ความเข้มข้นของสารละลาย ตอน โมลาร์ MUSLIMTHAIPOST

 

ความเข้มข้นของสารละลาย ตอน โมลาร์


926 ผู้ชม


โมลาร์ เป็นหน่วยความเข้มข้นที่ใช้มากที่สุดในการบอกปริมาณสาร โดยเฉพาะในวิชาเคมี   

        นักเรียนเคยสังเกตที่ขวดสารเคมีที่อยู่ในห่องปฏิบัติการหรือ ไม่  ที่ขวดของสารเคมี  นอกจากจะมีชื่อสารแล้ว  ยังมีส่วนประกอบอะไรอีกบ้าง

โมลาร์  คืออะไร  
             โมลาร์เป็นหนวยสำหรับบอกความเข้มข้นของสารละลาย  โดยจะบอกว่า  ในสารละลาย  1000 cm3  มีสารละลายอยู่กี่โมล   ใช้สัญลักษณ์แทนด้วย M
ตัวอย่าง
             สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์  เข้มข้น  2 M    หมายความว่า ในสารละลาย  1000  cm3   มี  โซเดียมไฮดรอกไซด์    2   mol

            สารละลายด่างทับทิมเข้มข้น  0.01  M  หมายความว่า   ในสารละลาย  1000  cm3   มีด่างทับทิม   0.01  mol
การเปลี่ยนหน่วยจากโมลเป็น  กรัม  ทำอย่างไร
           
         จากสูตร

ความเข้มข้นของสารละลาย ตอน โมลาร์

เมื่อ n คือ  โมล
       m  คือ มวล
      M  คือ มวลโมเลกุล
 M
  หาได้จากการนำเอาเลขอะตอมของธาตุแต่ละชนิดที่เป็นองค์ประกอบในสารประกอบคูณกับจำนวนอะตอม แล้วนำมาบวกกัน  เช่น
H2O    มีมวลโมเลกุล เท่ากับ  (1 x 2 ) + 16 = 18
HNO3  มีมวลโมเลกุลเท่ากับ  1 + 14 + (16 x 3 ) = 63  
      หมายเหตุ   มวลโมเลกุลไม่มีหน่วย

ตัวอย่างการคำนวณ
1. ถ้าต้องการเตรียมสารละลายด่างทับทิม  เข้มข้น    2.5 M  จำนวน  100  cm3   จะต้องใช้ KMnO4   จำนวนกี่กรัม  (  กำหนดให้มวลอะตอมของธาตุต่าง ๆ เป็นดังนี้    K = 39   Mn =   55  , O  =16 )
วิธีทำ
         สารละลายด่างทับทิม  เข้มข้น  2.5  M  หมายถึง   ในสารละลายด่างทับทิม  1000  cm3   มีด่างทับทิม  2.5   mol
ในสารละลาย  1000  cm3   ใช้ด่างทับทิม  2.5  mol
ในสารละลาย  100  cm3    ใช้ด่างทับทิม      ความเข้มข้นของสารละลาย ตอน โมลาร์  mol
ในสารละลาย  100 cm3      ใช้ด่างทับทิม    0.25       mol
หามวลของ ด่างทับทิม    โดยใช้สูตร   ความเข้มข้นของสารละลาย ตอน โมลาร์
M  ของด่างทับทิม ( KMnO4)  =  39 + 55 + (16 x 4 ) = 158
ดังนั้น  ด่างทิม   0.25 mol  =  0.25 x 158  =  39.5  กรัม
       ถ้าต้องการเตรียมสารละลายด่างทับทิมเข้มข้น  2.5  M  จำนวน   100 cm3   จะต้องใช้  ด่างทับทิม    39.5  กรัม
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1400

อัพเดทล่าสุด