ไอซีทีสรุปเบื้องต้น “ไทยคม 5” ขัดข้อง จากจุดดำในดวงอาทิตย์ระเบิดเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดในรอบ 11 ปี MUSLIMTHAIPOST

 

ไอซีทีสรุปเบื้องต้น “ไทยคม 5” ขัดข้อง จากจุดดำในดวงอาทิตย์ระเบิดเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดในรอบ 11 ปี


651 ผู้ชม


4 ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค ชี้เปรี้ยงปัญหาไทยคม5   

ไอซีทีสรุปเบื้องต้น “ไทยคม 5” ขัดข้อง จากจุดดำในดวงอาทิตย์ระเบิดเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดในรอบ 11 ปี

ที่มาของรูปภาพ : ไอซีทีสรุปเบื้องต้น “ไทยคม 5” ขัดข้อง จากจุดดำในดวงอาทิตย์ระเบิดเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดในรอบ 11 ปี 

                  นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงไอซีที เป็นประธานร่วมประชุมกับ4 ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค ชี้เปรี้ยงปัญหาไทยคม5 
เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของเหตุการณ์เมื่อวันที่ 22 เม.ย.เวลา 15.00 น. ได้ให้ความเห็นว่าสาเหตุการขัดข้องของไทยคม 5 
มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดจากโซลาร์แฟร์ หรือจุดดำในดวงอาทิตย์ ซึ่งครบรอบ 11 ปีในการระเบิด และเป็นช่วงเวลานี้พอดี 
ซึ่งเป็นไปได้ว่า การระเบิดของจุดดำในดวงอาทิตย์ได้หันหน้ามายังไทยคม 5 จึงทำให้เกิดประจุไฟฟ้าในปริมาณที่สูง 
 สาเหตุของปัญหาในครั้งนี้คาดว่าเกิดมาจากปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Electrostatic Discharge (ESD) จากประจุไฟฟ้าในอวกาศ 
เพื่อความปลอดภัยของดาวเทียม เมื่อเกิดเหตุผิดปกติในลักษณะนี้ขึ้น ดาวเทียมจะปรับตัวเข้าไปอยู่ใน ระบบปลอดภัย (safe mode) อัตโนมัติ 
ซึ่งในกรณีนี้ ดาวเทียมได้หันตัวเองไปทางดวงอาทิตย์ ทำให้สัญญาณดาวเทียมขาดหายไป บริษัทฯได้ดำเนินการแก้ไขโดยปรับดาวเทียมไทยคม 5
ให้กลับมาทำงานได้ตามปกติ และเริ่มให้บริการได้เมื่อเวลาประมาณ 18.50 น. โดยสามารถให้บริการได้อย่างสมบูรณ์ในเวลาประมาณ 20.20 น. 
แต่เรื่องนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนรายละเอียดต้องรอผลการวิเคราะห์ของธาเลซ อาลิเนีย สเปซผู้สร้างไทยคม 5 อีกครั้ง
และขอยืนยันว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดจาก ธรรมชาติ ไม่ใช่ฝีมือมนุษย์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญดาวเทียมของเทคโนโลยีมหานคร
เขาระบุว่าเท่าที่ดูข้อมูลสรุป จากทางวิชาการ ยืนยันว่าเป็นเรื่องที่เกิดตามธรรมชาติ 70-80% ค่อนข้างจะแน่นอน เมื่อเป็นภัยธรรมชาติ
คงไม่มีการแก้ไข แต่จะหาวิธีป้องกันหากเกิดขัดข้องในลักษณะนี้อีก ส่วนเรื่องความเสียหายเท่าที่ประเมินเบื้องต้นคือช่วงเวลา 3 ชั่วโมง
ที่จอทีวีดับ ยังไม่สามารถประเมินเป็นมูลค่าความเสียหายได้


ที่มาของข่าว หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออนไลน์ : https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=38&contentId=134418

จุดดำในดวงอาทิตย์ระเบิด
 เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติและเทคโนโลยีอวกาศ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ช่วงชั้นที่2
จุดมืดดวงอาทิตย์ หรือ จุดดับบนดวงอาทิตย์ (อังกฤษ: Sunspot) พื้นที่ส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศคือชั้นโฟดตสเฟียร์ของดวงอาทิตย์
 ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณที่อยู่รอบๆ ซึ่งมีสนามแม่เหล็กที่มีพลังงานแปรปรวนค่อนข้างสูงมาก ทำให้เกิดการขัดขวางของกระบวนการพาความร้อน
บนพื้นผิวดวงอาทิตย์ ซึ่งจุดมืดนี้มีอุณหภูมิสูงถึง 4000-4500 เคลวิน เมื่อเปรียบเทียบกับบริเวณปกติอุณหภูมิสูงประมาณ 5800 เคลวิน 
การแปรผันของจุดมืดหรือจุดดับ
 ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2443 ถึงทศวรรษที่ 2503 จะมีจำนวนจุดมืดหรือจุดดับโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นแต่ตั้งแต่ทศวรรษที่ 2503 กลับมีจุดมืดหรือจุดดับ
มีแนวโน้มที่ลดลง จำนวนจุดมืดหรือจุดดับยังมีความสัมพันธ์กันกับการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์(Solar radiation) พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา
ได้มีการส่งดาวเทียมวัดการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์มีปริมาณลดลง แต่บริเวณจุดมืดหรือจุดดับกลับมีปริมาณมากขึ้น นั่นหมายความว่ายิ่งมีจุดมืด
หรือจุดดับปริมาณเพิ่มขึ้น ยิ่งทำให้ดวงอาทิตย์มีความสว่างมากขึ้น(ตึความสว่างที่เกิดขึ้นมีเพียงปริมาณ 0%ของความสว่างตามปกติเท่านั้น)
การสังเกตจุดดับหรือจุดมืด
 การมองดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ยิ่งใช้กล้องส่องทางไกลหรือกล้องโทรทรรศน์ยิ่งเป็นอันตรายยิ่ง 
เพราะเรตินาจะถูกทำลายอย่างถาวร 
วิธีแก้ไขโดยใช้แผ่นกระจกรมควันหรือฟิล์มกรองแสงยิ่งเป็นสิ่งไม่ควรทำอย่างยิ่งจะมีผลต่อต้อกระจกได้ วิธีแก้ไขที่ปลอดภัยที่สุดคือ
 การฉายภาพของดวงอาทิตย์ผ่านกล้องโทรทรรศ์
ลงบนฉากรับภาพสีขาวซึ่งต้องกระทำจากการแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น


ที่มา :https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C

ที่มาของวิดีโอ: 

ประเด็นคำถาม
ที่โลกได้รับจากการเกิดจุดดำหรือจุดมืดระเบิด
1. จุดดำหรือจุดมืดบนดวงอาทิตย์คืออะไร
2. จุดดำหรือจุดมืดบนดวงอาทิตย์เกิดจากอะไร
3. ผลกระทบ
กิจกรรมเสนอแนะ
1. ควรติดตามผลกระทบที่เกิดจากจุดดำหรือจุดมืดต่อมวลมนุษย์และสิ่งมีชีวิตบนโลก
2. ควรแนะนำให้ผุ้เรียนได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือจากการได้รับความรู้ในบทเรียน
การบูรณาการกับสาระวิชาอื่นๆ
 สามารถนำความรู้ในเนื้อหาสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไปบูรณาการกับวิชาภาษาไทยในเรื่องการอ่าน 
การสรุปใจความจากเรื่องที่อ่าน ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการอ่าน การออกเสียง การเขียนคำศัพท์เฉพาะ

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3780

อัพเดทล่าสุด