การประเมินผลงานฝึกอบรม : วิธีการในการประเมินโครงการฝึกอบรม
ปัจจุบันมีผู้ให้ความสำคัญและความสนใจในการติดตามและตรวจสอบผลการฝึกอบรมมากว่าในอดีต เนื่องจากความตื่นตัวของผู้บริหารที่จะต้องบริหารองค์กรให้ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนการปรับโครงสร้างการบริหารงานให้มีการบริหารค่าใช้จ่ายอย่างเกิดผลสูงสุด ทำให้มีผู้พัฒนาเทคนิคและวิธีการประเมินโครงการฝึกอบรมออกมาหลายรูปแบบ โดยที่เราจะกล่าวถึงแนวทางหรือวิธีการในการประเมินโครงการฝึกอบรมที่นิยมใช้งาน ต่อไปนี้
1 .ผลลัพธ์ทางปฏิกิริยา (Reaction Outcomes) เป็นการศึกษาทัศนคติของผู้เข้ารับการอบรม ที่มีต่อโครงการทั้งหมด
หรือบางส่วนในเรื่องเนื้อหา วัตถุประสงค์ วิธีการทางกิจกรรม
2. ผลลัพธ์ทางความสามรถ (Capability Outcomes) เป็นการศึกษาว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความคาดหวังว่าจะรู้ จะทำ
หรือจะสร้างอะไรหลังจากโครงการสิ้นสุดลง และเขาสามารถบรรลุตามที่หวังไว้หรือไม่
3. ผลลัพธ์ทางการประยุกต์ (Application Outcomes) เป็นการศึกษาว่าผู้เข้าอบรมได้ใช้ความรู้ ความคิดและการปฏิบัติ
ในสภาพจริง หรือ ที่ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้และฝึกฝนไว้หรือไม่
4. ผลลัพธ์ทางด้านความคุ้มค่า (Worth Outcomes) เป็นการศึกษาผลลัพธ์ที่สำคัญที่สุด เพราะแสดงให้เห็นถึงคุณค่า
ของ โครงการฝึกอบรมเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุน โดยที่การประเมินความคุ้มค่าจะแสดงให้เห็นถึงผลประโยชน์
ที่องค์การได้รับจากการฝึกอบรมในรูปของตัวเงิน เวลา ความพยายาม และทรัพยากรต่างๆ ที่ใช้ในโครงการฝึก
อบรม
ซึ่งเราเห็นว่าการประเมินระบบ Bell จะแบ่งตามระยะเวลาได้คือ ในสองประเภทแรกจะเป็นการชี้ให้เห็นถึงเป้าหมายปัจจุบัน (Immediate Goals) ของการฝึกอบรม ส่วนประเภทหลังจะแสดงผลกระทบในระยะยาวของการฝึกอบรม
ข้อมูลอ้างอิง : การประเมินผลงานฝึกอบรม
โดย : ดร. ณัฎฐพงษ์ เขจรนันทน์