วงสะล้อ ซอ ซึง (2) MUSLIMTHAIPOST

 

วงสะล้อ ซอ ซึง (2)


2,388 ผู้ชม


วงสะล้อ ซอ ซึง หมายถึง วงดนตรี ที่นำเอาเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสายของ ภาคเหนือ คือ ซึงสะล่อ และเครื่องประกอบจังหวะมาบรรเลงรวมกันเป็นวง ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในภาคเหนือ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีอยู่เฉพาะในภาคเหนือตอนบนเท่านั้น   
วงสะล้อ ซอ ซึง
ประเภทของเครื่องดนตรีภาคเหนือมีหลายชนิด แบ่งเป็นประเภทได้ 4 ประเภทคือ 
1.    เครื่องดีด
2.    เครื่องสี
3.    เครื่องตี
4.    เครื่องเป่า
เครื่องดีด เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดของภาคเหนือมีดังนี้
1.    เปี๊ยะหรือพิณเพี๊ยะ  สายทำด้วยด้าย ปอ ป่านถักเป็นเส้นหรือสายลวดเส้นเล็ก 2-4 สาย คันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็งประเภทไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้ชิงชัน  หัวเปี๊ยะทำด้วยโลหะหล่อคล้ายสัมฤทธิ์ ทำเป็นรูปหัวช้าง หัวนก กะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว ใช้บรรเลงการขับลำนำ (ซอ) เกี๊ยวสาว  ผู้บรรเลง (ดีด) เปี๊ยะ หรือ ผู้ขับลำนำเป็นคนๆเดียวกัน
2.    ซึงเป็นเครื่องดีด มี 4 สาย สายทำด้วยลวดเส้นเล็กๆ  กะโหลกและคันทวนเป็นไม้ท่อนเดียวกัน ใช้การขุดเจาะตรงกะโหลก และใช้ไม้แผ่นบางๆปิดกะโหลกที่เจาะไว้เจาะรูตรงไม้ปิด ขนาดประมาณ 1 นิ้ว เพื่อให้เสียงลอดผ่านออกได้ คันทวนติดลูกซึง(นม)9-11ลูก ปลายคันทวนมีลูกบิด 4 ลูก ล่างสุดตรงฝาปิดกะโหลกมีก๊อบซึง(หย่อง) เพื่อรองรับสายที่ขึ
งจากส่วนล่างสุดขึ้นไปหาลูกบิด ซึงใช้บรรเลงการขับร้อง ร่วมกับสะล้อ ขลุ่ยพื้นเมืองและปี่จุ่ม 
เรียกว่าวงสะล้อ ซอ ซึง หรือบรรเลงเดี่ยวใช้เกี๊ยวสาวก็ได้
เครื่องสี 
    สะล้อ เป็นเครื่องสีมี 2 สายรูปร่างคล้ายซออู้ของภาคกลาง แตกต่างกันตรงหน้าสะล้อทำด้วยไม้แผ่นบางๆ สายใช้สายลวดเส้นเล็กๆ คันชักแยกอิสระจากตัวสะล้อ ลูกบิดเสียบเข้าด้านหน้า ส่วนซออู้หน้าทำด้วยหนังสัตว์ สายทำด้วยไหมหรือเอ็น คันชักอยู่ระหว่างสายทั้งสองลูกบิดเสียบเข้าด้านหลังใช้บรรเลงร่วมกับวง สะล้อ ซอ ซึง หรือบรรเลงเดี่ยวใช้เกี๊ยวสาว
เครื่องตี เครื่องตีมี 3 ชนิด
3.1 เครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง
3.2  เครื่องตีที่ทำด้วยไม้
3.3 เครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ 
เครื่องดนตรีที่ทำด้วยไม้มีดังนี้
1.    ป้าดไม้หรือกะหละสับ (ระนาด) มี 19- 22 เสียง นิยมใช้ในงานศพ
2.    กะหลัก มีเสียงเดียวใช้เรียกประชุมหรือแจ้งเหตุร้ายต่างๆ 
เครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ มีดังนี้
 1.ป้าดเหล็ก (ระนาดเหล็ก) รูปร่างเหมือนระนาด มีเสียงเรียงกันประมาณ 18-20 เสียง ใช้ในวงแห่ เต่งทิ้ง
2. ป้าดก๊อง(ฆ้องวง) ลักษณะเหมือนฆ้องวงภาคกลาง แต่ไม่มีตะกั่วถ่วงเสียง มีเสียงเรียงกันประมาณ 15-16 เสียง ใช้ในวงแห่ เต่งทิ้ง
3. สว่า (ฉาบใหญ่ ฉาบกลาง) ใช้ประกอบในวงทั่วไป เช่น วงตึ่งโนง วงเต่งทิ้ง
4. แสว่ (ฉาบเล็ก) ใช้ประกอบในวงทั่วไปเช่น วงสะล้อ ซอซึง วงสิ้งหม้อง วงกลองแสะ
5. สิ่ง (ฉิ่ง) ใช้ตีให้จังหวะในวงทั่วไปเช่น วงสะล้อ ซอซึง วงเต่งทิ้ง 
6. หม้อง(โหม่ง) ใช้ตีประกอบในวงทั่วไป เช่นวงสิ้งหม้อง วงสะล้อ ซอซึง วงตึ่งโนง
7. หมุ้ย (หุ่ย) ฆ้องขนาดใหญ่ ใช้ในพิธีศาสนาตีเป็นฆ้องชัย ใช้ประกอบในวงตึงโนง 
เครื่องเป่า  เครื่องเป่าของภาคเหนือมีดังนี้ 
1. ขลุ่ยพื้นเมืองคล้ายกับขลุ่ยภาคกลางแต่ไม่มีรูนิ้วค้ำ  เสียงสูง ใช้ร่วมกับวงสะล้อ ซอ ซึง 
2. ปี่จุ่ม เป็นปี่โบราณของไทย สมัยน่านเจ้า สมัยอ้ายลาว นิยมเป่าประกอบซอพื้นเมือง วงปี่จุ่มใช้บรรเลงประกอบ วงซอ หรือการแสดงละครซอ หรือใช้บรรเลงร่วมกับวง สะล้อ ซอ ซึง  
3. แน (ปี่แน) มีรูปร่างเหมือนปี่มอญ  เลาแนหรือท่อลม มี 2 ขนาด 
    3.1 แนหลวง (ปี่แนใหญ่) ขนาดใหญ่เท่ากับปี่มอญ ยาวประมาณ 90 ซ.ม.
    3.2 แนน้อย (ปี่แนเล็ก) มีขนาดเล็กยาวประมาณ 45 ซ.ม.
    ปี่แนใช้เป่าประกอบวงตึ่งโนง (วงตกเส้ง) สำหรับแห่ฟ้อนเมือง (ฟ้อนเล็บ), ฟ้อนเทียน แห่ครัวทาน หรือใช้เป่าร่วมกับวงเต่งทิ้ง หรือวงป้าดก๊อง
วงสะล้อซอซึง
        วงสะล้อ ซอ ซึง หมายถึง วงดนตรี ที่นำเอาเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสายของ ภาคเหนือ คือ ซึงสะล่อ และเครื่องประกอบจังหวะมาบรรเลงรวมกันเป็นวง ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในภาคเหนือ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีอยู่เฉพาะในภาคเหนือตอนบนเท่านั้นถือว่าเป็นวงดนตรีพื้นบ้านของท้องถื่นล้านนาชื่อเรียกของวงดนตรี บางครั้งเรียก วงสะล้อ ซอ ซึง บ้างก็เรียกว่า วง ซึง สะล้อ คงจะเป็นเพราะวงสะล้อ ซอ ซึง ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ในการบรรเลง มีการนำเอาขลุ่ยพื้นเมือง(ขลุ่ยตาด)หรือปี่จุ่มมาบรรเลงร่วมด้วย บางครั้งมีการขับร้องเพลง (ซอ) ประกอบโดยใช้ทำนองเพลงพื้นเมืองขอแยกความหมายเพื่อให้ชัดเจนดังนี้ 
สะล้อ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่ใช้การเล่นโดยการสี 
ซอ เป็นภาษาพื้นบ้านล้านนา หมายถึงการขับร้องเพลง
ซึงเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ที่ใช้วิธีการเล่นโดยการดีด
เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงสะล้อ ซอ ซึง  มีดังนี้ 
ซึงใหญ่     กลองพื้นเมือง
ซึงกลาง    ขลุ่ยพื้นเมือง
ซึงเล็ก       ฉิ่ง
สะล้อกลาง    ฉาบ 
สะล้อเล็ก 
สะล้อ ซอ ซึง เป็นเครื่องดนตรีของน่านเป็นงานทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่าโดยตรงต่อชาวน่าน ความเป็นดนตรีของชาวน่านมีความโดดเด่นเฉพาะตัวที่ชาวน่านควรภาคภูมิใจ เพราะกว่าที่จะถึงสมัยนี้บรรพบุรุษของชาวน่านได้สร้างสรรคปรุงแต่ง พัฒนาและสืบทอดต่อกันมา ประเพณีหลายอย่างของชาวน่านได้นำดนตรีเข้าไปสอดแทรก   เสมือนการตกแต่งสันงานที่จัดขึ้นให้สง่างามและมีคุณค่า เชื่อมโน้มจิตใจของผู้คนให้ได้รับความสุข เกิดความรักสามัคคีมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน การนำดนตรีพื้นบ้านน่านมาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมประเพณีได้รับการยอมรับและถือปฏิบัตินับแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงสะล้อ ซอ ซึงมีดังนี้
สะล้อ  เป็นเครื่องดนตรีที่จัดอยู่ในตระกูลครื่องสาย ประเภทเครื่องสีของทางภาคเหนือมีคันชักสำหรับสี เช่นเดียวกับซอด้วง และซออู้ ในวงเครื่องสายไทย ทวนสะล้อจะมีความยาวประมาณ 80 เซนติเมตร มีลูกบิด 2 ลูก  สำหรับขึงสาย ซึ่งสายสะล้อนี้สมัยก่อนนิยมใช้สายลวดแต่มาสมัยปัจจุบันนิยมใช้สายกีตาร์แทนเพราะความสะดวกและมีเสียงกังวาล สายกีตาร์ที่ใช้จะใช้สายเบอร์ 2 เป็นสายทุ้ม และใช้สายเบอร์ 1 เป็นสาย เอก
ลักษณะของสะล้อ 
สะล้อมีลักษณะคล้ายกับซออู้  ทีกระโหลกที่ทำด้วยกะลามะพร้าว  ทวนสะล้อทำด้วยไม้เนื้อแข็ง  แต่เดิมส่วนบนของสะล้อไม่มีการประดิษฐ์ให้สวยงามเหมือนสมัยปัจจุบัน ด้านหน้าของกะโหลกใช้ไม้บางๆ ติดไว้มีหย่องอยู่ตรงกลาง ส่วนคันชักของสะล้ออยู่นอกสาย
ขนาดของสะล้อจะแบ่งออกเป็น 3 ขนาด  สะล้อเล็ก สะล้อกลาง สะล้อใหญ่  สะล้อมีทั้งชนิด 2สาย สะล้อ 3 สาย แต่ที่นิยมเล่นในปัจจุบันคือ สะล้อ 2 สาย
ชนิดของสะล้อ  
สะล้อแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้
1. สะล้อลูกสี่ คือสะล้อที่ทำมาจากกะลามะพร้าวมีขนาดเล็ก มี 2 สาย ลักษณะของเสียงเล็กและแหลมการเล่นจะเล่นแบบโลดโผนบางทีก็เล่นทางเก็บ บางทีก็เล่นทางล้อหรือขัดกับซึง
2. สะล้อลูกห้า (บางแห่งเรียกว่าสะล้อลูกสาม ) คือสะล้อที่ทำมาจากกะลามะพร้าวขนาดใหญ่กว่าสะล้อลูกสี่ ลักษณะเสียงจะมีเสียงทุ้ม  การเล่นจะเล่นตามลักษณะของตัวโน๊ตธรรมดาค่อยๆเดินตามทำนองเพลง
3. สะล้อสามสาย ลักษณะเป็นสะล้อขนาดใหญ่  มีสาย 3 สาย คล้ายซอสามสาย  ปัจจุบันไม่นิยมเล่นเพราะเล่นยาก คือต้องสีพร้อมกันทั้ง 3 สายจึงไม่เป็นที่นิยม
ซึง 
         เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ของทางภาคเหนือ ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานเหมือนกับสะล้อ  ที่ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่าเริ่มมีเริ่มใช้กันสมัยใด ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดที่มีรูปร่างลักษณะเหมือนกับกระปี่จับ แต่ขนาดเล็กและสั้นกว่า โครงสร้างและรูปร่างของซึงเหมือนกับ  กีตาร์ ของฝรั่ง เหมือนวีณา ของอินเดีย เหมือน เหยอะฉิ่น ของจีน และเหมือนกับ ซุง ของทางภาคอีสาน ซึงล้านนาทำจากไม้เนื้อแข็ง ขุดเจาะจำพวกไม้ประดู่ ไม้ชิงชัน ไม้แดง ปัจจุบันนิยมใช้ไม้เนื้ออ่อนจำพวกไม้สักเพราะน้ำหนักเบาดัดแปลงง่าย ถือไปมาสะดวก  คอซึงกับตัวซึงใช้ไม้ชิ้นเดียวกันขุดเจาะให้เป็นโพรงใช้ไม้แผ่นบางๆ เจาะรูเปิดเสียงเอาปิดกะโหลกซึง คันทวนด้านล่างเหลาให้มน ด้านบนแบน ปลายคันทวนทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือดัดแปลงแกะสลักให้สวยงาม เจาะเอาร่องไว้สอดสายซึงกับเจาะใส่ลูกบิด ข้างละ 2 อันด้านบนคันทวนติดลูกซึง 9 – 11 ลูก   ซึงมี 4 สายแต่เทียบเสียงไว้เป็นคู่ละ 1 เสียงใช้ดีดด้วยเขาควายที่เหลาบางๆ ซึงมี 3 ขนาดคือ ซึงเล็กหรือซึงตัด ซึงกลางและซึงหลวงหรือซึงใหญ่
หน้าที่และส่วนประกอบของซึง
1. กะโหล้ง (กะโหลกเสียง) หน้าที่และความสำคัญคือ อุ้มเสียงให้ดังและกังวานอยู่ภายในกระโหลก 
2. คอซึง (คันทวน) หน้าที่และความสำคัญคือ ใช้เป็นที่จับ กดนิ้ว ติดลูกซึง ตามระดับเสียงสูง-ต่ำ ใช้เสียบลูกบิดข้างละ 2 อัน 
3. ตาดซึง (หน้า) หน้าที่และความสำคัญคือ ใช้ปิดตัวกะโหลกเสียงเพื่อให้เสียงวนและกังวานอยู่ในตัวกะโหลก และใช้เจาะรูให้เสียงผ่าน ใช้เป็นที่วางก๊อบซึง
4. หลักเสียง (ลูกบิด) หน้าที่และความสำคัญใช้ผูกสายซึงด้านบนเพื่อเร่งเสียงให้สูงขึ้นหรือต่ำลง
5. ก๊อบซึง (หย่อง) ใช้รองสายซึงเพื่อไม่ให้สายติดกับตัวกระโหนดเสียง
6. ลูกซึง (นม) หน้าที่และความสำคัญคือ ใช้กดเลื่อนระดับเสียงให้สูงขึ้นหรือต่ำลง
7. สายซึง หน้าที่และความสำคัญคือ ใช้ขึงดีดทำให้เกิดเสียง
8. ไม้ดีด ทำด้วยเขาควายหรือพลาสติก ใช้ดีดสายซึงเพื่อให้เกิดเสียง
การวางท่าจับซึง
        การนั่งวางท่าจับซึงที่ถูกต้องนั้น ให้นั่งปฏิบัติเหมือนกับสะล้อ คือนักเรียนหญิงนั่งพับเพียบนักเรียนชายนั่งขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบก็ได้ ตัวกะโหล้ง (กะโหลกซึง) ให้วางตะแคงแนบกับลำตัววางไว้บนขาขวาเอาด้านที่มีสายออกมาด้านนอกพร้อมที่จะดีดสายซึงด้วยมือขวา เอาคอหรือคันทวนชี้ไปทางซ้ายถือด้วยมือซ้ายและพร้อมที่จะกดตามลูกซึง 
ศัพท์เรียกส่วนประกอบของเครื่องดนตรี
1. กะโหล้ง หมายถึง กะโหลกเสียง มีหน้าที่และความสำคัญคือ อุ้มเสียงให้ดังและกังวานอยู่ภายในกะโหลก
2. คอซึง หมายถึงคันทวน มีหน้าที่และความสำคัญคือ ใช้เป็นที่จับ กดนิ้ว ติดลูกซึง (นม)ตามระดับเสียงสูง – ต่ำ ใช้เสียบลูกบิดข้างละ 2 อัน 
3. ตาด หมายถึง หน้าซึงมีหน้าที่และความสำคัญ คือ ใช้ปิดตัวกะโหลกเสียง เพื่อให้เสียงงวนและกังวานอยู่ในตัวกะโหลก และใช้เจาะรูให้เสียงผ่าน ใช้เป็นที่วางก็อบซึง (หย่อง)
 4. หลักเสียง หมายถึง ลูกบิด มีหน้าที่และความสำคัญ ใช้ผูกสายซึงด้านบนเพื่อเร่งเสียงให้สูงหรือต่ำลง
5. ก็อบ หมายถึงหย่อง มีใช้รองสายซึงเพื่อไม่ให้สายติดกับตัวกะโหลกเสียง
6. ลูกซึง หมายถึง นม มีหน้าที่และความสำคัญคือ ใช้กดเลื่อนระดับเสียงให้สูงหรือต่ำลง 
7.  ไม้ดีด หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ดีดกับสายซึงเพื่อให้เกิดเสียง ทำด้วยเขาควายหรือพลาสติก
สะล้อ 
โครงสร้าง รูปร่างลักษณะของสะล้อ 
         สะล้อเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ของทางภาคเหนือของไทยเป็นเครื่องดนตรีประเภทที่ใช้สายสำหรับสี สะล้อดั้งเดิมของทางภาคเหนือนั้นมีอยู่ 2 ขนาด คือ ขนาดเล็ก กับขนาดกลาง เรียกว่า สะล้อ ส่วนสะล้อขนาดเล็กเรียกว่า สะล้อตัด หรือสะล้อน้อย เพราะ มีเสียงเล็กแหลม เวลาบรรเลงใช้เสียงแหลมเข้าไปผสมในวงบรรเลง เพื่อให้เกิดความไพเราะและกลมกลืน ปัจจุบันบางแห่งเพิ่มสะล้อสามสายเข้าไปอีก
ขลุ่ย
โครงสร้างรูปร่าง ลักษณะของขลุ่ย
         ขลุ่ยเป็นชื่อเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ที่เกิดเสียงด้วยการใช้ลมเป่า ที่เรารู้จักกันดีมีใช้กันทั่วโลก ขลุ่ยของแต่ละชาติ ก็มีเอกลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป แต่ใครหรือชาติใดเป็นผู้ให้กำเนิดก่อนนั้นยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด สำหรับลักษณะนามที่เราใช้กับขลุ่ยนั้นใช้คำว่า เลา 
ในบรรดาเครื่องดนตรีไทยประเภทดำเนินทำนองทั้งหมด ต้องนับว่า ขลุ่ย เป็นเครื่องดนตรีที่ทุกคนรู้จักมากที่สุด เพราะเป็นเครื่องดนตรีขนาดเล็กนำพาติดตัวไปไหนได้สะดวก ที่สำคัญราคาถูกกว่าเครื่องดนตรีชนิดอื่นมากมาย เสียงขลุ่ยก็ไพเราะน่าฟัง ทั้งยังแฝงอารมณ์ความรู้สึกของชีวิตและวิญญาณแบบไทย ในบรรยากาศในชนบทอีกด้วย ขลุ่ย สามารถทำได้ทั้งเสียงแข็งกร้าวสนุกสนาน เสียงที่ให้ความอ่อนหวานนุ่มนวล หรือแม้กระทั่งอารมณ์โศกเศร้าโหยหวนและเรียบง่าย 
         ความเป็นมาของขลุ่ยไทย เข้าใจว่าเรียกตามเสียงที่ได้ยิน ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีของไทยที่คิดขึ้นเอง มีรูปร่างคล้ายกับ มุราลี ของอินเดีย และ ชากุฮาชิ ของญี่ปุ่นที่ไม่เหมือนกันเฉพาะวิธีเป่าเท่านั้น คือมุราลี ของอินเดียใช้เป่าด้านข้างเหมือนกับขลุ่ยผิว ของจีน ฟรุ้ต ของฝรั่ง ส่วนขลุ่ยไทย และ ชากุฮาชิ ของญี่ปุ่นนั้นเป่าตรงๆอย่างกับ คลาริเนต
หน้าที่ส่วนประกอบของขลุ่ย
1. เล่มขลุ่ย (เลาขลุ่ย) หน้าที่และความสำคัญคือใช้เป็นตัวขลุ่ย
2. ฮูเสียง (รูนับเสียง) หน้าที่และความสำคัญคือ ใช้นิ้วเปิด – ปิดเสียงเพื่อให้สูง - ต่ำตามความต้องการ
3. แก๋นขลุ่ย (ไม้ดาก) หน้าที่ และความสำคัญคือใช้ฝานเพื่อให้ลมผ่านแล้วเกิดเสียง
4. ฮูอวาย (รูปากนกแก้ว) หน้าที่และความสำคัญคือ บังคับลม ที่ผ่านให้เกิดเสียง
การวางท่าจับขลุ่ย ให้นั่งเหมือนกับการนั่งจับซึงหรือสะล้อนั่งตั้งตัวตรงเพื่อให้ลมที่จะใช้เป่าผ่านออกมาอย่างสะดวก
การวางท่าจับขลุ่ย
         การวางท่าจับขลุ่ยที่ถูกต้องนั้น ให้นั่งเหมือนกับการนั่งจับซึงหรือสะล้อนั่งตัวตรงเพื่อให้ลมที่จะใช้เป่าผ่านออกมาได้สะดวก ในสมัยโบราณจะจับเล่มขลุ่ย (เลาขลุ่ย) ด้วยการเอามือขวาไว้ข้างบน มือซ้ายไว้ข้างล่าง แต่ไม่มีกฎตายตัวที่แน่นอน มาในสมัยนี้นั้นจะจับอย่างไรก็ได้แล้วแต่ความถนัดของผู้ฝึกสำหรับขลุ่ยหรือปี่ของทางภาคเหนือนั้นจะจับโดยเอามือซ้ายอยู่บนมือขวาอยู่ล่าง ในเนื้อหานี้ให้นักเรียนถือเลาขลุ่ยด้วยมือซ้าย โดยวางมือซ้ายอยู่ด้านบน ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางปิดรูนับเสียงด้านบนและใช้นิ้วหัวแม่มือประคองขลุ่ยไว้ด้านล่าง (ขลุ่ยพื้นเมืองไม่มีรูนิ้วค้ำ)ส่วนมือขวาวางจับเลาขลุ่ยด้านล่าง ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย(ปัจจุบันนิยมใช้ขลุ่ยหลิบของทางภาคกลางแทน)
วิธีการฝึกขลุ่ย  
       การใช้ลมเป่าสำหรับขลุ่ย การฝึกให้นั่งเหมือนกับการฝึกสะล้อ ซอ ซึง เอามือซ้ายไว้ด้านบนปิดรูที่  1 2 3  ด้วยนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย การใช้ลมเป่าขลุ่ยนั้นเป็นลมที่ผ่านมาทางลำคอ แล้วบังคับด้วยลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปากบังคับลมให้เข้าไปในตัวขลุ่ย ลมที่ใช้เป่ากันโดยทั่วไปคือ 
1. ลมหนัก หมายถึงเป่าแรงๆ เพื่อต้องการให้ได้เสียงสูง
2. ลมเบา หมายถึง เป่าเบาๆ เพื่อต้องการให้ได้เสียงต่ำ
3. ลมโหยหวน เป็นการใช้ลมและนิ้วบังคับเสียงขลุ่ยให้ต่อเนื่องกัน จากเสียงต่ำไปหาเสียง
     หรือจากเสียงสูงทอดลงมาหาเสียงต่ำ 
2. ลมกระพุ้งแก้ม ใช้ตอนระบายลม โดยการใช้กระพุ้งแก้มบีบลมออกมา ให้เข้าไปในตัวขลุ่ยพร้อมกับหายใจเข้าปอด 
3.    ลมครั่น หมายถึงการเป่าหยุด เป่าหยุด เป็นระยะ ๆ สั้นบ้างยาวบ้าง เพื่อต้องการอารมณ์เพลง
วิธีการซ่อมแซม บำรุงและเก็บรักษาขลุ่ย
1. การเก็บรักษา ควรเก็บใส่ถุงเฉพาะแขวนหรือใส่ตู้ไว้
2. เมือเป่าเสร็จแล้ว ควรล้างตากหรือเช็ดด้วยผ้าให้สะอาดก่อนเก็บ
3. เมื่อเสียงขลุ่ยไม่ชัดเจนหรือดังไม่ดีให้ตรวจดูดากว่าหลวมหรือไม่ ถ้าหลวมให้ปรับเข้าที่ติดด้วยกาวหรือหยอดด้วยขี้ผึ้งกันดากเคลื่อน
4. ขลุ่ยเป็นเครื่องมือที่หาง่ายราคาถูก จะทำใช้คนเดียวก็ได้ อุปกรณ์และวิธีทำไม่ยุ่งยาก ไม่ควรใช้ร่วมกับคนอื่น ควรใช้คนเดียวให้เป็นเครื่องดนตรีส่วนตัว
สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตลำปาง
ขอบคุณที่มา : https://search.conduit.com/Results.aspx?
 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2568

อัพเดทล่าสุด