ไวรัสฆาตกรร้ายตัวจิ๋ว ตอนที่ 5 MUSLIMTHAIPOST

 

ไวรัสฆาตกรร้ายตัวจิ๋ว ตอนที่ 5


506 ผู้ชม


สัตว์คือแหล่งกักเก็บไวรัส เดือนธันวาคม ค.ศ. 2003 ประเทศเกาหลี เวียดนาม และญี่ปุ่น ได้ฆ่าเป็ดและไก่ มากกว่า 4 ล้านตัว นี่ไม่ใช่การฆ่าเพื่อนำมาเป็นอาหารแต่อย่างใด แต่เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสไข้หวัดนกจากสัตว์ปีกสู่คนได้ไม่ต้องถามเลยว่าไวรัสของโรคระบ   

                                                                ตอนที่ 5                     

                                                   สัตว์คือแหล่งกักเก็บไวรัส

                                  ไวรัสฆาตกรร้ายตัวจิ๋ว ตอนที่ 5
                
 การจับสัตว์ด้วยมือเปล่าเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการแพร่กระจายของไวรัสจากสัตว์สู่คน

        เดือนธันวาคม ค.ศ. 2003 ประเทศเกาหลี เวียดนาม และญี่ปุ่น ได้ฆ่าเป็ดและไก่ มากกว่า 4 ล้านตัว นี่ไม่ใช่การฆ่าเพื่อนำมาเป็นอาหารแต่อย่างใด แต่เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสไข้หวัดนกจากสัตว์ปีกสู่คนได้ไม่ต้องถามเลยว่าไวรัสของโรคระบาดนี้ซ่อนตัวอยู่ที่ไหน เพราะส่วนใหญ่จะพบในสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นไก่ หมู นก หรือพวกสัตว์ฟันแทะที่เป็นพาหะของไวรัสฮันทา (hantavirus) ที่ทำให้มนุษย์เสียชีวิตเพราะหายใจไม่ออก
        ค้างคาวก็เต็มไปด้วยไวรัสนิปาห์ (Nipahvirus) ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้สมองอักเสบ และไวรัสเอดส์ก็มาจากลิงชิมแปนซีในทวีปแอฟริกาไวรัสมักจะอาศัยอยู่ในสัตว์โดยไม่ทำให้สัตว์เหล่านั้นล้มป่วยแต่อย่างใด แต่เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายคนเราผ่านทางปัสสาวะ เลือด หรืออุจจาระของสัตว์ กลับกลายเป็นผลร้าย เช่นเดียวกับไวรัสเอดส์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อลิง แต่ทำให้มนุษย์เสียชีวิต  ซึ่งมนุษย์ได้รับเชื้อตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930  จากการไปสัมผัสกับซากลิงที่ถูกล่าเพื่อนำเนื้อไปกิน
        ปัจจุบันแม้ว่าการแพร่ของเชื้อไวรัสเอดส์จะเกิดจากคนสู่คน แต่ก็เป็นไปได้ที่ชาวแอฟริกันจะได้รับเชื้อไวรัสชนิดนี้จากการสัมผัสกับพวกลิงและรู้ไหมว่าที่ตลาดของชาวแคเมอรูน มีเนื้อลิงที่วางขายเพื่อนำไปบริโภคติดเชื้อไวรัสเอดส์อยู่ถึง 16%

ประเด็นคำถาม
        1. ในเดือนธันวาคม 2003 เกาหลี เวียดนาม และญี่ปุ่น ป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสไข้หวัดนกจากสัตว์ปีกสู่คนโดยวิธีการใด
        2. ค้างคาวซึ่งเต็มไปด้วยไวรัสนิปาห์ (Nipahvirus) ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้อะไร
       
 3. ไวรัสเอดส์อาศัยอยู่ในสัตว์ชนิดใดในทวีปแอฟริกา   
กิจกรรมเสนอแนะ   
        1. ให้นักเรียนไปศึกษาเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนหรือในอินเตอร์เน็ต
        2. เชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่เกิดจากไวรัสและการป้องกันรักษา
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
        1. ภาษาไทย      การอ่านจับใจความ  การสรุปบทความในข่าว
        2. วิทยาศาสตร์  ไวรัส และแบคทีเรียเป็นเชื้อโรคที่ไม่สามารถมองด้วยตาเปล่า 
        3. สังคมศึกษา    สิทธิการเข้ารักษาโรคในโรงพยาบาลของรัฐ 
        4. สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา)  การศึกษาโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ และการป้องกันรักษา
แหล่งที่มาของข้อมูลและภาพ
        นิตยสาร GoGenius ปีที่ 5 ฉบับที่ 50 มิถุนายน 2552

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1170

อัพเดทล่าสุด