การป้องกันสิทธิผู้บริโภค MUSLIMTHAIPOST

 

การป้องกันสิทธิผู้บริโภค


1,242 ผู้ชม


ปัจจุบันการผลิตสินค้าประเภทอาหาร ยา เครื่องใช้ และอื่นๆ มีความก้าวหน้าแปลก ใหม่และมีการโฆษณาอย่างเสรีสร้างความสับสนให้ประชาชนหลงเชื่อยอมซื้อสินค้าที่ไม่คุ้มค่า ไม่ประหยัดอาจเนื่องมาจากผู้ประกอบธุรกิจเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน   
       สหภาพยุโรปเสนอแนวทางควบคุมระดับความดังเสียงให้กับผู้ผลิตเครื่องเล่นเพลงพกพา กลุ่มคณะกรรมการสหภาพยุโรปเสนอแนวทางกำหนดค่ามาตรฐานความดังเสียงให้กับผู้ ผลิตเครื่องเล่นเพลงแบบพกพากลุ่มคณะกรรมการสหภาพยุโรปได้นำเสนอแนวคิดในการ ตั้งค่ามาตรฐานเสียงใหม่ให้กับผู้ผลิตและผู้นำเข้าอุปกรณ์จำพวกเครื่องเล่น มัลติมีเดียแบบพกพา โดยเน้นไปที่เครื่องเล่น iPod จากแอปเปิ้ล อ้างอิงจากคำสัมภาษณ์ของหนึ่งในคณะกรรมการปกป้องสิทธิผู้บริโภคสหภาพยุโรป Meglena Kuneva ได้ระบุไว้ว่า เยาวชนจำนวนมากกำลังใช้ค่าเสียงที่มากเกินกว่าค่ามาตรฐานความปลอดภัยอันจะ ก่อเกิดอันตรายจากเสียงที่ดังเกินไปดังกล่าว ดังนั้นแนวทางการนำเสนอในครั้งนี้จึงเน้นไปที่การป้องกันสิ่งที่จะสูญเสียไป ในอนาคต กลุ่มคณะกรรมการฯ ได้วางแผนที่จะให้การดำเนินการแผนการดังกล่าวเเล้วเสร็จภายใน 24 เดือนหลังจากนี้ ด้วยการหารือกับกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ กลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มผู้ผลิต อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานตอบรับจากกลุ่มผู้ผลิตรายใดSource :techspot.com
ที่มา:https://www.newswit.net/read/875690.html
สาระที่ ๔ :การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
มาตรฐาน พ ๔.๑:เห็นคุณค่า และมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรค และการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ
นักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ( ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ) เหมาะสำหรับนักเรียนชั้ยมัธยมศึกษาปีที่ 5 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1.สามารถอธิบายสิทธิของผู้บริโภคได้
2.สามารถอธิบายความหมายของพระราชบัญญัติของผู้บริโภคได้
        ปัจจุบันการผลิตสินค้าประเภทอาหาร ยา เครื่องใช้ และอื่นๆ มีความก้าวหน้าแปลก ใหม่และมีการโฆษณาอย่างเสรีสร้างความสับสนให้ประชาชนหลงเชื่อยอมซื้อสินค้าที่ไม่คุ้มค่า   ไม่ประหยัดอาจเนื่องมาจากผู้ประกอบธุรกิจเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มีการปลอมปนสินค้าเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหายละไม่เป็นธรรม รัฐบาลจึงได้ออก พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 เพื่อปกป้องช่วยเหลือผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมจากการบริโภคสินค้าและบริการ
 สิทธิ 5 ประการของผู้บริโภค
        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ให้ความสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภค โดยบัญญัติถึงสิทธิของผู้บริโภคไว้ในมาตรา 57 ว่า“สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง"ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ  
       พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2541 ได้บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 5 ประการ ดังนี้ 
      1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
      2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ 
      3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ 
      4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา 
      5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย 
 
ความหมายของคำจำกัดความเกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภค
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค   พ.ศ.2522    มีความหมายของคำจำกัดความบางคำที่น่าสนใจดังนี้
   “ซื้อ”   หมายความรวมถึง   เช่า เช่าซื้อ หรือได้มาไม่ว่าด้วยประการใดๆ โดยให้ค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่น
   “ขาย”   หมายถึง   ให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือให้ไปไม่ว่าด้วยประการใดๆ   
โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่น
   “สินค้า”   หมายถึง   สิ่งที่ผลิตหรือมีไว้เพื่อขาย
   “บริการ”   หมายถึง   การรับจัดทำการงาน การให้สิทธิใดๆ หรือการให้ใช้หรือให้ประโยชน์ในทรัพย์หรือกิจการใดๆ  โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อื่น แต่ไม่รวมถึงการจ้างแรงงานตามกฎหมายแรงงาน
   “ผลิต”   หมายถึง   ทำ ผสม ปรุง ประกอบ ประดิษฐ์ และหมายความรวมถึงการเปลี่ยนรูป การดัดแปลง การคัดเลือก หรือการแบ่งบรรจุ
   “ผู้ประกอบธุรกิจ”   หมายถึง ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย หรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้าหรือผู้ให้บริการ  และหมายความรวมถึงผู้ประกอบกิจการโฆษณาด้วย
   “คณะกรรมการ”   หมายถึง คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
 การป้องกันสิทธิผู้บริโภค ปัจจุบันการผลิตสินค้าประเภทอาหาร ยา เครื่องใช้ และอื่นๆ มีความก้าวหน้าแปลก ใหม่และมีการโฆษณาอย่างเสรีสร้างความสับสนให้ประชาชนหลงเชื่อยอมซื้อสินค้าที่ไม่คุ้มค่า   ไม่ประหยัดอาจเนื่องมาจากผู้ประกอบธุรกิจเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มีการปลอมปนสินค้าเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหายละไม่เป็นธรรม รัฐบาลจึงได้ออกพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 เพื่อปกป้องช่วยเหลือผู้บริโภคให้ได้รับความ
เป็นธรรมจากการบริโภคสินค้าและบริการฉลากโภชนาการให้ประโยชน์อะไร
ข้อมูลโภชนาการบนฉลากเป็นข้อมูลสำคัญทำให้ผู้บริโภค

      1. รู้ว่าอาหารนั้นมีสารอาหารอะไรบ้าง เช่น โปรตีนเท่าไร คาร์โบไฮเดรตเท่าไร มีไขมันประเภทไหนในปริมาณเท่าไร และปริมาณอาหารที่กินคิดเป็นสัดส่วนร้อยละเท่าไรของปริมาณที่ควรกินต่อวัน
      2. รู้ว่าอาหารประเภทเดียวกันราคาเท่ากัน หรือใกล้เคียงกัน ยี่ห้อใด 
มีประโยชน์หรือคุ้มค่ามากกว่ากัน โดยการนำข้อมูลโภชนาการบนฉลากมา
เปรียบเทียบกัน เพื่อดูปริมาณสารอาหารที่ระบุไว้
      3. รู้ว่าอาหารนั้นมีสารอาหารที่ต้องากรหลีกเลี่ยงหรือไม่และมีในปริมาณเท่าไร เช่น ไขมัน โซเดียม โคเลสเตอรอล น้ำตาล เป็นต้น
ที่มา:https://www.nakhonphc.go.th/learn_1-6.php
ประเด็นคำถาม

1.จงอธิบายสิทธิของผู้บริโภคมาให้เข้าใจ.
2.จงอธิบายพระราชบัญญัติของผู้บริโภคมาให้เข้าใจ

กิจกรรมเสนอแนะ
1.จัดป้ายนิเทศหรือนิทรรศการเกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภค
2.จัดเสียงตามสานในโรงเรียน เกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภค

การบูรณาการกับสาระการเรียนรุ้อื่นๆ
1.กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เกี่ยวกับการเลือกซื้อสินค้า
2.กลุมสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เกี่ยวกับบทความสิทธิของผู้บริโภค

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล

1.ที่มา: https://www.nakhonphc.go.th/learn_1-6.php
2.ืที่มา: https://www.newswit.net/read/875690.html

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1747

อัพเดทล่าสุด