ทำไมต้องเรียนรู้ทักษะพื้นฐานตะกร้อ ตอนจบ MUSLIMTHAIPOST

 

ทำไมต้องเรียนรู้ทักษะพื้นฐานตะกร้อ ตอนจบ


693 ผู้ชม


การรุกบริเวณหน้าตาข่ายหรือที่นิยมเรียกกันว่า การทำ จุดมุ่งหมายของการรุก เพื่อให้ ลูกตะกร้อตกลงในสนามฝ่ายตรงข้าม หรือไม่ให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามสามารถรับหรือเล่นลูกตะกร้อได้อีก ในการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อมีวิธีการรุกบริเวณหน้าตาข่ายด้วยกันหลายวิธี   

                  ราชบุรี แข่งคัดระดับจังหวัดแล้ว  วันนี้ขอลากยาวเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของการเตรียมทีมร่วมแข่งขันตะกร้อ สพฐ.มาราธอน ปีนี้กันหน่อย เพราะมีพี่น้องหลายท่านแจ้งข่าวผ่านมา และพยายามให้ทีมงานหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต เพื่อดูความเคลื่อนไหว มีอะไรน่าสนใจ ก็มาติดตามกันครับ     ยศวิน รัตนโชติ จากขอนแก่นให้เกียรติ รายงานความเคลื่อนไหวจากท้องถิ่นมาว่าหลังจากที่กีฬา เซปักตะกร้อ ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ของ สพท.ขอนแก่น เขต 4 ที่ผ่านมาครูผู้ฝึกสอนต่างคนต่างเดินต่างคนต่างทำไม่มีการรวมตัวกันเป็นแก่นสาร แต่ ณ ปัจจุบัน มีไฟเขียวจาก สายัณห์ ผาน้อย ผอ.สพท. ขอนแก่น เขต 4 ที่ได้มอบให้ รัชพร วรรณคำ รอง ผอ.สพท.ขอนแก่น เขต 4 หนุ่มโสด ไฟแรงสูง ผู้ที่มีหัวใจเปี่ยมล้นด้วยกีฬา ทำการประสานผู้ฝึกสอนเซปักตะกร้อของโรงเรียนในสังกัด เข้ามารวมตัวกันเพื่อคัดเฟ้น นักตะกร้อแต่ละรุ่น เข้าไปทำการแข่งขันกีฬาเซปักตะกร้อ สพฐ.มาราธอน ปี 2552     โดยมี อาจารย์สำราญ ลาภูมี แห่งโรงเรียนน้ำพองประชานุกูล เป็นหัวหอกในการนำชุดนักเตะลูกพลาสติกเป็นตัวแทนเขต 4 ซึ่งรุ่นอายุ 12 ปี ชาย รร.สองห้องประชาบำรุง รร.น้ำพองประชานุกูล หญิง รร.สองห้องประชาบำรุง รร.คูคำพิทยาสรรพ์ รุ่น 15 ปี ชาย รร.ศรีกระนวนวิทยาคม รร.ลำน้ำพอง หญิง รร.บ้านสำโรง รร.ศรีกระนวนวิทยาคม และ 18 ปี ชาย รร.ศรีกระนวนวิทยาคม รร. น้ำพองศึกษา หญิง รร.ศรีกระนวนวิทยาคม รร.ยางคำพิทยาคม งานนี้มี อาจารย์พรชัย สาพันธ์ โรงเรียนบ้านสำ โรง อาจารย์ทเนท ศรีชุมพล รร.หนองกุงขี้ควง (คนเขียนมายืนยันชื่อและโรงเรียนถูกต้องแล้ว) บัญญัติ ชุมแวงวาปี รร.บ้านหัวบึง เจษฎา ทองสมบัติ รร.บ้านดงเย็น และ ศักดิ์ชัย อินทร์ชัย รร.ศรีกระนวนวิทยาคม ช่วยกันเพื่อ เตรียมความพร้อมของแต่ละทีม ก็หวังว่าคงโลดลิ่วเข้ารอบในระดับประเทศสร้างชื่อเสียงให้กับชาวจังหวัดขอนแก่นเด้อ คนส่งข่าวเขาฝากแซวเป็นกำลังใจมาครับ     และฝากภาพที่ นายรัชพร วรรณคำ รอง ผอ.สพท.ขอนแก่นเขต 4 พร้อมด้วย นายพิมพ์ เมธินธรังสรรค์ หน.กลุ่มสร้างเสริมการจัดการศึกษา ถ่ายภาพกับนักกีฬาและผู้ฝึกสอนเซปักตะกร้อ โดยมี นายสำราญ ลาภูมี คณะครูที่ส่งนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันกีฬาตะกร้อ สพฐ.มาราธอน ปี 2552 หลังทำการคัดเลือกที่ สนามโรงเรียนน้ำพองศึกษา อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ฝากมาด้วย….ก็เรียบร้อยครับ     ไปยังข่าวการแข่งขัน ที่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ราชบุรี เขต 1 ได้เป็นแกนนำประสานทีมต่าง ๆ เลกตะกร้อนักเรียน สพฐ. ประจำปี 52 ณ สนามโรงเรียนดรุณาราชบุรี เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เพื่อหาตัวแทนไปลุยระดับภาค โดยมีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหญิงและชาย รวม 24 ทีม…..
                  ตอนนี้ยังค้นหาผลแข่งขันไม่เจอ พี่น้องว่าง ๆ หากได้ยินข่าวจะช่วยแจ้งเพื่อ ปชส.ผ่านทางนี้ก็ยินดีนะครับ     แต่ไปเปิดอินเทอร์เน็ต มีเสียงเสียดายปรากฏในหน้าจอ น่าจะมาจากโรงเรียนวัดปิ่นทอง ที่เข้าร่วม แข่งขันตะกร้อนักเรียน สพฐ. รอบคัดเลือกระดับจังหวัดราชบุรี โดยมี ครูขจร ทองทับ เป็นผู้ฝึกสอน นั้น เข้าแข่งขันในรอบ 8 ทีมสุดท้าย พบโรงเรียนวัดหนองกบ อ.บ้านโป่ง ผลปรากฏว่า แพ้ไป 2-1 เซต ตกรอบไปอย่างน่าเสียดาย เขาว่าไว้อย่างนั้น ก็เลยขออนุญาตหยิบภาพจากการแข่งขันที่ราชบุรีมาลงตรงนี้ด้วยครับ     เอ้าก็ขอฝากไว้ตรงนี้ครับว่าถ้าพี่น้องชาวตะกร้อ หรือ ใคร ๆ ในพื้นที่ใดสนใจอยากที่จะฝากข่าวเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวตะกร้อ สพฐ. และเปตอง สพฐ.ของตนเอง จะเป็นลักษณะข่าว หรือภาพ ก็ยินดีบริการ จะส่งผ่านอีเมลนี้ก็ได้ครับ สะดวกดี และถึงเร็วครับ.

ที่มา: https://www.2tik.com/

 สาระที่ ๓ :  การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย  เกม  กีฬาไทย และกีฬาสากล
มาตรฐาน พ ๓. ๑:  เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกมและกีฬา
มาตรฐาน พ ๓.๒ : รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา  ปฏิบัติเป็นประจำ  อย่างสม่ำเสมอ  มีวินัย  เคารพสิทธิ กฎ กติกา  มีน้ำใจนักกีฬา  มีจิตวิญญาณในการแข่งขัน  และชื่นชมในสุนทรียภาพของการกีฬา

ผลการเรียนรู้ที่คาดหว้ง 
1.สามารถอธิบายและปฏิบัติตามกติกาการแข่งขันเซปัคตะกร้อได้
2.สามารถอธิบายความสำคัญของกติกาการแข่งขันเซปัคตะกร้อได้

กติกาเซปักตะกร้อ ( SEP AKTAKRAN RULES & REGULATIONS )

ข้อที่ 1. สนามแข่งขัน ( THE COURT )
 1.1 พื้นที่ของสนามมีความยาว 13.40 เมตร และกว้าง 6.10 เมตร จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ เมื่อวัดจากพื้นสนามสูงขึ้นไป 8 เมตร (พื้นสนามไม่ควรเป็นสนามหญ้าหรือสนามทราย )
 1.2 เส้นสนาม ขนาดของเส้นสนามทุกเส้นที่เป็นขอบเขตของสนามต้องไม่กว้างกว่า 4 เซนติเมตร ให้ตีเส้นจากกรอบนอกเข้ามาในสนามและถือเป็นส่วนของพื้นที่สนามแข่งด้วย เส้นเขตสนามทุกเส้นต้องห่างจากสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 3 เมตร
 1.3 เส้นกลาง มีขนาดกว้างของเส้น 2 เซนติเมตร โดยจะแบ่งพื้นที่ของสนามออกเป็นด้านซ้ายและด้านขวาเท่าๆกัน
 1.4 เส้นเสี้ยววงกลม ที่มุมสนามของแต่ละด้านตรงเส้นกลางให้จุดศูนย์กลางอยู่ที่กึ่งกลางของเส้นกลางตัดกับขอบด้านในของเส้นข้างเขียนเส้นเสี้ยววงกลมทั้งสอง ด้านรัศมี 90 เมตร ให้ตีเส้นขนาดความกว้าง  4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 90 เซนติเมตร
 1.4 เส้นเสี้ยววงกลม ที่มุมของสนามของแต่ละด้านตรงเส้นกลางให้จุดศูนย์กลางอยู่ที่ก่งกลางของเส้นกลางตัดกับขอบด้านในของเส้นข้าง เขียนเส้นเสี้ยววงกลมทั้งสองด้านรัศมี 90 เซนติเมตร ให้ตีเส้นนขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกรัศมี 90 เซนติเมตร
 1.5 วงกลมเสิร์ฟ ให้รัศมี 30 เซนติเมตร โดยวัดจากจุดกงกลางของเส้นหลังไปในสนาม 2.45 เมตร และวัดจากขอบด้านนอกของเส้นข้างไปในสนาม 3.05 เมตร  แ ละวัดจากขอบด้านนอกของเส้นข้างเข้าไปในสนาม 3.05 เมตร ใช้ตรงจุดตัดจากเส้นหลังและเส้นข้างเป็นจุดศูนย์กลาง ให้เขียนเส้นวงกลมขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 30 เซนติเมตร ( ดูรูปขนาดสนามจากภาคผนวก )
ข้อที่ 2. เสา ( THE POSTS )
 2.1 เสามีความสูง 1.55 เมตร ( ผู้หญิง 1.45 เมตร ) ตั้งอยู่อย่างมั่นคงพอที่จะทำให้ตาข่ายตึง โดยต้องทำจากวัสดุที่มีความแข็งแกร่งและมีรัศมีไม่เกิน 4 เซนติเมตร 
 2.2 ตำแหน่งของเสา ให้ตั้งหรือวางไว้อย่างมั่นคงนอกสนามตรงกับแนวเส้นกลาง  ห่างจากเส้นข้าง 30 เซนติเมตร 
ข้อที่ 3. ตาข่าย ( THE NET )
 3.1  ตาข่ายให้ทำด้วยเชือกอย่างดีหรือไนล่อน  มีรูตาข่ายกว้าง 6 – 8 เซนติเมตร ความกว้างของผืนตาข่าย 70 เซนติเมตร และความยาวไม่น้อยกว่า 6.10 เมตร ให้มีวัสดุที่ทำเป็นแถบ ขนาดความกว้าง 5 เซนติเมตร ตรงด้านข้างของตาข่ายทั้งสองด้านจากด้านบนถึงด้านล่างตรงกับแนวเส้นข้างซึ่งเรียกว่า “แถบแสดงเขตสนาม”
 3.2 ตาข่ายให้มีขนาดความกว้าง 5 ซนติเมตร ทั้งด้านบนและด้านล่าง โดยมีเชือกธรรมดาหรือเชือก      ไนล่อนอย่างดี ร้อยผ่านแถบและขึงตาข่ายให้ตึงเสมอระดับหัวเสา ความสูงของตาข่ายโดยวัดจากพื้นถึงส่วนบนของตาข่ายที่กึ่งกลางสนามมีความสูง 1.52 เมตร ( ผู้หญิง 1.42 เมตร ) และวัดตรงเสาทั้งสองด้านมีความสูง  1.55 เมตร ( ผู้หญิง  1.45 เมตร ) 
ข้อที่ 4 ลูกตะกร้อ ( THE SEPAKTRAKRAW BALL' )
        ลูกตะกร้อต้องมีลักษณะเป็นทรงกลม ทำด้วยหวายหรือใยสงเคราะห์ชั้นเดียวมี 12 รู กับ 20 จุดตัดไขว้ หากทำด้วยหวายต้องมีจำนวน 9 – 11 เส้น ขนดของเส้นรอบวงต้องไม่น้อยกว่า 42 เซนติเมตร และไม่มากกว่า 44 เซนติเมตร ( ผู้หญิง 43 – 45 เซนติเมตร) น้ำหนักก่อนใช้แข่งขันต้องไม่น้อยกว่า 170 กรัม และไม่เกินกว่า 180 กรัม ( ผู้หญิง 150 – 160 กรัม )
ข้อที่ 5 ผู้เล่น ( THE PLAYERS )
 5.1 การแข่งขันมี 2 ทีม ประกอบด้วยผู้เล่นฝ่ายละ 3 คน
 5.2 ผู้เล่นหนึ่งในสามคนจะเป็นผู้ เสิร์ฟลูกและอยู่ด้านหลังเรียกว่า “ผู้เสิร์ฟ” “Server ( Tekong )”
 5.3 ผู้เล่นอีกสองคนอยู่ด้านหน้า โดยคนหนึ่งจะอยู่ด้านซ้ายเรียกว่า “หน้าซ้าย” ( left inside ) และคนที่อยู่ด้านขวาเรียกว่า “หน้าขวา” ( night inside )
ข้อที่ 6. เครื่องแต่งกายของผู้เล่น ( PLAYER ATTIRE)
 6.1  สำหรับผู้ชายต้องสวมเสื้อยืด กางเกงขาสั้น ( สำหรับผู้หญิงให้สวมเสื้อยืดมีแขนและกางเกงขาสั้นระดับเข่า ) และรองเท้ากีฬาพื้นยาง ( ถุงเท้าด้วย ) ห้ามผู้เล่นสวมสิ่งอื่นใดที่จะเป็นอันตรายแก่ฝ่ายตรงข้ามในระหว่างการแข่งขัน กรณีที่อากาศหนาวอนุญาตให้ผู้เล่นสวมชุดวอร์มแข่งขันได้
 6.2 ส่วนต่างๆของเครื่องแต่งกายของผู้เล่นถือเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายและชายเสื้อจะต้องอยู่ในกางเกงตลอดเวลาการแข่งขัน
 6.3 สิ่งใดก็ตามที่จะช่วยเร่งความเร็วของลูกตะกร้อ หรือช่วยในการเคลื่อนที่ของผู้เล่นไม่อนุญาตให้ใช้
 6.4 หัวหน้าทีม ( captian) จะต้องใส่ปลอกแขน ที่แขนเสื้อด้านซ้าย
 6.5 เสื้อของผู้เล่นทุกคนจะต้องติดหมายเลขด้านหลังให้เห็นได้ชัดเจนให้แต่ละทีมใช้หมายเลข 1 – 15 เท่านั้น มีขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 19 เซนติเมตร ซึ่งกำหนดให้ผู้เล่นจะต้องมีเพียงหมายเลขเดียวตลอดการแข่งขัน ( tournament )
ข้อที่ 7. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น ( SUBSTITUTION )
 7.1ผู้เล่นคนใดที่ได้ลงแข่งขันในแต่ละทีม หรือได้เปลี่ยนตัวไปแล้วจะไม่อนุญาตให้ลงแข่งในทีม ( regu )อื่นๆอีก สำหรับการแข่งขันประเภททีมชุด ( team ) เฉพาะครั้งนั้นๆ 
 7.2 การเปลี่ยนตัวผู้เล่นจะกระทำเวลาใดก็ได้ โดยผู้จัดการทีมยื่นขอต่อกรรมการผู้ชี้ขาด เมื่อลูกตะกร้อไม่ได้อยู่ในการเล่น ( ลูกตาย )
 7.3 แต่ละทีม ( regu ) มีผู้เล่นสำรองไม่เกิน 2 คน แต่อนุญาต ให้เปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ 1 คนเท่านั้น
 7.4 ผู้เล่นคนใดถูกผู้ตัดสินให้ออกจากการแข่งขัน จะได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ ถ้าหากว่ายังมิได้มีการเปลี่ยนตัว
 7.5 ทีมใด ( regu ) มีผู้เล่นน้อยกว่า 3 คน จะไม่อนุญาตให้ทำการแข่งขันและปรับทีมนั้นเป็นแพ้การแข่งขัน 
ข้อที่ 8 เจ้าหน้าที่ ( OFFICIALS )
 กีฬาเซปักตะกร้อ มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการแข่งขันดังต่อไปนี้
 8.1 กรรมการผู้ชี้ขาด 1 คน
 8.2 กรรมการผู้ตัดสิน 2 คน ( ผู้ตัดสิน 1 คนผู้ช่วยผู้ตัดสิน 1 คน )
 8.3 กรรมการผู้กำกับเส้น 6 คน ( กำกับเส้นข้าง 4 คน และกำกับเส้นหลัง 2 คน 
ข้อที่ 9. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย ( THE COIN TOSS AND WARM UP )
 ก่อนเริ่มการแข่งขันกรรมการผู้ตัดสินจะทำการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงมีสิทธิ์เลือกลูกส่ง หรือเลือกแดนก็ได้ ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะเป็นทีมที่อบอุ่นร่างกายในสนามก่อนเป็นเวลา 2 นาที แล้วตามด้วยทีมที่เหลืออยู่ด้วย
ตะกร้อที่ใช้ในการแข่งขัน และให้มีบุคคลอยู่ในสนามได้ 5 คนเท่านั้น ( ผู้เล่นตัวจริง 3 คน และหรือ ผู้จัดการทีม ผู้ฝึกสอนและผู้เล่นสำรอง )
ข้อที่ 10. ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูก ( OSITION OF PLAYERS DURING SERVICE )
 10.1 เมื่อเริ่มผู้เล่นทั้งสองทีม ( both regus ) ต้องยืนอยู่ในที่ที่กำหนไว้ในแดนของตน ลักษณะที่เตรียมพร้อม
 10.2   ผู้เสิร์ฟ ( tekong ) ต้องวางเท้าหลักอยู่ในวงกลมเสิร์ฟ
  10.3   ผู้เล่นด้านหน้าทั้งสองคนของฝ่ายเสิร์ฟจะต้องยืนอยู่ในเสี้ยววงกลมตนเอง
10.4   ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะยืนอยู่ที่ใดก็ได้ในแดนของตน
ข้อที่ 11. การเริ่มเล่นและการส่งลูก ( THE START OF PLAY AND SERVICE )
11.1 การเริ่มเล่นให้ฝ่ายที่ได้เสิร์ฟ เป็นฝ่ายส่งลูกก่อนในเซตแรก ทีมที่ชนะในเซตแรกจะได้รับสิทธิ์เลือกการเสิร์ฟในเซตที่ 2
11.2 เมื่อกรรมการผู้ตัดสินขานคะแนนแล้ว ถือเป็นการเริ่มเล่น ผู้โยนจะต้องโยนลูกตะกร้อออกไปให้ผู้เสิร์ฟลูก หากผู้โยนโยนลูกตะกร้อออกไปก่อนกรรมการผู้ตัดสินขานคะแนนต้องโยนใหม่ และต้องเตือนผู้โยนนั้น
11.3 ระหว่างการเสิร์ฟ ในทันทีที่ผู้เสิร์ฟได้เตะลูกตะกร้อแล้วผู้เล่นทุกคนสามารถเคลื่อนที่ในแดนของตนได้
11.4 การเสิร์ฟที่ถูกต้อง เมื่อลูกตะกร้อได้ข้ามไปยังฝ่ายตรงข้ามระหว่างแถบตาข่าย ไม่ว่าจะสัมผัสตาข่ายหรือไม่ก็ตาม ต้องให้ลูกตกสู่พื้นอยู่ในขอบเขตของสนาม
ข้อที่ 12. การผิดกติกา ( FAULTS )
 12.1 สำหรับผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟ ระหว่างการเสิร์ฟ
  12.1.1 ผู้เล่นหน้า คนที่ทำหน้าที่โยนลูกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ได้โยนให้ผู้เสิร์ฟเตะลูกส่ง เช่น โยนลูกเล่น เคาะลูกเล่น โยนลูกให้ผู้เล่นหน้าอีกคน ฯลฯ หลังจากผู้ตัดสินขานคะแนนแล้ว
  12.1.2 ผู้เล่นหน้ายกเท้าหรือเหยียบเส้น หรือถูกตาข่าย หรือส่วนของร่างกายล้ำเข้าไปในแดนฝ่ายตรงข้ามขณะที่โยนลูก
  12.1.3 ผู้เสิร์ฟ กระโดดเสิร์ฟ
  12.1.4 ผู้เสิร์ฟไม่ได้เตะลูกที่โยน
  12.1.5 ลูกตะกร้อถูกผู้เล่นฝ่ายเดียวกันก่อนข้ามตาข่าย
  12.1.6 ลูกตะกร้อข้ามตาข่ายแต่ออกนอกเขตสนาม
  12.1.7 ลูกตะกร้อไม่ข้ามตาข่าย
 12.2 สำหรับผู้เล่นฝ่ายรับ ระหว่างการเสิร์ฟ เจตนากระทำในลักษณะที่ทำให้ฝ่ายเสิร์ฟลูกเสียสมาธิ หรือส่งเสียงรบกวน หรือร้องตะโกน
 12.3 สำหรับผู้เล่นทั้งสองฝ่าย ระหว่างการแข่งขัน
  12.3.1 ถูกลูกตะกร้อในแดนฝ่ายตรงข้าม
  12.3.2 ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายล้ำเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามไม่ว่าจะเป็นด้านบนหรือด้านล่างของตาข่าย ยกเว้นการติดตามล้ำตาข่ายหรืการลงสู่พื้นภายหลังการเล่นลูก ( follow through )
  12.3.3  เล่นลูกเกิน 3 ครั้ง
  12.3.4 ลูกถูกมือหรือแขน
  12.3.5 หยุดลูก หรือยึดลูกไว้ใต้แขน ระหว่างขาหรือลำตัว
  12.3.6 ส่วนหนึ่งของร่างกายหรืออุปกรณ์ของเครื่องแต่งกายผู้เล่น ถูกตาข่ายหรือถูกเสาหรือถูกเก้าอี้กรรมการผู้ตัดสิน หรือตกลงในพื้นที่ฝ่ายตรงข้าม
  12.3.7 ลูกตะกร้อถูกเพดาน หลังคา ผนัง หรือสิ่งกีดขวางอื่นๆ
ข้อที่ 13. การนับคะแนน ( SCORING SYSTEM )
 13.1 ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเสิร์ฟหรือฝ่ายรับก็ตาม เมื่อมีการทำผิดกติกาเกิดขึ้น ( fault ) ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนทันทีและจะเป็นฝ่ายเสิร์ฟต่อไป
 13.2 ทีมที่ชนะการแข่งขันในแต่ละเซตจะต้องทำคะแนนได้ 21 คะแนน แต่ถ้าคะแนนเท่ากันที่ 20 : 20 ผู้ชนะจะต้องมีคะแนนต่างกัน 2 คะแนนและคะแนนสูงสุดไม่เกิน 25 คะแนน เมื่อคะแนน 20 เท่า ผู้ตัดสินต้องขานว่า “ดิวส์คู่”  ไม่เกิน 25 แต้ม
 13.3 การแข่งขันจะต้องชนะกัน 2 เซต โดยมีการพักระหว่างเซต 2 นาที
 13.4 ถ้าแต่ละทีมชนะกันทีมละ 1 เซต จะต้องทำการแข่งในเซตที่ 3 ซึ่งเรียกว่า “ไทเบรค” โดยแข่งขันกัน 15 คะแนน แต่ถ้าคะแนนเท่ากันที่ 14 : 14 ผู้ชนะจะต้องมีคะแนนต่างกัน 2 คะแนน และคะแนนสูงสุดไม่เกิน 17 คะแนน เมื่อคะแนน 14 เท่า ผู้ตัดสินต้องขานว่า “ดิวส์คู่” ไม่เกิน 17 แต้ม
 13.5 ก่อนเริ่มการแข่งขันในเซตที่ 3 ผู้ตัดสินต้องทำการเสี่ยง ผู้ชนะในการเสี่ยงจะได้สิทธิ์เลือกการเสิร์ฟและให้มีการเปลี่ยนแดนเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำคะแนนได้ 8 คะแนน
ข้อที่ 14. การขอเวลานอก ( TIME OUT )
 แต่ละทีม ( regu ) สามารถขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 1 นาที โดยให้ผู้จัดการทีมหรือผู้ฝึกสอนขอเวลานอกต่อกรรมการผู้ตัดสินเมื่อลูกตระก้อไม่ได้อยู่ในการเล่น และมีบุคคลในระหว่างการขอเวลานอกได้ 5 คน ที่บริเวณท้ายสนามของแต่ละด้าน (ยกเลิกเวลานอก) แต่เป็นเวลานอกทางเทคนิคในแต้มที่ 11 เฉพาะเซทที่ 1 และ 2 เท่านั้น
ข้อที่ 15. อุบัติเหตุและการหยุดการแข่งขัน ( TEMPORARY SUSPENSION OF PLAY )
 15.1 กรรมการผู้ตัดสินสามารถหยุดการแข่งขันได้ไม่เกิน 5 นาที เนื่องจากมีสิ่งกีดขวางหรือรบกวนการแข่งขัน หรือผู้เล่นเกิดบาดเจ็บและต้องได้รับการดูแลทันที
 15.2 การหยุดพักสำหรับผู้เล่นที่ได้รับบาดเจ็บถือเป็นเวลานอก สำหรับการบาดเจ็บอนุญาตให้พักการแข่งขันได้ไม่เกิน 5 นาที ภายหลังจากหยุดครบ 5 นาทีแล้ว ผู้เล่นคนนั้นไม่สามารถทำการแข่งขันต่อได้ จะต้องทำการเปลี่ยนตัวผู้เล่นนั้นออก ถ้าเกิดกรณีที่มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นไปแล้ว ให้ปรับทีมนั้นเป็นแพ้ และให้ฝ่ายตรงข้ามชนะการแข่งขันในครั้งนั้น
 15.3 ในระหว่างหยุดพักการแข่งขัน ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่ในสนามและไม่อนุญาตให้ดื่มน้ำหรือได้รับการช่วยเหลือใดๆทั้งสิ้น
ข้อที่ 16. วินัยและมารยาทในการแข่งขัน ( DISCIPLINE )
 16.1 ผู้เล่นทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกติกาการแข่งขัน
 16.2 ในระหว่างการแข่งขันจะอนุญาตให้หัวหน้าทีมเท่านั้นเป็นผู้ติดต่อหรือซักถามต่อกรรมการผู้ตัดสิน ( ในลักษณะสุขภาพ )
ข้อที่ 17. ความผิดและบทลงโทษ ( PENALTY )
 17.1 ความผิดที่ถูกตักเตือน
 ผู้เล่นที่กระทำความผิดจะต้องถูกตักเตือนและได้รับบัตรเหลืองใน 6 กรณีดังต่อไปนี้
  17.1.1 ปฏิบัติตนไม่มีน้ำใจนักกีฬา
  17.1.2 แสดงกิริยาและวาจาไม่สุภาพ
  17.1.3 ไม่ปฏิบัติตามกฎ กติกาการแข่งขัน
  17.1.4 ถ่วงเวลาการแข่งขัน
  17.1.5 เข้าหรือออกสนาม โดยไม่ได้อนุญาตจากผู้ตัดสิน
  17.1.6 เจตนาเดินออกไปจากสนาม โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน
 17.2 ความผิดที่ถูกให้ออกจากการแข่งขัน
 ผู้เล่นที่กระทำความผิดถูกให้ออกจากการแข่งขันและได้รับบัตรแดงมี 5 กรณี ดังต่อไปนี้
  17.2.1 กระทำผิดกติกาอย่างร้ายแรง
  17.2.2 ประพฤติร้ายแรงโดยเจตนาทำให้คู่ต่อสู้บาดเจ็บ
  17.2.3 ถ่มน้ำลายใส่ฝ่ายตรงข้ามหรือผู้อื่น
  17.2.4 ทำความผิดอย่างร้ายแรงโดยสบประมาทหรือดูถูกและหรือแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสมไปยังฝ่ายตรงข้าม
  17.2.5 ได้รับการเตือนด้วยบัตรเหลืองเป็นครั้งที่  2 ในการแข่งขันครั้งนั้น
 17.3 ผู้เล่นที่กระทำผิดถูกเตือนหรือให้ออกจากการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นความผิดทั้งในหรือนอกสนามแข่งขัน ผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน กรรมการผู้ตัดสิน ผู้ช่วยผู้ตัดสิน หรือบุคคลอื่นๆให้พิจารณาลงโทษตามความผิดที่ได้กระทำขึ้น
ข้อที่ 18. ความผิดขอเจ้าหน้าที่ทีม ( MISCONDCT OF OFFICIALS )
 ในระหว่างการแข่งขันหากทีมหรือเจ้าหน้าที่ของทีมคนหนึ่งคนใดกระทำความผิดเกี่ยวกับวินัยและมารยาท ทั้งในสนามและนอกสนามแข่งขัน เจ้าหน้าที่ทีมหรือทีมนั้นๆจะต้องถูกพิจารณาลงโทษทางวินัยและมารยาท
ข้อที่ 19. บททั่วไป ( GENERAL )
     ในการแข่งขันหากมีปัญหาหรือเรื่องราวใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นในทุกกรณี ซึ่งนอกเหนือจากที่มิได้ระบุไว้ในกกติกาข้อใดๆของการแข่งขัน ให้ถือคำตัดสินของกรรมการผู้ชี้ขาดเป็นที่สิ้นสุด
กติกาการแข่งขันตะกร้อข้ามตาข่ายชองสมาคมกีฬาไทย ในพระบรมีาชูปถัมภ์
สนาม
 1. ก. สนามจะต้องทำแบบ ก. ( เว้นแต่ในกรณีที่กล่าวไว้ในวรรค ข. แห่งกติกาข้อนี้ ) ซึ่งมีความกว้างยาวตามที่แสดงไว้ในแบบนั้น และจะต้องทำเส้นด้วยสีขาว หรือสีดำ หรือสีอื่นๆ ทั้งเห็นได้ง่าย ความกว้างของเส้น 1 ?  นิ้ว  ( 0.038 เมตร )
 ในการทำสนาม เส้นกลางจะแบ่งสนามออกเป็นสองส่วนเท่ากัน ส่วนหนึ่งอยู่ในสนามส่งลูกข้างขวา อีกส่วนหนึ่งอยู่ในสนามที่ส่งลูกข้างซ้าย ความกว้างของเส้นส่งลูกสั้นและเส้นส่งลูกยาวจะต้องรวมอยู่ในความยาว 13 ฟุต ( 3.96 เมตร) ของสนามส่งลูก และความกว้างของเส้นเขตต่างๆจะต้องรวมอยู่ในความกว้างของเส้นเขตต่างๆจะต้องรวมอยู่ในความกว้างยาวของสนามที่กำหนดไว้
    ข. ในที่ใดที่ไม่สามารถทำสนามสำหรับเล่นคู่ แต่อาจทำสนามสำหรับเล่นเดี่ยวได้ ก็ต้องตามที่แสดงไว้ตามแบบ ข. เส้นหลังจะกลายเป็นเส้นส่งลูกยาวไปด้วยและเสาหรือวัสดุอย่างอื่นใช้แทนเสา ดังกล่าวในกติกาข้อ 2 จะต้องตั้งอยู่ห่างจากเส้นเขตของสนามตรงกับเส้นแบ่งเขตข้างละ 1 ฟุต ( 0.305 เมตร )

เสา
 2. เสาจะต้องสูง 5 ฟุต 1 นิ้ว ( 1.55 เมตร ) จากพื้นสนาม และจะต้องมั่นคงพอจะยึดตาข่าย ดังกล่าวในกติกาข้อ 3 ให้ขึงตึงอยู่ได้ และจะต้องตั้งอยู่ตรงกับเส้นแบ่งแดนเขตข้างของสนาม ดังกล่าวในข้อ  1 ข. ในกรณีที่จะทำการแข่งขันประเภทเดี่ยวจะต้องใช้วิธีหนึ่งวิธีใดที่แสดงให้เห็นว่า เส้นเขตข้างอยู่ใต้ตาข่าย เช่น ใช้เสาบางๆกว้างไม่น้อยกว่า 1 1/2 นิ้ว  ( 0.38 เมตร ) ไว้ที่เส้นเขตข้างให้ตั้งชี้มาที่ตาข่าย
ตาข่าย
 3. ตาข่ายจะต้องทำด้วยด้ายย้อมฝาดเส้นเล็ก มีตากว้างยาว 3/4 นิ้ว ( 0.019 เมตร ) ตาข่ายจะต้องขึงให้ตึงจากเสาหนึ่งถึงอีกเสาหนึ่งและจะต้องกว้าง 2 ฟุต 6 นิ้ว (0.76 เมตร) ริมบนของตาข่ายจะต้องห่างจากพื้นสนามตอนจุดกลางสนาม 5 ฟุต ( 1.524 เมตร ) และเสาจะต้องสูงจากพื้นสนาม 5 ฟุต 1 นิ้ว ( 1.55 เมตร ) ตอนบนของตาข่ายติดแถบสีขาวพับ 2 ขนาดกว้าง 3 นิ้ว ( 0.076 เมตร ) มีเชือกหรือลวดร้อยตลอดแถบผ้านี้ และขึงตึงให้ได้ระดับกับหัวเสาทั้งสองข้าง
ตะกร้อ
 4. ลูกตะกร้อจะต้องสานด้วยหวายหรือใยสังเคราะห์ชนิด 6 เส้นขึ้นไป เป็นรูปทรงกลมขนาดวัดโดยรอบไม่น้อยกว่า 16 นิ้ว และไม่เกิน 17 นิ้ว น้ำหนักเมื่อเริ่มการแข่งขันลูกตะกร้อไม่เบากว่า 170 กรัม และไม่หนักกว่า 220 กรัม ในการแข่งขันทุกครั้งให้ใช้ลูกตะกร้อของกรรมการที่สนามจัดไว้

ผู้เล่น
5. ก. คำว่าผู้เล่น หมายถึงผู้ร่วมเล่นในเกมทุกคน
ข. ในการเล่นประเภท 3 คน ผู้เล่นต้องมีข้างละ 3 คน ในการเล่นประเภทคู่ ผู้เล่นจะต้องมีข้างละ 2 คน และในการเล่นประเภทเดี่ยว ผู้เล่นจะต้องมีข้างละ 1 คน
ค. ข้างใดที่มีสิทธิ์ส่งลูก จะต้องเรียกว่า ข้างส่งลูก ส่วนอีกข้างหนึ่งนั้นให้เรียกว่า ข้างรับลูก
การสี่ยง
6. ก่อนที่จะเริ่มต้นเล่น ทั้งสองข้างต้องทำการเสี่ยง ข้างที่ชนะการเสี่ยงมีสิทธิ์ที่จะเลือก
ก. เลือกส่งลูกก่อน หรือ
ข. ไม่ส่งลูกก่อน หรือ
ค. เลือกแดนด้านใดด้านหนึ่ง
ข้างที่แพ้การเสี่ยงจะเลือกได้แต่ข้อที่ยังเหลืออยู่เท่านั้น
การนับคะแนน
 7. ก.    การเล่นประเภท 3 คน เกมหนึ่งมี 21 คะแนน เมื่อได้ 19 หรือ 20 คะแนนเท่ากัน ข้างที่ได้ 19 หรือ 20 คะแนนก่อน มีสิทธิ์ที่จะเลือกกำหนด ให้เกมนั้นเริ่มต่อไปอีก 5 คะแนน หรือเล่นต่อไปจนครบ 21 คะแนน ในกรณีเช่นนี้ ถ้าผู้มีสิทธิ์เลือก “ ล่นแต้มต่อ ” เล่นต่อไปอีก 5 คะแนน เมื่อได้ 19 หรือ 20 คะแนนเท่ากันแล้วคะแนนก็จะเสมอกัน และข้างที่ได้ 5 คะแนนก่อนจะเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น
การเรียกร้อง “เล่นแต้มต่อ” การเล่นดังกล่าวในข้อนี้จะต้องกระทำก่อนการส่งลูกในครั้งต่อไป จากที่ได้คะแนน 19 หรือ 20 เท่ากัน
     ข. การเล่นประเภทคู่ เกมหนึ่งมี 15 คะแนน เมื่อได้ 13 หรือ 14 คะแนนก่อน มีสิทธิ์ที่เลือก “ เล่นแต้มต่อ ” .ให้เกมนั้นเล่นต่อไปอีก 3 คะแนน หรือเล่นต่อไปจนครบ 15 คะแนน ในกรณีเช่นนี้ถ้าผู้มีสิทธิ์เลือก “เล่นแต้มต่อ” เล่นต่อไปอีก 3 คะแนน เมื่อได้ 13  หรือ 14 คะแนนเท่ากันแล้ว คะแนนก็จะเสมอกัน ข้างที่ได้ 3 คะแนนก่อน จะเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น
     ค. การเล่นประเภทเดี่ยว เกมหนึ่งมี 11 คะแนน เมื่อได้ 9 หรือ 10 คะแนนเท่ากัน ข้างที่ได้ 9 หรือ 10 คะแนนก่อน มีสิทธิ์ที่จะเลือก “ เล่นแต้มต่อ ” เล่นต่อไปอีก 3 คะแนน เมื่อได้ 9 หรือ 10 คะแนนเท่ากันแล้วคะแนนก็จะเสมอกัน ข้างที่ได้ 3 คะแนนก่อน เป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น
              การเรียกร้อง “เล่นแต้มต่อ” ให้เป็นไปตามกติกาข้อ 7 ก. วรรค 2
    ง. ฝ่ายใดที่สละสิทธิ์เลือกกำหนดการเล่น ซึ่งเกิดขึ้นในโอกาสแรกแล้วก็ไม่มี่สิทธิ์เลือก “ เล่นแต้มต่อ ” ในโอกาสที่เกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 2
    จ. ในการเล่นที่มีแต้มต่อแต่ไม่ยอมให้ใช้สิทธิ์เลือก “เล่นแต้มต่อ”
8. ถ้าไม่ได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น จะต้องเล่นให้ชนะเกมมากที่สุดใน 3 เกม ผู้ที่เล่นจะเปลี่ยนข้างกันเมื่อจะตั้งต้นเล่นเกมที่ 2 และเมื่อจะตั้งต้นเล่นเกมที่ 3 ก็ต้องเปลี่ยนข้างกัน ( ถ้าต้องเล่นถึงเกมที่ 3 ) และในการเล่นเกมที่ 3 นี้ก็จะต้องเปลี่ยนข้างกัน ตามคะแนนที่ได้ ดังที่กำหนดไว้ต่อไปนี้ คือ 
    ก. 11 คะแนนสำหรับเกม 21 คะแนน
    ข. 8 คะแนนสำหรับ 15 คะแนน
    ค. 6 คะแนนสำหรับเกม 11 คะแนน
หรือในการเล่นชนิดที่การเล่นมีแต้มต่อ ข้างใดข้างหนึ่งทำได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนทั้งหมดที่จะต้องทำเพื่อชนะเกมนั้น ( ในกรณีที่มีเศษให้ปัดขึ้น ) ถ้ามีการตกลงจะเล่นเกมเดียว ผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนข้างดังกล่าวไว้ตามการเปลี่ยนแปลงข้างในเกมที่ 3 ข้างบนนี้
ถ้าผู้เล่นละเว้นการเปลี่ยนข้างตามกติกาที่วางไว้นี้โดยไม่ตั้งใจ ผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนข้างทันทีที่รู้สึกตัวว่าตนผิด แต่คะแนนที่ได้อยู่เท่าใดก็ให้นับต่อไปตามนั้น
การเล่นประเภท 3 คน
 9. ก. เมื่อได้ตกลงว่า ฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายส่งลูกก่อน ผู้เล่นซึ่งอยู่ในสนาม “ ส่งลูก ” ต้องส่งลูกทแยงมุมตรงกันข้ามถ้าผู้เล่นนั้นโต้ลูกกลับไปก่อนที่ลูกจะถูกพื้นลูกนี้ก็จะถูกโต้กลับมาโดยข้าง“ ส่งลูก ”แล้วข้าง  “ รับลูก” ก็จะโต้กลับไปอีก โต้กลับไปกลับมาเรื่อยไปจนกระทั่งเกิด“ เสีย ”ขึ้น หรือจนกระทั้งลูกอยู่ใน“ การเล่น ” (ดูกติกาข้อนี้วรรค ข.) ถ้าข้าง “ ส่งลูก ” ทำลูก “ เสีย ” การส่งลูกของผู้ส่งลูกคนแรกก็หมดสิทธิ์ ข้าง “ ส่งลูก ” ก่อน ส่งลูกได้เพียงคนแรกคนเดียวเท่านั้น (ดูกติกาข้อ 11) แล้วผู้เล่นของอีกข้างหนึ่งที่อยู่ในสนาม ส่งลูกด้านขวามือก็กลับเป็นผู้ส่งลูก ถ้าข้าง “ รับลูก ” โต้ลูกกลับไปไม่ได้หรือทำ “ เสีย ” ข้าง “ ส่งลูก ” ก็ได้ 1 คะแนน เมือได้คะแนนแล้ว ผู้เล่นข้าง “ ส่งลูก ” ผู้นั้นก็เปลี่ยนที่ส่งลูกโดยเปลี่ยนจากสนามด้านขวามือไปส่งลูกในสนามด้านซ้ายมือส่งไปยังผู้เล่นอีกข้างหนึ่ง ซึ่งอยู่ในสนามทแยงมุมตรงข้าม ตราบใดที่ฝ่ายนั้นยังเป็นฝ่าย “ ส่งลูก ” อยู่ การส่งลูกก็จะต้องลงจากสนามส่งลูกไปยังสนามรับลูกอีกข้างหนึ่ง ซึ่งอยู่ทแยงมุมตรงกันข้าม การเปลี่ยนสนามส่งลูกโดยข้าง “ ส่งลูก ” จะกระทำได้ต่อเมื่อตนทำคะแนนเพิ่มขึ้นได้ทุก 1 คะแนน
 ข. ฝ่ายส่งลูก จะต้องส่งลูกแรกจากสนามส่งลูกด้านขวามือ เมื่อผู้ส่งลูกได้เล่นลูกจนกระทั่งส่งลูกออกไปแล้ว ต่อจากนี้ไปจะต้องถือว่าลูกอยู่ในการเล่นจนกว่าลูกนั้นถูกพื้นหรือเกิดการ “ เสีย ” หรือ “ เอาใหม่ ” เกิดขึ้น นอกจากที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 19 เมื่อได้ส่งลูกไปแล้วจนกระทั่งลูกนั้นได้ข้ามตาข่ายไปยังข้างรับลูก  ผู้ส่งลูกจะอยู่ ณ  ที่หนึ่งที่ใดในด้านของฝ่ายตน ซึ่งมีตาข่ายกั้นอยู่เป็นเขตก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงเส้นเขตต่างๆ
 ในการเล่น ผู้เล่นจะเปลี่ยนแนวหรือตำแหน่งกันได้ก็ต่อเมื่อหมดสิทธิ์การรับ-ส่ง และผู้ตัดสินอนุญาตแล้วเท่านั้น
 10. ผู้ที่จะรับลูกส่งได้ ต้องเป็นผู้ที่ส่งลูกมาให้เท่านั้น แต่ถ้าลูกถูกตัวผู้เล่นรวมกันกับผู้รับส่งลูก หรือผู้ที่เล่นรวมกับผู้รับลูกส่งเว้นผู้เล่นแนวหลัง (มือที่สาม) เล่นลูกนั้น ข้างส่งลูกได้ 1 คะแนน ผู้เล่นคนเดียวกันจะรับลูกส่งที่ฝ่ายส่งมาซ้ำกันสองครั้งติดกันไม่ได้ในเกมเดียวกัน นอกจากที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 12
 11.ข้างที่เริ่มเล่นเกมแรก หรือในเกมต่อไปจะส่งลูกได้คนเดียวในการเล่นคราวแรก ผู้ส่งลูกนั้นจะส่งลูกได้เรื่อยไปด้วยการเปลี่ยนแดนส่งเมื่อตนได้คะแนนเพิ่มขึ้น 1 คะแนน ทุกครั้งเรื่อยไปจนกว่าตนทำเสีย จากนั้นให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายส่งลูกได้อีก 2 คน จนกว่าฝ่ายตนจะทำเสีย 2 ครั้ง ผู้ร่วมเล่นแต่ละข้างจึงจะส่งลูกได้ครบตามจำนวน ในการส่งลูกเริ่มเล่นในกมต่อไปให้ฝ่ายที่ไม่ได้เริ่มส่งครั้งแรกเป็นฝ่ายส่งลูก ถ้าเริ่มเล่นในเกมที่สามให้ฝ่ายที่ไม่ได้ส่งลูกในเกมที่สองเป็นฝ่ายส่งลูกก่อน
 12.ถ้าผู้เล่นยืนผิดแดนเวลาส่งลูกและบังเอิญเป็นฝ่ายได้แต้มจะต้องมีการให้เอาใหม่โดยเงื่อนไขการให้ “เอาใหม่” นี้ จะต้องใช้สิทธิ์เรียกร้องก่อนจะมีการส่งลูกในครั้งต่อไป

กิจกรรมเสนอเสนอแนะ 
1.ก่อนการเล่นตะกร้อควร Warm  Up ทุกครั้ง และหลังการเล่นต้อง Cool Down 
2.ศึกษาเพิ่มเติมและติดตามการแข่งขันตะกร้อเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
3.ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการตะกร้อ

การบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่นๆ
1.สาระการเรียนรู้ภาษาไทย เกี่ยวกับ การเล่นทีมเซปัคตะกร้อ
2.สาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา เกี่ยวกับ การวาดภาพ ในการเล่นทีมเซปัคตะกร้อ
3.สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับ แรงและการเคลื่อนไหว ในการเล่นทีม

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
1.ที่มา:  https://www.2tik.com/
2.ที่มา:  hilight.kapook.com

 ประเด็นคำถาม
1. จงอธิบายกติการการแข่งขันเซปัคตะกร้อมาให้เข้าใจ
2. การเล่นทีมเซปัคตะกร้อมีความสำคัญอย่างไร
 
 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1573

อัพเดทล่าสุด