ก.พ.รื้อระบบประเมินผลการปฏิบัติราชการรูปแบบใหม่ ตั้งเกณฑ์ขึ้นเงินเดือนปีละ 2 รอบๆ 3% เริ่มใช้ 1เมษา 53 “วันข้าราชการพลเรือน” พร้อมเดินหน้าปรับระบบการทำงานใช้เกณฑ์ “ร้อยละ” แทนระบบ “ ขั้น ” MUSLIMTHAIPOST

 

ก.พ.รื้อระบบประเมินผลการปฏิบัติราชการรูปแบบใหม่ ตั้งเกณฑ์ขึ้นเงินเดือนปีละ 2 รอบๆ 3% เริ่มใช้ 1เมษา 53 “วันข้าราชการพลเรือน” พร้อมเดินหน้าปรับระบบการทำงานใช้เกณฑ์ “ร้อยละ” แทนระบบ “ ขั้น ”


699 ผู้ชม


เลขาธิการ ก.พ.แจงความพร้อมการปรับขั้นเงินเดือนข้าราชการระบบใหม่แล้ว จากการปรับเป็นขั้น เปลี่ยนเป็นการปรับเงินเดือนเป็นร้อยละของฐานเงินเดือน คาดดีเดย์ 1 เม.ย.53 มั่นใจ ช่วยลดความไม่เป็นกลาง และการประเมินผล   

ก.พ.รื้อระบบประเมินผลการปฏิบัติราชการรูปแบบใหม่ ตั้งเกณฑ์ขึ้นเงินเดือนปีละ 2 รอบๆ 3% เริ่มใช้ 1เมษา 53 “วันข้าราชการพลเรือน” พร้อมเดินหน้าปรับระบบการทำงานใช้เกณฑ์ “ร้อยละ” แทนระบบ “ ขั้น ”

ประเด็นจากข่าวก.พ.รื้อระบบประเมินผลการปฏิบัติราชการรูปแบบใหม่ ตั้งเกณฑ์ขึ้นเงินเดือนปีละ 2 รอบๆ 3% เริ่มใช้ 1เมษา 53 “วันข้าราชการพลเรือน” พร้อมเดินหน้าปรับระบบการทำงานใช้เกณฑ์ “ร้อยละ” แทนระบบ “ ขั้น ”

เลขาธิการ ก.พ.แจงความพร้อมการปรับขั้นเงินเดือนข้าราชการระบบใหม่แล้ว จากการปรับเป็นขั้น เปลี่ยนเป็นการปรับเงินเดือนเป็นร้อยละของฐานเงินเดือน คาดดีเดย์ 1 เม.ย.53 มั่นใจ ช่วยลดความไม่เป็นกลาง และการประเมินผล

เพิ่มเติมข่าว

นางเบญจวรรณ สร่างนิทร เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน ก.พ.มีความพร้อมสู่การแปลงสภาพการใช้หลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติราชการ และการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการแบบใหม่ จากการปรับเป็นขั้น เปลี่ยนเป็นการปรับเงินเดือนเป็นร้อยละของฐานเงินเดือน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2553 นี้

โดยในขณะนี้ ก.พ.ได้เตรียมการจัดคณะทำงานขึ้นมาให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณ ให้มีความพร้อมในทางปฏิบัติในทางปฏิบัติให้มากที่สุด เริ่มตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2552 นี้ เป็นต้นไป ใน 147 ส่วนราชการทั่วประเทศ ซึ่งมีสาระ 3 เรื่องคือ มาตรฐานการกำหนดความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ หลักเกณฑ์การประเมินผล และระเบียบการเลื่อนเงินเดือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ที่กำหนดให้แต่ละบุคคลสามารถทำผลงาน เพื่อเข้ารับการคัดเลือกได้ไม่เกินร้อยละ 6 ของฐานเงินเดือนต่อปีงบประมาณ อย่างไรก็ตามคาดว่า ระเบียบการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการแบบใหม่ จะช่วยลดความไม่เป็นกลางในหน่วยงาน และเกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่

เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กล่าวเพิ่มเติมว่า หลักเกณฑ์ทั่วไปของระเบียบใหม่นี้ คือ การทำตัวชี้วัดเป็นรายบุคคล ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร และพิจารณาจากสมรรถนะในการปฏิบัติ เพื่อใช้พิจารณาคัดเลือกขึ้นเงินเดือนแก่ข้าราชการ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3 ของฐานเงินเดือนต่อปีงบประมาณ

  ประกาศใช้กฎ ก.พ.ใหม่ ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ เลิกระบบขั้น ใช้เป็นร้อยละแทน แต่ห้ามเกิน 6% เผยกฎเหล็ก 9 ข้อ ใครฝ่าฝืนหมดสิทธิ์ ถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัย  ผู้สื่อข่าว "มติชนออนไลน์" รายงานว่า นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ได้ประกาศใช้กฎ ก.พ.ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ. 2552 ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2552 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 ทั้งนี้กฎ ก.พ. ดังกล่าวกำหนดยกเลิกระบบขั้น ให้เป็นอัตราร้อยละแทน แต่ในการเลื่อนเงินเดือนแต่ละครั้ง แต่ละคนห้ามเกินร้อยละ 6 ของฐานในการคำนวณที่ได้ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือน แต่ถ้ามีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปัดเป็นสิบบาท  ขณะเดียวกันได้ห้ามใช้วิธีการหารเฉลี่ยเพื่อให้ข้าราชการพลเรือนสามัญทุกคนได้รับการเลื่อนเงินเดือนในอัตราร้อยละที่เท่ากัน 
  นอกจากนั้น การขึ้นเงินเดือนระบบใหม่นี้ ได้อ้างว่า จะขึ้นเงินเดือนตามการปฏิบัติตนของข้าราชการโดยเหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. นี้ระบุว่า โดยที่มาตราที่ 74 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ประพฤติตนอยู่ในจรรยาและระบเยีบวินัยและปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธ์ต่อภารกิจของรัฐได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณีตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. โดยมีกฎเหล็ก 9 ข้อที่ทำให้ข้าราชการไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือน
      รายละเอียดข่าวเพิ่มเติม 
       "ปี"   หมายความว่าปีงบประมาณ
  "ครึ่งปีแรก" หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม
 "ครึ่งปีหลัง"  หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 30 กันยายน 
"ครึ่งปีที่แล้วมา" หมายความว่า ระยะเวลาครึ่งปีแรกหรือครึ่งปีหลังที่ผ่านมาแล้วแต่กรณี
"ค่ากลาง" หมายความว่า ผลรวมของเงินเดือนต่ำสุดกับเงินเดือนสูงสุดที่ข้าราชการพลเรือนสามัญแต่ละประเภท แต่ละสายงาน และแต่ละระดับได้รับตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนด  หารด้วยสองเพื่อให้ได้ตัวเลขที่จะนำไปคิดฐานในการคำนวณ
"ฐานในการคำนวณ" หมายความว่า ตัวเลขที่จะนำไปใช้ในการคิดคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญแต่ละประเภท  แต่ละสายงาน และแต่ละระดับ

สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง     ก.พ.รื้อระบบประเมินผลการปฏิบัติราชการรูปแบบใหม่ ตั้งเกณฑ์ขึ้นเงินเดือนปีละ 2 รอบๆ 3% เริ่มใช้ 1เมษา 53 “วันข้าราชการพลเรือน” พร้อมเดินหน้าปรับระบบการทำงานใช้เกณฑ์ “ร้อยละ” แทนระบบ “ ขั้น ”

                               อัตราส่วนและร้อยละ 

ความหมาย  ร้อยละ 3   หรือ 3%      เช่น เพิ่มเงินเดือนร้อยละ 3 ทุกคน แสดงว่า  เงิน 100 บาท จะได้เงินเพิ่ม 3 บาท 

บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  ในเรื่องของข่าวสาร เหตุการณ์ในปัจจุบัน

ก.พ.เผยเงินเดือนใหม่ เม.ย.52 ลุ้นขึ้นปีละ 8-12% เปิดบัญชีลำดับ "แท่ง" ข้าราชการใช้แทน "ระบบซี"

          ปิดฉากระบบซีข้าราชการ หลังใช้มา 33 ปี ก.พ.ส่งบัญชีจำแนกตำแหน่งใหม่ให้ 147 กรม แต่งตั้งลง 4 แท่งใน 30 วัน ระบุปลัด-อธิบดี-ผจว.เป็นนักบริหารระดับสูง เลขาธิการ ก.พ.เผยใช้บัญชีเงินเดือนใหม่ เมษายน 52 โปรยยาหอมลุ้นขึ้นเงินเดือนปีละ 8 - 12%

          นายปรีชา วัชราภัย เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กล่าวเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ถึงการยกเลิกระบบจำแนกตำแหน่งแบบ ซี 11 ระดับ ที่ใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2518 หรือ 33 ปีที่แล้ว ว่า ตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 กำหนดให้วันที่ 11 ธันวาคม เป็นวันดีเดย์ที่จะปรับระบบจำแนกตำแหน่งแบบใหม่ โดยสำนักงาน ก.พ.จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปพบปลัดกระทรวงหรือรองปลัดกระทรวง ที่เป็นผู้อำนวยการศูนย์บริหารการปรับเปลี่ยนระบบจำแนกตำแหน่ง เพื่อนำบัญชีมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามลักษณะงานไปมอบให้ จากนั้นผู้บังคับบัญชาต้องออกคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการในกรมให้ดำรงตำแหน่งที่กำหนดขึ้นใหม่ภายใน 30 วัน

          นายปรีชา กล่าวว่า ข้าราชการพลเรือนกว่า 370,000 คน จาก 147 กรม จะถูกจัดเข้าสู่ระบบจำแนกตำแหน่ง ตามลักษณะงาน 4 ประเภท ดังนี้

          1. ประเภทบริหาร ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงและกรม ประมาณ 1,000 ตำแหน่ง

          2. ประเภทอำนวยการ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนัก/กอง หรือตำแหน่งที่เคยรับเงินบริหารระดับกลาง ประมาณ 4,500 ตำแหน่ง

          3. ประเภทวิชาการ ประกอบด้วย ตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการซึ่งต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญา ประมาณ 220,000-230,000 ตำแหน่ง

          และ 4. ประเภททั่วไปอีกกว่า 130,000 ตำแหน่ง

          นายปรีชา กล่าวว่า บัญชีเงินเดือนของข้าราชการจะมีอย่างน้อย 4 บัญชีตามสายงานต่างๆ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2552 จะกำหนดเป็นขั้นสูง-ขั้นต่ำ และการขึ้นเงินเดือนจะคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เพราะเป็นเครื่องมือกระตุ้นผลงานและการบริหารจัดการของข้าราชการ  ในอนาคตสามารถขึ้นเงินเดือนให้กับข้าราชการได้ถึงปีละ 8-12%

          ที่กระทรวงมหาดไทย นางบุษบา กรัยวิเชียร ที่ปรึกษาระบบข้าราชการ สำนักงาน ก.พ. มอบบัญชีจัดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ต่อนายต่อพงษ์ อ่ำพันธ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย

          นางบุษบา กล่าวชี้แจงว่า ก.พ.ได้ข้อสรุปเรื่องการทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง จากเดิม 465 สายงาน เหลือเพียง 245 สายงาน โดยแบ่งเป็นงานบริหาร 4 สายงาน อำนวยการ 3 สายงาน วิชาการ 149 สายงาน และทั่วไป 89 สายงาน อีกทั้งร่วมจัดตำแหน่งข้าราชการเข้าประเภทตำแหน่ง ในรูปแบบของบัญชีจัดตำแหน่งข้าราชการ (บัญชีที่ 1) และบัญชีจัดข้าราชการเข้าสู่ตำแหน่ง (บัญชีที่ 2) พร้อมด้วยสำเนาประกาศ ก.พ. เรื่องการจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและการจัดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าประเภทตำแหน่งสายงาน และระดับตำแหน่งพร้อมทั้งแบบคำสั่งและบัญชีแต่งตั้งข้าราชการ เพื่อให้ส่วนราชการใช้ประกอบการออกคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการ

               ส่วนบุคคลที่มีปัญหาคงจะเป็นคนที่ยึดติดกับระบบซีเท่านั้น เพราะทุกอย่างไม่มีอะไรต่างไปจากเดิม ทั้งเรื่อง เงินเดือนหรือสวัสดิการต่างๆ เพราะในกฎ ก.พ.ระบุอยู่แล้วว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เงินเดือนต้องไม่ต่ำกว่าฐานเงินเดือนเดิม และจะสูงขึ้นกว่าเดิมด้วย ส่วนขั้นที่จะได้รับในแต่ละปี ถือว่า ยกเลิกไป และเปลี่ยนเป็นระบบเปอร์เซ็นต์เหมือนกับเอกชน โดยจะใช้ฐานเงินเดือนกลางเป็นตัววัด แต่จะไม่เกิน 6 เปอร์เซ็นต์

       ลักษณะชื่อตำแหน่งยังคงเหมือนเดิม เพียงแต่ไม่มีระดับตัวเลขตามหลัง เช่น นิติกร 8 เป็นนิติกร ส่วนการแต่งตั้งโยกย้ายจะเป็นไปตามปกติ ลำดับความอาวุโสยังคงมีอยู่ เพราะจะมีการวัดที่ระดับ

          สำหรับตำแหน่งปลัดกระทรวง อธิบดี รองปลัด เป็นนักบริหารระดับสูง  รองอธิบดี เป็นนักบริหารระดับต้น ผู้ว่าฯ เป็นนักบริหารงานปกครองระดับสูง รองผู้ว่าฯ เป็นนักบริหารงานปกครองระดับต้น ปลัดจังหวัด นายอำเภอ เป็นนักปกครองระดับต้น ผู้ตรวจราชการกระทรวงอยู่ในตำแหน่งประเภทบริหารงานระดับสูง สายงานตรวจราชการกระทรวง และในส่วนของผู้อำนวยการ (ผอ.) หรือหัวหน้า ก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

          อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งที่มีการโยกย้ายหลังวันที่ 24 ตุลาคมที่ผ่านมา จะมีการปรับให้เป็นตำแหน่งปัจจุบัน แทนตำแหน่งรักษาการ ร่วมถึงตำแหน่งอธิบดี รองปลัดกระทรวง และผู้ว่าราชการจังหวัดด้วย

          นายสายัณห์ อินทรภักดิ์ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า เห็นด้วยกับการเปลี่ยนจากระบบซี มาใช้ระบบการจำแนกตำแหน่ง หรือระบบแท่ง เนื่องจากมีความชัดเจนในสายการบังคับบัญชา ไม่สับสนเหมือนการใช้ระบบซี เพราะขณะที่ผู้มีซีเท่ากัน แต่ตำแหน่งต่างกัน เช่น รองผู้ว่าฯ ปลัดจังหวัด นายอำเภอ รวมถึงหัวหน้าส่วนราชการ และ ผอ.โรงเรียน ต่างเป็นข้าราชการซี 9 เท่ากัน แต่ตำแหน่งในสายบังคับบัญชาต่างกัน จึงก่อให้เกิดความสับสนในการบังคับบัญชาดังกล่าว

“ ก.พ.เตรียมชุดเคลื่อนที่ชี้แจงปรับเงินเดือนข้าราชการแบบใหม่ไปยังส่วนราชการ 147 หน่วยใน 19 กระทรวง ตั้งแต่ 9 พ.ย. นี้ เปลี่ยนจากขั้นมาเป็น ร้อยละ เริ่มใช้ 1 เมษายน 2553 เชื่อว่าจะสามารถให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม ส่วนการคิดอัตราเงินเดือนรูปแบบใหม่กระทรวงการคลังจะจัดสรรงบประมาณ ให้แต่ละหน่วยงานปีละ 6 % เพื่อให้แต่ละ องค์กรประเมินผล ซึ่งการขึ้นเงินเดือนจะแบ่งเป็น 2 รอบๆ ละ3% ในแต่ละครึ่งปี สำหรับเฉลี่ยในการขึ้นเงินเดือนจะมีตั้งแต่ 0- 6% พิจารณาตามผลงานที่ผู้บังคับบัญชาจะประเมิน ” เลขา ก.พ. กล่าว


            ระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการแบบใหม่ จะใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนที่กำหนดเป็นร้อยละแทนการเลื่อนเงินเดือนเป็นขั้นตามแบบเดิม ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถบริหารจัดการวงเงินที่ใช้เลื่อนเงินเดือนได้คล่องตัว หลากหลาย สะท้อนผลการปฏิบัติงานของข้าราชการเป็นรายบุคคลได้มากกว่า และเป็นเครื่องมือช่วยผู้บริหารในการผลักดันให้ผู้ปฏิบัติงานเร่งสร้างผลงาน มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยผลการประเมินจะเป็นข้อมูลบุคคลที่สั่งสมในระยะยาว ใช้เป็นข้อมูลประกอบในการแต่งตั้ง โยกย้าย และการสร้างความก้าวหน้าในงานที่เป็นรูปธรรม รวมถึงการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคลอื่น ๆ

ตารางฐานที่ใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ในการคำนวณ

ตารางฐานในการคำนวณ

"ค่ากลาง" คือ ผลรวมของเงินเดือนต่ำสุดกับเงินเดือนสูงสุดที่ข้าราชการพลเรือนสามัญแต่ละประเภท แต่ละสายงาน และแต่ละระดับได้รับตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนด  หารด้วยสองเพื่อให้ได้ตัวเลขที่จะนำไปคิดฐานในการคำนวณ


"ฐานในการคำนวณ" คือ ตัวเลขที่จะนำไปใช้ในการคิดคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญแต่ละประเภท  แต่ละสายงาน และแต่ละระดับ

ประเด็นคำถามตัวอย่าง

        1. ถ้าครูสมชาย มีเงินเดือน 20220 บาท ในปีนี้หากคิดการขึ้นเงินเดือนตามฐานใหม่ ครูสมขาย จะได้ปรับเงินเดือนขึ้น 3% คิดเป็นเงินกี่บาท

         2. ถ้าครูวัลลี  มีเงินเดือน 8700 บาท ในปีนี้ได้รับปรับขึ้นเงินเดือน 6% ตามเกณฑ์ฐานคำนวณใหม่ ครูวัลลี จะได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นเป็นเงินกี่บาท

 
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ. ได้กำหนดแผนการดำเนินการเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจแก่ส่วนราชการและจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกของการปรับใช้หลักเกณฑ์ มาตรฐาน และแนวทางที่กำหนดใหม่ดังกล่าว ซึ่งนอกจากจะตั้งทีมที่ปรึกษาเพื่อรับผิดชอบรายกระทรวงแล้ว หลังจากนี้ เลขาธิการ ก.พ. จะนำทีมผู้บริหารเข้าพบหารือกับผู้บริหารของส่วนราชการทั้ง 19 กระทรวง ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ เพื่อรับฟังความเห็นและร่วมมือกับผลักดันให้การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการแบบใหม่เป็นไปอย่างราบรื่น


เลขาธิการ ก.พ.กล่าวต่อว่า เรื่องนี้นอกจากเป็นการปรับเปลี่ยนระบบบริหารงานของราชการให้คำนึงถึงผลสัมฤทธิ์ของงานแล้ว ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของข้าราชการ ให้ผู้ที่มีผลงานดีได้รับค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผล และตอกย้ำคำกล่าวที่ว่า “ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน” ซึ่งเป็นเรื่องที่ส่วนราชการต้องให้ความสำคัญ

ข้อมูลอ้างอิงจากข่าวสดรายวัน

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2096

อัพเดทล่าสุด