โครงการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง รูปภาพโรคอุจจาระร่วงในเด็ก สถานการณ์โรคอุจจาระร่วง ปี 2555 จังหวัดศรีสะเกษ MUSLIMTHAIPOST

 

โครงการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง รูปภาพโรคอุจจาระร่วงในเด็ก สถานการณ์โรคอุจจาระร่วง ปี 2555 จังหวัดศรีสะเกษ


1,552 ผู้ชม


โครงการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง  รูปภาพโรคอุจจาระร่วงในเด็ก สถานการณ์โรคอุจจาระร่วง ปี 2555 จังหวัดศรีสะเกษ

             โครงการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง

Cholera
ลักษณะโรค
เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหารจากแบคทีเรียชนิดเฉียบพลัน เริ่มด้วยอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำอย่างมากโดยไม่มีอาการปวดท้อง บางรายอุจจาระขาวขุ่นเหมือนน้ำซาวข้าว บางครั้งมีคลื่นไส้ อาเจียน สูญเสียน้ำอย่างรวดเร็วจนเกิดภาวะเป็นกรดในเลือด และการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว สำหรับเชื้อโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง(อหิวาตกโรค) ชนิด El Tor biotype ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการเลยก็ได้ ในรายรุนแรงน้อยอาจพบแต่อาการถ่ายเป็นน้ำ พบได้บ่อยในเด็ก ในรายที่มีอาการรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจตายในเวลา 2-3 ชั่วโมง และอัตราป่วยตายสูงมากกว่าร้อยละ 50 แต่ถ้าได้รับการรักษาถูกต้องและทันท่วงที อัตราป่วยตายจะลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 1
การวินิจฉัยโรค
ใช้วิธีการเพาะเชื้อจากอุจจาระหรือดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิด darkfield หรือ phase contrast จะเห็นลักษณะการเคลื่อนที่แบบเฉพาะของเชื้อ Vibrio ซึ่ง จะถูกยับยั้งด้วย antiserum จำเพาะ ในพื้นที่ที่เกิดการติดเชื้อใหม่ๆ การแยกเชื้อต้องยืนยันด้วยการทดสอบทางชีวเคมีเบื้องต้น ถ้าเป็นไปได้ควรทดสอบดูด้วยว่าเชื้อโรคผลิตสารพิษด้วยหรือไม่ ในพื้นที่ที่ไม่ใช่เขตโรคประจำถิ่น เชื้อที่แยกได้จากผู้ป่วยที่ต้องสงสัยรายแรกๆ ต้องยืนยันโดยการทดสอบทางชีวเคมีและซีโรโลยี่ที่เหมาะสมและสารพิษที่เชื้อ สร้างขึ้นด้วย
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ Vibrio cholerae serogroup O(โอ)1 ซึ่งมี 2 biotypes คือ classical และ El Tor แต่ละ biotype แบ่งออกได้เป็น 3 serotypes คือ Inaba, Ogawa และ Hikojima เชื้อเหล่านี้จะสร้างสารพิษเรียกว่า Cholera toxin ทำให้เกิดอาการป่วยคล้ายกัน ปัจจุบันพบว่าการระบาดส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ biotype El Tor เป็นหลักแทบไม่พบ biotype classical เลย ในปี พ.ศ. 2535-2536 เกิดการระบาดครั้งใหญ่ในอินเดียและบังคลาเทศสาเหตุเกิดจากเชื้อสายพันธุ์ ใหม่คือ Vibrio cholerae O139 โดยที่ครั้งแรกตรวจพบสาเหตุการระบาดจากเชื้อ V. cholerae non O1 ที่ไม่ทำปฏิกิริยากับ V. cholerae antiserun O2-O138 ซึ่งปรกติกลไกก่อโรคจากเชื้อกลุ่มนี้มิได้เกิดจาก Cholera toxin สายพันธุ์ใหม่ที่พบสามารถสร้าง Cholera toxin ได้เหมือน Vibrio cholerae O1 ต่างกันที่โครงสร้าง Lipopolysaccharides (LPS) ที่เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ของเชื้อ อาการทางคลินิกและลักษณะทางระบาดวิทยาเหมือนกับโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงทุก ประการ ดังนั้นองค์การอนามัยโลกแนะนำให้รายงานว่าเป็นโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงด้วย สำหรับเชื้อ V. cholerae ในปัจจุบันมีถึง 194 serogroups การรายงานเชื้อที่ไม่ใช่ทั้ง O1 และ O139 ให้เรียกว่าเป็น V. cholerae non O1/non O139 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ก่อให้เกิดอาการกระเพาะและลำไส้อักเสบ เชื้อ V. cholerae non O1/non O139 บาง serotypes อาจผลิต cholera toxin ก่อให้เกิดอาการคล้ายโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงได้ จึงจำเป็นต้องตรวจการสร้างสารพิษชนิดนี้ด้วยเพื่อป้องกันการระบาดใหญ่
วิธีติดต่อ
ติดต่อโดยการกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อที่มีชีวิตปนอยู่ เชื้อ El Tor สามารถมีชีวิตอยู่ในน้ำได้เป็นเวลานาน การรับประทานอาหารทะเลดิบ หรืออาหารดิบๆสุกๆ เป็นสาเหตุของการระบาดทั่วไป การติดต่อระหว่างบุคคลสู่บุคคลโดยตรง พบได้น้อยมาก
ระยะฟักตัว
ตั้งแต่ 2-3 ชั่วโมง ไปจนถึง 5 วัน เฉลี่ยประมาณ 2-3 วัน
ระยะติดต่อ
ตลอดระยะเวลาที่ตรวจพบเชื้อในอุจจาระ ซึ่งปกติจะพบเชื้อได้อีก 2-3 วัน หลังจากผู้ป่วยอาการดีขึ้นแล้ว แต่บางรายอาจกลายเป็นพาหะต่อไปได้อีกหลายเดือน การให้ยาปฏิชีวนะ เช่น tetracycline จะช่วยลดระยะเวลาการแพร่เชื้อ ในผู้ใหญ่พบว่าการติดเชื้อเรื้อรังที่ทางเดินน้ำดี อาจเป็นได้นานเป็นปี และร่วมกับมีการปล่อยเชื้อ Vibrio ออกมากับอุจจาระเป็น ระยะได้
อาการและอาการแสดง
ถ่ายเป็นน้ำจำนวนมาก มีเนื้ออุจจาระน้อย เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันร่วมกับมีอาการและอาการแสดงของการขาดน้ำอย่างรวดเร็ว และรุนแรง อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน ส่วนใหญ่ไม่มีไข้ ไม่ปวดท้อง
ระบาดวิทยาของโรค
การระบาดเริ่มจากประเทศอินเดีย ในศตวรรษที่ 19 ขยายไปทั่วโลกจนถึงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 โรคเริ่มกระจายอยู่เฉพาะประเทศแถบเอเชีย ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 เชื้อ Vibrio cholerae ชนิด El Tor ได้ระบาดจากอินโดนีเซียไปทั่วเอเชีย ยุโรปตะวันออก และแอฟริกาและจากทางด้านเหนือของแอฟริกาไปยังแหลมไซบีเรีย (สเปน และโปรตุเกส) และเข้าไปยังอิตาลี
การรักษาจำเพาะ
จำเป็นต้องรีบให้การรักษาอย่างทันท่วง ทีด้วยสารน้ำที่ประกอบด้วยสารละลายเกลือแร่ในปริมาณที่พอเพียงเพื่อแก้ไข ภาวะเลือดเป็นกรดและภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำ ในผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถให้การรักษาโดยให้สารละลายดังกล่าวทางปาก ในปริมาณที่เทียบเท่ากับปริมาณน้ำที่สูญเสียไปโดยประมาณคือ ร้อยละ 5 ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมในรายที่เป็นน้อยร้อยละ 7 ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมในรายที่มีอาการปานกลาง และร้อยละ 10 ในผู้ป่วยมีอาการช็อค ควรให้น้ำเกลือ isotonic ทางหลอดเลือดทันที น้ำเกลือควรประกอบด้วยไบคาร์บอเนต (อะซิเตรต หรือแล็กเตตไอออน) 24-48 มิลลิอิควิวาเลนต์ต่อลิตร และ 10-15 มิลลิอิควิวาเลนต์ต่อลิตรของโปแตสเซียม เช่น Dacca solution หรือ Ringer’s lactate ภายหลังการให้สารน้ำทางหลอดเลือดจนกระแสไหลเวียนโลหิตดีขึ้นแล้ว จึงเปลี่ยนมาให้ทางปากได้เพื่อรักษาความคงตัวของสมดุลสารน้ำและเกลือแร่ใน ร่างกาย
การพิจารณาเลือกชนิดของยาปฏิชีวนะในการรักษา ควรใช้ข้อมูลการเฝ้าระวังการดื้อยาของเชื้อทางห้องปฏิบัติการเพื่อทราบแนว โน้มการดื้อยาประกอบการพิจารณา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อดื้อยา ในปัจจุบันสามารถเลือกใช้ยาที่เหมาะสม (First drug of choice) ในรายที่อาการรุนแรงให้พิจารณาในการรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะ tetracycline หรือยาปฏิชีวนะตัวอื่นๆ จะช่วยลดระยะของโรคให้สั้นลง ลดการสูญเสียน้ำ ตลอดจนลดระยะของการแพร่เชื้อลง
ยาปฏิชีวนะองค์การอนามัยโลกให้คำแนะนำการรักษาคือ
o เด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี ให้ Norfloxacin 20 มก/กก/วัน นาน 3 วัน
o เด็กอายุมากกว่า 8 ปี ให้ Tetracycline 30 มก/กก/วัน นาน 3 วัน
o ในผู้ใหญ่ให้
 Tetracycline ครั้งละ 500 มก.วันละ 4 ครั้ง นาน 3 วันหรือ
 Doxycycline ครั้งละ 100 มก.วันละ 2 ครั้ง นาน 3 วันหรือ
 Norfloxacin ครั้งละ 400 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 3 วัน (กรณีเชื้อดื้อต่อ Tetracycline)
วิธีการควบคุมและป้องกันโรค
1. มาตรการป้องกัน:
1. จัดให้มีการสุขาภิบาลในเรื่องการทำลายอุจจาระและการป้องกันแมลงวัน จัดที่สำหรับล้างมือในกรณีที่ไม่มีส้วม ควรกำจัดอุจจาระด้วยการฝัง และที่ฝังจะต้องห่างจากแหล่งน้ำดื่มน้ำดื่มควรต้มหรือใส่คลอรีน น้ำใช้ควรได้จากแหล่งที่สะอาด
2. ควบคุมแมลงวันโดยใช้มุ้งลวด พ่นยาฆ่าแมลง หรือใช้กับดัก ควบคุมการขยายพันธุ์ด้วยการเก็บและทำลายขยะโดยวิธีที่เหมาะสม
3. ระมัดระวังเรื่องความสะอาดของอาหาร ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงใหม่หรือแน่ใจว่าสะอาด การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
4. นมหรือผลิตภัณฑ์นมควรผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ หรือการต้มก่อน ให้คำแนะนำเรื่องการควบคุมการผลิต การเก็บรักษา และการจัดจำหน่ายให้ถูกสุขลักษณะ
5. ควบคุมการผลิตอาหาร และเครื่องดื่มให้เหมาะสม ให้ใช้น้ำผสมคลอรีนในงานผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
6. ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังท้องที่ซึ่งมีความเสี่ยงในการติดโรคสูงอาจกินยา ปฏิชีวนะ จะช่วยป้อง กันโรคได้ สำหรับระยะเวลาสั้นๆ เช่น ภายใน 2 สัปดาห์แต่เชื้ออาจดื้อยาได้
7. การให้วัคซีนป้องกันโรคอหิวาตกโรคในขณะที่มีการระบาดปัจจุบันไม่แนะนำให้ใช้ แล้วเพราะสามารถป้องกันได้เพียงร้อยละ 50 และมีอายุสั้นเพียง 3-6 เดือน สำหรับวัคซีนชนิดกินที่ให้ภูมิคุ้มกันสูงต่อเชื้ออหิวาต์สายพันธุ์ o1 ได้หลายเดือนมีใช้แล้วหลายประเทศ มีสองชนิด ชนิดแรกวัคซีนเชื้อยังมีชีวิตกินครั้งเดียว (สายพันธุ์ CVD 103-HgR) ส่วนชนิดที่สองเป็นเชื้อตายแล้วประกอบด้วยเชื้ออหิวาห์ตายแล้วกับ cholera toxin ชนิด B-subunit กิน 2 ครั้ง
8. การป้องกันการระบาดในสถานเลี้ยงเด็กเล็ก โดยรักษาความสะอาดสถานที่ข้าวของเครื่องใช้ เจ้าหน้าที่ล้างมืออย่างสม่ำเสมอ แยกผู้ป่วยที่มีอาการอุจจาระร่วงและเพาะเชื้อหาสาเหตุของการป่วย
9. มาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายประชากร อาหาร และสินค้าอื่นๆ ไม่นิยมทำนอกจากมีข้อ บ่งชี้ชัดเจน
2. การควบคุมผู้ป่วย ผู้สัมผัส และสิ่งแวดล้อม:
การรายงาน:- ระบบเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข หากมีผู้ป่วยอุจจาระร่วงเกิดขึ้นพร้อมกันมากกว่า 2 ราย ในสถานเลี้ยงเด็ก ซึ่งต้องให้การรักษา แสดงว่ามีการระบาดต้องทำการสอบสวนโรค
การแยกผู้ป่วย:- สำหรับผู้ที่ต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล มาตรการแยกผู้ป่วยอย่างเด็ดขาดถือว่าไม่จำเป็น ถ้าหากมีการจัดการด้านสุขอานามัยอย่างดี ควรระมัดระวังการปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระผู้ป่วยหรือผู้สงสัยว่าอุจจะป่วย ไม่ควรประกอบอาหารหรือดูแลเด็ก หรือผู้ป่วยจนกว่าผลการตรวจอุจจาระหรอ rectal swabให้ผลลบ 2 ครั้งเก็บตัวอย่างอุจจาระห่างกัน 24 ชั่วโมงขึ้นไปและไม่เร็วกว่า 48 ชั่วโมงภายหลังได้รับยาปฏิชีวนะ
การทำลายเชื้อ:- มีการกำจัดอุจจาระและอาเจียนของผู้ป่วยอย่างดีโดยใช้ความร้อน กรดคาร์บอริกหรือสารทำลายเชื้อตัวอื่นๆ และฆ่าเชื้อในข้าวของเครื่องใช้
การแยกผู้ต้องสงสัย:- ระมัดระวังการปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระผู้ป่วย
การให้ภูมิคุ้มกันแก่ผู้สัมผัส:- ในกรณีผู้สัมผัสผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงควรมีการติดตาม เฝ้าระวังอีกเป็นเวลาอย่างน้อย 5 วันหลังจากการสัมผัส การให้ยาป้องกันกลุ่มคนจำนวนมากไม่นิยมทำแต่แนะนำให้บุคคลผู้อาศัยร่วมอยู่ ในบ้านเดียวกันกับผู้ป่วย
การสอบสวนผู้สัมผัส:- โดยการสอบสวนโรคดูตามบุคคล เวลา และสถานที่ และพยายามสอบสวนหาปัจจัยเสี่ยงและแหล่งแพร่กระจายของเชื้อ เช่น น้ำ หรืออาหาร เป็นต้น การเพาะเชื้อจากอุจจาระผู้ป่วย แนะนำให้ทำในผู้สัมผัสโรคในพื้นที่ที่ไม่เคยมีการติดเชื้อมาก่อนเพื่อดำเนิน การควบคุม
3. มาตรการในระยะระบาด:
3.1 เมื่อมีการระบาดในสถานเลี้ยงเด็กควรทำ ดังนี้
• เด็กทุกคนทีมีอาการอุจจาระร่วง ให้แยกห้องต่างหากและระมัดระวังการปนเปื้อนจาก อุจจาระของเด็กเหล่านี้ไม่รับเด็กอื่นๆเข้ามาปน และพยายามจำหน่ายเด็กที่หายแล้วโดยเร็วที่สุด เด็กที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยควรได้รับการสังเกตอาการอย่างน้อย 2 สัปดาห์เมื่อจำหน่ายผู้ป่วยหมดแล้ว ต้องทำความสะอาดฆ่าเชื้อภายในห้องเลี้ยงเด็ก และป้องกันการติดเชื้อ
• ต้องมีการสอบสวนโรคเพื่อให้ทราบปัจจัยเสี่ยงและวิธีการแพร่โรค
3.2 จัดมาตรการการรักษาให้ได้ผล
3.3 จัดหาน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคและบริโภค
3.4 จัดหามาตรการการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้อง
3.5 มีการสอบสวนโรคอย่างละเอียดโดยเฉพาะด้านบุคคล เวลา และสถานที่ เพื่อหามาตรการควบคุมต่อไป
3.6 แนะนำให้ใช้ภาชนะปกปิดอาหารและน้ำเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อจากแมลงวัน
3.7 มีการควบคุมและกำจัดแมลงวันและแหล่งแพร่พันธุ์ของแมลงวัน
3.8 วัคซีนไม่เหมาะที่ใช้ในสถานการณ์ที่กำลังมีการระบาด
4. โอกาสที่จะเกิดการระบาดใหญ่:
ในพื้นที่ที่มีอหิวาตกโรคชุกชุม และมีประชากรแออัด โดยที่การจัดการสุขาภิบาลไม่เพียงพอ ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการระบาดของโรคสูง
ที่มา : สำนักระบาดวิทยา : สุวรรณา เทพสุนทร
Credit by : วันทนา กลางบุรัมย์

        Link   https://dpc6.ddc.moph.go.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


               รูปภาพโรคอุจจาระร่วงในเด็ก

ดูร้อนกับปัญหา "ท้องร่วง" ในเด็ก

Pic_75621

หน้าร้อนพ่อแม่ระวังเด็กเล็กอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ขับถ่ายผิดสังเกต เพลีย ซึม รีบพบแพทย์...
ภาวะ ท้องเสียเป็นปัญหาที่พบบ่อยโดยเฉพาะช่วงหน้าร้อน หากได้รับการดูแลรักษาที่ไม่เหมาะสมอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนเป็นอันตรายต่อ เด็กได้ และมีโอกาสเกิดปัญหาอุจจาระร่วงยืดเยื้อหรือเรื้อรังตามมา ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของลูกอย่างมาก
พญ.วิมล เสกธีระ กุมารแพทย์สาขาทารกแรกเกิด โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวถึงภาวะท้องเสียในเด็กว่า ในทางการแพทย์เด็กที่มีภาวะท้องเสียจะหมายถึง เด็กที่มีการถ่ายอุจจาระเหลว จำนวน 3 ครั้งต่อวันหรือมากกว่า หรือถ่ายมีมูกหรือเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง หรือถ่ายเป็นน้ำจำนวนมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไปใน 1 วัน ยกเว้นทารกแรกเกิดที่กินนมแม่
ส่วนภาวะเด็กยืดตัวในภาษาโบราณ สันนิษฐานว่า เด็กที่อยู่ในวัยยืดตัวจะเป็นวัยที่ชอบเอาสิ่งของต่างๆ เข้าปาก จึงทำให้มีภาวะถ่ายเหลวได้ แต่อาการจะไม่รุนแรง และมักจะหายได้เอง ซึ่งทางการแพทย์จะไม่มีภาวะเด็กยืดตัว

สาเหตุของภาวะท้องเสียในเด็ก
อาจ เกิดจากภาวะติดเชื้อในลำไส้ซึ่งมีทั้งแบคทีเรียหรือไวรัส เกิดจากการติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่งผ่านทาง fecal – oral – route (จากอุจจาระผ่านทางปาก) หรือโดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อบางชนิดทำให้เกิดโรค ท้องเสีย และภาวะอาหารเป็นพิษได้ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ เช่น การแพ้นมวัว หรือแพ้อาหารอื่นๆ หรือจากการใช้ยาบางชนิด โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ เป็นต้น

สัญญาณอันตรายที่ควรรีบพบแพทย์

เมื่อ เด็กมีภาวะขาดน้ำ เช่น ตาโหล เพลีย ซึม กระหม่อมหน้าบุ๋มลงลึก ปัสสาวะออกน้อยลง โดยเฉพาะถ้าไม่ปัสสาวะเลยภายใน 8 ชั่วโมง หรือมีภาวะไข้สูง ซึมหรือชักเกร็ง เนื่องจากเด็กที่ถ่ายเหลวมักเสียทั้งน้ำและเกลือแร่ต่างๆ ออกมาทางอุจจาระ ถ้าไม่ได้รับสารน้ำหรือเกลือแร่ชดเชย ทำให้มีภาวะขาดสมดุลของน้ำและเกลือแร่ อาจทำให้เด็กมีอาการชักเกร็งได้
นอกจากนี้ถ้าลูกๆ อาเจียนมาก กินไม่ได้เลย หรือถ่ายมากและบ่อยครั้งหรือถ่ายเป็นมูกเลือด ควรรีบพบแพทย์ทันที

การดูแลรักษาเบื้องต้นเมื่อมีภาวะท้องเสีย

ควร ให้เด็กรับสารน้ำหรือเกลือแร่ เพื่อชดเชยอย่างพอเพียงโดยให้ สารละลายเกลือแร่(ORS) สำหรับเด็กโดยเฉพาะ ควรงดอาหารเสริมต่างๆ ชั่วคราว โดยเฉพาะงดอาหารประเภทผัก ผลไม้ น้ำผลไม้ ไข่ อาหารมันๆ ควรให้รับประทานแค่ข้าวต้มอ่อนๆ รับประทานทีละน้อย แต่บ่อยๆ แทน
สำหรับ นม ถ้าเป็นนมแม่สามารถรับประทานต่อได้ แต่ถ้าเป็นนมผสมควรเจือจางนมลงเท่าตัว ถ้ายังไม่ดีอาจต้องเปลี่ยนนมเป็นนมสำหรับภาวะท้องเสียโดยเฉพาะ คือนมที่ไม่มีน้ำตาลแลคโตส เช่น โอแลค ซิมิแลค แอลเอฟ หรือแนนแอลเอฟ เป็นต้น หรืออาจรับประทานนมประเภทนมถั่วเหลือได้
ข้อควรระวังที่ สำคัญคือคุณแม่หรือผู้ดูแลไม่ควรซื้อยาแก้ท้องเสียมาให้เด็กรับประทานเอง เนื่องจากจะเกิดอันตรายต่อเด็กมากกว่า ถ้าไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์สำหรับการใช้ยา
วิธีป้องกันภาวะท้องเสีย
1. ควรรับประทานนมแม่ให้นานที่สุด โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรก
2. ทำความสะอาด ล้างขวดนมให้ถูกวิธี ต้มขวดในน้ำเดือด 10-15 นาที หรือใช้เครื่องนึ่งขวดนมสำเร็จรูป หรือถ้าใช้ซึ้งนึ่งควรใช้เวลา 25-30 นาที
3. ให้อาหารเสริมตามวัย ดูแลความสะอาดในการเตรียมอาหารและภาชนะที่ใส่
4. ควรเป็นอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ร้อนๆ ไม่ควรตั้งทิ้งไว้นาน และหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงจากกะทิ อาหารทะเล เนื่องจากหน้าร้อน อากาศร้อน อาหารจะบูดเสียง่าย
5. ควรมีสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี ล้างมือให้สะอาดก่อนเตรียมอาหาร ชงนม ให้นม หรือป้อนอาหารให้ลูก
คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมล้างมือทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำ หรือเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก เพื่อป้องกันภาวะท้องร่วงในเด็ก

        Link    https://www.thairath.co.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=

 

                สถานการณ์โรคอุจจาระร่วง ปี 2555 จังหวัดศรีสะเกษ

ตสโตรก-ตากแดดถึงดับ
ปทุม-ร้อนตาย เหนือ41องศา

สธ.เตือน ภัย 'ฮีตสโตรก' แนะเลี่ยงตากแดดนาน ชี้อาจหน้ามืด-ถึงช็อกตาย ขณะที่หลายจังหวัด ยังระอุ 'สุโขทัย' ร้อนพุ่ง 41 องศา หนุ่มใหญ่ขี่จักรยาน ช็อกดับคาถนน 'สารคาม' ทะลุ 40 องศา เช่นกัน 'พิจิตร' ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติแล้งเพิ่ม อุบลฯท้องร่วงนับหมื่นคน 'นายกฯยิ่งลักษณ์' สั่งมท.1 รมว.ทส. ลุยสู้ภัยแล้ง แนะดึงน้ำแก้มลิงแก้ปัญหา รมว.เกษตรฯ เผยน้ำเขื่อน-อ่างเก็บ เหลือ 54% ยันมีใช้เพียงพอ 'รอยล' แย้มใกล้สิ้นสุดฤดูร้อนในไทย ชี้อีก 4 วันฝนตกดับร้อนทั่วประเทศ
รมว.เกษตรฯ ยันมีน้ำใช้พอ
เมื่อ วันที่ 24 เม.ย. นายธีระ วงศ์สมุทร รมว. เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สถานการณ์ภัยแล้งที่กระทรวงมหาดไทยประกาศเป็นเขตภัย พิบัติมากกว่า 1 แสนไร่ ส่วนใหญ่จะขาดแคลนน้ำสำหรับน้ำอุปโภคบริโภค ซึ่งในจำนวนนี้เป็น พื้นที่เสียหายจากภัยแล้งโดยสิ้นเชิง 1.6 หมื่นล้านไร่ แต่ตอนนี้ระดับน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำยังอยู่ที่ระดับร้อยละ 52-54 ของความจุเขื่อน จึงยืนยันว่าน้ำมีเพียงพอต่อทำการเกษตร และไม่น่ามีปัญหาในการเพาะปลูกพืชเกษตรแน่นอน
นายเสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต กล่าวว่า สภาพอากาศในประเทศไทยปีนี้ร้อนมากกว่าช่วงฤดูร้อนปีི เนื่องจากปีที่ผ่านมาภาวะลานิญ่า ทำให้มีฝนตกมากกว่าปกติและยังมีอิทธิพลมาก แต่อิทธิพลกำลังลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะหมดไปในช่วงกลางปีนี้ ซึ่งจากการติดตามข้อมูลของหน่วยงานพยากรณ์อากาศทั่วโลกคาดว่าช่วงกลางปีนี้ ประเทศไทยจะมีฝนน้อยลง จนกระทั่งช่วงปลายปีจะมีฝนน้อยกว่าปกติ
'รอยล'คาด4วัน-สิ้นฤดูร้อน
ขณะ ที่นายรอยล จิตรดอน ผอ.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กล่าวว่า ภาวะอากาศร้อนจัดของประเทศไทยในขณะนี้ เนื่องจากเป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนเข้าใกล้โลกมาก แต่โชคดีที่มีอิทธิพลของลมตะวันออกเฉียงเหนือมาปะทะกับลมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้เกิดหมอกขึ้นในชั้นบรรยากาศ และช่วยกรองแสงอาทิตย์ในระดับหนึ่ง ถึงแม้เป็นช่วงอากาศร้อนจัด แต่ยังไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น โดยคาดว่าสภาพอากาศร้อนจัดเช่นนี้สะท้อนว่าใกล้สิ้นสุดฤดูร้อนของประเทศไทย แล้ว โดยหลังจากนี้ประมาณ 3-4 วัน จะเกิดฝนตกกระจายไปทั่วประเทศ
ทบ.ดับร้อน-แจกน้ำ2ล้านลิตร
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งในหลายพื้นที่ว่า กองทัพบกร่วมมือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การประปา การไฟ ฟ้า ปตท. ในการเติมน้ำใส่รถ เพื่อนำไปแจกจ่ายในทุกจังหวัดที่ประสบปัญหาภัยแล้ง โดยที่ผ่านมานำน้ำไปแจกให้ประชาชนแล้ว 2 ล้านลิตร และในระยะยาวเตรียมแก้ปัญหาด้วยการขุดลอกคูคลอง เพื่อใช้เป็นพื้นที่กักเก็บน้ำ ซึ่งถือเป็นแก้มลิงตามธรรมชาติ ส่วนในกรุงเทพฯ เริ่มดำเนินการขุดลอกคูคลองไปแล้วร้อยละ 50 ซึ่งหลังจากนี้เตรียมขอความร่วมมือให้ประชา ชนอย่าบุกรุกริมคลอง โดยรัฐบาลต้องทำเป็นโครงการระยะยาวต่อไป
'ปู'แนะดึงน้ำแก้มลิง-แก้แล้ง
ที่ รัฐสภา นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษก ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุม ครม.ว่า สำหรับสถานการณ์ภัยแล้งรับรายงานในครม.ว่ามีหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ จึงกำชับนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯ และรมว.มหาดไทย (มท.) และ นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รมว.ทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (ทส.) ต้องเร่งดำ เนินการ เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบในการดำรงชีวิต โดยต้องเข้าไปดูการบริหารจัด การน้ำ เช่น การนำน้ำจากแก้มลิงหรือ บึง เพื่อส่งต่อขยายไปยังประชาชนใช้บริโภคหรือผลิตพืชผลทางการเกษตร
สธ.เฝ้าระวังโรคหน้าร้อน
ที่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) น.พ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงภาวะอากาศร้อนว่า ขณะนี้อากาศแปรปรวนทุกวัน สิ่งที่น่าเป็นห่วงจึงไม่ใช่โรคจากอากาศร้อนเพียงอย่างเดียว แต่สามารถเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ขึ้นในช่วงนี้ได้ด้วย กรมควบคุมโรคจึงประกาศเฝ้าระวังโรคหน้าร้อนแล้ว โดยมีโรคที่ต้องระวังคือ ลมแดด ตะคริวแดด หวัดแดด ภาวะ เสียน้ำ ผิวไหม้ ฮีตสโตรกและโรคระบบทางเดินอาหาร แต่สาเหตุหลักที่เสียชีวิตมาจากโรคประจำตัว ซึ่งมีอากาศร้อนทำให้อาการโรคกำเริบ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มโรคหัวใจ หลอดเลือด ความดันโลหิตและโรคลมชัก
น.พ.สุวรรณชัยกล่าวอีกว่า ส่วนปัจจัยที่เสียชีวิตจากฮีตสโตรกคือ ร่างกายมีอุณหภูมิเกิน 40 องศาฯ อย่างรวดเร็ว ซึ่งมักพบกับผู้ทำกิจกรรมกลางแดดเป็นเวลานาน หรืออยู่ในสถานที่อากาศไม่ถ่ายเท จึงควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแดดและใส่อุปกรณ์ป้องกันหากต้องออกแดด
อุตุฯเตือนหลายจว.ยังร้อนจัด
ด้าน กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสภาพอากาศว่า มีความกดอากาศต่ำ เนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ประกอบกับมีลมใต้ พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้าปกคลุมบริเวณดังกล่าว ทำให้มีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง จึงขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศร้อน และระวังอันตรายจากลมกระโชกแรงไว้ด้วย สำหรับทะเลอันดามันและภาคใต้มีลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้ภาคใต้มีฝนหนาแน่นในระยะนี้ ส่วนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันเช่นกัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 37-38 องศาฯ
โคราชจับตา'ฮีตสโตรก'
ส่วนสภาพอากาศร้อนอบอ้าว และภัยแล้งที่ลุกลามในหลายจังหวัด ที่จ.นครราชสีมา จากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวในพื้นที่ โดยอุณหภูมิวัดได้ 38 องศาฯ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์นี้ ทางสำนักงานสาธารณ สุขจังหวัดจึงออกมาเตือนประชาชนให้ระวังฮีตสโตรก ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับการทำงานของระบบสมองในช่วงที่ร่างกายได้รับความร้อน เกินกว่าที่จะทนรับได้ โดยมีอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต
น.พ.วรัญญู สัตยวงศ์ทิพย์ ผู้ช่วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เผยว่า โรคฮีตสโตรกแบ่งเป็น 3 ระดับ โดยระดับแรกเมื่ออุณหภูมิในอากาศสูงกว่าอุณหภูมิของร่างกาย จะทำให้ระบบการระบายความร้อนของร่างกายออกสู่อากาศในรูปของเหงื่อทำงานหนัก ซึ่งอาจทำให้หน้ามืดหมดสติหรือโรคลมแดด ระดับสอง ระบบประสาท รวนไม่สามารถควบคุมตัวเองและมีอาการชัก และระดับสุดท้ายระดับโคม่า โดยระบบการทำ งานของประสาทจะหยุดชะงักไม่มีการสั่งการ ต่อมเหงื่อไม่สามารถทำงานขับเหงื่อออกมาลดอุณหภูมิภายในร่างกาย หากไม่ได้รับการปฐมพยาบาลอย่างทันท่วงทีอาจถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งอาชีพกลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่จะทำงานกลางแดด แต่สามารถป้องกันด้วยการดื่มน้ำ เพื่อให้ร่างกายปรับอุณหภูมิ
'สารคาม'ร้อนทะลุ 40 องศา
ขณะ ที่จ.ร้อยเอ็ด นายณัฐ เอกก้านตรง ผอ. อุตุนิยมวิทยาร้อยเอ็ด กล่าวว่า ลักษณะย่อมความกดอากาศต่ำอันเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนถึงสิ้นเดือนเม.ย. โดยเฉพาะวันที่ 27 เม.ย. ดวงอาทิตย์จะตั้งฉากกับประเทศไทย ทำ ให้จ.ร้อยเอ็ดอาจมีอุณหภูมิสูงถึง 39-40 องศาฯ ส่วนอุณหภูมิสูงสุดในวันนี้วัดได้ 38 องศาฯ จึงขอให้ประชาชนไม่ควรออกนอกบ้านหรืออยู่กลางแจ้งนาน โดยเฉพาะกรรมกร ชาวนาและชาวไร่ควรอยู่ในที่ร่ม ดื่มน้ำมากๆ เนื่องจากเสียเหงื่อและระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองด้วย
ส่วน จ.มหาสารคาม น.พ.สุนทร ยนต์ตระกูล ผอ.ร.พ.มหาสารคาม กล่าวว่า จากการตรวจวัดอุณหภูมิในพื้นที่พบสูงถึง 40 องศาฯ ซึ่งอาจทำให้ประชาชนเจ็บป่วยจากโรคอาหารเป็นพิษ โดยมีสาเหตุมาจากรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด อาหารปรุงสุกๆ ดิบๆ ทั้งจากเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัวและไข่เป็ด ไข่ไก่ รวมทั้งอาหารกระป๋อง อาหาร ทะเล และน้ำนมที่ยังไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ จึงขอเตือนให้ผู้ประกอบอาหาร นักท่องเที่ยวและประชาชนเลือกรับประทานที่ปรุงสุกใหม่ๆ
'สุโขทัย'ช็อกดับกลางแดด
ที่ จ.อุบลราชธานี น.พ.ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ ผอ.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์โรคอุจจาระร่วงในช่วงฤดูร้อนปีนี้ จ.อุบลฯ พบผู้ป่วยมากสุดถึง 10,526 คน รองลงมาคือ จ.ศรีสะเกษ 9,531 คน แต่ยังไม่มีผู้เสียชีวิต ดังนั้นประชาชนควรป้องกันด้วยการเลือกซื้ออาหารที่ปรุงสุกใหม่ เพราะที่ผ่านมาพบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษและโรคทางเดินอาหาร
ขณะ ที่จ.สุโขทัย สภาพอากาศที่ยังได้รับผลกระทบจากความกดอากาศต่ำ เนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้จังหวัดมีสภาพอากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยวัดอุณหภูมิสูง สุดในวันนี้มากถึง 41.1 องศาฯ และจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย โดยก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.สวรรคโลก รับ แจ้งมีผู้เสียชีวิตไม่ทราบสาเหตุ บริเวณถ.สายคลองคล้า-วังพิณพาทย์ ม.3 ต.วังพิณพาทย์ อ.สวรรคโลก จึงรุดตรวจสอบที่เกิดเหตุ พบศพ นายชัย ภวันตุ อายุ 55 ปี อยู่บ้านเลขที่ 38 หมู่ 3 ต.วังพิณพาทย์ อ.สวรรคโลก สุโขทัย
จาก การสอบสวนทราบว่าก่อนเกิดเหตุผู้ตายปั่นรถจักรยานออกจากไร่ เพื่อเดินทางกลับบ้านพัก แต่ขณะขี่มาถึงกลางทางบวกกับสภาพอากาศร้อนระอุ ทำให้ผู้ตายเป็นลมหน้ามืดและรถ จักรยานล้มลงข้างทางและเสียชีวิตคาที่ เบื้องต้นแพทย์ชันสูตรทราบสาเหตุว่ามาจากอากาศร้อนจัด จนทำให้หัวใจล้มเหลวฉับพลัน
พิจิตรประกาศภัยแล้งเพิ่ม
สำ หรับจ.พิจิตร นายสุวิทย์ วัชโรทยางกูร ผวจ.พิจิตรกล่าวว่า สถานการณ์ภัยแล้งในจังหวัด ยังทวีความรุนแรง โดยเฉพาะพื้นที่ 6 อำเภอของลุ่มแม่น้ำยม ประกอบด้วย อ.วังทรายพูน อ.สามง่าม อ.โพธิ์ประทับช้าง อ.บึงนาราง อ.สากเหล็ก และอ.โพทะเล ซึ่งก่อนหน้านี้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติแล้งแล้ว 6 อำเภอ และเตรียมประกาศเพิ่มอีก 2 อำเภอ คือ อ.ดงเจริญ และ อ.วชิรบารมี ส่วนแม่น้ำยมที่แห้งขอดอยู่นั้น ถือเป็นไปโดยธรรมชาติ เนื่องจากแม่น้ำยมไม่มีเขื่อนกักเก็บน้ำ ทำให้มักแห้งแล้งเป็นประจำ ซึ่งตอนนี้เตรียมเข้าช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้ง โดยการนำน้ำไปแจกจ่าย เพื่อให้ใช้ในการอุปโภคบริโภค
ที่จ.พะเยา นางธวัลรัตน์ ไชยอินปัน ปภ. จังหวัด กล่าวว่า สภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง อาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ง่าย โดยช่วงเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ในจังหวัดเกิดเพลิงไหม้รวม 18 ครั้ง พื้นที่อ.เมืองเกิดมากสุดถึง 8 ครั้ง จึงขอความร่วมมือให้ประชาชนสังเกตเครื่องใช้ไฟฟ้าและระวังไฟฟ้าลัดวงจร
ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า จากสภาพอากาศร้อนในพื้นที่พบว่า ประชาชนบางรายลงทุนติดตั้งสปริงเกลอร์พ่นน้ำไว้บนหลังคาบ้าน เพื่อบรรเทาความร้อนในตอนกลางวัน
ส่วนจ.เชียงใหม่ นายคมสัน สุวรรณอัมพา หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณ ภัยจังหวัด (ปภ.) เปิดเผยว่า จังหวัดประกาศพื้นที่ภัยแล้งแล้ว 14 อำเภอ จาก 25 อำเภอ รวม 79 ตำบล หรือกว่า 713 หมู่บ้าน และมีประชาชนเดือดร้อน 78,127 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 34,000 ไร่ โดยอำเภอที่ได้รับความเดือดร้อนมากสุดมี 5 อำเภอ ประกอบด้วย ดอยหล่อ จอมทอง แม่แจ่ม สันกำแพง และสะเมิง ซึ่งตอนนี้เตรียมนำน้ำเข้าไปแจกจ่ายให้การช่วยเหลือแล้ว
ปทุมฯ ร้อนจัด-ตายอีก
ที่ จ.ปทุมธานี พ.ต.ท.ขวัญชาติ แจ่มจำรัส สารวัตรเวร สภ.คูบางหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว รับแจ้งพบผู้เสียชีวิตภายในปั๊มน้ำมัน ปตท. หจก.ผลเพิ่มค้าน้ำมัน เลขที่ 38/32 ถ.ปทุมธานี ลาดหลุม แก้ว ม.11 ต.คูบางหลวง อ.ลาดหลุม แก้ว จึงรุดตรวจสอบที่เกิดเหตุในห้องพักคนงานด้านหลังปั๊มน้ำมัน พบศพนายวีระศักดิ์ อาดำ อายุ 65 ปี อยู่บ้านเลขที่ 32/6 ม.8 ต.คูบางหลวง อ.ลาด หลุมแก้ว สภาพนอนหงายสวมใส่เสื้อยืด กางเกงขายาว คาดเสียชีวิตมาไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง
สอบสวนนายวินัย อาดำ อายุ 41 ปี น้องชายผู้ตายให้การว่า พี่ชายเป็นพนักงานทำความสะอาดภายในปั๊ม ก่อนเกิดเหตุไม่เห็นพี่ชายออกมาทำงาน จึงไปเคาะประตูเรียกที่ห้องและพบนอนเสียชีวิตอยู่ เบื้องต้นแพทย์ชันสูตรศพคาดสาเหตุมาจากหัวใจวายฉับพลัน

             Link    https://www.khaosod.co.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด