ฤดูกาลแห่งแม่คะนิ้ง MUSLIMTHAIPOST

 

ฤดูกาลแห่งแม่คะนิ้ง


569 ผู้ชม


แม่คะนิ้ง คือผลึกน้ำแข็งที่เกิดขึ้นเนื่องจาก ไอน้ำในอากาศใกล้ผิวดินลดอุณหภูมิลงถึงอุณหภูมิจุดน้ำค้าง   

1 บทนำ

         ฤดูหนาวเริ่มมาเยือนประเทศไทยตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม -ต้นเดือนกุมภาพันธ์ บางปีหนาวมากหนาวน้อยต่างกันไป แต่สิ่งที่ทำให้หน้าหนาวมีมนต์เสน่ห์คือความสวยงามของดอกไม้ยามหนาว ลมเย็นและแม่คะนิ้งที่สวยงาม

2.  ประเด็นสำคัญ

      แม่คะนิ้งคืออะไรเกิดขึ้นได้อย่างไร

https://scimath.org/index.php?option=com_flexicontent&view=items&id=1178

3.สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  

สาระที่ ๓   สารและสมบัติของสาร   มาตรฐาน ว ๓.๒       เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร   การเกิดสารละลาย   การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

4. เนื้อหา

       แม่คะนิ้ง   คือผลึกน้ำแข็งที่เกิดขึ้นเนื่องจาก ไอน้ำในอากาศใกล้ผิวดินลดอุณหภูมิลงถึงอุณหภูมิจุดน้ำค้าง แล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ต่อจากนั้นอุณหภูมิยังคงลดต่อไปอีก จนต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ทำให้น้ำค้างแข็งตัว กลายเป็นน้ำค้างแข็ง ซึ่งจะทำความเสียหายแก่พืชไร่และผักต่าง ๆ เช่น ข้าวที่กำลังออกรวงก็จะมีเมล็ดลีบ พืชไร่จะชะงักการเจริญเติบโต พืชผักใบจะหงิกงอ ไหม้เกรียม กล้วย มะพร้าวและทุเรียนใบจะแห้งร่วง ถ้าเกิดติดต่อกันหลายวัน ก็จะทำความเสียหายแก่พืชที่ปลูกได้มากขึ้น น้ำค้างแข็ง ในเมืองไทยสามารถพบเห็นได้ตามบริเวณยอดดอยในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีอากาศหนาวจัด ส่วนมากจะเกิดในช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคมข้อมูลเพิ่มเติมดูที่นี่https://guru.sanook.com/pedia/topic/แม่คะนิ้ง/

        ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนสถานะของน้ำ

5.  ประเด็นคำถาม

        - เราจะพบปรากฏการณ์ ธรรมชาติใดที่มีลักษณะ เหมือนกับการเกิดแม่คะนิ้ง

       -  ประโยชน์ของการเปลี่ยนสถานะของสารมีอะไรบ้าง

6.  กิจกรรมเสนอแนะ

      -   ศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องประเทศไทยมีโอกาสที่จะมีหิมะตกหรือไม่

7.  บูรณาการ

       -สาระภาษาไทย การอ่าน คิด การเขียน

       - สาระเทคโนโลยี  การสืบค้นข้อมูล

8.  อ้างอิง

https://guru.sanook.com/pedia/topic/แม่คะนิ้ง/

https://scimath.org/index.php?option=com_flexicontent&view=items&id=1178
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4470

อัพเดทล่าสุด