ข้อปฏิบัติตัวเมื่อเกิดแผ่นดินไหวเบื้องต้น ควรทำอย่างไรให้ออกมาจากสถานที่นั้นอย่างปลอดภัย และข้อห้ามต่างๆ ที่ไม่ควรทำเพื่อความปลอดภัย
วิธีรับมือแผ่นดินไหว ควรทำอย่างไร มีข้อห้ามอะไรบ้าง
ข้อปฏิบัติตัวเมื่อเกิดแผ่นดินไหวเบื้องต้น ควรทำอย่างไรให้ออกมาจากสถานที่นั้นอย่างปลอดภัย และข้อห้ามต่างๆ ที่ไม่ควรทำเพื่อความปลอดภัย
แผ่นดินไหวนั้นเกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก เพื่อปรับความสมสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ (การขยาย และการคืนผิวโลก) และการสั่นสะเทือนของพื้นดิน เป็นการปลดปล่อยพลังงาน หรือแม้แต่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์จากสิ่งปลูกสร้าง เช่น การกักเก็บน้ำจากเขื่อน การทำเหมืองแร่ หรือการทดลองระเบิดปรมาณู เป็นต้น
บ่ายวันที่ 28 มีนาคม 2568 เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ลึก 10 กม. ที่เมียนมา รับรู้แรงสั่นสะเทือนได้หลายจังหวัดในประเทศไทย รวมถึงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตึกสูงใน กทม. รับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ ซึ่งส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทย และเป็นเวลาสำคัญในการทำงาน ทำให้ผู้ที่อยู่บนตึกสูงต่างรู้สึกตึกโยก และมีการรีบอพยพ เคลื่อนย้ายลงมาจากตึกทันทีเพื่อเฝ้าระวัง
วิธีรับมือแผ่นดินไหว มีดังนี้ :-
ตั้งสติ
- การมีสติเป็นเรื่องสำคัญในการรับมือกับแผ่นดินไหว มีผลต่อการเคลื่อนย้ายตนเองออกจากสถานที่นั้นๆ การมีสติจะทำให้ตนเองเคลื่อนย้ายออกมาได้อย่างปลอดภัย รวมถึงการปิดสวิตช์ไฟ แก๊ส และน้ำประปา เพื่อยับยั้งอันตรายอื่นๆ ที่จะตามมา
ออกจากอาคาร
- หากอยู่บนอาคาร ให้รีบเคลื่อนย้ายโดยทันที เพราะแผ่นดินไหวมีความเสี่ยงที่จะทำให้ตึก และอาคารทรุด ร้ายแรงถึงขั้นถล่มได้ ให้รีบหาประตูทางออก และหาสิ่งของที่มีลักษณะแข็งเพื่อใช้ป้องกันศีรษะ
หาที่กำบัง
- หากอยู่ในที่โล่งแจ้ง ควรหาพื้นที่กำบัง เช่น การหลบใต้อุปกรณ์ที่มีความแข็งแรง หรือหากอยู่บนตึกให้ยืนใกล้ๆ กับกำแพงตรงกลางอาคารจะปลอดภัยที่สุด และห้ามอยู่ใกล้กับหน้าต่างอาคารโดยเด็ดขาด เพราะอาจจะร้าว และแตกเสียหายได้เมื่อเกิดแผ่นดินไหว
การขับขี่
- ขณะขับขี่ให้ชะลอรถยนต์ ห้ามหยุดรถยนต์โดยทันที หาที่จอดข้างทางให้เป็นบริเวณโล่งแจ้ง ไม่ติดอาคาร ภูเขา และริมทะเลที่มีความเสี่ยง แล้วหาที่กำบัง
สิ่งไม่ควรทำเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
- ห้ามใกล้จุดเสี่ยง ที่อาจจะหล่นลงมาทับได้ เช่น เสาไฟฟ้า อาคาร ภูเขา ประตู และหน้าต่าง
- ห้ามใช้ลิฟต์
- ห้ามขับรถยนต์ขณะเกิดแผ่นดินไหว
- ระวังการอยู่ใกล้เขื่อน หรือชายหาด
- วิธีปฏิบัติหลังเกิดแผ่นดินไหว
- ตรวจสอบคนรอบข้างว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่
- ตรวจเช็กท่อน้ำ สายไฟ และสายแก๊สว่ามีการชำรุดเสียหายหรือไม่ ให้มีการแก้ไขทันที เพื่อไม่ให้เกิดเหตุอื่นๆ ตามมา
- เปิดประตู หน้าต่าง ทิ้งไว้ และออกจากพื้นที่ พร้อมแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
- ติดตามข่าวสารข้อมูล และคำแนะนำเกี่ยวกับภัยพิบัติ
- ตรวจสอบสภาพความชำรุดเสียหายของโครงสร้างอาคารบ้านเรือน และออกห่างอาคารบ้านเรือนที่ชำรุดเสียหาย
- หากเกิดแผ่นดินไหวแล้ว ให้ใช้บันไดในการสัญจร ควรใส่รองเท้าหนังเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกเศษหรือสิ่งของต่างๆ บาด และทำให้บาดเจ็บได้
- บำรุง และรักษาช่องทางกู้ภัย เช่น บันไดหนีไฟ ให้มีความคล่องตัวดังเดิม
- ทำตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานในการหนีภัย
- หากอยู่บริเวณท่าเรือ เขื่อน และริมทะเล ให้ออกมาจากบริเวณเหล่านี้ทันที และห้ามเข้าในเขตประสบภัยแผ่นดินไหวโดยมิได้รับอนุญาต
- ควรระมัดระวังการลักขโมยทรัพย์สินด้วย
- ระวังการเกิดแผ่นดินไหวซ้ำ (After shock)
ข้อมูล : กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว