ครีมกันแดด..กันได้จริงหรือ MUSLIMTHAIPOST

 

ครีมกันแดด..กันได้จริงหรือ


828 ผู้ชม


SPF (Sun Protection Factor) หรือ ค่าการป้องกันแสงแดดเป็น ค่าที่ใช้บอกว่าเราจะสามารถยืนกลางแดดโดยทาสารกันแดดนั้นๆโดยผิวหนังไม่ถูก เผาไหม้ได้นานเท่าใด เปรียบเทียบกับผิวที่ไม่ได้ใช้สารกันแดด โดยค่าที่วัดจะเป็นการวัดเฉพาะการปกป้อง UVB เท่านั้น   
ความรู้เกี่ยวกับสารกันแดด SPF (Sun Protection Factor) หรือ ค่าการป้องกันแสงแดดเป็น ค่าที่ใช้บอกว่าเราจะสามารถยืนกลางแดดโดยทาสารกันแดดนั้นๆโดยผิวหนังไม่ถูก เผาไหม้ได้นานเท่าใด เปรียบเทียบกับผิวที่ไม่ได้ใช้สารกันแดด โดยค่าที่วัดจะเป็นการวัดเฉพาะการปกป้อง UVB เท่านั้น ตัวอย่าง: ค่า SPF 15 มีความหมายว่า ในกรณีที่ทาครีมกันแดดอย่างทั่วถึงในความหนา 2 มิลลิกรัมต่อพื้นที่ผิวหนังหนึ่งตารางซม. จะต้องใช้เวลาตากแดดเพิ่มขึ้นถึง 15 เท่า จึงจะทำให้ผิวไหม้แดง • SPF และ PA ไม่ใช่สาร เป็นแค่ตัวเลขบอกประสิทธิภาพในการกันรังสียูวี. • SPF บอกค่ากันรังสียูวีบี ไม่ได้บอกว่ากันแดดนั้นสามารถกันรังสียูวีเอได้แต่ประการใด • PA บอกค่ากันรังสียูวีเอ แต่ว่าถ้าไม่ได้เขียนไว้ก็ไม่ได้หมายความว่ากันแดดนั้นจะไม่ดี เพียงแต่หมายความว่าผู้ซื้อต้องมีความรู้เพียงพอในการที่จะเลือกดูกันแดดที่ สามารถกันรังสียูวีเอได้ โดยต้องอ่านจากสารประกอบสำคัญที่เขียนไว้ที่ฉลาก • PA ไม่ใช่ค่ามาตรฐานทั่วไป ดังนั้นคุณจะพบ PA ได้ในกันแดดที่มาจากญี่ปุ่น หรือว่าจากบางประเทศในแถบเอเชียเท่านั้นค่ะ • ค่า SPF หรือ PA สูงๆ ไม่ได้หมายความว่าจะดีเสมอไป เพราะว่าถ้าคุณทาน้อยกว่าปริมาณที่ควรทา มันก็กันได้น้อยกว่าตัวเลขที่กำหนดไว้อยู่ดี ข้อเสียอีกประการหนึ่งของการที่มีค่า SPF สูง ๆ คือว่าทำให้คนใช้กันแดดนั้นๆ หลงผิด คิดว่ามันกันแดดได้ยาวนาน โดยไม่คำนึงถึงว่ากันแดดมีการหลุดออกจากผิว เพราะเหงื่อ และการเสียดสีของผิว ดังนั้นการใช้กันแดดที่มีค่า SPF สูงๆอาจจะส่งผลเสียให้ผิวเสียได้เนื่องจากว่าผู้ใช้มั่นใจเกินไป ไม่ยอมทาซ้ำ มีรายงานจากหลายประเทศระบุค่อนข้างชัดเจนว่า ผู้ใช้ที่ใช้กันแดดค่า SPF สูงมากๆนั้นมักจะเข้าใจผิด และทำให้อยู่กลางแดดนานเกินควร ซึ่งส่งผลให้ผิวเสียและเป็นมะเร็งผิวหนังได้ (เนื่องจากความเข้าใจผิด คิดว่ากันแดดเป็นโล่ป้องกันแสงได้ ซึ่งไม่จริงเลย มันเสื่อมสลายได้) • กันแดดไม่ใช่กาว ทาแล้วก็หลุดลอกได้บ้าง ดังนั้นควรทาซ้ำทุกๆ 1- 2 ชม ถ้าคุณต้องออกกลางแดดนานๆ แหล่งข้อมูล : โดย Olay Thailand เมื่อ 20 ตุลาคม 2011 เวลา 13:23 น. • 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4704

อัพเดทล่าสุด