หวานเป็นลม ... ขมไม่ยอมกลืน MUSLIMTHAIPOST

 

หวานเป็นลม ... ขมไม่ยอมกลืน


716 ผู้ชม


เพราะสมองและร่างกายพยายามปกป้องเราจากการบริโภคสารพิษที่มักจะมีรสขม   

หวานเป็นลม ขมไม่ยอมกลืน
 หวานเป็นลม ... ขมไม่ยอมกลืนทั้งที่รู้ว่ายาและอาหารรสขมบางประ เภท มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่กลับต้องกลั้นใจกลืนลงไปทุกครั้ง เป็นเพราะสาเหตุใดกันแน่
พอล เบรสลิน จากศูนย์โมเนล เคมีคอล เซนส์ และมหาวิทยาลัยรุตเกอร์ส สหรัฐอเมริกา ทำงานวิจัยสำรวจปฏิกิริยาของผู้ทดสอบ 63 คน ผ่านการอมอาหารรสขม ตั้งแต่ขมแบบเบาะๆ ไปจนถึงขมปี๋ นานกว่า 3 นาที แล้วบ้วนทิ้ง พบว่า ทั้งหมดมีอาการคลื่นไส้ และเวียนศีรษะ
นั่นเป็นเพราะสมองและร่างกายพยายามปกป้องเราจากการบริโภคสารพิษที่มักจะมีรสขมนั่นเอง แต่ในทางกลับกัน หากกลืนเข้าไปแต่แรกระบบในร่างกายจะทำหน้าที่ตามปกติ และรับรู้ว่าเป็นรสขมเท่านั้น 
ที่มาของข้อมูล 
https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNekF4TURVMU5BPT0=&sectionid=TURNeE1RPT0=&day=TWpBeE1TMHdOUzB3TVE9PQ==

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 
หวานเป็นลม ... ขมไม่ยอมกลืนเลขโรมัน เป็นระบบตัวเลขที่ใช้ในโรมโบราณ เลขโรมันถือเป็น ระบบเลขไม่มีหลัก หมายความว่า ไม่ว่าจะเขียนตัวเลขแต่ละตัวไว้ ณ ตำแหน่งใดของค่าตัวเลขนั้นจะมีค่าคงที่เสมอ ระบบเลขโรมันมีสัญลักษณ์ที่ใช้กันดังนี้

I หรือ i มีค่าเท่ากับ 1
V หรือ v มีค่าเท่ากับ 5
X หรือ x มีค่าเท่ากับ 10
L หรือ l มีค่าเท่ากับ 50
C หรือ c มีค่าเท่ากับ 100
D หรือ d มีค่าเท่ากับ 500
M หรือ m มีค่าเท่ากับ 1,000
นอกจากนี้ ยังมีสัญลักษณ์อื่นที่ไม่ได้ใช้ในระบบเลขโรมันปัจจุบัน แต่ปรากฏอยู่ในรหัสยูนิโคด ดังนี้
ↀ (U+2180) มีค่าเท่ากับ 1,000
ↁ (U+2181) มีค่าเท่ากับ 5,000
ↂ (U+2182) มีค่าเท่ากับ 10,000
ↇ (U+2187) มีค่าเท่ากับ 50,000
ↈ (U+2188) มีค่าเท่ากับ 100,000
การเขียนเลขโรมันการเขียนเลขโรมัน สามารถเขียนแทนเฉพาะจำนวนเต็มบวกเท่านั้น เนื่องจากในสมัยก่อนโรมยังไม่มีสัญลักษณ์แทนเลขศูนย์หรือเลขทศนิยม[1] โดยให้เขียนจากสัญลักษณ์ที่มีค่ามากแล้วลดหลั่นกันไปยังสัญลักษณ์ที่มีค่าน้อย เช่น
หวานเป็นลม ... ขมไม่ยอมกลืนMCCCXXV มีค่าเท่ากับ 1,000 + 300 + 20 + 5 = 1,325
MMMDLXVII มีค่าเท่ากับ 3,000 + 500 + 60 + 7 = 3,567
ถ้าเขียนสัญลักษณ์ที่มีค่าน้อยกว่าไว้ด้านหน้าสัญลักษณ์ที่มีค่ามากกว่า ค่าของจำนวนที่ได้จะมีค่าเท่ากับจำนวนที่มีค่ามากลบด้วยจำนวนที่มีค่าน้อย และจะเขียนสัญลักษณ์เพียงคู่เดียวในแต่ละหลักเท่านั้น เช่น
IX มีค่าเท่ากับ 10 − 1 = 9
XL มีค่าเท่ากับ 50 − 10 = 40
MCMLXXVII มีค่าเท่ากับ 1,000 + (1,000 − 100) + 70 + 7 = 1,977
MMCDLXVIII มีค่าเท่ากับ 2,000 + (500 − 100) + 60 + 8 = 2,468
จำนวนที่มีค่าเกินกว่าที่กำหนดไว้ตามสัญลักษณ์ดังกล่าว จะเขียน บาร์ (ขีด) ไว้บนสัญลักษณ์เหล่านี้ ซึ่งหากบาร์ถูกกำหนดไว้บนสัญลักษณ์ใด สัญลักษณ์นั้นจะแทนจำนวนซึ่งมีค่าเท่ากับสัญลักษณ์นั้นคูณด้วย 1,000 เช่น
V มีค่าเท่ากับ 5 × 1,000 = 5,000
X มีค่าเท่ากับ 10 × 1,000 = 10,000
L มีค่าเท่ากับ 50 × 1,000 = 50,000
C มีค่าเท่ากับ 100 × 1,000 = 100,000
D มีค่าเท่ากับ 500 × 1,000 = 500,000
M มีค่าเท่ากับ 1,000 × 1,000 = 1,000,000
โดยปกติแล้ว การเขียนเลขโรมันจะไม่เขียนสัญลักษณ์เดียวกันอยู่ติดกันตั้งแต่ 4 ตัวขึ้นไป ยกเว้นบนหน้าปัดนาฬิกา ที่จะใช้ IIII แทนเวลา 4 นาฬิกาหรือ 16 นาฬิกา เพื่อป้องกันความสับสนในการอ่านเวลา
ที่มาของข้อมูลhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99
ตัวเลขโรมัน ประบบเลขโรมัน 
เป็นระบบตัวเลขที่ใช้ในโรมโบราณ เลขโรมันถือเป็น ระบบเลขไม่มีหลัก หมายความว่า ไม่ว่าจะเขียนตัวเลขแต่ละตัวไว้ หวานเป็นลม ... ขมไม่ยอมกลืนณ ตำแหน่งใดของค่าตัวเลขนั้นจะมีค่าคงที่เสมอ ระบบเลขโรมันมีสัญลักษณ์ที่ใช้กันดังนี้
I หรือ i มีค่าเท่ากับ 1 
V หรือ v มีค่าเท่ากับ 5 
X หรือ x มีค่าเท่ากับ 10 
L หรือ l มีค่าเท่ากับ 50 
C หรือ c มีค่าเท่ากับ 100 
D หรือ d มีค่าเท่ากับ 500
M หรือ m มีค่าเท่ากับ 1,000 
การเขียนเลขโรมัน
การเขียนเลขโรมัน สามารถเขียนแทนเฉพาะจำนวนเต็มบวกเท่านั้น เนื่องจากในสมัยก่อนโรมยังไม่มีสัญลักษณ์แทนเลขศูนย์หรือเลขทศนิยม โดยให้เขียนจากสัญลักษณ์ที่มีค่ามากแล้วลดหลั่นกันไปยังสัญลักษณ์ที่มีค่าน้อย 
และถ้าเราต้องการเขียนสัญลักษณ์แทนจำนวนอื่นๆ นอกเหนือจากสัญลักษณ์พื้นฐาน เราสามารถเขียนสัญลักษณ์พื้นฐานเรียนกันโดยให้ใช้หลักการเพิ่มและการลด 
หลักการเพิ่ม คือ เขียนตัวเลขเรียงกันตามลำดับจากค่ามากไปหาค่าน้อย เช่น
VI แทน 5 + 1 หรือ 6
XVII แทน 10 + 5 + 1 + 1 หรือ 17
CLXX แทน 100 + 50 + 10 + 10 หรือ 170

หลักการลด จำนวนที่ใช้หลักการลดมี
 
หวานเป็นลม ... ขมไม่ยอมกลืนจำนวน คือ 4 , 9 , 40 , 90 , 400 , 900 
ในการเขียนตัวเลขโรมันแทนเลข 9 โดยจะใช้หลักการลด คือ เราจะไม่เขียน VIIII แต่จะใช้แทนด้วย IX ซึ่งแทน 10 – 1 กล่าวคือจะเขียนตัวเลขที่มีค่าน้อยไว้ข้างหน้าตัวเลขที่มีค่ามากกว่า แล้วนำตัวเลขทั้งสองมาลบกัน การเขียนตัวเลขโรมันโดยใช้หลักการลด มีเงื่อนไขตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
1. ตัวเลขที่ใช้เป็นตัวลบได้แก่ I , X , C เท่านั้น
2. ตัวเลขที่อยู่ข้างหน้าของ X หรือ V ได้แก่ I เพียงตัวเดียว เช่น IV แทน 4 , IX แทน 9
3. ตัวเลขที่อยู่ข้างหน้าของ L หรือ C ได้แก่ X เพียงตัวเดียว เช่น XL แทน 40 , XC แทน 90
4. ตัวเลขที่อยู่ข้างหน้าของ D หรือ M ได้แก่ C เพียงตัวเดียว เช่น CD แทน 400 , CM แทน 900
ให้สังเกตว่าตัวลบ I , X หรือ C จะต้องใช้คู่กับตัวเลขเฉพาะของแต่ละกลุ่มตามหลักเกณฑ์ข้างบนนี้เท่านั้น เช่น 499 ให้เขียนเป็น 400 + 90 + 9 = CD + XC + IX แทน CDXCIX 
ซึ่ง 499 ไม่เขียนแทนด้วย ID
950 ให้เขียนเป็น 900 + 50 = CM + L แทน CML 
ซึ่ง 950 ไม่เขียนแทนด้วย LM
ในระบบตัวเลขโรมันมีสัญลักษณ์แทนจำนวนที่มีค่ามากๆ ซึ่งเราจะใช้สัญลักษณ์ “ – ” บนสัญลักษณ์พื้นฐานเพียง 6 ตัว โดยแต่ละตัวจะมีค่า 1,000 เท่าของตัวเดิม ดังนี้
V แทน 5,000 
X แทน 10,000 
L แทน 50,000
C แทน 100,000 
D แทน 500,000 
M แทน 1,000,000 
ที่มาของข้อมูล https://www.mu.ac.th/e-QuizMarie/html/1121/maths.htm
แบบทดสอบ เรื่อง ตัวเลขโรมัน
https://www.bantan.ac.th/maths/krupong/testarabic.html
คำถามในห้องเรียน
1. ให้นักเรียนสรุปหลัการลด และหลักการเพิ่มในการเขียนจำนวนตัวเลขโรมันแทนตัวเลขฮินดูอารบิก
2. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนตัวเลขทั้งหมดของตัวเลขฮินดูอารบิกมีกี่ตัวอะไรบ้าง 
ข้อเสนอแนะ
หวานเป็นลม ... ขมไม่ยอมกลืน"หวานเป็นลม ขมเป็นยา"  ทุกสิ่งมีทั้ง 2 ด้าน ด้านที่มีคุณและด้านที่มีโทษ ควรเลือกรับในด้านที่ดีก็แล้วกัน

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่  4  การสร้างเสริมสุขภาพ  สมรรถภาพและการป้องกันโรค
มาตรฐาน พ 4.1  เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ  การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรคและการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 1   การดำรงชีวิตและครอบครัว 
มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์  มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา  ทักษะการทำงานร่วมกัน   และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน  มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน  ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
ที่มาของภาพ https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTfqWA7dZZ0MbeQASrr8sTZUDC-EjQ4rpLwkrDoBWYXfhhbnAAD
ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRshpXA6O3kPEH1WAj9WvQMsW_qaPc4WcnuqxZmshGqlKrm2yWj4A
ที่มาของภาพ https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS3xSkb6JQSnwcvan6sRFEud9gx1gT8k5OOjALU_xJdfRmXDKKl
ที่มาของภาพ https://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2011/05/you03010554p1.jpg&width=360&height=360
ที่มาของภาพ https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTzZE1U5nbbFq-0dkF52o1luc11ATIC_2c68-UEgjP-zwzeoqFAqA
ที่มาของภาพ https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQTsehxCT_2klMUvfZ0g0u37Cp_QxCmlDVwY1fjDw97v5T3qtrG

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3673

อัพเดทล่าสุด