข้อมูล
     ข. โอกาส
     ค. ความเสี่ยง
     ง. ทางเลือกต่าง ๆ
8. การตัดสินใจควรจะตัดสินใจตามข้อใด
     ก. ตามความชอบ
     ข. ตามความเชื่อ
     ค. ตามความจำเป็น
     ง. ตามความต้องการ
9. บุคคลที่ควรขอความช่วยเหลือเป็นคนแรกเมื่อเกิดปัญหาขึ้นคือใคร
     ก. พ่อแม่
     ข. ครูอาจารย์
     ค. ญาติผู้ใหญ่
     ง. เพื่อนที่ไว้ใจได้
10. เมื่อเกิดความผิดพลาดที่คิดว่าร้ายแรงในชีวิตของตนเองแล้ว ไม่ควรทำเช่นไรมากที่สุด
     ก. หนีปัญหา
     ข. ฆ่าตัวตาย
     ค. ลงโทษตัวเอง
     ง. หลบซ่อนตนเอง

--------------

แบบทดสอบลักษณะเฉพาะตัว บุิคลิกภาพ การตัดสินใจ
1. บุคลิกภาพของคุณเป็นอย่างไร?
I : ชอบสันโดษ, คิดก่อนทำ, มีแรงบันดาลใจหรือความคิดจากตัวเองเป็นใหญ่
E : ชอบเข้าสังคม, ชอบไปงานสังสรรค์, ทำก่อนคิด, มีแรงบันดาลใจหรือความคิดจาก คน. สิ่งของ, สิ่งแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่
2. เมื่อคุณมีข้อมูลที่ต้องพิจารณา คุณจะพิจารณาข้อมูลเหล่านั้นอย่างไร?
S : ดูถึงรายละเอียดของข้อมูล, ดูถึงปัญหา ปัจจุบัน, ดูถึงหลักความเป็นจริง
N : ดูถึงภาพรวมหรือข้อสรุปของข้อมูล, คาดการณ์ล่วงหน้า, ดูถึงความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น
3. คุณใช้อะไรในการตัดสินใจกับปัญหา?
T : ใช้เหตุผลในการตัดสินใจ, ใช้หลักตรรก วิทยาความถูกต้อง, คิดถึงผลที่จะตามมา จากการตัดสินใจ
F : ใช้ความรู้สึกในการตัดสินใจ, ตัดสินใจจาก ความชอบ, ความต้องการ, คิดถึงความต้องการ และการตอบสนองของตน
4. คุณมีวิธีการดำเนินชีวิตอย่างไร?
J : ชอบวางแผนในการใช้ชีวิตประจำวัน, ชอบตั้งเป้าหมาย ระยะเวลา วันที่ในการทำ, ชอบตัดสินใจเพื่อให้จบปัญหา
P : ยอมรับการเปลี่ยนแปลงกับสิ่งรอบตัว, ไม่ยึดติด, มีความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์, รับฟังความคิดผู้อื่น
เฉลย
ISTJ - The Duty Fulfiller "ผู้สำเร็จ"
- มีสมาธิสูง, เงียบ, เป็นคนรักครอบครัว
- ละเอียด, จริงจัง และ ไว้ใจได้
- ทำงานหนัก, เจ้าระเบียบ และ มีความรับผิดชอบสูง
- อาจจะทำให้ถูกเอาเปรียบได้ เพราะความที่เขาซื่อสัตย์และเป็นที่พึ่งได้
- ไม่เก่งเรื่องของความรู้สึก
ISTP - The Mechanic "ช่างเครื่อง"
- เงียบ, ชอบผจญภัยและ กีฬา
- ชอบเสี่ยง, เป็นตัวของตัวเอง, แก้ปัญหาเก่ง
- มองโลกในแง่ดีแต่อาจโกรธง่ายตอนเครียด
- ปกติไม่รู้ว่าตัวเองทำอะไรให้คนอื่นอยู่ ทั้งดีและไม่ดี
ISFJ - The Nurturer "ผู้ดูแล"
- เงียบ, ใจดี, มีสติ
- มีความรับผิดชอบ แก่ภาระและหน้าที่
- คิดถึงคนอื่นก่อนตัว, จำคนเก่ง
- เสียกำลังใจเมื่อถูกวิจารณ์
- ชอบเก็บความรู้สึกไว้กับตัวเอง
ISFP - The Artist "ศิลปิน"
- เงียบ, ใจดี, จริงจัง และ อ่อนไหว
- ไม่ชอบการโต้แย้ง, ไม่ชอบระเบียบ
- ความคิดสร้างสรรค์ และ ไม่เหมือนใคร, รักขอบสวยของงาม
- เข้าใจยาก, เปิดเผยตัวเองกับคนใกล้ชิดเท่านั้น
- ใช้ชีวิตอย่างจริงจัง
INFJ - The Protector "ผู้ป้องกัน"
- ความคิดสร้างสรรค์, อ่อนไหว, เป็นตัวของตัวเอง
- เก่งเรื่องคน และ สถานการณ์
- เป็นคนลึกซึ้ง, ซับซ้อน, ชอบความเป็นส่วนตัว
- เข้าใจยาก, มีความมั่นใจในตัวเองสูง, ดื้อรั้นต่อความคิดของผู้อื่น
- ไม่ชอบการโต้แย้ง
INFP - The Idealist "นักอุดมการณ์"
- เงียบ, ซื่อสัตย์, ชอบอุดมการณ์
- ชอบช่วยเหลือ และ เข้าใจคนอื่น
- ไม่ชอบการโต้แย้ง
- ซื่อสัตย์ต่อตนเอง
- มีความคิดสร้างสรรค์
INTJ - The Scientist "นักวิทยาศาสตร์"
- ฉลาด, มุ่งมั่น, ไม่เหมือนใคร
- เป็นผู้นำที่ดี, มีความมั่นใจสูง, มองการณ์ไกล
- ชอบคิดคนเดียว และ ชอบอยู่คนเดียว, ชอบด่วนสรุป,ไม่ชอบรายละเอียด, คิดว่าตนเองถูกเสมอ
- บอกความรู้สึกไม่เก่ง, จะมีปัญหากับ ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด
INTP - The Thinker "นักคิด "
- ความคิดสร้างสรรค์, เป็นตัวของตัวเอง, มีเหตุมีผลและมีความสามารถสูง
- ไม่อยากถูกนำหรือนำคนอื่น, ไม่ชอบระเบียบ
- ใช้เวลาในหัวตัวเองมาก, ไม่อยู่กับเนื้อกับตัว
- เงียบ, ไม่ค่อยรู้ว่าคนอื่นรู้สึกยังไง
- มีอารมณ์ซับซ้อน, ไม่อยู่นิ่ง และ แปรปรวน
ESTP - The Doer "ผู้กระทำ"
- เป็นมิตร, ยืดหยุ่นง่าย, เข้าใจความรู้สึกของ ผู้อื่นเก่ง
- ไม่ชอบคำอธิบาย แต่ต้องการแค่ผลลัพธ์
- ใช้ชีวิตที่สนุกสนาน จึงทำให้ผ่านไปเร็ว
- รักสนุก, สามารถทำร้ายจิตใจผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว
- ไม่ชอบเคารพกฎระเบียบ
- เบื่อง่าย
ESTJ - The Guardian "ผู้พิทักษ์"
- มีระเบียบ, ซื่อตรง, ตรงไปตรงมา
- มีความมั่นใจในตัวเอง, มีความสามารถ, ทำงานหนัก , เป็นผู้นำ
- ชอบความปลอดภัย และ ความสงบสุข
- บอกความรู้สึก และ ความห่วงใยไม่เก่ง
ESFP - The Performer "ผู้แสดง"
- อยู่คนเดียวในโลกไม่ได้, มีมนุษยสัมพันธ์ดี, รักสนุก และทำงานเป็นทีมได้ดี
- มองโลกในแง่ดี, ต้อนรับทุกคน แต่ก็เกลียดทุกคนได้เหมือนกัน
- ไม่ชอบงานประจำ, คิดมากเวลาเครียด
- รักสวยรักงาม
ESFJ - The Caregiver "นักใส่ใจ"
- มีน้ำใจ , คนชอบ , มีสติ , มีความรับผิดชอบ
- เก่งเรื่องคน , เข้าใจ, สนใจ และ ปรับตามคนได้
- ชอบให้คนชอบ, ชอบบริการผู้อื่นก่อนตนเอง
- รักสงบ และความปลอดภัย, ไว้ใจได้, กระตือรือร้น
- อ่อนไหว, ต้องการการเห็นด้วยจากผู้อื่น
ENFP - The Inspirer "ผู้มีแรงบันดาลใจ"
- มีความคิดสร้างสรรค์, กระตือรือร้น, ยืดหยุ่น
- ต้อนรับไอเดียใหม่ ๆ เสมอ แต่จะเบื่อกับ รายละเอียด
- มีมนุษยสัมพันธ์ดี, ชอบให้คนชอบแต่ก็ สามารถหลอกใช้ผู้อื่นได้ด้วย
- เป็นคนร่าเริง และชอบเป็นอิสระ
ENFJ - The Giver "ผู้ให้"
- มีมนุษยสัมพันธ์ดีมาก, ห่วงใยความรู้สึก ของผู้อื่นเสมอ
- ไม่ชอบอยู่คนเดียว, ต้องการอยู่กับผู้อื่น ตลอดเวลา
- มีความสามารถที่จะทำในสิ่งที่เขาชอบ หลาย ๆ อย่าง
- มีความมั่นใจในตัวเอง, เจ้าระเบียบ
ENTP - The Visionary "ผู้มีวิสัยทัศน์"
- มีความคิดสร้างสรรค์, ฉลาด , แก้ปัญหาเก่ง
- ชอบไอเดียใหม่, ไม่ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ
- ชอบคุย, คุยเก่ง, หัวไว
- ไม่สนใจเรื่องความรู้สึก แต่เพียงจะให้งานสำเร็จ
- บางครั้งอาจจะเคร่งครัดกับคนรอบข้าง
ENTJ - The Executive "ผู้บริหาร"
- เป็นผู้นำตั้งแต่เกิด, พูดต่อหน้าคนเก่ง, ฉลาด, มีความรู้
- เห็นความสำคัญในความรู้ และ ความสามารถ, ไม่มีความอดทนกับคนทำงานไม่เก่ง
- แก้ปัญหาเก่ง, สามารถเข้าใจปัญหาซับซ้อน
- เจ้ากี้เจ้าการ, ไม่มีความอดทน, เด็ดขาด, น่าเกรงขาม

------

การตัดสินใจ (Decision Making)
ความหมายของการตัดสินใจ
การตัดสินใจ (Decision Making) หมายถึงกระบวนการเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง จากหลาย ๆ ทางเลือกที่ได้พิจารณา หรือประเมินอย่างดีแล้วว่า เป็นทางให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ การตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญ และเกี่ยวข้องกับ หน้าที่การบริหาร หรือการจัดการเกือบทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การจัดองค์การ การจัดคนเข้าทำงาน การประสานงาน และการควบคุม การตัดสินใจได้มีการศึกษามานาน
ความหมายของการตัดสินใจ นักวิชาการได้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันดังนี้
    บาร์นาร์ด (Barnard, 1938) ได้ให้ความหมายของการตัดสินใจไว้ว่า คือ "เทคนิคในการที่จะพิจารณาทางเลือกต่างๆ ให้เหลือทางเลือกเดียว"
    ไซมอน (Simon) ได้ให้ความหมายว่า การตัดสินใจ เป็นกระบวนการของการหาโอกาสที่จะตัดสินใจ การหาทางเลือกที่พอเป็นไปได้ และทางเลือกจากงานต่าง ๆ ที่มีอยู่
    มูดี (Moody) ได้ให้ความหมายว่า การตัดสินใจเป็นการกระทำที่ต้องทำเมื่อไม่มีเวลาที่จะหาข้อเท็จจริงอีกต่อไป ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อใดถึงจะตัดสินใจว่าควรหยุดหาข้อเท็จจริง แนวทางแก้ไขจะเปลี่ยนแปลงไปตามปัญหาที่ต้องการแก้ไข ซึ่งการรวบรวมข้อเท็จจริง เกี่ยวพันกับการใช้จ่ายและการใช้เวลา
    กิบสันและอิวาน เซวิช (Gibson and Ivancevich) ได้ให้ความหมายของการตัดสินใจไว้ว่า เป็นกระบวนการสำคัญขององค์การ ที่ผู้บริหารจะต้อง กระทำอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลข่าวสาร (information) ซึ่ง ได้รับมาจากโครงสร้างองค์การ พฤติกรรมบุคคล และกลุ่มในองค์การ
    โจนส์ (Jones) ได้ให้ความหมายของการตัดสินใจองค์การว่าเป็นกระบวนการ ที่จะแก้ไขปัญหาขององค์กร โดยการค้นหาทางเลือก และเลือกทางเลือกหรือแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การที่ได้กำหนดไว้
จากคำนิยามข้างต้นอาจกล่าวได้ว่า มีมุมมองของนักวิชาการที่แตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียดแต่ประเด็นหลักที่มองเหมือนกันคือ
1.การตัดสินใจเป็นกระบวนการ (process) นั่นหมายความว่าการตัดสินใจต้องผ่านกระบวนการคิด พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์แล้ว ค่อยตัดสินใจเลือก ทางที่ดีที่สุด มีหลายท่านคิดว่าการตัดสินใจไม่มีขั้นตอนอะไรมากคิดแล้วทำเลย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการคิดก็ต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสาร (search) การออกแบบ (design) และการเลือก (choice) เพื่อให้สามารถเลือกทางเลือกได้ดีที่สุด
2.การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับทางเลือก (solution) การตัดสินใจเป็นการพยายามสร้างทางเลือกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทางเลือกที่น้อยอาจปิดโอกาสให้เกิดความคิดสร้างสรรค์หรือทางเลือกที่ดีกว่าได้ ผู้บริหารที่ดีจำเป็นต้องมีการฝึกฝนการสร้างทางเลือกที่มากขึ้น หลากหลายด้วยวิธีการคิดแบบริเริ่ม (initiative) และคิดแบบสร้างสรรค์ (creative thinking)
3. การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับโครงสร้างขององค์การ จะเห็นว่าผู้บริหารในแต่ละระดับชั้นก็มีหน้าที่ในการตัดสินใจต่างกัน กล่าวคือ ผู้บริหารระดับสูงจำเป็นต้องตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (strategic decision) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับแนวทางที่ถูกต้องเพื่อใช้ทรัพยากรที่จำเป็นให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การที่กำหนดไว้ ผู้บริหารระดับกลางจะตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ (management decision) เป็นการตัดสินใจเพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้บริหารระดับต้นจะตัดสินใจเกี่ยวกับการปฏิบัติการ (Operational decision) เป็นการตัดสินใจดำเนินการควบคุมงานให้สำเร็จตามระยะเวลาและเป้าหมายที่กำหนดไว้
4. การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมคน จะเห็นว่าการตัดสินใจเกี่ยวข้องตั้งแต่คนเดียว กลุ่มและทั้งองค์การ ซึ่งพฤติกรรมคนแต่ละคนก็แตกต่างกัน ผู้บริหารที่ดีจะต้องมีความเข้าใจและมีจิตวิทยาเกี่ยวข้องกับบุคคลกลุ่ม และองค์การที่ดีพอจึงจะทำให้การตัดสินใจประสบผลสำเร็จได้
ดังนั้นกล่าวได้ว่า การตัดสินใจ คือ ผลสรุปหรือผลขั้นสุดท้ายของกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลเพื่อเลือกแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ ทรัพยากร และบุคคล สามารถนำไปปฏิบัติและทำให้งานบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการ
การตัดสินใจ เป็นส่วนหนึ่งของบทบาทของผู้บริหารที่เกิดจากตำแหน่งและอำนาจที่เป็นทางการ คือบทบาทการเป็นผู้ประกอบการ(Enterpreneur) บทบาทผู้จัดการสถานการณ์ที่เป็นปัญหา(Disturbance Handler) บทบาทผู้จัดทรัพยาการ(Resource Allocator) และบทบาทผู้เจรจาต่อรอง(Negotiator)

อัพเดทล่าสุด