ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว ความทรงจำชาวอีสาน"ผู้ใหญ่ลี กับ นางมา" MUSLIMTHAIPOST

 

ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว ความทรงจำชาวอีสาน"ผู้ใหญ่ลี กับ นางมา"


1,074 ผู้ชม


การลงแขกเกี่ยวข้าววัฒนธรรม ความทรงจำกลิ่นอิสาน การรับประทานอาหารร่วมกันหลังการลงแขกเกี่ยวข้าว ขณะทำงาน คณะลงแขกจะทำงานไปพูดคุยกันไป และมีการจ่ายผญา สลับกับ การเล่านิทานก้อม เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศให้สนุกสนานครื้นเครงและผ่อนคลายความเหนื่อยล้า เวลาทำงาน   

ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว ความทรงจำชาวอีสาน"ผู้ใหญ่ลี กับ นางมา"

ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวกับผู้ใหญ่ลีกับนางมา

<<<คลิ๊กที่นี่เพื่อเข้าไปฟังเพลงผู้ใหญ่ลีกับนางมา...ถอดแว่นตาดำ..ฟ้าแจ้ง จางปาง ๆ ๆ>>>

จากข่าว

เกษตรกรเวียงชัยฟื้นฟูประเพณีลงแขกดำนา
นายอาคม สุขพันธ์ นายอำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอเวียงชัย ชาวบ้านในพื้นที่จะประกอบอาชีพทำนากันเป็นส่วนมาก และข้าวของอำเภอเวียงชัย ถือเป็นข้าวที่ดีและมีคุณภาพ เนื่องจากสภาพพื้นที่และภูมิอากาศเอื้อต่อการทำการเกษตร จงทำให้แต่ละปีชาวบ้านสามารถปลูกข้าวได้ปริมาณที่มากพอสมควรและคุณภาพก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่ทั้งนี้ ในการทำการเกษตรของประชาชนต้องเสี่ยงกับการใช้สารเคมี เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าหญ้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพี่น้องประชาชนในระยะยาวได้ อย่างไรก็ตาม ตามที่ทางจังหวัดได้มอบนโยบายให้กับทุกอำเภอ โดยนายสุเมธ แสงนิ่มนวล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เพื่อให้เกษตรกรหันมาทำนาแบบพึงพาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลดและการใช้สารเคมี

ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว ความทรงจำชาวอีสาน"ผู้ใหญ่ลี กับ นางมา"                                        

“โครงการดำนาพาสุข เป็นโครงการนำร่องของอำเภอเวียงชัย ตามนโยบายผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เพื่อให้หน่วยงานราชการทั้งในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ได้มีโอกาสพบปะพี่น้องประชาชน และมีความใกล้ชิดระหว่างข้าราชการและชาวบ้าน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในท้องถิ่นและชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ การเข้าถึง เข้าใจ และพัฒนา ตลอดจนการฟื้นฟูประเพณีดั้งเดิม เช่น การลงแขกดำนา การสร้างจิตสำนึกการรณรงค์ลดการใช้สารเคมี โดยหันมาใช้สารอินทรีย์ทดแทน เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชนและชุมชน" นายอาคม กล่าว

ที่ผ่านมาหัวหน้าหน่วยส่วนราชการอำเภอเวียงชัย กำนันตำบลเมืองชุม ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนของหมู่บ้านใหม่เมืองชุม ได้ร่วมกันดำนา ตามโครงการ “ดำนาพาสุข” ในที่นาของชาวบ้าน ตำบลเมืองชุม อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย โดยเรามุ่งหวังจะให้โครงการเป็นโครงการที่ยั่งยืน และจะทำกันอย่างต่อเนื่อง คอยให้คำปรึกษาและช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรมีการจัดการกับระบบการทำเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพและลดการใช้สารเคมีลง เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนและชุมชนที่เข้มแข็งต่อไปในอนาคต

ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว ความทรงจำชาวอีสาน"ผู้ใหญ่ลี กับ นางมา"

ผู้ใหญ่ลีกับนางมา
 
เรื่องย่อ มาลินีได้รับจดหมายของคุณยายวัน ในขณะที่เธออ่านจดหมายคุณยายวันได้ตายไปแล้ว คุณยายเขียนจดหมายฝากกับผู้ใหญ่ลี ให้ไปรับมรดกบ้านกับไร่นาหลายร้อยไร่ คุณยายของเธอมีความประสงค์ให้มาลินีไปทำไร่นาแทนท่าน และห้ามเด็ดขาดไม่ให้หลานให้คนอื่นเช่าทำ หรือถ้าคิดจะขายก็ให้ขายกับผู้ใหญ่ลีคนเดียว ห้ามขายให้แก่คนอื่น นำความแปลกใจให้แก่มาลินียิ่งนัก ว่าผู้ใหญ่ลีคนนี้เป็นใคร 
 มาลินีไม่สนิทกับคุณยายของเธอ แม่เธอเล่าให้ฟัง เมื่อครั้งสาวๆ คุณยายเฟื่องอยู่ในรั้วในวัง และใกล้เจ้านายชั้นสูง แต่ความรักได้หักอกคุณยายครั้งแล้วครั้งเล่า จนกระทั่งถึงคุณตาของเธอก็เช่นเดียวกัน คุณยายทนความเจ้าชูมากเมียไม่ได้ถึงหลบมาอยู่ท้องนาแห่งนี้ คุณแม่ของเธอก็มาเติบโตที่นั่น คุณยายได้สามีใหม่เป็นชาวบ้านธรรมดา คุณแม่ไม่ชอบชีวิตท้องนาจึงมักไปอยู่กับบิดาของท่านที่กรุงเทพฯ เสมอ ทำให้มาลินีเหินห่างกับคุณยายราวกับไม่ใช่หลานของคุณยาย

 จดหมายของคุณยายทำให้มาลินีครุ่นคิดอย่างหนัก เพราะเธอไม่เคยอยู่บ้านนอกไม่เคยทำนาเลย และที่สำคัญเธอยังไม่เบื่อชีวิตกรุงเทพ มาลินีได้ประดิษฐ์เป็นเพื่อนคู่คิด ถึงเขาจะเป็นคนที่เอาแต่ใจตัวเอง มาลินีก็แลเห็นว่านั่นเป็นลักษณะของผู้นำ และในที่สุดก็รู้ว่าเขาไปมีหญิงคนใหม่ มาลินีเสียใจ และมันก็ทำให้เธอตัดสินใจอย่างเด็ดขาดที่จะไปอยู่บ้านคุณยายของเธอ

ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว ความทรงจำชาวอีสาน"ผู้ใหญ่ลี กับ นางมา"

 ผู้ใหญ่ลี (ลีนวัตร) เป็นผู้ที่คุณนายวันให้ความรักและความเอ็นดูเป็นอย่างมาก ผู้ใหญ่ลีเอาความรู้จากวิชาการสมัยใหม่มาช่วยพัฒนาไร่นาและชาวนา ผู้ใหญ่ลีรักและนับถือคุณนายวันมาก คอยดูแลเอาใจใส่ช่วยงานคุณนายวันผู้มีพระคุณกับเขาทุกอย่าง ด้วยเหตุนี้คุณนายวันจึงรักและเอ็นดูให้ความไว้วางใจเขามาก ท่านต้องการให้ที่นาของท่านตกอยู่กับคนที่ท่านรักสองคนคือผู้ใหญ่ลีกับมาลินี   มาลินีมาถึงคลองหมาหอนก็พบกับผู้ใหญ่ลี แต่เข้าใจผิดว่าเขาคือ เหว่า ลูกน้องของผู้ใหญ่ลี มาลินีได้ปี๊ด เด็กกำพร้าที่ผู้ใหญ่ลีเก็บมาเลี้ยงตอนที่เขาเรียนมหาวิทยาลัย ปี๊ดเรียกผู้ใหญ่ลีว่าพ่อ และเรียกป้าปุยแม่ของผู้ใหญ่ลีว่าแม่ ทำให้มาลินียิ่งเข้าใจว่าผู้ใหญ่ลีอายุมากและเป็นสามีของป้าปุย ปี๊ดถูกชะตามาลินี และคอยช่วยเหลือเธอ โดยไม่รู้ว่าผู้ใหญ่ลีสั่งปี๊ดเก็บข้อมูลของมาลินีมาบอกผู้ใหญ่ลีทุกเรื่อง มาลินีเริ่มชอบบ้านคุณยาย หลงใหลบรรยากาศยามพระอาทิตย์ขึ้นและตก มาลินีสลัดคราบนางแบบมาเรียนรู้การทำนาอย่างตั้งใจ โดยความช่วยเหลือแกมกวนโทสะของผู้ใหญ่ลี

 และเมื่อความจริงเปิดเผยว่าผู้ใหญ่ลีไม่ใช่เหว่า มาลินีโกรธหนีกลับกรุงเทพฯ แต่ผู้ใหญ่ลีตามไปง้อและสารภาพว่าเขารักเธอ มาลินีจึงยอมกลับมา ประดิษฐ์รู้ว่ามาลินีมาอยู่ที่คลองหมาหอนจึงชวนวลัยและสมรมาหามาลินีเพื่อหวังคืนดี แต่มาลินีไม่สนใจ ขณะที่ผู้ใหญ่ลีก็มีปทุมลูกสาวของโหมดเจ้าของร้านขายอุปกรณ์การเกษตรมาคอยตามตื๊อ สร้างความเข้าใจผิดอยู่เรื่อย ผู้ใหญ่ลีขอหมั้นมาลินีไว้ก่อน และเข้าอุปสมบท 1 พรรษา แต่ระหว่างนั่นก็มีเรื่องวุ่นวาย เมื่อโหมดมาโวยวายจะให้สึก กล่าวหาว่าผู้ใหญ่ลีทำปทุมท้อง พร้อมเอาคลิปลับมาแฉ แต่ต้องหน้าแตกเมื่อเห็นผู้ชายในคลิปคือประดิษฐ์ ผู้ใหญ่โหมดบังคับให้ประดิษฐ์รับผิดชอบ หลังจากเรื่องราวลงตัวแล้ว ผู้ใหญ่ลีก็แต่งงานกับมาลินี อย่างมีความสุข
จบ

บทประพันธ์ โดย กาญจนา  นาคนันทน์
บทโทรทัศน์  ยิ่งยศ ปัญญา
กำกับการแสดง กฤษณ์ ศุกระมงคลประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว ความทรงจำชาวอีสาน"ผู้ใหญ่ลี กับ นางมา"

  ขยายความโดยสรุปจากเรื่องย่อ : ผู้ใหญ่ลีกับนางมา เป็นนวนิยายของ กาญจนา นาคนันทน์ ที่แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2506 ตีพิมพ์ พ.ศ. 2508    ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ไทยออกฉายในปี พ.ศ. 2528 กำกับโดย สักกะ จารุจินดา นำแสดงโดย ไพโรจน์ สังวริบุตร, จินตหรา สุขพัฒน์   ผู้ใหญ่ลีกับนางมา ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์หลายครั้ง ทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2546 ทุกวันพฤหับดี-ศุกร์ เวลา 18.05-19.00 น.(ออกอากาศซ้ำในปีพ.ศ.2547 ในช่วงละครเด็ด 11 โมง) นำแสดงโดย อัมรินทร์ นิติพน และณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์  และครั้งล่าสุดในปีพ.ศ.2552 ได้ถูกนำมาสร้างเป็นละครอีกครั้ง ทางช่อง3 
ผู้ใหญ่ลีกับนางมา ไม่เกี่ยวข้องกับเพลงผู้ใหญ่ลี   ขับร้องโดย ศักดิ์ศรี ศรีอักษร ซึ่งบันทึกเสียงเมื่อ พ.ศ. 2507 ในเวลาใกล้เคียงกัน  เนื่องจากเรื่องราวในเรื่อง เกิดขึ้นที่ทุ่งรังสิต ใกล้กับจังหวัดพระนคร แต่ในเพลงผู้ใหญ่ลี และเพลงอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น "ผู้ใหญ่ลีเข้ากรุง" "ผู้ใหญ่ลีหาคู่" "เมียผู้ใหญ่ลี" "ลูกสาวผู้ใหญ่ลี" "ผู้ใหญ่ลี ผู้ใหญ่มา" "ผู้ใหญ่ลีวาทูซี่" รวมไปถึงภาพยนตร์ ลูกสาวผู้ใหญ่ลี (2507) เกิดขึ้นในภาคอีสาน

"โบราณว่า ถ้าเหลือกำลังลาก ให้ออกปากบอกแขกช่วยแบกหาม"

การรอนวดข้าว  เพื่อเก็บขึ้นเล้า  คือประเพณีที่กำลังจะเลือนหายนี้ละไปจากสังคมไทย เพราะหลายต่อหลายอย่างถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักรกลทันสมัย แต่ก่อนการไถนาต้องใช้วัว ควาย แต่ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยควายเหล็ก เพราะมันทำงานได้เร็วกว่าวัว ควายหลายเท่า วัวควายมันทำงาานได้เฉพาะตอนเช้าถึงสายเท่านั้น เพราะหลังจากนั้นมันจะหงุดหงิดไม่ยอมทำตามคำสั่ง ต้องปล่อยมันไปแช่โคลนหรือปลัก นี้คือข้อเสียของควาย แต่ก่อนใช้วิธีลงแขกของคนในหมู่บ้าน ช่วยเหลือกัน แต่ตอนนี้ผู้คนส่วนใหญ่หันไปใช้รถเกี่ยว หรือ รถสีข้าวกันหมดแล้ว หรือไม่ก้อจ้าง ด้วยค้าจ้างที่แสนจะแพง เหตุผลเพราะมันรวดเร็ว เสร็จเร็ว ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวกำลังจะเลือนหายไปจากสังคมไทย หากไม่ช่วยกันรักษาไว้สักวันมันคงหายไปแน่ๆ 
  

สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

    อัตราส่วนผกผัน   การคำนวณจำนวนคนเกี่ยวข้าวลงแขก ต่อจำนวนพื้นที่ปลูกข้าวสำหรับเก็บเกี่ยวผลผลิต

ประเด็นคำถามในห้องเรียน

1. ผู้ใหญ่ลีมีที่นา 100 ไร่ ต้องใช้คนเกี่ยวข้าวลงแขก 400 คน แล้วเสร็จในเวลา 2 วัน ถ้ามีคนช่วยผู้ใหญ่ลีลงแขก 200 คน ผู้ใหญ่ลีจะเกี่ยวข้าวลงแขกเสร็จในเวลากี่วัน

  แนวคิด                      จำนวนคน x จำนวนวัน  =  จำนวนคน x จำนวนวัน

                                        400 x 2                   =  200 x  K

                                         K =  (400 x2) /200

                                          K = 800/200

                                          K =  4  

ตอบ  ดังนั้นหากว่ามีคนมา 200 คน ผู้ใหญ่ลีจะเกี่ยวข้าวที่นาทั้งหมดแล้วเสร็จในเวลา 4 วันประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว ความทรงจำชาวอีสาน"ผู้ใหญ่ลี กับ นางมา"

สรุปแนวคิดสำคัญที่ได้จากข่าว

            การลงแขกเกี่ยวข้าววัฒนธรรม  ความทรงจำกลิ่นอิสาน การรับประทานอาหารร่วมกันหลังการลงแขกเกี่ยวข้าว  ขณะทำงาน คณะลงแขกจะทำงานไปพูดคุยกันไป และมีการจ่ายผญา สลับกับ การเล่านิทานก้อม เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศให้สนุกสนานครื้นเครงและผ่อนคลายความเหนื่อยล้า เวลาทำงาน เมื่อทำงานเสร็จแล้วก็ต่างแยกย้ายกันกลับไป การลงแขกถือได้ว่าเป็นประเพณีที่ แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาชาวบ้านที่สำคัญของชาวร้อยเอ็ดที่นำมาใช้ เพื่อให้คนได้แสดงความมีน้ำใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และยังแสดงถึงกุศโลบายในการที่จะสร้างความรัก ความสามัคคีกลมเกลียวกันของคนในสังคมอีกด้วย หนุ่มสาวสนุก สนานหยอกล้อกันไปดูแล้วก็หายเหนื่อย

การบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว ความทรงจำชาวอีสาน"ผู้ใหญ่ลี กับ นางมา"

    กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม

   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

    กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ศึกษา

    กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี

แหล่งอ้างอิง

ข่าวสดรายวัน

parrot.

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1499

อัพเดทล่าสุด