ประจุไฟฟ้าคืออะไร MUSLIMTHAIPOST

 

ประจุไฟฟ้าคืออะไร


677 ผู้ชม


ไฟฟ้ามีปะโยชน์มากและก็มีโทษมาก นักเรียนควรมีความรู้ที่ถูกต้องเพื่อนำไปช่วยธรรมชาติได้   

ขั้นนำ   คำถาม ก่อนการเรียนรู้

1.ประจุไฟฟ้ามีกี่ชนิด  อะไรบ้าง?
2.ประจุไฟฟ้าในวัตถุหนึ่งๆสามารถสร้างขึ้นใหม่ได้หรือไม่?
3. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างตัวนำไฟฟ้าและฉนวน
4.ปรากฏการณ์ฟ้าผ่าเกี่ยวข้องกับประจุไฟฟ้าหรือไม่อย่างไร?

ประจุไฟฟ้าคือะไร

วัตถุบางชนิด เช่น พลาสติก เมื่อนำมาขัดถูกับผ้าสักหลาด แล้วสามารถดึงดูดวัตถุเบาๆ เช่น กระดาษเล็กๆ ได้ แรงดึงดูดนี้ไม่ใช่แรงดึงดูดระหว่างมวล เพราะเกิดขึ้นภายหลังจากที่นำวัตถุมาถูกันแล้ว แรงที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า แรงระหว่างประจุไฟฟ้า แรงระหว่างประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันจะเป็นแรงผลักและแรงระหว่างประจุไฟฟ้าต่างชนิดกันจะเป็นแรงดูด
         เบนจามิน แฟรงคลิน นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน เป็นบุคคลแรกที่จำแนกชนิดของประจุไฟฟ้า เป็น ประจุบวก และ ประจุลบ 

ก่อนที่เราจะศึกษาเกี่ยวกับการเกิดกระแสไฟฟ้านั้นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอะตอมกันก่อน วัตถุชิ้นหนึ่งๆ ประกอบด้วยอะตอมจำนวนมากมาย แต่ละอะตอมประกอบด้วย นิวเคลียส ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุบวก เรียกว่าโปรตอน และอนุภาคที่เป็นกลางทางไฟฟ้า เรียกว่า นิวตรอน และมีอนุภาคที่มีประจุลบ เรียกว่า อิเล็กตรอน เคลื่อนที่รอบนิวเคลียส ซึ่งโดยทั่วไปแล้ววัตถุจะอยู่ในสภาพที่เป็นกลางทางไฟฟ้าคือมีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากัน และถ้าวัตถุมีจำนวนอนุภาคทั้งสองไม่เท่ากันจะทำให้วัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้าสุทธิไม่เป็นศูนย์ ซึ่งอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าเมื่อเสียอิเล็กตรอนจะกลายเป็นอะตอมที่มีประจุบวก ในทางตรงกันข้ามอะตอมใดที่ได้รับอิเล็กตรอนเข้ามาจะกลายเป็นอะตอมที่มีประจุลบ 
       การทำให้วัตถุมีประจุไฟฟ้าไม่ใช่เป็นการสร้างประจุขึ้นมาใหม่ แต่เป็นการย้ายประจุจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เท่านั้น โดยที่ผลรวมของประจุทั้งหมดของระบบที่พิจารณายังเท่าเดิม ข้อสรุปนี้คือ เรียกว่า กฎการอนุรักษ์ประจุไฟฟ้า
วัตถุใดที่ได้รับการถ่ายเทอิเล็กตรอนและอิเล็กตรอนนั้นยังคงอยู่ที่บริเวณนั้นไม่ได้กระจายไปที่อื่น เรียกวัตถุนั้นว่า ฉนวนไฟฟ้า วัตถุใดที่ได้รับการถ่ายเทอิเล็กตรอนแล้ว อิเล็กตรอนที่ถูกถ่ายเทสามารถเคลื่อนที่กระจายไปได้ตลอดเนื้อวัตถุโดยง่าย เรียกวัตถุตัวนั้นว่า ตัวนำไฟฟ้า 

ประจุไฟฟ้าคืออะไร ประจุไฟฟ้าคืออะไร

แหล่งข้อมูลและศึกษาค้นคว้าต่อไปคือ  https://www.il.Mahidol,ac.th/e-media

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2029

อัพเดทล่าสุด